บทสรุปแนวยุทธศาสตร์ “สูงสุดสู่สามัญ”พระสูตรกูฏทันตสูตรนี้ได้ให้ข้อคิดเตือนใจผู้นำผู้เป็นใหญ่ทั้งหลายตลอดจนบุคคลที่จะคิดเข้าไปรับใช้บ้านเมืองไว้อย่างน่าสนใจดังนี้เป็นอย่างน้อยคือประการที่ ๑ ผู้นำที่ดีต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งคุณงามความดีและความสามารถผู้นำจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของตัวเองคือ คุณสมบัติ ชาติตระกูล คุณงามความดีของตนเอง เป้าหมายชีวิต
...อ่านต่อ
คำอธิบาย : ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์นับพันๆ ปีก่อนพุทธกาล ประชากรมีไม่มาก แว่นแคว้นต่างๆ ไม่ใหญ่โต การปกครองของแต่ละอาณาจักรไม่สลับซับซ้อน พระราชาปกครองตนเองด้วยหลักทศพิธราชธรรม โดยถือเป็นข้อวัตรปฏิบัติส่วนตน แต่การปกครองแว่นแคว้นพระองค์ทรงใช้หลักราชสังคหวัตถุ คือหลักสงเคราะห์ของพระราชาซึ่งเรียกกันว่า “ยัญ ๕” มีดังนี้
...อ่านต่อ
บทวิเคราะห์ต่อไปนี้ เรียบเรียงจากคำถามคำตอบ ซึ่งคณะ บรรณาธิการได้รับความเมตตา จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทตฺตชีโว (พระภาวนาวิริยคุณ) ในการตอบคำถามเพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่ความรู้จากพระไตรปิฎก
...อ่านต่อ
พระสูตรกูฏทันตสูตรนี้ ถือว่าเป็นการปฏิรูปแนวความคิดในการ  บริหารบ้านเมืองที่กล้าหาญที่สุดและใหม่ที่สุดในยุคนั้น เท่ากับว่าเป็นการลบล้างตำรา ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีเดิมซึ่งกำหนดโดยพราหมณ์ปุโรหิต ซึ่งถือว่าเป็นราชบัณฑิต ผู้รอบรู้ นักวิชาการและที่ปรึกษาผู้นำของประเทศที่มีบทบาทสูงสุด
...อ่านต่อ
ชมพูทวีปยุคนั้นดินแดนต่าง ๆ ก็ยังแยกเป็นแคว้นเป็นรัฐ โดยมี พระราชาเป็นผู้ครองนครของแต่ละแคว้นแต่ละเมือง ซึ่งด้วยอิทธิพลของพราหมณ์เดิม จะถือว่าราชาหรือกษัตริย์เป็นสมมติเทพที่ถือกำเนิดมาจากเทพ ได้รับโองการจากเทพให้มาปกครองมนุษย์ จะมีการแบ่งชั้น วรรณะ เป็นชั้นผู้ปกครอง กับชั้นผู้ถูกปกครอง โดยแบ่งเป็นวรรณะ ใหญ่ได้ ๔ วรรณะ คือ วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร
...อ่านต่อ
การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาขาสังคมศาสตร์ โลกตะวันตก ที่มีการจดบันทึกคำพูด รวบรวมเป็นหนังสือนับพันปี มาแล้ว และต่อมาได้มีการมาจัดเรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่ เป็นทฤษฎี เป็นหลักวิชาสำหรับนักวิชาการรุ่นหลังได้ค้นคว้า วิจัย และสร้างทฤษฎี และแนวความคิดใหม่ๆ มาจนถึงปัจจุบัน
...อ่านต่อ
ในยุคสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชมพูทวีปยังมิได้รวมกันเป็น ประเทศอินเดียเช่นปัจจุบัน แต่ละดินแดนแต่ละแคว้นแต่ละรัฐ ล้วนเป็นอิสระจากกัน มีเจ้าผู้ครองนครต่างคนต่างเมืองต่างอยู่ แต่ติดต่อถึงกัน ต่างฝ่ายต่างมีประมุข มีเสนาบดี มีอำมาตย์ มีกองทัพ มีระบบการบริหาร มีดินแดน และมีประชาชนของตนเอง
...อ่านต่อ
กูฎทันตสูตร เป็นพระสูตรเชิงรัฐศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการสนทนาธรรมระหว่างพระผู้มีพระภาคกับกูฏทันตพราหมณ์ โดยกูฏทันตพราหมณ์เข้าไปเฝ้าเพื่อทูลขอคำอธิบายจากพระผู้มีพระภาค โดยที่พระองค์ ได้ทรงอธิบายด้วยการยกตัวอย่างรูปแบบการบริหารบ้านเมืองของอดีตมหาราชองค์หนึ่งคือ พระเจ้ามหาวิชิตราช ซึ่งประสบความสำเร็จในการปกครองบ้านเมืองจนพสกนิกรมีความร่มเย็นเป็นสุข
...อ่านต่อ
โลกได้ประจักษ์ว่า หลังจากที่ตรัสรู้สรรพสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ในการเผยแผ่พระธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบเพื่อช่วยชาวโลกให้พ้นจากบ่วงทุกข์
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล