การบริหารบ้านเมืองแบบยั่งยืนเชิงพุทธ

วันที่ 24 มิย. พ.ศ.2567

670621_b40.jpg

 

บทที่ ๕
การบริหารบ้านเมืองแบบยั่งยืนเชิงพุทธ


             พระสูตรกูฏทันตสูตรนี้ ถือว่าเป็นการปฏิรูปแนวความคิดในการบริหารบ้านเมืองที่กล้าหาญที่สุดและใหม่ที่สุดในยุคนั้น เท่ากับว่าเป็นการลบล้างตำรา ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีเดิมซึ่งกำหนดโดยพราหมณ์ปุโรหิต ซึ่งถือว่าเป็นราชบัณฑิต ผู้รอบรู้ นักวิชาการและที่ปรึกษาผู้นำของประเทศที่มีบทบาทสูงสุดพราหมณ์ปุโรหิตในเรื่องนี้ คืออดีตชาติของพระผู้มีพระภาคที่บังเกิดในสมัยของพระเจ้ามหาวิชิตราช ได้วางกุศโลบายเพื่อปราบโจรผู้ร้าย เพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้กับพสกนิกร โดยพลิกปัญหาและอุปสรรคให้กลายเป็นโอกาส แทนที่จะส่งเสริมให้คนทำบาปตามประเพณีเดิมของการทำพิธีบูชามหายัญ ซึ่งเป็นความเชื่อที่งมงายว่าจะต้องมีการฆ่าสัตว์บูชายัญเพื่อความเป็นสิริมงคลพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้ามหาวิชิตราชกลับพลิกพิธีอันโหดเหี้ยมงมงายให้กลายเป็นการพัฒนาบ้านเมืองและเศรษฐกิจแบบยั่งยืน นั่นคือยุทธศาสตร์ 5 ขั้นตอนด้วยกัน

            ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง การพัฒนาบ้านเมืองด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจเริ่มด้วยหลักการปราบโจรผู้ร้ายแบบถอนรากถอนโคน เพื่อมิให้กลับมาเป็นเสี้ยนหนามเบียดเบียนประชาราษฏร์อีกต่อไป ๓ ประการ คือ
๑. ช่วยเกษตรกรผู้ขยันในการทำเกษตรกรรม ด้วยการพระราชทานพันธุ์พืชและอาหาร
๒. ช่วยราษฎรผู้ขยันในการค้าขายด้วยการพระราชทานต้นทุน
๓.ช่วยข้าราชการผู้ขยันในหน้าที่ราชการด้วยการพระราชทาน

              อาหารและเงินเดือนเมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงปฏิบัติตามคำแนะนำนี้โดยเคร่งครัดก็ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง คือพระราชทรัพย์กลับเพิ่มพูนมากขึ้น ๆบ้านเมืองไม่มีโจรผู้ร้าย บ้านเรือนไม่ต้องปิดประตู อาณาประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า

             ยุทธศาสตร์ที่สองพัฒนาระบบบริหารราชการแบบใหม่ด้วยระบบจูงใจให้มีส่วนร่วมของผู้มีอำนาจด้านต่าง ๆ ของบ้านเมือง ด้วยการเชิญมาชี้แจงเป้าหมายและอุดมการณ์ของโครงการและขอความเห็นชอบด้วย ซึ่งปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นก็ได้ตอบสนองยอมรับรองด้วยดี คำรับรองนี้เรียกว่า อนุมัติ ๔ นั่นหมายถึงความร่วมมือจากบุคคล ๔ ฐานอำนาจ คือกลุ่มเจ้าเมืองผู้ครองเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นกับพระเจ้ามหาวิชิตราช กลุ่มอำมาตย์ราชบริพารผู้ใหญ่ รวมถึงเสนาบดี แม่ทัพนายกอง ผู้คุมกำลังสำคัญของบ้านเมืองกลุ่มพราหมณ์มหาศาล ได้แก่บรรดาพราหมณ์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ เป็นที่ปรึกษา เป็นราชบัณฑิต นักวิชาการมีทรัพย์และบารมีมาก กลุ่มพ่อค้าคหบดีผู้มีทรัพย์มั่งคั่งและมีอิทธิพลในบ้านเมือง

           ยุทธศาสตร์ที่สามพัฒนาผู้นำพัฒนาบุคคลซึ่งเป็นหัวใจระบบการบริหารบ้านเมืองให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ด้วยการตรวจคุณสมบัติ ๘ ประการของผู้นำและคุณสมบัติ ๔ ประการของพราหมณ์ปุโรหิต ว่ามีลักษณะถูกต้องตามตำรา เป็นคนดี มีชาติตระกูลดี มีความรู้ความสามารถ มีความมั่งคั่ง มีบารมี เพียงพอที่จะบริหารบ้านเมืองได้ และจะทำให้พิธีนี้ประสบความสําเร็จ

คุณลักษณะ ๘ ประการของผู้นำ คือพระเจ้ามหาวิชิตราชประกอบด้วย
๑. ชาติตระกูลดี ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้
๒. บุคลิกงดงามเป็นสง่า น่าเลื่อมใส
๓. มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
๔. มีกองทัพที่เข้มแข็ง ๔ เหล่า อยู่ในระเบียบวินัย มีเดชานุภาพที่จะปราบข้าศึก
๕. มีพระราชศรัทธา บริจาคทาน ไม่ตระหนี่ บำเพ็ญพระราชกุศลเสมอ
๖. มีความรอบรู้ในสรรพศาสตร์ และความรู้ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา
๗. มีความลึกซึ้งในปรัชญาภาษิต รู้จุดมุ่งหมายแห่งภาษิต
๘. เป็นบัณฑิตที่รอบรู้ประวัติศาสตร์ รอบรู้เรื่องปัจจุบัน และมีวิสัยทัศน์แห่งอนาคต

คุณลักษณะ ๔ ประการของพราหมณ์ปุโรหิตประกอบด้วย
๑.เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้
๒. เป็นผู้คงแก่เรียน ท่องจำมนตร์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิมัณฑศาสตร์ เกฎกศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ
๓.เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ
๔. เป็นบัณฑิตมีปัญญาเฉียบแหลม


               ระบบการตรวจสอบจนได้องค์ประกอบมหายัญครบ ๑๖ ประการนั่นคือ อนุมัติ ๔ จากกลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจในบ้านเมืองในยุคนั้นคุณลักษณะ ๘ ประการของผู้นำ และคุณลักษณะ ๔ ประการของพราหมณ์ผู้กระทำพิธี เท่ากับเป็นการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของผู้ประกอบพิธี ว่าต้องเป็นคนดีมีความรู้ มีเบื้องหลังชาติตระกูลดี จะได้ไม่มีใครครหานินทาในภายหลัง

               ยุทธศาสตร์ที่สี่พัฒนาระดับจิตใจของผู้นำคือการยกย่องให้กำลังใจโดยขยายพระทัยของพระเจ้ามหาวิชิตราชให้กว้างขวางครอบคลุมทั้งรัฐ ด้วยการแสดงยัญพิธี ๓ ประการ คือ
๑. เมื่อคิดจะให้ก็ต้องไม่เสียดาย ต้องใจใหญ่ กล้าให้ ไม่กังวลว่ากองสมบัติจะสิ้นเปลืองลดถอยลงไป ก่อนให้ต้องไม่เสียดาย
๒. ขณะให้ก็ไม่ควรเสียดาย ต้องให้ด้วยความเต็มใจ ด้วยความเลื่อมใสยินดีเมื่อให้ไปแล้วก็ไม่ควรเสียดาย ว่ากองสมบัติสิ้นเปลืองไปแล้ว
ควรจะรู้สึกปลาบปลื้มยินดีเมื่อหวนคิดทุกครั้ง


               ยุทธศาสตร์ที่ห้า พัฒนาจิตใจประชาชนด้วยการตั้งมาตรฐานคนดี เพื่อประโยชน์ในการคัดคน พัฒนาคนเป็นลำดับๆ ไป ดังนั้นจึงไม่เพียงแต่พัฒนายกระดับจิตของผู้นำให้ขยายคลุมแผ่นดินคลุมประเทศ คลุมโลกกลายเป็นพ่อของโลก ด้วยการทำใจให้ไม่เสียดายทั้ง ๓ วาระดังกล่าวเท่านั้น พราหมณ์ยังได้ให้ข้อคิดสำคัญในการบริหารคนหมู่มากว่าในการทำทานครั้งใหญ่จะต้องทำใจให้หนักแน่นด้วยขันติธรรมเป็นพิเศษ เพราะจะมีทั้งคนดีคนชั่วหลายเหล่าปะปนกันมารับแจกยัญหรือรับการสงเคราะห์ซึ่งยากที่จะแยกแยะได้ เราเองต้องทำใจให้ได้ว่าเราตั้งใจจะให้เฉพาะคนดีเท่านั้น แต่ถ้าคนที่มีลักษณะต่อไปนี้มารับแจกทาน ก็ต้องทำใจให้หนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ทำใจให้กว้างใหญ่ไพศาลว่าเราจะให้โอกาสเขากลับตัวเป็นคนดีในภายหน้าให้ได้ ในฐานะที่เราเป็นพ่อของโลกนอกจากคุณสมบัติสำคัญของผู้ที่มารับพระราชทาน ๓ กลุ่มคือ เกษตรกร ข้าราชการชั้นผู้น้อย และพ่อค้าวาณิช ที่จะต้องเป็นผู้มีความขยันขันแข็งตามที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องเป็นคนมีศีล หรือถือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ดังนี้ คือ


๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒.เว้นขาดจากการขโมยทรัพย์ผู้อื่น
๓. เว้นขาดประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นขาดจากการกล่าวเท็จ
๕. เว้นขาดจากการกล่าวส่อเสียด
๖. เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ
๗. เว้นขาดจากการกล่าวค่าเพ้อเจ้อ
๘. พวกที่ไม่มีจิตเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา
๙. พวกไม่มีจิตพยาบาท
๑๐. พวกที่มีสัมมาทิฐิ


                เกณฑ์ที่พราหมณ์ปุโรหิตตั้งขึ้น ๑๐ ประการนี้ เท่ากับเป็นการประกาศมาตรฐานคนดีในยุคนั้น ว่าที่แท้คือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนั่นเอง เพื่อให้ผู้นำมีเกณฑ์ในการคัดคนและเลือกคนมาตรการดังกล่าวนี้ เท่ากับเป็นการตั้งมาตรฐานในการคัดคนพัฒนาคน สร้างคน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาบ้านเมืองซึ่งต้องทำควบคู่กันไป เพราะทุกโครงการจะสำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่คุณภาพของคนนี้เอง

                 ยุทธศาสตร์ที่หกการพัฒนาเศรษฐกิจคู่กับจิตใจแลก พิธีบูชามหายัญของพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้นเป็นการปฏิวัติพิธีกรรมเดิมของพราหมณ์ที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องมาแต่โบราณว่าจะต้องมีการฆ่าวัว แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิดพิธีแบบใหม่นั้นไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่ามาทำหลักบูชายัญ ไม่ต้องตัดหญ้าคา พวกทาสกรรมกรของพระเจ้ามหาวิชิตราชก็ไม่ต้องถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ตนไม่ต้องการทำพิธีบูชามหายัญแบบใหม่นี้ใช้เพียงเนยใส เนยข้น นมเปรี้ยวน้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อย ซึ่งเป็นของหาง่ายในชีวิตประจำวันของชาวบ้านและที่สำคัญทำให้หยุดทำปาณาติบาต แต่หันไปส่งเสริมการเกษตรกรรมแทน ซึ่งสุดท้ายแล้วก็เป็นการส่งเสริมอาชีพและการตลาดให้กับประชาชนทำนองเดียวกับหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันนั่นเอง

 

วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ปฏิรูปบ้านเมืองยุคพุทธกาล

                 เรื่องราวของพระเจ้ามหาวิชิตราชที่พระผู้มีพระภาคทรงนำมาเล่าเป็นอุทาหรณ์ให้กับกูฏทันตพราหมณ์ ซึ่งในที่สุดทำให้เกิดความกระจ่างในการที่จะประกอบพิธีบูชามหายัญตามที่ได้ยินสืบต่อกันมาแต่ไม่แจ่มแจ้งจนต้องแสวงหาความแจ้งชัดจากพระพุทธองค์ปรากฏว่ารายละเอียดได้กลายเป็นเหมือนตำรารัฐศาสตร์เชิงพุทธเล่มใหม่ที่น่าสนใจยิ่ง เพราะเต็มไปด้วยความละเอียดรอบคอบลึกซึ้งที่ผู้บริหารบ้านเมืองไม่ว่ายุคใดก็ตามจะต้องฉุกคิดและหันไปทบทวนถึงแม้เหตุการณ์ที่เล่านี้จะเกิดขึ้นในยุคพุทธกาล นั่นคือกว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว แต่เนื้อหาในปรัชญาความคิดทางการบริหารบ้านเมืองของพระพุทธองค์ ที่เรียกต่อมาว่าวิชารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ฯลฯ ตามแนวความคิดของโลกตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ไม่น่าเชื่อว่าแทบทุกเรื่องล้วนปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก อยู่ในพระสูตรซึ่งเก่าแก่กว่าตำราทุกเล่มที่เรียนกันในปัจจุบันในมหาวิทยาลัย และพระสูตรที่นำมาอ้างอิงหยิบยกนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในขุมทรัพย์อันมหาศาลในพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาเท่านั้น

                  น่าเสียดายที่ภูมิปัญญาของตะวันออกที่กล่าวมานี้ถูกมองข้ามไปและเรากลับไปหลงใหลภูมิปัญญาของชาติตะวันตก รับอารยธรรมตะวันตก เลียนแบบการปกครองและแนวความคิดของชาติตะวันตกซึ่งบูชานักปรัชญาชาวกรีก โรมัน ยุโรปยุคกลาง มาจนถึงปัจจุบันสิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ แม้ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นแบบใดก็ตาม ทฤษฎีใดก็ตาม โลกทั้งโลกก็ยังไม่สงบสุข ไม่มีสันติสุข ตรงกันข้าม ความเจริญทางวัตถุยิ่งก้าวหน้าไปเพียงใด ความตกต่ำทางศีลธรรมและคุณธรรมก็ยิ่งเสื่อมลงเพียงนั้น เกิดปัญหาความรุนแรงระดับชาติ ระดับโลก เกิดความเอารัดเอาเปรียบ การรังแกกันบุกรุก ทำร้าย แย่งชิง ปล้นสะดม ใช้อาวุธเข้าแก้ปัญหา เกิดขบวนการผู้ก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน เกิดความเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจและอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าอยู่ทุกหัวระแหง

                  แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงทางด้านคุณธรรมและศีลธรรมของชาวตะวันตก เพราะขาดหลักยึดทางด้านศีลธรรมในจิตใจขาดการพัฒนาทางจิตใจ ซึ่งโลกตะวันออกมีความร่ำรวยในขุมทรัพย์ทางปัญญานี้ แต่ถูกเก็บทิ้งไว้ไม่ได้มีการศึกษาเจาะลึกและนำมาเผยแพร่สู่มหาชนน่าเสียดายที่ปัจจุบันโลกกำลังหันมามองโลกตะวันออก โดยเฉพาะทวีปเอเชีย ว่าเป็นแต่เพียงแหล่งวัฒนธรรมที่เก่าแก่ ร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้นกรณีศึกษาจากพระสูตรกูฏทันตสูตรนี้ สะท้อนให้เห็นการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในยุคก่อนพุทธกาลและในยุคพุทธกาล ซึ่งเมื่อนำมาฉายภาพให้เห็นข้อเปรียบเทียบกับการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่พรรคการเมืองใหม่คือไทยรักไทย ก้าวขึ้นเป็นรัฐบาลและพรั่งพรูด้วยความคิดใหม่ ตามนโยบาย “คิดใหม่ ทำใหม่”

                  ไม่น่าเชื่อที่หลายเรื่องมีแนวที่สอดคล้องอย่างยิ่งกับแนวคิดในสมัยพุทธกาลการมุ่งปฏิรูปประเทศไทย 5 ด้าน คือ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการต่างประเทศ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และด้านสังคม การใช้เศรษฐกิจนำการเมือง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีรูปธรรมเห็นได้ชัดเจนจากนโยบายที่ออกมาที่เรียกว่านโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบรากหญ้าการประกาศนโยบายการบริหารบ้านเมือง ด้วยการประกาศสงครามกับยาเสพติด ประกาศสงครามกับความยากจน และประกาศสงครามกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีส่วนที่เหมือนและแตกต่างกับรัฐศาสตร์เชิงพุทธซึ่งจะได้กล่าววิจารณ์ในบทต่อไป ถือว่าเป็นการวิเคราะห์ในทางวิชาการเพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ เพื่อจะได้นำภูมิปัญญาของโลกตะวันออกในยุคพุทธกาล มาเสนอเป็นแนวคิดใหม่เพื่อการถกเถียงในแวดวงวิชาการ และจุดประกายให้มีการค้นคว้าต่อไปให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเป้าหมายก็คือ เพื่อหาอุดมคติใหม่ในทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์เศรษฐศาสตร์ เพื่อการบริหารประเทศให้เป็น

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.031715265909831 Mins