ภาษาที่ไม่ควรใช้ในการเทศน์

วันที่ 17 สค. พ.ศ.2567

ภาษาที่ไม่ควรใช้ในการเทศน์

670817_b157.jpg
                ภาษาหรือถ้อยคำที่ไม่ควรนำมาใช้ในการเทศน์ เมื่อหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง เพราะเมื่อใช้แล้วอาจทำให้บทเทศน์นั้นด้อยค่าหรือไม่น่าฟังไปอย่างไม่ควรเป็นได้แก่ภาษาที่มีลักษณะเหล่านี้คือ
 

(๑) ภาษาถิ่น คือภาษาที่ใช้เฉพาะในท้องถิ่น รู้กันในหมู่พวกเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นภาษาที่ดี ไม่มีโทษ ฟังแล้วไพเราะสำหรับถิ่นนั้นแต่เมื่อนำมาใช้เป็นทางการ หรือนำมาใช้ในการเทศน์ย่อมไม่เหมาะสม เพราะผู้ไม่รู้ภาษาเช่นนั้น ย่อมเกิดความฉงนสงสัยถึงความหมาย ทำให้ฟังเรื่องเทศน์ไม่เข้าใจได้ตลอด ภาษาเช่นนั้นจึงควรเว้นเสีย
 

(๒) ภาษาพูด คือถ้อยคำที่ใช้พูดกันเป็นปกติ แม้จะเป็นที่เข้าใจกัน แต่ถือว่าเป็นคำไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการเทศน์ ดังเช่นคำว่า เยอะ
แยะ ฟันธง เกกมะเหรก เป็นต้นภาษาพูดอีกแบบหนึ่งที่ไม่ควรใช้คือคำกร่อนหรือคำไม่สมบูรณ์ ที่ใช้พูดกันในกลุ่มวัยรุ่นเป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะขาดหลักเกณฑ์ทางภาษาแต่ก็สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้โดยนัย หากแต่นำมาใช้ในการเทศน์หรือในการเขียนข้อความธรรมะ ย่อมทำให้เสียรสชาติและสะดุดหูผู้ฟังทั่วไปแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น


                          ภาษาพูด                     ภาษาเขียน
                         ไม่รุ                            ไม่รู้
                         จะสนไปทําไม               จะสนใจไปทําไม
                         ทําได้เปล่า                   ทําได้หรือเปล่า


(๓) ภาษาตลาด คือคำที่เป็นคำตลาด เป็นคำห้วนๆ คำด่า คำหยาบคาย คำกระโชกโฮกฮาก คำไม่เพราะหู คำที่ผู้ที่ไม่พูดกัน คำเช่นนี้ไม่ควรนำมาใช้ในการเทศน์ด้วยประการทั้งปวง เพราะจะทำให้บทเทศน์หรือบทเขียนด้อยลงไปได้เช่นกัน
 

(๔) ภาษาต่างประเทศ คือใช้ภาษาต่างประเทศปะปนเข้ามาในบทเทศน์ หรือใช้คำต่างประเทศแทนคำไทยที่มีและใช้กันเป็นปกติอยู่แล้ว
เช่นว่า

“คนที่ติดสุรา ติดยาเสพติด ติดการพนัน เท่ากับฮาราคีรีตัวเอง”
 

“ในการทำความดี ถ้าทำไม่ถูกทำไม่เป็นก็มีแต่จะขาดทุน เหมือนการค้าขาย ถ้าทำไม่เป็นก็มีแต่จะเจ๊งอย่างเดียว”
 

“ผู้ที่ประพฤติธรรมด้วยกายวาจาเคร่งครัด มั่นอยู่ในทางบุญ จัดอยู่ในระดับเกรดเอในหมู่มนุษย์ด้วยกัน”
 

“การที่จะให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะนั้นจำต้องไปล้อบบี้ให้ทุกคนเห็นดีด้วย”
 

“เมื่อโชว์ฝีมือในการทำงานให้เห็น แสดงว่าผู้นั้นมีวิสัยทัศน์และมีสมรรถนะ”
 

“ธรรมะในพระศาสนาเป็นเรื่องจริงที่ควรรู้ จึงควรนำออกมาโปรโมตให้แพร่หลาย”
 

                  การพูดโดยใช้คำต่างประเทศปะปนกับคำไทยสลับกันไปซึ่งนิยมใช้กันมากในการสนทนานั้นยังถูกท่านผู้รู้ทั้งหลายตำหนิว่าไม่เหมาะไม่ควรอยู่แล้ว หากนำมาใช้ในการเทศน์จะไม่เหมาะไม่ควรขนาดไหน จึงควรเว้นการใช้ภาษาต่างประเทศน์เช่นนั้นเป็นดีที่สุด หากจำเป็นจะต้องใช้เพราะต้องอ้างอิงเป็นตัวอย่างก็ต้องอธิบายขยายความทันที
 

(๕) ภาษาสแลง คือถ้อยคำสำนวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่ม เช่นในกลุ่มวัยรุ่น ในกลุ่มอาชีพ และใช้กันชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้องตามหลัก คำเช่นนี้มีการเกิดดับที่เร็ว แต่เมื่อเกิดมาแล้วก็จะติดปากพูดกันเพื่อให้รู้ว่าทันสมัย เมื่อมีคำอื่นเกิดขึ้น คำเก่าที่ถูกลืมไป คำสแลงจึงไม่ควรนำมาใช้ในการเทศน์ แม้จะฟังดูทันสมัยและถูกใจคนบางกลุ่มเช่นวัยรุ่น แต่ก็ไม่อาจทำให้บทเทศน์ดีเด่นขึ้นได้ด้วยประการใด มีแต่จะทำให้ด้อยลงประการเดี่ยวตัวอย่างภาษาสแลงที่เคยพูดกันติดปากและค่อยๆ ลืมเลือนกันไปคือคำว่า ไม่สน ข้อแรก มันส์พะยะค่ะ แต่ด่วแห้ว สุดสุด แอ๊บแบ๊ว เด็กแว้น 
 

(๖) ภาษาที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง คือคำที่ไม่มีความหมายอะไรพิเศษ เป็นคำเกิน เป็นสร้อยคำที่เสริมเข้ามาตามภาษาพูด เป็นต้นเช่นคำในข้อความต่อไปนี้

         ไม่สนใจไยดี ทั้งนี้และทั้งนั้น ทำการปูเสื่อสาดอาสนะรับรองแขกเหรื่อ  ต้อนรับขับสู้

                     คำเช่นนี้แม้จะไม่มีหรือตัดออกก็ไม่ทำให้เนื้อความส่วนใหญ่เสียไปใส่เข้ามาบางครั้งก็ดูรุงรังไปเสียอีก เพราะคำเหล่านี้นิยมใช้ในภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนหรือแม้ว่าคําบางคําจะเป็นค่าดี มีความหมายดี แต่ไม่ตรงกับประเด็นความที่กำลังอธิบายก็นับเข้าในข้อนี้ เพราะไม่เกิดประโยชน์แก่เนื้อหาขณะนั้น และอาจทำให้ผู้ฟังเข้าใจเขวได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องกัน อย่างที่ตรงกับสำนวนไทยว่า “ไปไหนมาสามวาสองศอก” หรือ “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง” ภาษาต่างๆ ที่กล่าวมานั้นแม้ว่าจะสามารถสื่อความให้เข้าใจกันได้จริง แต่ก็ต้องถือว่าเป็นภาษาเฉพาะกิจเฉพาะกาล หากหลีกเลี่ยงได้ก็ควรจะหลีกเลี่ยงเสียเป็นดี

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.040933346748352 Mins