ฉบับที่ ๑๖๘ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙

ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์

บทความน่าอ่าน
เรื่อง : โครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ (DTP)

ย้อนรอยกาล
ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์

ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

    รอยจารึกอักษรโบราณอายุหลายร้อยปีที่ปรากฏบนแผ่นลานนั้น มีความหมายและทรงคุณค่าต่อการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์แห่งการสืบทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านการจดจำและจดจารจากจุดเริ่มต้น ณ ดินแดนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล สืบทอดยาวนานผ่านรุ่นสู่รุ่นต่อเนื่องหลายพันปีจนถึงปัจจุบัน แม้อักขระมีความแตกต่างกันไปตามสายจารีต แต่ไม่ว่าจะเป็นอักษรขอม อักษรธรรม อักษรพม่า และอักษรสิงหล ต่างก็จดจารเนื้อความภาษาบาลีแห่งพระธรรมวินัยของพระบรมครูเฉกเช่นเดียวกัน เอกลักษณ์อันโดดเด่นของแต่ละสายอักษรดึงดูดให้นักวิชาการทั้งสายจารีตและสายตะวันตกเข้ามาศึกษาวิเคราะห์ค้นคว้าร่วมกันเพื่อย้อนไปสู่คำสอนดั้งเดิม
 

ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
ผู้อำนวยการโครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ (DTP)
และพระมหาวรท กิตฺติปาโล หัวหน้ากองพระไตรปิฎก
ถ่ายภาพร่วมกับ Prof. Oskar von Hinuber และ Dr. Alexander Wynne

    เมื่อวันที่ ๒๒-๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ ผู้อำนวยการโครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ (DTP) ได้เชิญนักวิชาการที่เป็นที่รู้จักในวงการการศึกษาคัมภีร์ใบลานและภาษาบาลี คือ Prof. Oskar von Hinuber ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน ผู้แต่งตำราที่ได้รับการยอมรับและใช้อ้างอิงจากนักวิชาการทั่วโลก และ Dr. Alexander Wynne นักวิชาการชาวอังกฤษ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Oxford เข้าร่วมงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ กองพระไตรปิฎก วัดพระธรรมกาย เพื่อให้ความรู้และข้อแนะนำแก่นักวิชาการประจำของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยพระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา และนักวิชาการจากหลากหลายประเทศ คือ ประเทศไทย เมียนมา ศรีลังกา ญี่ปุ่น และสเปน
 

ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

  การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ทางโครงการได้นำภาพถ่ายดิจิทัลของคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกทีฆนิกาย มหาวรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก อักษรพม่าจากประเทศเมียนมาอักษรสิงหลจากประเทศศรีลังกา และอักษรขอม อักษรธรรม จากประเทศไทย จำนวน ๒๐ ฉบับ ที่ผ่านการคัดเลือกและกลั่นกรองมาจากคัมภีร์ทั้งหมดกว่าร้อยฉบับ เพื่อให้ได้คัมภีร์ที่ดีที่สุด เก่าแก่ที่สุด และสมบูรณ์ที่สุด อย่างน้อยสายละ ๕ คัมภีร์ แล้วนำมาศึกษาตามหลักวิชาคัมภีร์โบราณ เพื่อย้อนไปสู่คำสอนดั้งเดิมสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ เพราะหลักฐานที่ปรากฏในอรรถกถาของพระพุทธโฆษาจารย์ที่แปลและเรียบเรียงขึ้นเพื่อขยายความพระไตรปิฎกบาลีทำให้เราสามารถสืบย้อนคำสอนแห่งพระธรรมวินัยของพระบรมศาสดากลับไปได้อย่างน้อยถึงราวปี พ.ศ. ๙๐๐
 

ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

   คัมภีร์ใบลานถือเป็นข้อมูลปฐมภูมิที่คัดลอกจดจารสืบเนื่องมาจากคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกฉบับแรกที่จารขึ้น ณ เกาะลังกาหลังพุทธปรินิพพานได้ ๔๐๐ ปีเศษ แม้คัมภีร์ต้นฉบับเสื่อมสลายสูญหายไปนานแล้ว แต่คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานที่หลงเหลือในปัจจุบันที่เกิดจากการจารคัมภีร์ใบลานฉบับใหม่ขึ้นทดแทนฉบับเดิมจากรุ่นสู่รุ่น ถือเป็นมรดกการสืบทอดที่บันทึกคำสอนดั้งเดิมเมื่อสองพันกว่าปีก่อนให้คงอยู่มาจนทุกวันนี้ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า คัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกฉบับแรกได้รับการจารจารึกลงบนแผ่นลานในสมัยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยเมื่อราวปี พ.ศ. ๔๐๐ เศษ แต่ก่อนหน้าที่จะมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เดิมในสมัยพุทธกาล พระสัทธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการสืบทอดด้วยการสวดทรงจำแบบปากต่อปากที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” ในดินแดนชมพูทวีปอันเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนา
 

ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย
คัมภีร์ใบลานอรรถกถา อักษรธรรม จารเมื่อจุลศักราช ๑๒๐๔ พบที่เมืองแพร่

    ต่อมา หลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่ กระทำขึ้นหลังพุทธปรินิพพานราว ๒๐๐-๓๐๐ ปี คำสอนของพระพุทธองค์จึงแผ่ขยายไปสู่ดินแดนอื่นๆ อย่างกว้างขวางเมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงจัดส่งสมณทูตออกประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ จำนวน ๙ สาย ครั้งนั้น คณะพระภิกษุซึ่งมีพระมหินทเถระเป็นผู้นำเดินทางไปประดิษฐานพระพุทธศาสนายังเกาะลังกา แต่ในเวลาต่อมากษัตริย์ทมิฬเข้ายึดอำนาจครอบครองเกาะลังกา เกิดความวุ่นวายในแผ่นดิน พระภิกษุสงฆ์ได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว บางส่วนจึงเดินทางลี้ภัยไปยังชมพูทวีป บางส่วนที่ยังอยู่ในเกาะลังกาก็หลีกเร้น ซ่อนตัว ไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้เหมือนก่อน

    เมื่อพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยสามารถยึดอำนาจคืนจนบ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติทรงเล็งเห็นว่า หากยังสืบทอดพระธรรมวินัยด้วยการสวดทรงจำเพียงอย่างเดียวไม่อาจรักษาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สงฆ์ที่เหลืออยู่ในประเทศและที่เดินทางกลับมาจากชมพูทวีปทบทวนพระธรรมวินัยให้ครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วให้จารจารึกพระไตรปิฎกลงในแผ่นลานเป็นภาษาบาลีด้วยอักษรสิงหล นับเป็นครั้งแรกที่การสืบทอดพระธรรมวินัยเปลี่ยนรูปแบบจากการสวดทรงจำเป็นการจารจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร

   ในขณะที่แสงแห่งพระสัทธรรมได้สว่างไสว ณ เกาะลังกา พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปกลับเสื่อมลงอย่างมากเนื่องด้วยภัยจากศาสนาอื่นที่เข้ามารุกราน แม้คัมภีร์พระไตรปิฎกยังพอหลงเหลืออยู่ในอินเดียบ้างแต่ไม่มีคัมภีร์อรรถกถาซึ่งใช้อธิบายเนื้อความของพระไตรปิฎก จนกระทั่งราวปี พ.ศ. ๙๐๐ พระพุทธโฆษาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญแตกฉานในภาษาบาลีจึงเดินทางไปยังเกาะลังกาเพื่อแปลและเรียบเรียงอรรถกถาจากภาษาสิงหลกลับเป็นภาษาบาลีอีกครั้งตามคำแนะนำของพระอุปัชฌาย์ หลายปีแห่งการศึกษาเล่าเรียนภาษาสิงหลจนกระทั่งแตกฉาน ท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาจากภาษาสิงหลกลับคืนสู่ภาษาบาลีหลายเล่ม ซึ่งวงการการศึกษาพระพุทธศาสนาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อาทิ คัมภีร์อรรถกถาธรรมบท

ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย
ตัวอย่างพระไตรปิฎกบาลี
 

ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

ตัวอย่างอรรถกถาบาลี


ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

ตัวอย่างอรรถกถาแปลภาษาไทย
 

ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์ , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย

    แม้คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานฉบับแรกที่จาร ณ เกาะลังกาจะเสื่อมสลายไปนานแล้วก็ตาม แต่คัมภีร์ใบลานยุคต่อมาที่จารขึ้นทดแทนฉบับเดิมก็ยังคงเหลืออยู่ให้นำมาศึกษาประกอบกับคำอธิบายขยายพระไตรปิฎกที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา ที่สืบต่อกันมานับแต่ พ.ศ. ๙๐๐ รวมทั้งความรู้ด้านไวยากรณ์บาลีประวัติศาสตร์พุทธศาสนา หลักวิชาคัมภีร์โบราณ นิรุกติศาสตร์ และความรู้ทางวิชาการสาขาอื่น ๆ ได้นำมาใช้ศึกษาค้นคว้าในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ซึ่งคณะนักวิชาการร่วมกันวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหลายประเด็น ผ่านมุมมองแห่งโลกตะวันตกผสานกับมุมมองแห่งโลกตะวันออก ส่งผลให้ผลงานวิเคราะห์ทางวิชาการออกมาในมุมกว้างและลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปเพื่อย้อนเนื้อความที่ปรากฏในพระไตรปิฎกที่ย้อนได้ไกลอย่างน้อยถึงสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ เพื่อเป้าหมายสูงสุดในการรักษาสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดาที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ให้ยาวนานสืบไป

 

อ้างอิง
มหามกุฏราชวิทยาลัย. สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกฏฺฐกถา ธมฺมปทฏฺกถา (ปฐโม ภาโค). กรุงเทพ,โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกฏฺฐกํ สุตฺตนฺตปิฏเก ขุทฺทกนิกายสฺส. กรุงเทพ, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๒.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายคาถาธรรมบท เล่ม ๑. กรุงเทพ, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล