จากยอดดอย

วันที่ 18 พค. พ.ศ.2552

เมื่อดวงจิตคิดอกุศล

                                                             

                                        dung520518.jpg

            ธรรมดาจิตของปุถุชนย่มมีขึ้นมีลง เมื่อจิตเป็นอกุศลย่อมนำไปสู่การพูดและการกระทำที่เป็นอกุศล ทำอย่างไรจึงจะสกัดกั้นอกุศลกรรมเหล่านั้นได้ ทำอย่างไรให้แปรเปลี่ยนอกุศลกรรมที่เกิดขึ้นเป็นกุศลกรรมได้ ในที่นี้จะเขียนเป็น ๔ หัวข้อคือ วิธีการแก้อกุศล วิธีป้องกันอกุศล วิธีการส่งเสริมไม่ให้เกิดอกุศลและวิธีแก้อกุศลแบบเบ็ดเสร็จ

ในที่นี้จะยกตัวอย่างเชิงวิชาการที่ว่า เมื่อเกิดนิวรณ์ ๕ ขึ้นท่านให้แก้ด้วยองค์แห่งฌาน ๕ ดังนี้

นิวรณ์ ๕ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี)

องค์แห่งฌาณ ๕

ก. ถีนมิทธะ (จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม)

ข.วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

ค. พยาบาท (ความปองร้ายผู้อื่น)

ง. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ)

จ. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)

ก. วิตก (ความตรึก , ความคิด)

ข.วิจาร (ความตรอง , ความอ่าน)

ค. ปีติ (ความอิ่ม , ความชุ่มชื่น)

ง. สุข (ความสบาย)

จ. เอกัคคตา (ความเป็นหนึ่ง)

วิธีการแก้อกุศล
๑.รีบปฏิบัติการตรงข้ามกับอกุศลจิตนั้นทันที เช่น เมื่อเกิดความกำหนัดก็รีบสลัดอารมณ์นั้นเสียแล้วคิดถึงสิ่งไม่สวยงาม หรือทำความสงบใจจนถึงขั้นเอกัคคตา(ใจสงบเป็นหนึ่ง)
๒.รีบเปลี่ยนอิริยาบถทันที เช่น เกิดอารมณ์ขุ่นข้องหมองใจในขณะที่นั่งก็ให้ลุกยืน หรือเดิน เกิดอกุศลจิตในขณะที่นอนก็ให้ลุกนั่งหรือยืน แม้ขณะฝันก็ตามในบางคราวที่รู้ตัวก็ให้รีบตื่นแล้วลุกขึ้น ยับยั้งอกุศลจิตไว้แม้กระทั่งความฝัน เป็นการแก้ไขไมม่ให้เกิดบาประดับลึกถึงจิตใจ
๓.รีบทำกิจอย่างหนึ่งอย่างใดทันที เช่น อยู่ว่างๆแล้วเกิดความรู้สึกฝ่ายต่ำขึ้นให้รีบหากิจกรรมทำ เช่น ทำความสะอาดบ้าน อ่านหนังสือธรรมะ เพราะเรื่องลักษณะนี้จึงเกิดสุภาษิตไทยที่ว่า “ อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด ” เมื่อเราใส่ใจกับกิจที่ทำแล้วนั้นความรู้สึกฝ่ายต่ำก็จะตกไปจากจิตทันที
๔.รีบหายใจเข้าลึกๆ ออกยาวๆ เช่น เมื่อจิตถูกอกุศลเข้าครอบงำ อยากทำร้ายคนอื่น ให้รีบสูดหายใจเข้าลึกๆ จนหน้าท้องพอง แล้วหายใจออกยาวๆ จนหน้าท้องแฟบ ทำบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
๕.ห่างไกลจากอบายมุข สาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้จิตเกิดอกุศล เพราะไปหมกมุ่นพัวพันกับอบายมุข ๖ คือ ดื่มน้ำเมา, เที่ยวกลางคืน, เที่ยวดูการเล่น, เล่นการพนัน, คบคนชั่วเป็นมิตร, เกียจคร้านทำการงาน สิ่งเหล่านี้นี่เองดึงรั้งใจให้ไปสู่ที่สูงไม่ได้
๖.ระลึกถึงหิริโอตตัปปะ หิริคือความละอายบาป รู้สึกรังเกียจไม่อยากทำบาป โอตตัปปะคือความเกรงกลัวบาป กลัวว่าทำบาปแล้ว บาปจะส่งผลเป็นความทุกข์ทรมานจึงไม่ยอมทำบาป
๖.๑เหตุที่ทำให้เกิดหิริ
ก) คำนึงถึงความเป็นคน หรือชาติตระกูล พิจารณาว่าตัวเรามีบุญ มีศักดิ์เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วทำไมต้องไปฆ่า ไปขโมย ไปแย่งคู่เขา ฯลฯ นั้นเป็นลักษณะของสัตว์เดรัจฉาน เราเป็นมนุษย์มีความสูงค่ากว่าเป็นไหนๆ ไม่จำเป็นต้องไปทำเช่นนั้น
ข) คำนึงถึงอายุ ว่าวัยเราขนาดนี้แล้วยังไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี เดี๋ยวจะเป็นประเภทแก่แดดแก่ลมไปเปล่าๆ
) คำนึงถึงความดีที่เคยกระทำ พิจารณาว่าเราเคยทำความดีมามาก ความชั่วก็เคยละมาได้ ทำไมตอนนี้จะมาพ่ายแพ้อย่างง่ายๆ เพียงเพื่อความเอาแต่ใจ ความสนุก ความเพลินชั่วครั้งชั่วคราวแค่นี้หรือ
ง) คำนึงถึงความเป็นพหูสูต พิจารณาว่าเรามีความรู้ความสามารถต่างๆ รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำจะมาพลาดท่าทำความชั่วได้อย่างไร
จ) คำนึงถึงพระบรมศาสดา พิจารณาว่าเราก็ลูกพระพุทธเจ้า กว่าท่านจะตรัสรู้ธรรมนำธรรมะคำสอนให้ก็ยากลำบาก ทำไมเราพิจารณานำเอาพุทธประวัติมาสอนใจว่าพระพุทธองค์ทรงลำบากยากเข็ญกว่าเราเพียงไหน ทำไมเราจะอดทนแค่นี้ไม่ได้
ฉ)คำนึงถึงครูอาจารย์ สถานศึกษาพิจารณาว่าครูอาจารย์ผู้อบรมสั่งสอนเรามา ถ้าเราทำชั่วชื่อเสียงของครูอาจารย์ สถาบันจะพลอยมัวหมองเพราะเรา เมื่อคิดอย่างนี้ก็จะเกิดหิริ ละอายบาป ไม่ยอมทำบาป
๖.๒เหตุที่ทำให้เกิดโอตตัปปะ
ก) กลัวคนอื่นติ พิจารณาว่าถ้าเราไปทำชั่ว คนอื่นรู้ก็จะติเตียนด่าทอ รู้กันทั่วไป เมื่อกลัวคนอื่นติโอตตัปปะก็เกิดขึ้น จึงไม่ยอมทำบาป
ข) กลัวการลงโทษ พิจารณาว่าถ้าเราไปทำชั่วผู้ปกครองรู้จะทำโทษ สังคมรู้ก็จะรังเกียจ ตำรวจรู้ก็จะติดตาราง
ค) กลัวการเกิดในทุคติ พิจารณาว่าเมื่อทำชั่วแล้ว แม้ไม่มีใครเห็น แต่กฏแห่งกรรมไม่เคยละเว้นผู้ใด ผลแห่งกรรมชั่วนำไปสู่กำเนิดสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ประสบความทุกข์ทรมานอย่างเผ็ดร้อนสาหัส เมื่อคิดอย่างนี้ก็จะเกิดโอตตัปปะความเกรงกลัวบาปไม่ยอมทำบาป

วิธีป้องกันอกุศล

วิธีป้องกันอกุศลอย่างได้ผลวิธีหนึ่ง คือการสำรวมอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ในที่นี้จะยกหมวดธรรมหมวดหนึ่ง คือสังวร ๕ (เครนื่องระวัง ๕ ประการ)
๑. ศีลสังวร การไม่ก้าวล่วงศีล รักษาศีลทุกเมื่ออย่างมั่นคง
๒. สติสังวร มีสติควบคุมอินทรีย์เสมอทุกขณะไป
๓. ญาณสังวร รู้เท่าทันอารมณ์ได้ทันท่วงที
๔. ขันติสังวร มีความพากเพียรละกิเลส

วิธีการส่งเสริมไม่ให้เกิดอกุศล
๑. เมื่อจิตเกิดกุศล ให้รีบดำเนินไปจนสุดกระแส รีบทำกิจตามความคิดฝ่ายสูงที่เกิดขึ้นให้สำเร็จไปโดยเร็วอย่าได้ผิดเวลา เพราะจิตมีธรรมชาตกลับกลอกไว อาจจะทิ้งความคิดที่ดีนั้นได้ หรืออาจถูกทำลายโอกาสอันดีนั้นไป ดังคำที่พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กล่าวบ่อยๆ ว่า “ ให้ชิงช่วงก่อนทีจะถูกช่วงชิง ”
๒. ถ้าสามารถต่อกระแสความคิดฝ่ายสูง(กุศลจิต) ให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไปได้ก็รีบกระทำทันทีอย่าละโอกาส ถ้าปล่อยให้เวลาเช่นนั้นผ่านไปเปล่าๆ จะเสียใจในภายหลัง
ก) สังวรปธาน เพียรระวังอกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น
ข) ปหานปธาน เพียรละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ค) ภาวนาปธาน เพียรยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ง) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

วิธีแก้อกุศลแบบเบ็ดเสร็จ
วิธีแก้ไข ปกป้องปราบปราม ตลอดกำจัดอกุศลแบบเบ็ดเสร็จแบบง่ายๆ ง่ายทั้งการจดจำ ง่ายทั้งวิธีการปฏิบัติ เพียงแต่ต้องอาศัยความเพียรอย่างต่อเนื่องเป็นหลักสำคัญ วิธีแก้อกุศลแบบเบ็ดเสร็จวิธีนั้นคือ “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” ที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ได้กล่าวไว้ ท่านยังบอกต่ออีกว่าเมื่อใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายจนเข้าถึงดวงธรรมตามลำดับจะไม่ทำความชั่วเลว แต่ถ้าใจหลุดออกนอกดวงธรรมจะไม่เป็ฯตัวของตัวเองแล้วจะเป็นเหตุให้ทำความชั่วได้ง่าย ดังโอวาทที่ว่า
“เมื่อใจเข้าไปอยู่กลางดวงนั้นแล้ว “หยุด” ความชั่วไม่ทำเลยใจหยุดทีเดียว ถ้าไม่หยุดเข้าไปในดวงนั้นไปอยู่ข้างนอกเสีย อยู่ข้างนอกเป็นถิ่นที่ทำเลของมาร มารก็ปั่นหัวเหมือนเด็กๆ ยุยงส่งเสริมตามชอบใจ บังคับบัญชาอย่างน่าบัดสีน่าอับอาย มันไม่อาย มารบังคับเสีย มันไม่อาย...”
เ มื่ อ ทำ ใ จ ห ยุ ด นิ่ ง ที่ ศู น ย์ ก ล า ง ก า ย ดี แ ล้ ว พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ก็สอนให้อธิษฐานสำทับเข้าไปอีก เพื่อการแก้ไขอกุศลกรรมให้หนักแน่นยิ่งๆ ขึ้นไป ดังโอวาทตอนหนึ่งว่า
“อย่าให้ผังไม่ดีติดไปภพเบื้องหน้า พอติดไปแล้วมันอายตัวเองและอายคนอื่นด้วย พญามารก็หัวเราะเยาะเพราะฉะนั้นหลวงพ่อไม่อยากให้สิ่งไม่ดีติดตัวเราไป อยากให้มีแต่สิ่งที่ดีๆ ติดตัวไปทุกภพทุกชาติ เวลาระลึกชาติได้ จะได้เห็นภาพประวัติศาสตร์ชีวิตที่งดงาม แล้วอธิษฐานให้จิตใจของข้าพระพุทธเจ้าเข้มแข็ง ไม่มีท้อถอย ไม่มีคลางแคลงในพระรัตนตรัยในวิชชาธรรมกาย ไม่เบื่อหน่ายในการสร้างบารมี ไม่ชะล่าใจ ประมาทว่าเราทำบุญมามากแล้ว ขอหยุดพักสักหน่อยแล้วสร้างใหม่อย่าให้ข้าพระพุทธเจ้าคิดอย่างนี้ สร้างบารมีเรื่อยไป ให้จิตใจข้าพระพุทธเจ้ามีมุทิตาจิต อย่าได้ไปอิจฉาริษยาใครเห็นใครได้ดีก็ขอให้จิตใจปีติยินดีกับผู้นั้นจะได้มีอานิสงส์ว่าไม่มีใครมาอิจฉาริษยาในภพชาติต่อไป มีแต่จะส่งเสริมทั้งมนุษย์เทวดาและปลื้มปีติในคุณงามความดีของข้าพระพุทธเจ้า เมื่อศึกษาวิชชาธรรมกายก็ขอให้เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย อย่างถูกต้องร่องรอยตามความเป็นจริงอย่าให้หลงตัวเอง เข้าใจตัวเองว่าเก่งแล้ว อย่าให้ข้าพระพุทธเจ้าอยากเด่นอยากดังเลย ให้มีแต่ความบริสุทธ์ผุดผ่องในการศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...”
“หยุด” ทำให้พ้นจากบาปอกุศล “หยุด” ทำให้ได้บุญมาก “หยุด” ใช้ตั้งแต่ต้นจนถึงอรหัต เมื่อหยุดใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จนเข้าถึงกายธรรมอรหัต จะเป็นการแก้ไขอกุศลอย่างเด็ดขาด จนกิเลสอาสวะหมดสิ้น สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดตลอดไป

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013957500457764 Mins