อัศจรรย์วันมาฆบูชา
หากย้อนไปเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีก่อนในยุคพุทธกาลนี้ ประวัติศาสตร์การประชุมพระสาวก ครั้งที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ในขณะที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น ไม่มีครั้งใด เกินการมารวมตัวของพระอริยสาวก ๑,๒๕๐ รูป ในวันเพ็ญมาฆปุณณมี ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร เรียกว่า "มหาสาวกสันนิบาต" คือ การชุมนุมของพระสาวกเป็นการประชุมที่อัศจรรย์ไม่เหมือนการประชุมครั้งใด ที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" หรือการประชุมที่มีองค์พิเศษ ๔ ประการ ได้แก่
๑. เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนมาฆนักษัตร (เดือน ๓)
๒. ภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ที่ทรงอภิญญา ไม่มีแม้แต่รูปเดียวที่จะเป็นพระปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี
พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ธรรมดา คือ หมดกิเลสแต่ไม่มีคุณวิเศษ อื่นใด
๓. ล้วนเป็นภิกษุที่เป็นเอหิภิกขุ นั่นก็คือ พระพุทธเจ้าประทานการบวชให้ด้วยพุทธานุภาพ ปรากฏเป็นบรรพชิตทันใด
ไม่มีรูปใดที่ทำการปลงผม ด้วยมีดโกนหรือมีผู้อื่นบวชให้เลย
๔. เป็นการประชุมวาระเร่งด่วนฉับพลัน ที่ไม่มีการนัดหมายมาก่อนล่วงหน้า
ในอรรถกถามหาปทานสูตรได้บันทึกเหตุการณ์ สำคัญนี้เอาไว้ว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
เวทนาปริคคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตร ณ ถ้ำสูกรขาตา ภูเขาคิชฌกูฏ ฝ่ายพระสารีบุตรได้ส่งจิตไปตามพระเทศนาจึงบรรลุสาวกบารมีญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าพอทรงทราบว่า
ท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว ก็เสด็จเหาะไปปรากฏพระองค์ ณ วัดเวฬุวัน
ส่วนพระเถระก็เหาะไปปรากฏตัว ณ วิหารเวฬุวันเช่นกัน จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงประกาศโอวาทปาฏิโมกข์"
ข้อความนี้บ่งบอกว่า พระศาสดามิได้ตรัสสั่งนัดหมายประชุมใด ๆ กับพระสารีบุตรผู้แม้จะอยู่ใกล้ตัวพระองค์ก็ตาม แต่พระเถระก็สามารถทราบถึงภารกิจต่อไปด้วยตนเอง ไม่ต้องกล่าวถึงภิกษุที่ต้อง เข้าประชุมนอกจากนี้
ซึ่งอยู่ห่างจากพระพุทธองค์ เพราะท่านจะมีปกติแยกกันบำเพ็ญสมณธรรมตามที่ต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นในวัดหรืออยู่นอกวัดเวฬุวันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องไม่ยากสำหรับท่านเหล่านั้นเพราะ
ทุกองค์ล้วนแต่มีญาณวิเศษแก่กล้า สามารถรับรู้ถึงสถานการณ์ได้เร็วไว
และกระดิกจิตมาแบบอจินไตย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่มีการประสาน การชุมนุมกันอย่าง
รวดเร็วเหนือกว่าเทคโนโลยี
หรือพาหนะใด ๆ ในโลก เพราะการเหาะเหินเดินอากาศ หรือหายตัวไปมาถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้มีฤทธิ์
มาฆบูชา วันรวมพลทหารกล้ากองทัพธรรม
สาวกสันนิบาต...แห่งวันมาฆปุณณมีนี้ ถือเป็นการ "รวมพลสถาปนากองทัพธรรมครั้งแรก" เพราะพระพุทธเจ้าทรงรอคอยการบรรลุอรหันต์ของ พระสารีบุตรผู้จะมาเป็นธรรมเสนาบดีก่อน เมื่อทรง
ทราบว่าท่านบรรลุแล้ว ก็ทรงให้มีการประชุมสาวก ผู้ทรงฤทธิ์ในวันเพ็ญมาฆะนั้นทันที เพื่อประกาศ "โอวาทปาฏิโมกข์" หรือยุทธศาสตร์การเผยแผ่ คำสอนอย่างเป็นทางการ ที่พระสาวกต้องยึดถือไว้เป็นหลักปฏิบัติ
ดุจการประชุมใหญ่ของเหล่าบรรดา ขุนพลในการจัดทัพ..ก่อนเคลื่อนเข้าประจัญศึก
แต่ถ้าจะย้อนกลับขึ้นไปอีกในหลายพุทธันดร ที่ผ่านมาจะพบว่าสาวกสันนิบาตไม่ได้มีเฉพาะแต่
ในยุคพระสมณโคดมพุทธเจ้าของเราเท่านั้น แต่เป็น ประเพณีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตอีกด้วย หากแต่ต่างกันที่ปริมาณพระสาวกและจำนวนครั้ง เช่น ในยุคของพระพุทธเจ้าบางพระองค์มีถึง ๓ ครั้ง
หรือบางพระองค์มีเพียงครั้งเดียว และแต่ละครั้งก็จะมีพระอรหันต์เอหิภิกขุทั้งสิ้นจำนวนมากมายยิ่งนัก เกินการคาดเดามาชุมนุมกันเป็นมหาสาวกสันนิบาต ซึ่งจะยกตัวอย่างยุคของพระพุทธเจ้าเพียงบางพระองค์ พอให้เห็นภาพตามได้
ดังต่อไปนี้
พระเรวตะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสาวกจำนวนเกินที่จะนับได้ ณ สุธัญญวดีนคร
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ณ เมขลนคร
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสาวก ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
พระติสสะพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสาวก ๑๐๐,๐๐๐ รูป ณ ยสวดีนคร
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสาวก ๙,๐๐๐,๐๐๐ รูป ณ นาริวาหนนคร
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสงฆ์สาวก ๘,๐๐๐,๐๐๐ รูป ณ เขมวดีนคร
พระปุสสพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสาวก ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป ณ กัณณกุชชนคร
ครั้งที่ ๒ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสาวก ๕,๐๐๐,๐๐๐ รูป ณ กรุงกาสี
ครั้งที่ ๓ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสาวก ๔,๐๐๐,๐๐๐ รูป
พระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงประชุมสาวกสันนิบาตเพียงครั้งเดียว และทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ พระสาวก ๔๐,๐๐๐ รูป ณ สวนป่าอิสิปตนมิคทายวัน กรุงกัณณกุชชนคร
ส่วนโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจแห่งสาวก สันนิบาตที่ทรงประทานในครั้งนี้ ก็นับว่าอัศจรรย์ยาวนานเหมือนส่งทอดต่อ ๆ
กันมาไม่ขาดสาย เพราะล้วนมีเนื้อความเหมือนกันทุกพระองค์ มิใช่เฉพาะแต่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน
ดังที่เคยตรัสกับพระอานนท์ว่า แม้อายุกาลของแต่ละพระองค์จะต่างกัน แต่เนื้อความพระโอวาทนั้นเหมือนกันทุกประการ สังเกตได้จากประโยคสุดท้ายในแต่ละบทสวดโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งจะมีคำว่า "นี้เป็นคำสอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"
มาฆบูชา วันรวมพลนัดสำคัญ
ทหารใหม่แห่งกองทัพธรรม
วันมาฆบูชาของปีนี้ จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เพราะเป็นปีอธิกมาสตามจันทรคติและนับเป็นปีพิเศษที่
ไม่เหมือนปีไหนมาก่อน จะเป็นอัศจรรย์มาฆบูชาที่ยากจะลืมเลือน ซึ่งมิได้มีแต่เพียงโคมประทีปนับแสนดวงเท่านั้น
แต่จะมีพุทธบุตร กองพลสถาปนาแสนรูป จาก ๓๓๐ กว่าวัดศูนย์อบรม ทั่วประเทศ ซึ่งเกิดจากการทุ่มเททำหน้าที่ของยอดกัลยาณมิตร ในการเชิญชวนชายไทยมาบวชฝึกฝนอบรมตนอย่างดี รวมทั้งพุทธบุตรอีกมากมายจากทุกมุมโลก ที่จะมาชุมนุมด้วยสีจีวรเหลืองทองอร่ามตา เป็นมหาสมาคมเต็มลานมหารัตนวิหารคด
เพื่อน้อม ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ผ่านบทสวดโอวาท- ปาฏิโมกข์ แสดงพลังอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา ให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ที่อัศจรรย์ในวันมาฆบูชาโลก ดั่งพลิกโฉมหน้าจำลองประวัติศาสตร์ ย้อนยุคไปให้ คล้ายการชุมนุมใหญ่ยุคพุทธกาลทุกพุทธันดร
อีกทั้งยังถือเป็นการรวมพลนัดสำคัญที่จะรวมใจของมหาสมาคมพุทธบุตรและเหล่าชาวพุทธให้เป็นปึกแผ่นและ
เป็นหนึ่งเดียวกันในการสถาปนา ฟื้นฟูศีลธรรมโลก ก่อนจะก้าวไปสู่การร่วมแรงร่วมใจ ที่จะมาสถาปนาบวชพุทธบุตรล้านรูป
ในภายภาคหน้า และเผยแผ่ไปทั่วทุกมุมโลก
พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย... ถ้าปรารถนาให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป และรักษาไว้ให้คงอยู่เคียงคู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป แม้พันธกิจนี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยาก ขอเพียงให้พุทธบริษัท ๔ เป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว ถ้าพุทธบริษัทสามัคคีกลมเกลียวเหมือนเชือกฟั่น ผู้ไม่ประสงค์ดีที่ต้องการให้พุทธศาสนาขาดสะบั้นไปจากผืนแผ่นดินไทย ย่อมไม่สามารถทำได้ดังตั้งใจ วันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ จึงเป็นวันสำคัญที่พุทธบริษัทไม่ควรพลาดในการมาร่วมฟัง โอวาทปาฏิโมกข์ และประกาศให้ชาวโลกรับรู้ว่า พุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรือง ณ ประเทศไทย |