วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ สร้างวัด ศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธธรรม

ปกิณกธรรม

เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ.๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ.๙ / ภาพประกอบ : กองพุทธศิลป์





สร้างวัด

ศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธธรรม

        "จงก้าวเดิมต่อไปเถิดท่านเศรษฐี ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง ก็ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไปหาพระบรมศาสดา ขอท่านจงก้าวเดินต่อไปเถิด"

          ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้นำบริวารไปค้าขายที่กรุงราชคฤห์ ตกเย็น ก็ไปถึงบ้านของราชคหเศรษฐีซึ่งเป็นสหายกัน ท่านเศรษฐีสังเกตเห็นสหายมัวสาละวนอยู่กับการสั่งงาน หุงข้าว ทำอาหาร ตกแต่งสถานที่ แต่ก็สั่งงานด้วยใบหน้าที่เบิกบานผ่องใส จึงเกิดความสงสัย ว่า เพื่อนของเราไม่ให้การต้อนรับเราเหมือนที่เคย เป็น สงสัยจะมีงานมงคลเป็นแน่ จึงถามเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด

          ราชคหเศรษฐีบอกว่า บัดนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ท่านอนาถะพอได้ฟังเท่านั้น ก็เกิดความปีติปราโมทย์ใจอย่างไม่มีประมาณ มหาปีติแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ท่านถามสหายถึง ๓ ครั้ง สหายก็ได้บอกเรื่องอันเป็นมหามงคลนั้นให้ท่านทราบ ถึง ๓ ครั้งเช่นกัน ท่านเศรษฐีเปล่งอุทานว่า "อโห พุทฺโธ พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว การบังเกิดขึ้นของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการยาก แต่พระองค์ก็ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วŽ"

          ท่านถามสหายว่า "ตอนนี้พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ไหน เราจะไปเฝ้าพระองค์เดี๋ยวนี้แหละ"Ž สหายเห็นว่า ท่านเศรษฐีเพิ่งจะเดินทางมาถึง ยังไม่ได้พักผ่อนเลย จึงกล่าวทัดทานว่า "พระองค์ประทับอยู่ที่ป่าสีตวัน ขอให้ท่านพักผ่อนก่อนเถิด พรุ่งนี้ค่อยว่ากันŽ" คืนนั้นท่านเศรษฐีมีจิตส่งไปถึงพระพุทธเจ้าตลอดเวลา ไม่มีความคิดถึงเรื่องการทำมาค้าขาย หรือแม้กระทั่งอาหารเย็นก็ไม่ยอม รับประทาน เพราะท่านมีปีติเป็นภักษาหาร จึงขึ้น ไปพักผ่อนบนปราสาทชั้นที่ ๗ แล้วสาธยายคำว่า "พุทฺโธ พุทฺโธ พุทฺโธ"Ž ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์และนอนหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย

          เมื่อปฐมยามล่วงไป ท่านเศรษฐีตื่นขึ้นมา ด้วยใจที่ผูกพันกับพระพุทธเจ้า ท่านได้เห็นแสงสว่าง ประดุจประทีปพันดวงลุกโพลง ปรากฏเกิดขึ้นในกลางตัว แสงสว่างนั้นสว่างยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน ท่านเกิดปีติมาก จึงอยากจะเห็นพระบรมศาสดาเร็ว ๆ แต่เมื่อลืมตาสังเกตดูดวงจันทร์บนท้องฟ้า จึงรู้ว่าปฐมยามเพิ่งจะล่วงไปเท่านั้น ยังไม่ถึงเวลาเช้าเลย จึงล้มตัวลงนอนต่อ พักผ่อนได้ไม่นาน ก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาอีก แต่พอสังเกตดูดวงจันทร์ก็รู้ว่ามัชฌิมยามเพิ่งจะผ่านพ้นไปจึงล้มตัวลงนอนอีก ท่านเศรษฐีตื่นขึ้นมาใหม่ในเวลาใกล้รุ่ง เนื่องจากท่าน มีความปีติมาก ไม่อาจรอคอยจนถึงวันรุ่งขึ้นได้ จึงตัดสินใจไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาทันที



          ตามปกติแล้วคฤหาสน์ของราชคหเศรษฐี จะปิดประตูลงกลอนเป็นอย่างดี และจะถูกเปิดอีกครั้งในรุ่งอรุณของวันใหม่ แต่ด้วยพุทธานุภาพ เหล่า เทวดาประจำบ้านทั้งหลายเห็นความตั้งใจอย่างแรง กล้าของท่านเศรษฐี จึงประชุมกันว่า "มหาเศรษฐี ท่านนี้ออกไปเพื่อจะเข้าเฝ้าบุคคลผู้เลิศในโลก นับเป็น สิ่งที่น่าอนุโมทนายิ่งนัก ควรแล้วที่พวกเราจะส่งเสริม ให้ท่านได้สมหวัง"Ž จึงบันดาลให้ประตูปราสาท เปิดออกได้เป็นอัศจรรย์

         ในขณะที่เดินทางไปนั้น หนทางก็มืดมิดและ มีอมนุษย์ออกหากินมากมายในตอนกลางคืน เมื่อพวกอมนุษย์ปรากฏกายให้เห็น ฝูงสุนัขก็ส่งเสียงร้อง เห่าหอน ท่านเศรษฐีไม่เคยออกจากบ้านตามลำพังในยามค่ำคืน จึงเกิดอาการขนพองสยองเกล้า แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธเจ้า ความสว่างภายในก็ปรากฏขึ้นมาอีก ความกลัวจึงค่อย ๆ หายไป พอเดินไปก็วิตกกังวลว่าจะถูกอมนุษย์ทำร้าย จึงเกิดความกลัวขึ้นมาอีก แต่อมนุษย์ที่เป็นสัมมาทิฐิได้ส่งเสียงให้กำลังใจว่า "จงก้าวเดินต่อไปเถิดท่านเศรษฐี ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง ก็ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไปหาพระบรมศาสดา ขอท่านจงก้าวเดินต่อไปเถิดŽ"

          ขณะที่ท่านเศรษฐีเดินเข้าไปในป่าช้านั้น ได้ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แต่ไกล พระองค์ตรัสทักทายว่า "สุทัตตะ เข้ามาเถิด ท่านอย่าได้กลัวไปเลย ตถาคตกำลังรออยู่Ž" เมื่อได้ยินพระพุทธองค์ตรัสเรียกชื่อเดิมของตน ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็ยิ่งปีติใจเป็นอันมาก จึงเข้าไปถวายบังคมแทบเบื้องพระบาท พร้อมกับทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขดีหรือพระเจ้าข้า"Ž "สุทัตตะ พราหมณ์ผู้ดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติดอยู่ในกาม เป็นผู้เยือกเย็น ย่อมอยู่เป็นสุขตลอด เวลา..."Ž จากนั้นพระองค์ได้ตรัสพระธรรมเทศนาจน ท่านเศรษฐีได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
      



          ต่อมาเมื่อท่านกลับมาที่บ้านเกิด จึงเที่ยวตรวจ ดูสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองสาวัตถีว่า มีที่ใดสมควร เป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่ง ต้องเป็นสถานที่ที่มีการคมนาคมสะดวกสบาย ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไปนัก เพื่อผู้คนจะได้ไปกราบนมัสการได้โดยสะดวก อีกทั้งในเวลากลางวันก็ไม่จอแจพลุกพล่าน ในยามกลางคืนก็เงียบสงัด เป็นสถานที่ที่ควรแก่การประกอบความเพียร เมื่อตรวจ ดูแล้วก็เห็นว่า พระอุทยานของเจ้าเชตเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างวัด

          ท่านเศรษฐีจึงไปขอซื้อที่ดินจากเจ้าเชต แต่เจ้าเชตปฏิเสธที่จะขาย เมื่อถูกท่านเศรษฐีรบเร้า เชิงอ้อนวอนหนักเข้า จึงตั้งราคาเพื่อให้เศรษฐีหมดอารมณ์ที่จะซื้อต่อไปว่า "ท่านคหบดี หากท่านต้องการที่ดินผืนนี้จริง ๆ จงเอาเงินมาปูเรียงจนเต็มพื้นที่เถิด"Ž ท่านเศรษฐีฟังแล้วก็ไม่ได้หวั่นไหวที่จะซื้อที่ดินผืนนั้น แต่กลับรู้สึกปีติที่จะได้สร้างวัด ท่าน สั่งให้คนนำเกวียนบรรทุกเงินออกมาปูเรียงกันให้เต็ม พื้นที่ ขณะที่ปูจนใกล้จะเต็มพื้นที่ เจ้าเชตได้เห็นความตั้งใจมั่นเช่นนั้น ก็บังเกิดความเลื่อมใส เพราะ นึกไม่ถึงว่าจะมีผู้มีจิตใจเด็ดเดี่ยวอย่างนี้ในโลก จึงบอกว่า "พอแล้ว ท่านคหบดี ท่านจงให้โอกาสแก่เราบ้างเถิด เราขอร่วมบุญตรงซุ้มประตูŽ"



          ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีตอบตกลง แล้วก็ลุยสร้างวัดทันที หมดงบประมาณไป ๕๔ โกฏิ นอกจากนี้ยังให้สร้างซุ้มประตูหน้าวัด โดยใช้ชื่อวัดว่า "วัดพระเชตวัน"Ž เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าเชตกุมารอีกด้วย แต่ด้วยความเป็นผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมของท่าน แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานกว่า ๒,๐๐๐ ปี เมื่อใดที่กล่าวถึงวัดพระเชตวัน ก็เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้สร้าง นอกจากนี้ ท่านยังสร้างวิหารหลายหลังไว้ในวัด อีกทั้งก่อสร้างกำแพง ซุ้มประตู ศาลาหอฉัน โรงไฟ วัจกุฎี ที่จงกรม บ่อน้ำ สระโบกขรณี มณฑป และสถานที่ต่าง ๆ จนเป็นที่พอใจ

           เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อย พระบรมศาสดาได้ เสด็จมาเป็นองค์ประธานในการรับถวายวัดพระเชตวัน ทรงกระทำอนุโมทนากับท่านมหาเศรษฐีว่า "วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อน และสัตว์ร้าย ป้องกันงู และยุง กันลมกันฝน นอกจากนั้น วิหารยังป้องกันแสงแดด อันแรงกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อ ให้เห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ทรงสรรเสริญ ว่าเป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อ เล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุ ทั้งหลายเถิดŽ"

         จะเห็นได้ว่า การทำบุญสร้างวัดนั้น ถือว่าเป็น บุญใหญ่ เป็นการขยายงานพระพุทธศาสนาให้กว้าง ไกลออกไป ให้เป็นที่พึ่งต่อชาวโลก อีกทั้งเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่คู่โลกตลอด ไป เราทั้งหลายควรยึดเอาท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นแบบอย่าง ขณะนี้เรากำลังทำงานใหญ่ มุ่งจะขยายสันติภาพไปทั่วโลก ก็ต้องมีศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งในช่วงนี้ เรามีบุญพิเศษคือ สร้างอาคารพระผู้ปราบมาร เพื่อเป็นที่พักสงฆ์หลายพันรูป ในขณะเดียวกันก็มีการก่อสร้างวัด สร้าง ศูนย์ปฏิบัติธรรมในแต่ละจังหวัด และสร้างศูนย์สาขา ไปทั่วโลก ซึ่งลูกพระธัมฯ ต้องช่วยกันอย่างเต็มที่ เพราะการสร้างวัดหรือศูนย์สาขา เพื่อการเข้าถึง พระธรรมกายนั้น นอกจากจะได้ผลบุญในปัจจุบันนี้แล้ว ภพชาติต่อไปในเบื้องหน้า เราจะได้ทิพยสมบัติ อันโอฬารเหมือนกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และหมั่นบอกตัวเองเสมอว่า เราจะต้องเป็นมหาเศรษฐีคู่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ไปทุกภพทุกชาติ ตราบวันถึงที่สุดแห่งธรรม

 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล