การอ่านคําประพันธ์
คำประพันธ์ คือคำที่ผู้รู้นำมาแต่งเรียงร้อยหรือผูกเชื่อมกันเป็นข้อความตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดกันไว้ เป็นคำที่ไพเราะ สละสลวย มีอรรถรส มีคุณค่าทางศิลปะและวรรณคดี คำประพันธ์มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เป็นคำที่ผู้ประพันธ์คัดสรรเลือกเฟ้นมาอย่างดี มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจบ้าง เป็นคำเฉพาะบ้าง คำประพันธ์มีหลายรูปแบบ ที่รู้กันโดยทั่วไปก็คือโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน นั่นเองคำประพันธ์แต่ละประเภทมีรูปแบบการแต่งที่ต่างกัน และแต่ละประเภทยังแบ่งย่อยออกไปอีกหลายชนิด คือ โคลง แบ่งย่อยเป็นโคลงสอง โคลงสี่ เป็นต้น ฉันท์ แบ่งย่อยเป็นปัฐยาวัตรฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ เป็นต้น กาพย์ แบ่งย่อยเป็นกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง เป็นต้น
กลอน แบ่งย่อยเป็นกลอนหก กลอนแปด เป็นต้น คำประพันธ์แต่ละชนิดต่างที่มีลักษณะรูปแบบเป็นของตัวเอง มีข้อกำหนดเป็นของเฉพาะตัว ดังนั้นการอ่านคำประพันธ์จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับผู้ไม่สันทัดหรือไม่ได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องนี้มาเป็นอย่างดีอันคำประพันธ์นั้นหากอ่านเป็นอ่านได้ถูกต้องย่อมได้รับอรรถรสแห่งภาษา อรรถรสแห่งวรรณคดี เกิดความซาบซึ้งดื่มในคำประพันธ์ที่ได้อ่านนั้น และถ้าสามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระแห่งคำประพันธ์และอารมณ์
กวีของผู้แต่งจนถึงมีอารมณ์ร่วมด้วยแล้วย่อมจะได้ทั้งความประเทืองปัญญา ความบันเทิง และสุนทรียภาพแห่งภาษาไปพร้อมๆกันการอ่านคำประพันธ์แม้จะดูไม่ง่าย แต่ก็ยังง่ายกว่าการแต่งคำประพันธ์มากนัก เพียงแค่อ่านผลงานที่ผ่านสมอง จินตนาการ และฝีมือของผู้แต่งคำประพันธ์ให้ถูกต้อง ให้ได้รสชาติแห่งถ้อยคำ คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงของผู้สนใจทางนี้ ยิ่งผู้ที่ต้องการนำคำประพันธ์ของท่านไปใช้พูดใช้อ่านให้คนอื่นฟังด้วยแล้วยิ่งต้องตระหนักระวังให้มาก ต้องเรียนรู้วิธีการอ่านและนำของท่านไปพูดไปอ่านให้ถูกต้อง จึงจะเหมาะควรและชอบด้วยเหตุผล หาไม่แล้วจะกลายเป็นผู้นำผลงานที่ดีอันเกิดจากมันสมองความคิดของผู้ประพันธ์ไปละเลงหรือไปโดยไม่รู้ตัว
วิธีอ่านคำประพันธ์ให้ถูกต้องนั้น มีขั้นตอนเป็นแนวปฏิบัติดังนี้
(๑) ศึกษาเรียนรู้ลักษณะโครงสร้างบทประพันธ์ประเภทต่างๆ
แยกแยะให้ได้ก่อนว่าคำประพันธ์ประเภทนี้มีโครงสร้างมีรูปแบบอย่างไรแต่ละประเภทมีรายละเอียดอย่างไร ศึกษาเรียนรู้ภาพรวมกว้างๆ แล้วกำหนดจดจำไว้ว่าโคลงมีลักษณะอย่างนี้ กลอนมีลักษณะอย่างนี้เป็นต้นหรือเมื่อเห็นคำประพันธ์จากที่ต่างๆ หรือได้ยินได้ฟังคำประพันธ์อย่างใดมา ก็นำมาเทียบเคียงกับโครงสร้างของคำประพันธ์ประเภทนั้นๆ จนกระทั่งกำหนดรู้ได้ว่าคำประพันธ์นี้เป็นโคลง เป็นฉันท์ เป็นกาพย์ หรือเป็นกลอน และเป็นโคลงเป็นฉันท์ชนิดใดเป็นต้น เมื่อปฏิบัติอย่างนี้ได้บ่อยเข้าก็จะเกิดความชำนาญ และเมื่อได้ฟังหรือได้เห็นคำประพันธ์จากที่ต่างๆก็จะรู้ได้ทันทีว่าเป็นโคลงเป็นฉันท์
ตัวอย่างโคลงสี่
ปางน้อยสำเหนียกรู้ เรียนคุณ
ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน ทรัพย์ไว้
เมื่อกลางแก่แสวงบุญ ธรรมชอบ
ยามหง่อมท่าใดได้ แต่ล้วนอนิจจัง ฯ
(โคลงโลกนิติ)
ตัวอย่างฉันท์
พากย์นี้ก็นามยิน ยศอินทรวงศฉันท์
เสนอเนื่องอเนกบัณ ฑิตยานรานิกร
พึ่งเพียรนิพนธ์พจน์ กลบทนิบุณณะกลอน
เป็นศรีสถาวร วุฒิเรืองธเรศตรี ฯ
(จารึกวัดโพธิ์)
ตัวอย่างกาพย์
พฤษภกาษร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสนงคง สําคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ความดีก็ปรากฏ กิฤติยศฤาชา
ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจร ฯ
(กฤษณาสอนน้อง)
ตัวอย่างกลอน
ลิงแสนซนอยู่ป่าประสาสัตว์
จับมาหัดฝึกได้ดังใจหนา
เกิดเป็นคนอยู่เมืองเรืองปัญญา
แม้หากว่าฝึกไม่ได้ก็อายลิง ฯ
(พระธรรมกิตติวงศ์)
(๒) ฝึกอ่านคำประพันธ์ประเภทต่างๆ
โดยกำหนดจากตำราก็ได้ จากผู้รู้ที่พูดหรืออ่านให้ฟังตามสื่อตามงานต่างๆก็ได้ แล้วฝึกฝนอ่านเองจนกระทั่งคล่องปากการอ่านคำประพันธ์ให้ถูกต้องก็คืออ่านให้ถูกลักษณะคำประพันธ์และให้ถูกวรรคตอนของคำประพันธ์แต่ละอย่างที่กำหนดลักษณะคำไว้อย่างเช่นฉันท์ กำหนดคำหนักเบาไว้ โคลง กำหนดวรรณยุกต์เอกและโทไว้ กลอน กำหนดจำนวนคำไว้ เป็นต้น แล้วกำหนดวรรคตอนในการอ่านไว้ว่าจะต้องหยุดวรรคที่คำไหน เมื่ออ่านฉันท์จึงต้องอ่านให้ได้ลักษณะและวรรคตอนของฉันท์อ่านโคลงต้องอ่านให้ได้ลักษณะและวรรคตอนของโคลง จะอ่านตามปกติธรรมดาย่อมไม่ถูกต้องและจะไม่ไพเราะด้วยประการทั้งปวง
ตัวอย่างการอ่านโคลง
พากย์นี้ก็นามยิน ยศอินทรวงศฉันท์
เสนอเนื่องอเนกบัณ ฑิตยานรานิกร
พึ่งเพียรนิพนธ์พจน์ กลบทนิปุณณะกลอน
เป็นศรีสถาวร วุฒิเรืองธเรศตรี ฯ
คำประพันธ์นี้เป็นอินทรวงศ์ฉันท์ มีวรรคละ ๑๒ คำ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหน้า ๕ คำ ส่วนหลัง ๗ คำ มีคำหนัก (ครุ) ๗ คำ มีคำ เบา(ลหุ) ๕ คำ อยู่ในตำแหน่งดังนี้
๒ ๒, ๑ ๒ ๒ ๑ ๑ ๒, ๑ ๒ ๑ ๒
๒ ๒, ๑ ๒ ๒ ๑ ๑ ๒, ๑ ๒ ๑ ๒
(หมายเหตุ เลข ๒ แทนครุ เลข ๑ แทนลหุ และเครื่องหมาย,แสดงว่าให้อ่านหยุดนิดหนึ่งเหมือนเว้นวรรค)
ดังนั้น เมื่ออ่านคำประพันธ์ข้างต้นต้องอ่านให้ครบคำและถูกต้องตามตำแหน่งคำหนักเบา ดังนี้
พากย์นี้, ก็นามยิน ยะศะอิน, ทระวงศะฉันท์
เสนอเนือง, อเนกบัณ- ฑิตะยา, นะรานิกร
พึงเพียร, นิพนธ์พจน์ กะละบท, นิบุณณะกลอน
เป็นศรี, สถาวร วุ-ฒิเรือง, ธะเรด-ศะตรี ฯ
ในการอ่านคำประพันธ์บทนี้มีข้อพึงสังเกตคือ สองคำต้นของส่วนที่สองที่เป็นลหูคู่นั้นมิได้อ่านตามแบบปกติ คือ
ยศอิน อ่านว่า ยะสะอิน ไม่อ่านว่า ยด-อิน
ฑิตยา อ่านว่า ดิตะยา ไม่อ่านว่า ดิด-ยา
กลบท อ่านว่า กะละบด ไม่อ่านว่า กน-ละ-บด
วุฒิเรื่อง อ่านว่า วุ-ทิเรื่อง ไม่อ่านว่า วุด-ทิเรื่อง
ธเรศตรี อ่านว่า ธะเรดสะตรี ไม่อ่านว่า ธะเรดตรี
ถ้าอ่านคำประพันธ์นี้ไปตามปกติหรืออ่านไม่ถูกวรรคตอน นอกจากจะได้คำไม่ครบตามรูปแบบแล้ว ยังจะไม่ไพเราะและขาดอรรถรสทาง
วรรณคดีด้วย
ตัวอย่างเปรียบเทียบ
ภาคพื้นพนารัญ จรแสนสราญรมย์
เนินราบสลับสม พิศเพลินเจริญใจ
โขดเขินสิขรเขา ณ ลำเนาพนาลัย
สูงลิ่วละลานนั- ยนะพ้นประมาณหมาย ฯ
คำประพันธ์นี้เป็นอินทรวิเชียรฉันท์ มีวรรคละ ๑๑ ค่ำ ดังรูปแบบ
๒ ๒, ๑ ๒ ๒ ๑ ๒ ๒ , ๑ ๒ ๒
๒ ๒, ๑ ๒ ๒ ๑ ๒ ๒ , ๑ ๒ ๒
มีคำที่อาจอ่านผิดได้หากอ่านไม่เป็น คือ คำว่า จร พิศ และ นั-
๓ คำนี้ต้องอ่านดังนี้
จร อ่านว่า จะระ มิใช่อ่านว่า จอน
พิศ อ่านว่า พิสะ มิใช่อ่านว่า พิด
นั- อ่านว่า นัย เพื่อรับสัมผัสกับคำว่า ลัย ข้างต้น
(คำนี้แยกออกจากคำเต็มว่า นัยนะ)
ตัวอย่างการอ่านกาพย์
พฤษภกาษร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสนงคง สําคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
ความดีก็ปรากฏ กิฤติยศฤาชา
ความชั่วก็นินทา ทุรยศยินขจร ฯ
คำประพันธ์นี้เป็นกาพย์ยานี มีวรรคละ ๑๑ คำ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหน้ามี ๕ คำ ส่วนหลังมี ๖ คำ มีลักษณะคล้ายอินทร วิเชียรฉันท์ แต่ไม่มีกำหนดคำหนักเบาหรือครุลหุเหมือนฉันท์ เวลา อ่าน ส่วนหน้าให้หยุดที่สองคำแรก ส่วนหลังให้หยุดที่สามคำแรก ตามรูปแบบดังนี้
OO, OOO OOO, OOO
OO, OOO OOO, OOO
ดังนั้น คำประพันธ์นี้จึงอ่านดังนี้
พรึดสบ- พะกาสอน อีกกุญชร, อันปลดปลง
โททนต์, เสนงดง สำคัญหมาย,ในกายมีกา
นอระชาด, ติวางวาย มลายสิ้น, ทั้งอินทรีย์
สถิตทั่ว, แต่ชั่วดี ประดับไว้, ในโลกา
ความดี, ก็ปรากฏ กริด-ติ-ยด, สะลือชา
ความชั่ว, ก็นินทา ทุรยศ, ยินขจร ฯ
ในคำประพันธ์บทนี้มีข้อสังเกตที่พึ่งกำหนดจำอยู่ ๓ แห่ง คือพฤษภกาษร นรชาติวางวาย และ กฤติยศฤาชา คือมีวิธีอ่านที่พิเศษโดยต้องอ่านให้ถูกรูปแบบที่กำหนดจำนวนคำไว้ หากอ่านตามปกติจะได้ค้าไม่ครบ คือ
พฤษภกาษร ถ้าอ่านว่า พรึด-สบ-กา-สอน จะได้เพียง ๔ คำเมื่อต้องการให้ครบจึงต้องอ่านเป็น พรึด-สบ, พะ-กา-สอน
นรชาติวางวาย ถ้าอ่านว่า นอ-ระ-ชาด-วาง-วาย แม้จะได้ ๕ คำ ก็ต้องหยุดที่คำว่า นอ-ระ, ซึ่งไม่เป็นที่นิยม นิยมอ่านว่า นอ-ระ-ชาด, ติ-วาง-วาย
กฤติยศฤาชา ถ้าอ่านว่า กริด-ติ-ยด-ลือ-ชา แม้จะได้ ๕ คำ ก็ต้องหยุดที่คำว่า กริด-ติ, ซึ่งไม่เป็นที่นิยม นิยมอ่านว่า กริด-ติ-ยด, สะลือ-ชา
ตัวอย่างการอ่านกลอน
เมื่อไม่ถึงคราวตายวายชีวาตม์
ใครพิฆาตเข่นฆ่าไม่อาสัญ
แต่เมื่อถึงคราวตายวายชีวัน
ใครไม่ทันทําร้ายก็ตายเอง ฯ
คำประพันธ์นี้เป็นกลอนแปด บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๘ คำ บ้าง ๙ คำบ้าง เขียนบรรทัดละวรรคก็ได้ บรรทัดละ ๒ วรรคที่ได้ แต่ละวรรคเขียนติดกันไปทั้งหมดก็ได้ เขียนตามที่หยุดก็ได้ คือ หยุดที่ ๓ คำแรก และอีก ๒ คำถัดมา ตามรูปแบบดังนี้
OOO, OO, OOO
OOO, OO, OOO
กลอนมีวิธีอ่านไม่ซับซ้อนเพราะมีลักษณะรูปแบบง่ายๆ จำรูปแบบได้ก็อ่านได้ ยิ่งถ้าเขียนเว้นวรรคไว้ให้ตามที่หยุดก็ยิ่งอ่านง่ายขึ้น ดังตัวอย่างข้างต้น หากเขียนเว้นวรรคไว้ก็จะได้รูปดังนี้
เมื่อไม่ถึง คราวตาย วายชีวาตม์
ใครพิฆาต เข่นฆ่า ไม่อาสัญ
แต่เมื่อถึง คราวตาย วายชีวัน
ใครไม่ทัน ทำร้าย ก็ตายเอง ฯ
ดังนั้น เมื่อเห็นคำประพันธ์ชนิดนี้ที่เขียนติดกันไป เมื่ออ่านก็ต้องแยกวรรคให้ถูกจึงจะอ่านได้ถูกและได้รสชาติ หาไม่แล้วจะอ่านคาบเกี่ยว
กัน ทำให้ไม่ไพเราะขาดรสชาติไป
ตัวอย่างการอ่านโคลง
ปางน้อยสำเหนียกรู้ เรียนคุณ
ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน ทรัพย์ไว้
เมื่อกลางแก่แสวงบุญ ธรรมชอบ
ยามหง่อมทําใดได้ แต่ล้วนอนิจจัง ฯ
คำประพันธ์นี้เป็นโคลงสี่ เรียกชื่อเต็มว่าโคลงสี่สุภาพ การอ่านโคลงไม่ยุ่งยากอะไรมาก อ่านไปตามวรรคตอนที่ปรากฏอยู่เป็นอันถูกต้องเว้นแต่วรรคสุดท้าย นิยมอ่านลากเสียงที่ ๒ คำแรกนิดหนึ่งแล้วอ่านต่อตามปกติ คือ แต่ล้วนอนิจจัง อ่านว่า แต่ล้วนอนิจจัง เท่านี้เป็นใช้ได้การอ่านโคลงที่ไพเราะนั้นท่านมีวิธีอ่านโดยเฉพาะ ไม่อ่านออกเสียงธรรมดา แต่มีการเน้นเสียงสูงต่ำตามวรรณยุกต์ เอื้อนเสียง
เล็กน้อยเมื่อสุดวรรคทุกวรรคเพื่อให้เสียงไม่ขาด แล้วอ่านวรรคต่อไปเลยวิธีการนี้เป็นเทคนิคโดยเฉพาะ ต้องฟังจากท่านผู้รู้แล้วฝึกอ่านเอง ก็จะอ่านโคลงได้ไพเราะเช่นกัน
บทสรุปเรื่องการอ่านค่าประพันธ์
คำประพันธ์ทุกประเภทที่แสดงมานี้เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อศึกษาเรียนรู้เรื่องการอ่านเท่านั้น ยังมีคำประพันธ์ประเภทอื่นๆ อีกมากที่มีปรากฏอยู่ในภาษาไทย ซึ่งแต่ละประเภทแต่ละชนิดต่างก็มีรูปแบบโครงสร้าง มีวิธีการอ่านเฉพาะตัว ต้องศึกษาเรียนรู้ไปแต่ละประเภทแต่ละชนิด เพราะคำประพันธ์นั้นมีวิธีการอ่านที่พิเศษพิสดาร อ่านถูกวิธีที่ไพเราะเสนาะหู อ่านผิดวิธีก็ขัดหูและขัดใจผู้รู้ เมื่อสนใจจะศึกษาเรียนรู้เรื่องนี้ สามารถหาอ่านได้จากหนังสือวรรณคดีประเภทร้อยกรองที่ท่านผู้รู้ได้นิพนธ์ไว้เป็นมรดกของชาติแต่โบราณมา มีทั้งสำนวนยุคเก่าและยุคใหม่ มีทั้งที่ใช้เป็นแบบเรียนของเยาวชนและที่ใช้เป็นหนังสือบันเทิงใจสำหรับผู้ใหญ่ทั้งหลาย หนังสือเหล่านี้นอกจากจะให้ความบันเทิงทางอารมณ์และได้อรรถรสทางภาษาแล้ว ยังให้ความแตกฉานในภาษาไทยควบคู่ไปด้วยความตกในภาษาไทยการอ่านคำประพันธ์ให้เป็นและให้ถูกต้องนั้นง่ายกว่าการแต่งคำประพันธ์หลายเท่า แต่เมื่ออ่านจนชำนาญและรักในการอ่านคำประพันธ์แล้ว ก็จะเกิดแรงจูงใจเกิดพลังในการที่จะทดลองแต่งคำประพันธ์เองเมื่อได้ลงมือฝึกหัดแต่งเมื่อใด ก็จะสามารถแต่งคำประพันธ์ได้ทันที และเมื่อแต่งบ่อยๆเข้าก็จะกลายเป็นผู้ชำนาญการ เป็นนักประพันธ์ร้อยกรองเป็นนักกวีที่สามารถสร้างสรรค์วรรณกรรมที่มีอรรถรสและความไพเราะหาตัวจับยากได้ในที่สุด เพราะมีข้อเท็จจริงอยู่ว่า“นักฟังที่ดี ย่อมเป็นนักพูดที่ดีได้ นักอ่านที่ดี ย่อมเป็นนักเขียนที่ดีได้”