เรื่องเด่น
เรื่อง : วรรณสิริ
เพราะประเทศไทยของเรา ปัจจุบัน :
อยู่ในอันดับที่ ๑ ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดในภาคพื้นเอเชีย ที่ ๒ คือเกาหลี และที่ ๓ คือญี่ปุ่น
อยู่ในอันดับที่ ๒ ของโลกจาก ๑๓๗ ประเทศ ที่ประชากรดื่มสุราในอัตราขยายตัวมากที่สุด ในระหว่างปี ๒๕๑๓ - ๒๕๓๙ เพิ่มขึ้น ๓๓๓ %
อยู่ในอันดับที่ ๕ ของโลกที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทสุราวิสกี้มากที่สุด ประเทศอื่นที่ดื่มมากที่สุดในอันดับต้นๆ ได้แก่ รัสเซีย เซนต์ลูเซีย โดมินิก้า บาฮามา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นประเทศที่มีปัญหา ด้านการพัฒนาทั้งสิ้น
ทั้งนี้ เพราะเราขาดกฎหมายที่เข้มงวด สถานที่ จำหน่าย การโฆษณา (เหมือนบุหรี่) การเพิ่มอายุผู้ดื่ม ฯลฯ น้ำเมาจึงเป็นสาเหตุของปัญหาเหล่านี้...
๗๒.๗ % ของอุบัติเหตุบนท้องถนน
๕๙.๑ % ของผู้ก่อคดีทำลายทรัพย์สิน
๔๕.๓ % ของคดีความผิดเกี่ยวกับเพศและข่มขืนกระทำชำเรา
๒๐.๘ % ของผู้กระทำความผิดต่อร่างกาย
๑๖.๑ % ของคดีบุกรุกผู้หญิงและเด็กวันละนับล้านคนถูกทุบตีจากพ่อบ้านที่เมามาย
ขณะเดียวกันผู้บริโภคน้ำเมาเป็นประจำ ๕๑.๒ % มีความเครียดรุนแรง ๔๘.๖ % ซึมเศร้าในระดับควรพบแพทย์ และถ้าบริโภคจนติดมี ๑๑.๙ % อยากฆ่าตัวตาย และ ๑๑.๓ % อยากฆ่าผู้อื่น นอกจากนี้น้ำเมายังเป็นสาเหตุของโรคร้ายกว่า ๕๐ ชนิด เช่น ตับแข็ง มะเร็งทางเดินอาหาร และสมองเสื่อม อีกด้วย ที่น่าตกใจคือในปี ๒๕๕๐ พบว่า เด็กวัยรุ่นชายอายุ ๑๕ ปี ขึ้นไป ๕๑.๒ ล้านคน ดื่มน้ำเมามากถึง ๒๙.๓ % หรือประมาณ ๑๔.๙ ล้านคน โดยผู้ชายยังดื่มสุรามากกว่าผู้หญิงถึง ๖ เท่า
ตะลึงผลสำรวจ เด็ก ๕ ขวบดื่มสุรา
เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ นายจรรยา ราชวงศ์ สมาคมหมออนามัย ได้เปิดเผย ในที่ประชุมโครงการความร่วมมือพัฒนาเครือข่าย เฝ้าระวังเพื่อหนุนเสริมการบังคับใช้ พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑ จังหวัดอุบลราชธานี ว่า รู้สึกห่วงใยเยาวชนของชาติเป็นอย่างมาก เพราะ จากการสำรวจของสำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุบลราชธานี ในกลุ่ม นักศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน ๖๘๔ คน ช่วงอายุเฉลี่ย ๑๗ ปี และนักเรียนมัธยม ๑,๒๖๒ คน ช่วงอายุเฉลี่ย ๑๕ ปี
พบว่าในระดับอาชีวศึกษา พบนักศึกษาชายที่ เคยดื่มสุราถึง ร้อยละ ๗๕.๙๐
ที่น่าตกใจคือนักศึกษาหญิงเกินครึ่งคือร้อยละ ๕๐.๗๑ เคยดื่ม ครั้งแรกที่ดื่มอายุเฉลี่ย ๑๕ ปี อายุน้อยที่สุดคือ ๑๐ ปี
ในระดับมัธยมศึกษาพบนักเรียนชายที่เคยดื่มสุราร้อยละ ๓๒ นักเรียนหญิงร้อยละ ๗.๔๒ ครั้งแรกที่ดื่มอายุเฉลี่ย ๑๔ ปี
ที่น่ากังวลใจมาก คือ อายุ ๕ ปีก็ดื่มสุรา ครั้งแรกแล้ว ซึ่งถือว่ายังเด็กอยู่มากและไม่น่าจะ เข้าไปเกี่ยวข้องกับ สุราได้
จะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อเยาวชนไทย และพี่น้องผองไทย ตกเป็นทาสของน้ำเมา เหล้าเเบียร์ บุหรี่ และยาเสพติด ติดอับดับโลก กี่ชีวิต กี่ครอบครัวที่ต้องล่มสลาย ลูกขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่ กลายเป็นปัญหาสังคมที่เกินจะเยียวยา และไร้ซึ่งคนรับผิดชอบ แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดที่สุด คือ การหยุดการผลิตน้ะเมา เหล้า เบียร์ บุหรี่ และเร่งสร้างภูมิคุมกันให้กับเยาวชน ผู้ปกครอง ชุมชน ให้ตระหนักและสร้าง จิตสำนึกเกี่ยวกับโทษภัยของเหล้า เบียร์ บุหรี่ และยาเสพติด
โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก (V-Star) โดยดำริ ของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) จึงได้ จัดให้มีโครงการประกวด "บอกโทษเกินร้อย ชิงทุน เกินล้าน"ขึ้น
ขอเชิญโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก (V-Star) ร่วมแข่งขันการเขียนโทษของเบียร์ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ชิงทุนการศึกษาพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรมโลก จำนวน ๗๐๕ รางวัล รวม มูลค่า ๔ ล้านบาท
เกณฑ์การพิจารณาผลงาน
๑. พิจารณาจากจำนวนข้อของโทษ เบียร์ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ที่ไม่ซ้ำกันอย่างมีเหตุผล อย่างน้อย ๑๐๐ ข้อ โดยการระดมความคิดเห็นของนักเรียนทั้งโรงเรียน หรือให้ได้มากที่สุด
๒. พิจารณาจากความมีส่วนร่วมของ บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน โดยมุ่งเน้นให้โรงเรียนที่ เข้าร่วมโครงการ ฟื้นฟูศีลธรรมโลก V-Star มอบหมายให้นักเรียนสอบถามพ่อ แม่ ผู้ปกครอง พระภิกษุ และผู้นำชุมชนถึงพิษ โทษ ภัย ของเหล้า เบียร์ บุหรี่ ยาเสพติด ว่ามีอะไรบ้าง พร้อมมีการลงชื่อรับรอง จากผู้ที่นักเรียนไปสอบถาม และจัดกิจกรรมรณรงค์ที่ สร้างความตระหนักถึง พิษ โทษ ภัย ของเหล้า เบียร์ บุหรี่ ยาเสพติดได้อย่างเต็มที่
๓. พิจารณาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นว่าสามารถปลุกจิตสำนึกของคนในชุมชน ให้เห็นพิษ โทษ ภัย ของเหล้า เบียร์ บุหรี่ ยาเสพติด นำไปสู่การเลิกดื่ม และเลิกเสพได้อย่างเป็นรูปธรรมเห็นผลชัดเจน เพื่อ ให้เกิดการฟื้นฟูศีลธรรมโลกอย่างแท้จริง
การจัดทำผลงาน
๑. จัดทำเอกสารสรุปผลพิษ โทษ ภัยของเหล้า เบียร์ บุหรี่ ยาเสพติด อย่างน้อย ๑๐๐ ข้อ
๒. ส่งภาพพร้อมรายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดของโครงการประกวด "บอกโทษเกินร้อย ชิงทุนเกินล้าน"
๓. รวบรวมข้อมูลทั้งหมดจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ ๑ ฉบับ
รางวัล
รางวัลที่ ๑ ทุนการศึกษา ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท)
รางวัลที่ ๒ ทุนการศึกษา ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)
รางวัลที่ ๓ ทุนการศึกษา ๕๐,๐๐๐ บาท
รางวัลที่ ๔ ทุนการศึกษา ๓๐,๐๐๐ บาท
รางวัลที่ ๕ ทุนการศึกษา ๒๐,๐๐๐ บาท
รางวัลชมเชยอันดับ ๑ ทุนการศึกษาทุนละ ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑๐๐ ทุน รวมมูลค่า ๑ ล้านบาท
รางวัลชมเชยอันดับ ๒ ทุนการศึกษาทุนละ ๓,๐๐๐ บาท จำนวน ๖๐๐ ทุน รวมมูลค่า ๑.๘ ล้านบาท
กำหนดการ
๑. เปิดรับผลงานเป็นรายโรงเรียน ตั้งแต่ วันเสาร์ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงวันศุกร์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
๒. ประกาศผลการตัดสิน วันอังคารที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
๓. รับรางวัล วันจันทร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ มหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
การส่งผลงาน
ทางไปรษณีย์ : ส่งชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ วงเล็บมุมซอง (ประกวด "บอกโทษเกินร้อย ชิงทุนเกินล้าน" โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก) ๒๓/๒ หมู่ ๗ ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐
ทาง e-mail : [email protected]
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ผู้ประสานงานภาค ที่ท่านสังกัด หรือ โทรศัพท์ ๐๘-๓๕๔๐-๙๘๐๗,๐๘-๓๕๔๐-๗๙๙๘
หรือ www.kru.in.th