ตามหลวงพ่อ >> เส้นทางสร้างบารมี >> พระครูปลัดวันชัย สีลวัณโณ >> เคล็ดลับความอร่อย
น้ำผึ้ง นมสด ซอสปรุงรส แป้งมัน แป้งข้าวโพด ส่วนผสมที่ใช้หมักเนื้อเหล่านี้ จะช่วยทำให้เนื้อ ที่หมักนั้นนุ่มรสชาติอร่อย และเมื่อพ่อครัวปรุงเสร็จเรียบร้อย ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ที่อยู่ในมือผมจานนี้ มีทั้งสีสันและควันหอมชวนรับประทานเป็นอย่างยิ่ง
บ่อยครั้งที่ผมได้รับคำชวนให้ชีมอาหารจากฝีมือพ่อครัวท่านนี้ ซึ่งทุกครั้งผมก็ไม่เคยปฏิเสธ
การหาอาหารอร่อย ๆ รับประทานนั้นหาได้ไม่ยาก แต่การหาโอกาสชิมฝีมือพ่อครัวท่านนี้ใช่ว่าจะหากันได้ง่าย ๆ พ่อครัวผู้ที่เรี่มต้นฝีมือจากทำครัวไม่เป็น ในชีวิตไม่เคยควงตะหลิวทำอาหาร มาก่อนเลยสักครั้งเดียว
แรงขับภายใน ใจรักที่จะทำในสิ่งที่ชอบ มักเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่าฝีมือ แต่สำหรับบางคน ฝีมือเริ่มต้นที่คำว่า "บุญ" บุญที่เป็นเหมือนสนามกว้าง สนามที่ให้โอกาสฝึกฝนและแสดงฝีมือ บนเส้นทางการสร้างบารมี
พระครูปลัดวันชัย สีลวัณโณ หลังจากที่จบการศึกษาท่านได้รับคำชวนจากหลวงพ่อให้มาร่วมบุกเบิก สร้างวัด โดยเข้ามารับบุญเป็นอุบาสกซึ่งต้องทำหน้าที่หลาย ๆ อย่างและหนึ่งในนั้นคือบทบาท การเป็นพ่อครัว
หลวงพี่ท่านเล่าให้ฟังว่า "วันที่หลวงพ่อชวน ท่านได้ถามหลวงพี่ว่า ทำกับข้าวเป็นไหม? ก็ตอบท่านไปว่า ไม่เป็นครับ หลวงพ่อก็ถามต่อ แล้วเจียวไข่ได้ไหม? ได้ครับ "
แล้วจากนั้นความอร่อยก็เรี่มต้นขึ้นด้วยเมนูไข่ ทั้งไข่เจียว ไข่ต้ม ไข่ตุ๋น และไข่น้ำ หมุนเวียน สลับกันไป
"สมัยก่อนแถววัดเรานี้ยังเป็นถิ่นทุรกันดาร ขนาดพวกเจ้าหน้าที่ย้ายมา ต้องขอรีบย้ายกลับกันเลยเพราะกันดารมาก กินน้ำฝน อาบน้ำคลอง พอมีธรรมทายาทเข้ามาอบรมหลวงพี่ก็ช่วย ดูแล ดูแลพวกคนเรือขุดด้วย ทำอาหารให้เขา หาขนมให้เขารับประทาน"
ด้วยความที่เป็นผู้ขวนขวายหาความรู้ ความคิดที่จะพัฒนาความอร่อยจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
"คือเมื่อก่อนมันไม่มีอะไร อุปกรณ์ไม่มี หมูก็ไม่มี ส่วนใหญ่พอกลับบ้านก็ไปอาศัยเรียนรู้จากแม่ ถามแม่อันนี้ทำยังไง แต่มักจะถูกไล่ออกจากครัว แม่ไม่ให้อยู่ในครัว ไม่ให้ทำอะไรทั้งนั้น เลี้ยงเรา แบบเป็นคุณหนู"
ท่านเป็นลูกชายคนเล็กในบ้าน พี่ ๆ ทุกคนมักจะไม่ให้ทำอะไรทั้งนั้น ไม่ต้องให้ช่วยทำงาน บ้านงานครัวใด ๆ พื้นฐานงานครัวจึงยังไม่เพี่มขึ้น ท่านจึงต้องเปลี่ยนวิธีหาความรู้ด้วยช่องทางอื่น
"มีอยู่คราวหนึ่งเดินทางไปช่วยเขาขนต้นกระถินณรงค์ที่ จ.ชลบุรี เพื่อมาปลูกที่วัด ช่วงที่ผ่านศรีราชาเขาบอกว่า ที่นี่มีก๋วยเตี๋ยวหมูสับไข่ดาวอร่อยมาก จึงชวนแวะรับประทาน พอเข้าไปเราก็สั่งอาหาร พอสั่งแล้วก็บอกเขาว่าขอตัวไปเข้าห้องน้ำ" ระหว่างทางที่เดินไปนั้นท่านก็จะสำรวจ ดูหลังครัวของร้านไปด้วย
"คือดูว่าเขามีอุปกรณ์อะไร มีซีอิ๊วอะไร มีซอสอะไร เราก็จำมาเลย พอได้รับประทานอาหาร ของเขา เราก็จะจำรสชาติไว้ จากนั้นก็มาทดลองทำดูบ้าง ปรากฏว่าเส้นก๋วยเตี๋ยว ๑๐ กิโลกรัม ทำเลี้ยงไม่มีเหลือ ทอดไข่ดาวด้วย แถมยังทอดไก่เพี่มเติมให้เป็นพิเศษ ต่อจากนี้ไปไม่ต้องไป รับประทานไกลถึงศรีราชาอีกแล้ว"
การสังเกตและการช่างจดช่างจำ และนำมาปฏิบัตินับว่าเป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่งที่เป็นหัวใจของความอร่อย คุณสมบัตีพื้นฐานนี้สามารถฝึกฝนกันได้
"โยมพ่อหลวงพี่เป็นหมอฟัน อย่างตอนที่โยมพ่อท่านทำฟัน หลวงพี่ก็จะเข้าไปเป็นลูกมือ พอสังเกตไปเรื่อย ๆ เราจะรู้เลยว่าต่อไปพ่อจะใช้เครื่องมือตัวไหน เราก็จะหยิบส่งให้ ถึงตอนจะแคะฟัน จะอุดฟัน เราก็ดูจังหวะ แล้วหยิบเครื่องมือที่จะใช้ส่งให้ท่านได้..."
"การสังเกตนี่ก็ได้ประโยชน์ต่อมา อย่างเวลาที่หลวงพ่อท่านปั้นพระ ซึ่งจะมีคุณถาวร อยู่ช่วยหลวงพ่อปั้น พอคุณถาวรจะใช้เครื่องมือตัวไหนหลวงพี่จะรู้โดยที่ไม่ต้องบอกเลยว่า ขอเครื่องมือชี้นนี้ หรือขอเอาตัวโน้น ไม่ต้องส่งเสียงบอกให้เสียเวลาเลย..."
คำแรกที่ชิมก็ทำให้ผมแยกได้ถึงความต่าง เส้นก๋วยเตี๋ยวเหนียวนุ่มจานนี้มีรสมีชาติ น้ำมันที่เคลือบ เส้นพอดี ๆ ไม่มันเยี้มและไม่ทำให้เส้นแฉะ แต่ช่วยทำให้เส้นไม่แห้งแข็งกระด้าง
เคล็ดลับความอร่อยของก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ นอกจากการหมักเนื้อแล้วยังอยู่ที่การผัดเส้นด้วยเทคนิคเผากระทะให้ร้อน
ใส่น้ำมันลงไปในกระทะนีดหน่อย เปีดไฟให้ร้อนชนีดที่ควันขึ้นกระทะ จากนั้นหรี่ไฟแล้วจึงเอาเส้นลงไปผัด จะผัดนานแค่ไหนสีสันเส้นก๋วยเตี๋ยวจึงจะสวย ควรจะปรุงรสแค่ไหนให้พอดีเพราะเมื่อถึงเวลาที่ใส่เนื้อที่หมักลงมาแล้ว รสชาตีจะไม่อ่อนหรือจัดเกีนไป ซึ่งท้ายสุดจะได้อร่อยอย่างที่ต้องการ เป็นศีลปะที่มีอยู่ในตัวของพ่อครัว
เวลาเข้าร้านอาหารตามสั่ง ผมชอบดูช่วงที่พ่อครัวแม่ครัวอยู่หน้าเตา ตั้งกระทะ ใส่น้ำมัน ทอดไข่ดาวแล้วตักใส่จาน
จากนั้นก็หันมาหยีบกระเทียมกับพรีกขี้หนูวางบนเขียง แล้วใช้มีดทุบตบ ๆ ลงไปให้พอแตก รวบใส่ลงไปในกระทะ เดีนไปหยีบหมูสับในตู้แช่ออกมาโยนลงไป เร่งไฟให้แรงขึ้นแล้วควงตะหลีว ไป ๆ มา ๆ อีกมือก็เรี่มคว้าซอส คว้าน้ำปลา ซีอี๊วเหยาะลงไป
ช่วงที่ที้งกระทะไว้ก็หันมาเด็ดใบกะเพรา เด็ดใส่ ๆ พลิกตะหลิวอีกสองทีแล้วปิดไฟ หันไป ตักข้าวใส่จาน
ทุกอย่างใช้เวลาเพียงอึดใจ ข้าวกะเพราไข่ดาวก็มาวางอยู่ตรงหน้าราวกับเนรมิต
การที่ต้องทำหลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กัน ดูแล้วเป็นเรื่องที่รัดตัวและน่าวุ่นวายใจอย่างยิ่ง บางช่วงเร็วแรง บางช่วงฉุกละหุก ไม่ว่าจะชีวิตพ่อครัวหรือชีวิตนักสร้างบารมีก็หนีไม่พ้นภาวะ หน้าเตาเช่นนี้
"เมื่อก่อนไม่ใช่เป็นอุบาสกรับบุญงานครัวอย่างเดียว ต้องขับรถไปซื้อวัสดุก่อสร้างกับพระ เราไม่มีรถเช่าแบบสมัยนี้ และก็ต้องเป็นสารถีขับรถให้หลวงพ่อด้วย..."
"พอเราเสร็จงานครัวแล้ว ก็ไปช่วยขับแทรกเตอร์ ขับดันคันนาบ้าง หรือไม่ก็ขับตักดินใส่รถ ไปที้งที่จุดอื่นบ้าง อากาศก็ร้อน ๆ บางทีก็ช่วยลงปลูกต้นไม้..."
"เมื่อก่อนไม่มีหมอแบบทุกวันนี้นะ ส่วนมากจะปวดหัว เป็นไข้หวัดก็แอสไพริน ถ้าเป็นแผล ก็ยาแดง ยาทิงเจอร์ หลวงพี่ทำแผลช่วยดูแลคนงานด้วย ไม่เคยทำมาก่อน หลวงพ่อทัตตะท่านก็ทำให้ดู หลัง ๆ เราก็ทำเอง ถ้ามีหนองก็เอาหนองออกและใส่ยา ทำด้วยความรู้สึกว่ามันต้องสะอาดแผลถึงจะหาย และก็บอกคนงานว่าอย่าไปโดนน้ำ อย่าไปกินไข่มันจะเรียกหนอง..."
"เมื่องานครัวมีคนมาช่วยแล้ว ก็จะเข้าไปช่วยจุดอื่น ช่วยดูงานพิธีกรรมตรงไหนขาดอะไรก็จะเข้าไปช่วยดู เสื่อเรียบร้อยหรือยัง ขาดเหลืออะไรเราก็ช่วยวิ่งหาของให้..."
"พอมีเวลาสมาธิก็ต้องนั่ง ได้ทำงานหน้าที่เยอะแยะเลย คือ หลวงพ่อท่านคงฝึกอะไร บางอย่างให้เราเป็นคนลุย เป็นคนสู้งาน..."
ทั้งภารกิจสร้างบารมีและภารกิจพ่อครัวนั้นไม่ต่างกัน ต่อให้มีรายการอาหารต่อคิวมา ยาวเหยียด การปฏิบัติการหน้าเตาจะเร่งเครื่องเดินหน้าต่อไปอย่างคล่องแคล่ว จิตวิญญาณนักสู้จะถูกปลุกให้ตื่นตัวขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อก่อนวันมาฆบูชาพิธีจุดโคมประทีปยังจุดกันบริเวณรอบโบสถ์ ปัญหาที่พบในการจุดก็คือ เปลวประทีปไม่ทนแรงลม พอโดนลมแล้วดับง่าย เมื่อจุดแล้วควันดำออกมาเยอะ จึงต้องหาวิธีพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นรวมถึงความหอมของกลิ่น
จากพ่อครัวปรุงอาหารก็เริ่มพัฒนามาปรุงเทียนหอม
หลวงพี่ท่านได้ไปซื้อเทียนไขและแผ่นเทียนมาหลอม แล้วก็หาซื้อหัวน้ำหอมมา
ความหอมเมื่อจุดแล้วกลิ่นจะต้องไม่ฉุน กลิ่นที่ออกมาควรหอมเหมือนดอกไม้อ่อน ๆ แบบ ดอกไม้ป่าที่มีสีขาวทั้งหลาย แล้วท่านก็เริ่มปรุงกลิ่น ที่สำคัญคือจะปรุงอย่างไรให้กลิ่นหอมพอดี
อีกจุดหนึ่งคือเรื่องไส้เทียน เชือกที่ใช้ควั่นเป็นไส้เทียนควั่นแล้วจะแช่อย่างไรที่เมื่อจุดแล้วไม่มีควัน เมื่อโดนลมแล้วก็ไม่ดับ ถ้าไส้เทียนเล็กไป ลมแรงก็ดับ ถ้าไส้เทียนควั่นไว้หนามากควันก็เยอะ
ส่วนปลายไส้เทียนควรชูขึ้นมาระดับไหนเปลวประทีปถึงจะสวย รายละเอียดเหล่านี้มีคำตอบ รออยู่แล้วเพียงแค่ทดลองและพัฒนาค้นหาคำตอบนั้นให้เจอ แล้วสุดท้ายก็กราบเรียนให้หลวงพ่อทราบ ทำสำเร็จแล้วครับ แล้วพิธีตั้งแต่ปีนั้นมา โคมประทีปไม่ดับ ควันน้อยลงแล้วก็ได้กลิ่นหอมอย่างที่ต้องการ
เมื่อย้อนกลับไปยังวันแรกที่เริ่มก้าวเข้ามาเป็นพ่อครัว ในวันนั้นอะไรที่ง่าย ๆ ก็กลายเป็นเรื่องยาก เพราะไม่เคยทำมาก่อน เรื่องนี้หลวงพี่ท่านเล่าว่าคุณยายได้ให้เคล็ดลับไว้ และเคล็ดลับที่ว่านี้ก็สามารถนำมาใช้ได้ในทุกเรื่อง
"คุณยายท่านก็รู้ว่าหลวงพี่ไม่เคยทำอาหารมาก่อน ท่านก็คอยให้เทคนิค ท่านบอกว่า เวลาคุณทำ คุณสัมมาอะระหังไปด้วย คุณทำอะไรก็อร่อยหมด"
ทำอะไรให้สัมมาอะระหังไปด้วย สูตรลับนี้ถือว่าเป็นสูตรศักดิ์สิทธิ์ แค่เริ่มต้นก็ทำให้อุ่นใจและมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไปข้างหน้า เช่นเดียวกับอีกหลายสูตรที่หลวงพ่อและคุณยายท่านได้มอบให้ไว้ติดตัว
สูตรพิเศษที่ว่านี้นับว่าเป็นเคล็ดลับความอร่อยในชีวิตการสร้างบารมี
หาบุญได้ใช้บุญให้เป็น / บุญต่อบุญ สมบัติต่อสมบัติ / การสร้างบารมีคือการพักผ่อน / เรื่องเหน็ดเหนื่อยไม่ต้องพูดถึง ถ้าไม่ยอมเหนื่อยเราจะได้บารมีมาจากไหน / เหนื่อยไหม? ให้ตอบว่า "ปลื้มครับ-ค่ะ / ให้ลดอายุลงเหลือ ๒๐ ปี หมดทุกคน ฯลฯ "
เคล็ดลับความอร่อยมีมากมายหลายสูตรให้เลือก จะนำสูตรหนึ่งบวกกับอีกสูตรหนึ่งก็ไม่มีใครว่า หรือจะนำทุกสูตรผสมรวมกันเป็นสูตรใหม่ก็ไม่ผิดกติกา สูตรใครก็สูตรใคร อยู่ที่พ่อครัว-แม่ครัวอย่างเราเป็นผู้ปรุง
แล้วคำสุดท้ายก็มาถึง ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ในจานหมดเกลี้ยง ความอร่อยยังคงประทับอยู่ในใจ
"ถ้าวันนั้น วันที่หลวงพ่อท่านชวนมาสร้างวัด วันที่ท่านถามว่า เจียวไข่เป็นไหม? ถ้าวันนั้น หลวงพี่บอกว่า ไม่...ไม่เป็น...แล้วก็คงไม่ได้มา"
ผมรู้สึกปิติยินดีและภาคภูมิใจในฝีมือพ่อครัวผู้ปรุงรสชาติอาหารและรสชาติชีวิตท่านนี้
ถ้าวันนั้นหลวงพี่ท่านปฏิเสธก็คงไม่มีวันนี้ วันที่ท่านเริ่มต้นคิดเมนูชีวิตให้กับตัวเอง
.....................................................................................
พระครูปลัดวันชัย สีลวัณโณ (อุบาสกวันชัย จิระชุติโรจน์)
อุปสมบทเมื่อ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙ อายุ ๒๘ ปี
มรณภาพเมื่อ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อายุ ๖๑ ปี ๓๔ พรรษา
ขอกราบนมัสการด้วยความเคารพ
|