อนาถบิณฑิกเศรษฐี ตอนที่ ๓ สร้างวัดพระเชตวัน

วันที่ 05 มค. พ.ศ.2548

อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ตอนที่ ๓ สร้างวัดพระเชตวัน


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

      ขอย้อนไปถึงครอบครัวของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสักเล็กน้อย  ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมีนามเดิมว่า สุทัตตะ แปลว่า ผู้มีตนดี คือ ตั้งตนไว้ดี ไม่มีชั่วเลย หรือผู้มีการให้ทานอันดี

     ท่านเป็นชาวเมืองสาวัตถี เป็นบุตรของท่านสุมนเศรษฐี ที่มาของชื่อ อนาถบิณฑิกะ คือ อุปนิสัยของท่านเป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นผู้มีการให้ทานเป็นปกติอย่างสม่ำเสมอเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ จนได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ แปลว่า ผู้ให้ก้อนข้าวสำหรับคนยากไร้

       ท่านมีน้องชายคนหนึ่งชื่อ สุภูตกฎุมพี รูปหล่อทะมัดทะแมง  และมีน้องสาวชื่อ สิริสุมนา ท่านอนาถบิณฑิกะมีภรรยาชื่อว่า บุญญลักษณา ซึ่งเป็นน้องสาวของเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ที่มีชื่อว่า ราชคฤหเศรษฐี ส่วนน้องสาวของท่านอนาถบิณฑิกะก็เป็นภรรยาของราชคฤหเศรษฐีเช่นกัน และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับท่านราชคฤหเศรษฐีก็เป็นสหายกัน ดังได้กล่าวมาแล้วในต้นเรื่อง
 

อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

     ข่าวเรื่องท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมเหล่าพระสาวก   มาฉันภัตตาหารทราบไปถึงพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร จึงมีรับสั่งให้ท่านเศรษฐีเข้าเฝ้า ด้วยพระราชาเห็นว่าท่านเศรษฐีเป็นแขกเมือง คงจะไม่ได้เตรียมอะไรมา เดี๋ยวจะถวายทานได้ไม่เต็มที่ ขาดตกๆ หล่นๆ อะไรอย่างนั้น เพราะว่าพระองค์ท่านมีความเคารพเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก ถวายแต่ของที่ประณีต เกรงว่าท่านเศรษฐีมิได้เตรียมสิ่งเหล่านี้มา ก็ทรงซักถามเช่นเดียวกัน ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้กราบทูลพระราชาในทำนองเดียวกัน

       จากนั้นท่านเศรษฐีจึงสั่งให้บริวารจัดเตรียมภัตตาหารอันประณีต ในเรือนของท่านราชคฤหเศรษฐีในคืนนั้นเอง วันรุ่งขึ้นท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สั่งให้บริวารไปกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าว่า “ภัตตาหารจัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ขอนิมนต์พระพุทธองค์และพระสาวกในเวลานี้เลยพระเจ้าข้า”


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงครองผ้าอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าสู่เรือนของราชคฤหเศรษฐีพร้อมเหล่าพระสาวก ทรงนั่งประทับเหนืออาสนะที่ปูลาดพร้อมเหล่าพระสาวก ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงได้ถวายภัตตาหารอันประณีต แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งเหล่าพระภิกษุสงฆ์ด้วยมือของตนเอง


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

   เมื่อพระพุทธองค์ทรงขบฉันภัตตาหารเรียบร้อยแล้ว ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้กราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์พร้อมเหล่าพระสาวก จงรับนิมนต์ข้าพระองค์เสด็จไปจำพรรษาที่กรุงสาวัตถีเถิด”


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

      พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า  "ท่านเศรษฐี ตถาคตและหมู่สงฆ์ ย่อมยินดีใน สุญญคาร ( เรือนว่าง)"ท่านเศรษฐีจึงกราบทูลว่า "ข้อนี้ข้าพระพุทธองค์ทราบดีพระเจ้าข้า" จากนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรมกถาให้ท่านเศรษฐีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง แล้วทรงเสด็จกลับ


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

     ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงรีบทำธุระของตนให้กรุงราชคฤห์ให้เสร็จเร็วกว่ากำหนด เพื่อที่จะกลับเมืองสาวัตถีไปสร้างอารามถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกได้อยู่จำพรรษา


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

      ท่านเป็นผู้มีมิตรสหายมาก และเป็นที่รู้จักของทุกคนทุกหมู่บ้าน ในระหว่างทาง ท่านจึงได้ชักชวนเพื่อนของท่านในแต่ละหมู่บ้านว่า "บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว และข้าพเจ้าก็ได้อาราธนาพระพุทธเจ้าและพระสาวก มาจำพรรษาในนครสาวัตถี ซึ่งพระองค์จะเสด็จมาตามเส้นทางนี้ ขอท่านทั้งหลายจงช่วยกันสร้างเสนาสนะสำหรับที่พักแรม เพื่อน้อมถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวก ในระยะทางทุก ๑ โยชน์ รวม ๔๕ โยชน์ จนถึงเมืองสาวัตถี แล้วจงช่วยกันแผ้วถางหนทางให้ราบเรียบ และร่มรื่น เหมาะแก่การพักเหนื่อยเถิด"


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

       ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเมื่อไปถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ท่านก็รีบไปสำรวจดูพื้นที่ทั่วทั้งพระนคร เพื่อหาสถานที่สร้างอารามที่จะเป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และของเหล่าพระสาวก โดยท่านเศรษฐีมีหลักพิจารณาว่า

๑. สถานที่นั้นต้องอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป เพื่อความสะดวกในการบิณฑบาต

๒. ไม่อยู่ใกล้กับหมู่บ้านมากนัก เพื่อจะได้ไม่พลุกพล่าน

๓. มีการคมนาคม ไปมาได้สะดวก

๔. กลางวันมีคนไม่มาก เพราะต้องการความสงบสงัด

๕. กลางคืนเงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวนใดๆ

๖. ไม่มีชาวบ้านเข้ามารบกวน คือ บางทีเขามาตัดไม้ในป่าบ้าง ถ้าไม่ปฏิสันถารเดี๋ยวชาวบ้านก็โกรธ ถ้าคุยด้วยก็เสียเวลาปฏิบัติธรรม

๗. เป็นสถานที่สงบ วิเวก คือ พอผ่านไปดูเหมือนไม่มีพระภิกษุ

๘. เป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับบรรพชิตหรือนักบวชผู้รักความสงบ ต้องการหลีกเร้น

       เพราะเป็นนักบวชพึงต้องการการปฏิบัติธรรม   ถ้าอยู่โดยไม่ได้ปฏิบัติธรรมแล้วเป็นนักบวชยาก    อยู่ไปก็อย่างนั้นๆ อยู่กันไปวันๆ ไม่ว่าพระเณรหรือฆราวาสก็ตาม แม้ฆราวาสมีเครื่องสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ถ้าไม่ทำสมาธิ ปฏิบัติธรรม แม้มีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนที่ตายไปแล้ว


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

    เมื่อมาถึงเมืองสาวัตถี ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้เที่ยวเดินสำรวจพื้นที่เพื่อหาผืนดินที่เหมาะสมแก่การสร้างวัด จนมาพบอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร พบว่าเป็นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างวิหารถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวก เพราะมีคุณสมบัติ ๘ ประการครบถ้วนบริบูรณ์ ท่านจึงเดินทางไปเข้าเฝ้าเจ้าเชตราชกุมาร และกราบทูลว่า


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , สร้างวัดพระเชต , วันเจ้าเชต , สมัยพุทธกาล , พระมหาวิหารพระเชตวัน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สุทัตตะ

         “หม่อมฉันมาขอประทานที่ดินผืนที่เป็นอุทยานของพระองค์ พระเจ้าข้า”

         เจ้าเชตถามว่า “ท่านเศรษฐีจะเอาผืนดินไปทำอะไร” ท่านเศรษฐีตอบว่า “จะเอาไปสร้างอารามถวายสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข” เจ้าเชตจึงถามความต้องการว่าท่านเศรษฐีต้องการพื้นที่ขนาดเท่าไหร่ บริเวณไหน ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ตอบว่า

        “ หม่อมฉันขอประทานพื้นที่ทั้งหมดของอุทยานเลยพระเจ้าข้า”

         ทำให้เจ้าเชตราชกุมารถึงกับนิ่งอึ้งด้วยความประหลาดใจเป็นอย่างมาก

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.017313567797343 Mins