ประโยชน์ของสมาธิและสุขภาพ

วันที่ 31 พค. พ.ศ.2557

 

ประโยชน์ของสมาธิและสุขภาพ

 

          มนุษย์กับโรคภัยไข้เจ็บ
          เหนือความสำเร็จใดๆ ของมนุษย์สิ่งที่เป็นความปรารถนาอันสำคัญของแต่ละบุคคลคือการเป็น
ผู้มีสุขภาพพลานามัยดีแต่ปัจจุบันสังคมมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขของการมีชีวิตที่ดีในสังคม
ก็มีการเปลี่ยนไป เช่น มีการแข่งขัน และเกิดภาวะตึงเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจแม้อายุขัยโดยเฉลี่ยของมนุษย์จะยืนยาวขึ้น แต่โรคภัยไข้เจ็บที่มีอาการ ลับซับซ้อนและยากแก่การรักษาก็เกิดขึ้นตามมาอีกด้วย เช่นโรคมะเร็ง เอด์ หรืออาการทางจิตประสาทที่เกิดจากความตึงเครียดในชีวิต
ทำให้การแพทย์ มัยใหม่เริ่มมีการค้นคว้าและเสาะแสวงหาวิธีการต่างๆ ที่จะมาบำบัดและช่วยให้ชีวิตมนุษย์ในโลกปัจจุบันดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติสุขแต่การค้นคว้าดังกล่าวล้วนมุ่งดำเนินไปในทางวัตถุส่วนในทางจิตใจนั้นเราจะพบว่าในพระพุทธศาสนามีหลักธรรมและข้อปฏิบัติต่างๆ ที่สามารถเป็นแนวทางที่จะนำมาซึ่งความสงบสุขทางจิตใจและส่งผลต่อความมีสุขภาพดีทางร่างกายด้วย โดยเฉพาะเรื่องของการฝึกสมาธิที่ผู้คนทั้งหลายสามารถประพฤติปฏิบัติและสัมผัสผลดีได้ด้วยตนเอง


         ทั้งนี้ มนุษย์ ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ใด ในทางพระพุทธศาสนานั้น ถือว่าเป็นขันธ์
5หรือกองแห่งรูปธรรมและนามธรรมที่มาประชุมรวมกันเป็นหน่วยรวมส่วนประกอบทั้ง5 อย่างนั้น
ในพระสุตตันตปิฎกได้กล่าวไว้ ได้แก่


            1. รูป คือส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม ตลอดจนส่วนประกอบอันเป็นวัตถุภายนอก และคุณสมบัติต่างๆ


            2. เวทนา คือส่วนประกอบที่มีความรู้สึก หรือที่เป็นการเสวยอารมณ์ ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆซึ่งเกิดจากการรับหรือสัมผั มาจากทวารทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และอารมณ์ทางใจ


            3.สัญญา คือ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ หรือจำได้หมายรู้ในลักษณะ เครื่องหมายต่างๆเช่น รูปร่าง  เสียง กลิ่น รสสัมผัส และธรรมารมณ์

 

            4.สังขาร คือส่วนประกอบ หรือ ภาพปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ

 

           5. วิญญาณ คือส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ทางทวารทั้ง 5 เช่น การได้ยิน ได้เห็น และได้อารมณ์ทางใจ เป็นต้น

 

          กล่าวโดย รุปจากข้างต้นก็คือ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วย 2ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนที่เป็นรูปหรือ
ร่างกาย(นั่นคือรูป) และส่วนที่เป็นนาม หรือจิตใจ(ซึ่งได้แก่ เวทนาสัญญาสังขาร และวิญญาณ) ดังนั้น
การที่จะมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ ก็คือมีรูปและนามดำเนินไปปกตินั่นเอง และการจะเป็นผู้มีสุขภาพดีนั้น จะต้องดีทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามโรคภัยไข้เจ็บย่อมเกิดขึ้นกับตัวมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้พ้น ย่อมสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางกายและจิตใจ ดังพระราชวรมุนี(ประยูร ธมฺมจิตโต)1 ได้กล่าวไว้ว่า


          "พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนเรามีโรคด้วยกันทั้งนั้น โรคมี 2 แบบคือ โรคทางกายกับโรคทางจิตวิญญาณ พระองค์ตรัสว่า เป็นไปได้ที่คนเราจะไม่ป่วยเป็นโรคทางกาย 7วันบ้าง 7สัปดาห์บ้าง 7 เดือนบ้าง 7 ปีบ้าง แต่เป็นไปไม่ได้ที่คนเราจะไม่ป่วยเป็นโรคทางจิตใจ หรือจิตวิญญาณที่เรียกว่าเจตสิก โรคแม้ชั่วขณะหนึ่ง ยกเว้นพระอรหันต์ผู้สิ้นกิเลส "


          จากคำกล่าวข้างต้นแสดงว่า"ใจ"สามารถเกิดโรคได้ง่ายกว่ากาย แต่ในตัวมนุษย์นั้นพระพุทธองค์ตรัสว่าใจมีความสำคัญและเป็นสิ่งควบคุมกายเพราะการกระทำ ด้วยกายหรือวาจาย่อมมีใจเป็นกลไกที่จะสั่งการให้ปรากฏออกมา ดังเช่นในคาถาธรรมบทที่ว่า


          "ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุดสำเร็จแล้วแต่ใจถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต 3 อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่ ฉะนั้น 2"


          ดังนั้นเมื่อจิตใจได้รับการอบรมและฝึกฝนให้มีความสงบและมีสมาธิอันตั้งมั่น ย่อมจะนำไปสู่
ความเป็นผู้มีปัญญา มีความสมบูรณ์ทางจิตใจและส่งผลดีแก่ร่างกายด้วย ดังนั้นการจะมีชีวิตอย่างมี
ความสุขได้ไม่เพียงร่างกายจะมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงเท่านั้น จิตใจจะต้องมีความสะอาด บริสุทธิ์
ผ่องใสอีกด้วยโดยเฉพาะจากคาถาธรรมบทข้างต้นได้ให้ความสำคัญว่าเป็นสิ่งที่มีความประเสริฐที่สุดซึ่งถ้าจิตใจมีความตั้งมั่นแข็งแกร่ง ร่างกายก็จะเข้มแข็งตามไปด้วย ถึงแม้จะมีสุขภาพร่างกายเป็นปกติ หากจิตใจไม่เข้มแข็งแล้วก็ย่อมทำให้บุคคลผู้นั้นมีความอ่อนแอ และนำไปสู่ความเป็นผู้มีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายการที่สุขภาพจะดีและดำเนินเป็นปกติได้ จะต้องมีความสมดุลอย่างเป็นปกติของร่างกายและจิตใจ


          ทั้งนี้ในทัศนะของแพทย์แผนปัจจุบัน ต่างยอมรับว่าจิตใจเป็นสิ่งควบคุมการกระทำของกายสาเหตุสำคัญของอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย ย่อมมีผลเนื่องมาจากจิตใจ และย่อมแก้ไขด้วยกระบวนการ ทางจิตใจดังเช่นที่นายแพทย์เฉกสธนะสิริ1 ได้กล่าวไว้ว่า

          "ปรากฏการณ์ที่แ ดงว่าจิตคุมกายนั้น จะเห็นได้ชัดแจ้งว่า หากเมื่อใดจิตของเราแปรปรวนรวนเรแล้วละก็ มันจะพาลให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเราเกิดระส่ำระสายทันที เช่น เกิดความวิตกกังวล อันจะนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ง่ายหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไ ้ หรือความดันโลหิตสูง อันจะนำไปสู่เส้นเลือดใน มองแตกหรืออุดตัน นอนไม่หลับ โรคประสาท อาหารไม่ย่อย ท้องผูก
อ่อนแรง รวมไปถึงความรู้สึกทางเพศเสื่อมทันที เป็นต้น"


           เนื่องจากว่าใจนั้นมีหน้าที่รับรู้สิ่งที่มากระทบตามทวารต่างๆเช่นตาหู จมูก ลิ้น และสัมผั ทางกาย
ใจยังทำหน้าที่จำสิ่งที่เป็นสัญญาขันธ์ดังกล่าว และยังทำหน้าที่นึกคิดและตัดสิน ตลอดจนสั่งการไปยัง
อวัยวะต่างๆ เช่น มอง แล้วผ่านไปยังอวัยวะและระบบประสาทให้ดำเนินการตามที่ใจต้องการ ดังนั้น ใจ
จึงเปรียบเสมือนโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ของคอมพิวเตอร์ ที่มี มองคือ  เป็นหน่วยความจำกลาง
และคอมพิวเตอร์จะดำเนินการได้จะต้องมีซอร์ฟแวร์ดังกล่าวคอยควบคุม ดังนั้น พฤติกรรม ของมนุษย์ ทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบย่อมเกิดจากการกระตุ้นและสั่งการจากใจ นั่นคือสุขภาพทางใจย่อมส่งผลต่อสุขภาพทางกาย ดังผลจากการศึกษาทางการแพทย์ มัยใหม่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างกายกับใจที่มีผลต่อสุขภาพว่า


           "เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้นในใจ ระบบแรกที่จะถูกกระทบแล้วส่งผลไปสู่ระบบอื่นคือ ระบบการไหลเวียนของเลือด กรดแลกติกและแร่เกลือโซเดียมในเลือดจะสูงขึ้นทันทีส่วนแร่เกลือโปแต เซียมจะต่ำลง เคมีในเลือดที่ผันผวนนี้เอง จะไปกระตุ้นต่อมและอวัยวะต่างๆ ให้เกิดความผิดปกติ ยิ่งไปกว่านั้น ร่างกายจำเป็นต้องเผาผลาญออกซิเจนจำนวนมากขึ้น ดังนั้นการหายใจถี่ขึ้น ทำให้รู้สึกเหนื่อยใจสั่น เหงื่อออกชุ่มตัวโดยเฉพาะฝ่ามือ 2 "


           จากประสบการณ์ของผู้คนทั่วไป เมื่อจิตใจมีความเครียดย่อมจะมีลักษณะดังกล่าว คือใจสั่น
เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีอาการตื่นเต้น ตกใจ ประหม่า หรือเกิดอาการเครียดโดยเฉียบพลัน ซึ่งเป็น

อาการทางใจที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือทางร่างกายโรคภัยไข้เจ็บก็จะตามมา

ทางการแพทย์ มัยใหม่ระบุต่อไปอีกว่า


           "กล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดอาการหมดแรง ปวดกล้ามเนื้อต่อมหมวกไตหลั่งสารแอดรีนาลีนสูง ทำให้กลายเป็นเบาหวานได้ง่ายขึ้น กระเพาะอาหารขับกรดออกมามากกว่าปกติ โอกาสเป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้มากขึ้นระบบทางเดินอาหารอาจจะเกิดอาการ ท้องเสีย ท้องผูก หรือทั้งสองอย่างได้ ด้านระบบประสาท ทำให้นอนไม่หลับ ปวดหัว ใจสั่น ก็จะยิ่งทำให้อาการของระบบต่างๆหนักขึ้นเพราะร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ โอกาสเป็นโรคมะเร็งของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายเพราะความเครียดสะ มในใจมาเป็นแรมปีสร้างสารพิษ (ฯ)เกิดขึ้นในร่างกาย 1 "


           อีกด้านหนึ่ง อาการป่วยของคนไข้ทางร่างกายย่อมส่งผลไปสู่ทางจิตใจได้เช่นเดียวกัน เพราะโรคร้ายแรงและคุกคามต่อชีวิต ย่อมมีผลต่อจิตใจและพฤติกรรมของผู้ป่วย ดังเช่น เมื่อผู้ป่วยรู้ตัวว่าตนเองเป็นมะเร็งหรือเริ่มสงสัยว่าจะเป็น ผู้ป่วยก็จะมีอาการตกใจ เกิดความกังวล อาจจะพยายามบ่ายเบี่ยงปฏิเสธ ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ นายแพทย์ประภาสอุครานันท์2 จิตแพทย์แห่งโรงพยาบาลนิติจิตเวชได้กล่าวถึงพฤติกรรมทางจิตใจและพฤติกรรมของผู้ป่วย เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง โดย รุปว่าในเบื้องต้น ผู้ป่วยจะตกใจและปฏิเสธอาจจะโทษแพทย์ว่าตรวจผิด อาจจะไปตรวจใหม่เพื่อยืนยันว่า ตนเองไม่ได้เป็นโรคดังกล่าว ต่อมาเมื่อได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคจริง ผู้ป่วยก็จะเริ่มมีอาการทางจิตใจ คือ กังวล สับสน และโกรธ() ซึ่งอาจจะแสดงอาการออกมาด้วยความก้าวร้าวทั้งทางกิริยาและคำพูดและเมื่อผ่านระยะนี้ไป ผู้ป่วยก็จะเริ่มสงบใจลงบ้าง แต่จะรู้สึกต่อรองในใจว่า อาจจะไม่เป็นโรคดังกล่าวหากมีการตรวจที่ละเอียดกว่านี้ แต่กระนั้นจะเริ่มมีอาการซึมเศร้า รู้สึกหมดหวัง และเริ่มจะยอมรับความจริงว่าตนเองอาจจะเป็นโรคนั้นจริงๆ ระยะนี้ผู้ป่วยจะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ มีอาการเหม่อลอย นายแพทย์ประภากล่าวว่าเป็นระยะสำคัญที่จะต้องให้ความสนใจผู้ป่วยโดยเฉพาะทางจิตใจให้มากขึ้น เพราะระยะนี้อาจจะนำไปสู่ความเป็นโรคจิตได้ ตามปกติจิตแพทย์ก็จะทำจิตบำบัด จนกว่าผู้ป่วยจะถึงระยะที่ยอมรับ ความจริงได้มากขึ้น และเริ่มสนใจที่จะยอมให้แพทย์รักษา ซึ่งในทางการแพทย์นั้นถือว่า การรักษาทางใจมีความสำคัญทั้งนี้นายแพทย์ประภาสได้ รุปว่า การที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจและยอมรับการรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรจะทำสมาธิ อันเป็นการรักษาที่จิตใจและสามารถส่งผลต่อการรักษาทางร่างกาย ที่ได้ผล

 

จากหนังสือ DOU

วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.014867532253265 Mins