พระพุทธคุณ

วันที่ 08 ตค. พ.ศ.2559

พระพุทธคุณ

1. พระพุทธคุณมีมากสุดพรรณนา
     คำว่า คุณ ในปัจจุบันใช้ใน 2 ความหมาย คือ ความดีงาม และ คุณประโยชน์ พระพุทธคุณ จึงหมายถึง ความดีงามและคุณประโยชน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า "แม้พระพุทธเจ้าจะพึงพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หากไม่ตรัสอย่างอื่นแม้ตลอดกัป 5 กัปก็จะพึงหมดสิ้นไปในระหว่างกาลนาน คุณของพระตถาคตทั้งหลายก็ไม่หมดสิ้น" เพราะในท่ามกลางความทุกข์ในสังสารวัฏนี้ไม่มีใครเลยที่จะชี้แนะหนทางพ้นทุกข์ให้แก่ผู้อื่นได้นอกจากพระพุทธองค์ และการจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้นยากมากประดุจการว่ายข้ามทะเลน้ำทองแดงที่เดือดพล่าน ฉะนั้น

   การที่พระพุทธองค์ตรัสว่าพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีมากจนไม่อาจจะพรรณนาได้หมดนั้น ไม่ได้เป็นการยกยอ สรรเสริญพระองค์เอง แต่ตรัสตามความเป็นจริง และที่สำคัญพระองค์ทรงหมดกิเลสแล้วย่อมไม่ตรัสความเท็จใด ๆ ทั้งสิ้น

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงบุคคลที่สรรเสริญและติเตียนพระรัตนตรัยไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือ ชมพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรทำความเพลิดเพลินดีใจ เบิกบานใจในคำชมนั้น" แต่ให้พิจารณาว่า "ในคำที่เขากล่าวชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และในเราทั้งหลายก็มีข้อนั้น"

     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรทำความอาฆาต โทมนั แค้นใจในคนเหล่านั้น แต่ให้พิจารณาว่า ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริงเธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นไม่จริงแม้เพราะเหตุนี้ นั้นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้
แม้ข้อนั้นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และในเราทั้งหลายก็ไม่มีข้อนั้น"

     จากพระดำรัสนี้ชี้ให้เห็นพุทธประสงค์ว่า การกล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัยนั้นต้องกล่าวให้ตรงกับความเป็นจริง แม้มีคนมาชมมา รรเสริญก็ไม่พึงดีใจ ลิงโลดใจ แต่ให้พิจารณาว่าเขากล่าวถูกต้องหรือเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ ถ้าจริงก็ชี้แจงให้เขาเข้าใจด้วยเหตุผลว่าจริงเพราะอะไร หากมีคนมาติเตียน ก็
ไม่พึงโกรธแต่รับฟังไว้ หากเขากล่าวคำที่ไม่จริงก็ชี้แจ้งให้เขาเข้าใจ

      จริง ๆ แล้วพระองค์ไม่ได้ตรัสถึงพุทธคุณเพียงอย่างเดียว แต่ยังตรัสถึงข้อผิดพลาดของพระองค์เองในขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ดังที่ปรากฏอยู่ในชาดกต่าง ๆ อีกด้วย มีอยู่หลายชาติที่พระโพธิสัตว์ได้ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เช่น เป็นสุนัข ช้าง ม้า ลิง ราชสีห์ นก กระต่าย โค กระบือ กวาง เป็นต้น และมี
หลายชาติที่ทรงผิดพลาดหนักถึงกับตกนรกหมกไหม้อยู่ยาวนาน ความจริงข้อผิดพลาดเหล่านี้หากพระองค์ไม่ตรัสถึงก็ไม่มีใครทราบเพราะเป็นเรื่องในอดีตชาติ เหตุที่พระองค์ตรัสไว้ก็เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจแก่พุทธบริษัททั้งหลายว่า แม้พระองค์เองก็ยังเคยทำผิดเพราะฉะนั้นอย่าได้ประมาทเป็นอันขาด

      หากไม่มองถึงประเด็นที่ว่า ผู้หมดกิเลสแล้วย่อมไม่กล่าวคำเท็จ การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งกล่าวถึงทั้งด้านดีและไม่ดีของตนเองอย่างเปิดเผย มีส่วนดีอะไรบ้าง ก็กล่าวถึง และแม้มีข้อไม่ดีที่เคยทำผิดพลาดหนักมากเพียงใดก็ตาม ก็กล้ากล่าวถึงโดยไม่ปิดบัง คำกล่าวของบุคคลนี้จึงน่าเชื่อถือมากทีเดียว เพราะ
ถ้าต้องการให้ผู้ฟังนิยมชมชอบตนก็พูดแต่เรื่องดี ๆ ก็ได้สิ่งไม่ดีก็ปิด ๆ เอาไว้ ซึ่งปุถุชนคนที่ยังมีกิเลสอยู่จำนวนไม่น้อยที่ทำอย่างนี


2. พระพุทธคุณ
   เนื่องจากคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากจะสุดพรรณนาได้หมด ในที่นี้จึงกล่าวถึงโดยย่อคือเพียง 9 ประการ ซึ่งชาวพุทธที่หมั่นสวดมนต์อยู่เป็นประจำจะคุ้นเคยกันดี จนอาจกล่าวได้ว่าท่องจนคล่องปากจำจนขึ้นใจทีเดียว แต่ถึงกระนั้นก็คงมีหลายท่านที่ไม่รู้ความหมาย เพราะบทสวดเหล่านั้นบันทึกด้วยภาษาบาลีการเรียนวิชานี้จึงช่วยให้นักศึกษาทุกท่านทราบว่าบท  "อรหํ สมฺมา สมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณ สมฺปนฺโนสุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริ ทมฺมสารถิ ตฺถา เทวมนุสฺสาน พุทฺโธ ภควา" ซึ่งเราท่องจนจำได้ขึ้นใจนั้นมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง

1) อธิบายพุทธคุณบทว่า อรหํ
     คำว่า อรหํ ก็คือ พระอรหันต์ หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์

     คำว่า อรหํ แปลได้ 2 นัย คือ แปลว่า "ไกล" และ แปลว่า "ควร"

    นัยแรก คือไกล หมายถึง ไกลจากกิเล กล่าวคือ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกล คือ ทรงดำรงอยู่ในพระคุณอันไกลแสนไกลจากกิเล ซึ่งตรงข้ามกับปุถุชนที่ยังอยู่ใกล้ชิดกับกิเลส

    นัยที่สอง คือ ควร หมายถึง เป็นผู้ควรแก่ปัจจัย 4 และ เป็นผู้ควรได้รับการเทิดทูนบูชาไว้เหนือสิ่งใดทั้งหมด ควรยึดมั่นพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างแล้วตั้งใจปฏิบัติตามพระองค์

2) อธิบายพุทธคุณบทว่า สมฺมา สมฺพุทฺโธ 
     คำว่า สมฺมา สมฺพุทฺโธ ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    คำว่า สมฺมา สมฺพุทฺโธ แปลว่า ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และ ด้วยพระองค์เอง คือ ไม่มีใครสอน หรือนัยหนึ่งว่า ตรัสรู้เองโดยถูกต้อง

   คำสอนคือพระธรรมนั้นมาจากพระรัตนตรัยในตัวของพระพุทธองค์เอง ไม่ได้มีใครที่ไหนมาดลบันดาลให้รู้ส่วนในศาสนาเทวนิยมนั้นคำสอนหรือความรู้มาจากพระเจ้า ศาสดาเป็นเพียงสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้มาสู่ศาสนิก เช่น พระเยซูกล่าวว่า "เรารู้จักพระเจ้า เพราะเรามาจากพระองค์ และพระองค์ทรงใช้เรามา... คำสอนของเราไม่ใช่ของเราเอง แต่เป็นของพระองค์ผู้ใช้เรามา" มุฮัมหมัดก็ได้รับคำสอนคือเทวโองการจากพระอัลเลาะห์ใน 3 ทางคือ การดลบันดาลใจให้ทราบ พระองค์มาเข้าฝัน หรือส่งเทวทูตมาบอก

     ในศาสนายูดายบันทึกไว้ว่า โมเสสพาชาวยิวออกจากอียิปต์ข้ามทะเลแดงเพื่อไปสู่คานาอันหรืออิสราเอลในปัจจุบัน เมื่อข้ามทะเลแดงแล้วได้เดินทางไปอีก 3 เดือนแต่ยังไม่ถึงคานาอัน ทำให้พวกยิวท้อแท้กระด้างกระเดื่องไม่เชื่อฟังโมเสสและแตกความสามัคคีกัน โมเสสเห็นว่าขืนปล่อยไว้เหตุการณ์จะลุกลามไปใหญ่ จึงขึ้นไปอยู่บนภูเขาซีไนยถึง 40 วัน เมื่อกลับลงมาโมเสสบอกชาวยิวว่า ตนได้ขึ้นไปพบกับพระเจ้า ๆ สั่งให้นำคำสั่งสอนของพระองค์มาให้ชาวยิวทุกคนปฏิบัติ ใครจะขัดขืนไม่ได้ นั่นคือที่มาของบัญญัติ 10 ประการในศาสนายิว ได้แก่ อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา และเรื่องระเบียบ
วินัยสำหรับอยู่ร่วมกันในหมู่คณะ

3) อธิบายพุทธคุณบทว่า วิชฺชาจรณ สมฺปนฺโน
      คำว่า วิชฺชาจรณ สมฺปนฺโน แปลว่า ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

    คำว่า วิชชา แปลว่า ความรู้แจ้ง ได้แก่ วิชชา 8 ความรู้แจ้งนั้นเป็นความรู้ที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา ต่างจากความรู้ทั่วไปที่เกิดจากการฟัง การอ่าน หรือ การคิด

      คำว่า จรณะ แปลว่า ความประพฤติ จรณะนั้นมี 15 ประการ

วิชชา 8 ได้แก่
    (1) วิปัสนาญาณ ความเห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หมายถึง พระพุทธองค์ทรงเห็นแจ้งในสภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง เช่น เห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา และยังทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายต้องติดอยู่ในวัฏสงสาร ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จักจบสิ้น การเห็นแจ้งนั้นไม่ใช่จะมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ แต่พระพุทธองค์ทรงรู้เห็นได้ด้วยตาของพระธรรมกาย
     (2) มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ คือ จะนึกให้เป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามที่นึกได้
     (3) อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เนรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคนได้
     (4) ทิพพโสต มีหูทิพย์ ฟังเสียงต่าง ๆ ได้หลากหลายและได้ยินเสียงจากที่ห่างไกลได้
     (5) เจโตปริยญาณ คือ รู้วาระจิตของผู้อื่น
     (6) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้ที่สามารถระลึกชาติหนหลังได้
    (7) ทิพพจักษุ คือ ตาทิพย์สามารถมองเห็นทุกสิ่งได้หมด ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลอย่างไรและระลึกชาติหนหลังของสัตว์อื่นได้
     (8) อาสวักขยญาณ คือ ความรู้แจ้งที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้น


จรณะ 15 ได้แก่
     (1) ศีลสังวร คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ (2) อินทรีย์สังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (3) โภชเนมัตตัญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค (4) ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรที่ทำให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ ข้อ (5)  (15) โดยสรุปคือ พระพุทธองค์ทรงมีสติปัญญาและศีลาจารวัตรที่งดงาม ทรงประพฤติปฏิบัติจรณะทั้ง 15 ประการมามากมายหลายภพหลายชาติ จรณะเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ทำให้พระองค์มีความหนักแน่น มั่นคงอย่างต่อเนื่องในการสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุ
พระสัมมาสัมโพธิญาณตามความปรารถนาที่ตั้งใจไว้

    โดยสรุปแล้ว วิชฺชาจรณ สมฺปนฺโน คือ ถึงพร้อมทั้งความรู้ดีและความประพฤติดีนั่นเอง ครูในทางโลกมีจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้ดีแต่ความประพฤติไม่ดี เป็นต้นแบบแก่ศิษย์ไม่ได้ คนเหล่านี้ "แนะ" ลูกศิษย์ได้ แต่ไม่สามารถ "นำ" ลูกศิษย์ได้คือไม่อาจประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีได้ แต่พระสัมมาสัม
พุทธเจ้านั้นทรงเป็นบรมครูที่สามารถ "แนะและนำ" ลูกศิษย์ให้มีทั้งความรู้และความประพฤติดีเช่นเดียวกับพระองค์ได

4) อธิบายพุทธคุณบทว่า สุคโต
       คำว่าสุคโต แปลว่า ไปดีแล้ว, ไปสู่ที่ดี, ทรงพระดำเนินงาม ฯลฯ

      นัยแรก ไปดีแล้ว หมายถึง พระองค์ประพฤติดี ทั้งกาย วาจา ใจ ประพฤติ ม่ำเสมอมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ละโลกจากชาตินั้น ๆ แล้วก็ไปสู่สุคติ

      คำว่า ไปดีแล้ว อีกนัยหนึ่งคือ พระองค์ดำเนินกาย วาจา ใจ ไปในแนวอริยมรรคมีองค์ 8

      นัยที่สอง ไปสู่ที่ดี หมายถึง ไปอยู่สู่แดนอันเกษมกล่าวคือ นิพพาน

      นัยที่สาม ทรงพระดำเนินงาม เช่น เมื่อครั้งจะทรงพระดำเนินไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ยังป่าอิสิปตนะนั้น ทรงเดินไปด้วยย่างพระบาท มีฉัพพรรณรังสีรุ่งโรจน์ จนแม้แต่ว่าสัตว์ที่มาแลเห็น ก็งงงันหยุดนิ่งตะลึง อย่างนี้เรียกว่าทรงพระดำเนินงาม

5) อธิบายพุทธคุณบทว่า โลกวิทู
     คำว่า โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งซึ่งโลก คำว่า โลก หมายความว่า ย่อยยับไป หักพังไป

   อีกนัยหนึ่ง โลก หมายถึง ถานที่เป็นที่เกิดที่อยู่แห่งสัตว์ และเป็นที่ซึ่งสัตว์ได้อาศัยก่อกุศลและอกุศล เช่น โลกมนุษย์เป็นที่มนุษย์อาศัยสร้างบุญแล้ว ก็ได้ผลไปบังเกิดใน สวรรค์ หรือบำเพ็ญบารมีแล้วส่งผลไปสู่นิพพาน ถ้าสร้างบาปแล้ว ก็เป็นผลให้ไปเกิดในนรก

     โลกแบ่งออกเป็น 3 คือสังขารโลกสัตวโลก โอกาสโลก
     สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ ขันธ์ 52 โดยขันธ์ 5 ได้ชื่อเป็นโลก ๆ หนึ่งเพราะต้องย่อยยับไปหักพังไปตามความหมายของโลกข้างต้น ขันธ์ 5 ของสัตว์ทั้งหลายนั้นดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ด้วยเหตุนี้จึงมีการแปลสังขารโลกว่า โลกที่มีอาหารเป็นปัจจัยปรุงแต่ง3 ในเรื่องขันธ์ 5 นี้พระพุทธองค์ทรงรู้ละเอียดยิ่งกว่าการแพทย์ในปัจจุบันหลายเท่า เพราะทรงมีมืออุปกรณ์คือธรรมจักษุซึ่งเห็นละเอียดยิ่งกว่าอุปกรณ์ใด ๆ ในโลก

     สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ ได้แก่ มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม เป็นต้น การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งสัตว์โลก คือ "ทรงรู้อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย... ทรงรู้จริตทรงรู้อารมณ์ ทรงรู้สัตว์มีธุลีคือกิเลสน้อยสัตว์มีธุลีคือกิเล มากสัตว์มีอินทรีย์กล้าสัตว์มีอินทรีย์อ่อน..."

   จริตอัธยาศัยนี้เป็นสิ่งที่สัตว์โลกสั่งสมอยู่ในใจมาข้ามภพข้ามชาติ ดังนั้น โดย สรุปแล้วสัตวโลกจึงหมายเอาการหยั่งรู้ใจของสัตว์โลกว่ามีความแตกต่างกันไปนั่นเอง เมื่อจะสอนธรรมก็ต้องสอนให้ตรงกับจริตอัธยาศัยของเขาเหล่านั้น

      โอกาสโลก หมายถึง ถานที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย2 ได้แก่ โลกมนุษย์ที่เราอาศัยอยู่รวมทั้งจักรวาลด้วย ดังที่บันทึกไว้ว่า "จักรวาล ชื่อว่าโอกาสโลก" คำว่า จักรวาล ภาษาในปัจจุบันเรียกว่า กาแล็กซีซึ่งเป็นความรู้ที่นักดาราศาสตร์เพิ่งค้นพบเมื่อประมาณ 400 ปีที่ผ่านมา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องจักรวาลและอนันตจักรวาลมากว่า 2,500 ปีแล้ว ดังพระดำรั ที่ว่า "สิ่งที่นับไม่ได้ มีที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้ 4 อย่าง คือ หมู่สัตว์, อากาศ, อนันตจักรวาล, พระพุทธญาณที่หาประมาณมิได้..." ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้ชื่อว่ารู้แจ้งโลก

6) อธิบายพุทธคุณบทว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
       คำว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ แปลว่า เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่พอจะฝึกได้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่ากล่าวคือ พระองค์มีพระปรีชาญาณเฉลียวฉลาดในอันที่จะฝึก อนคนให้เป็นคนดีได้ หรือ ให้สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ พระองค์มีกุศโลบายสอนต่าง ๆ นานาสุดแล้วแต่จะทรงพิจารณาเห็นว่า บุคคลจำพวกใด
มีนิสัยอย่างไร ก็ทรงใช้กุศโลบายสอนให้ตรงกับนิสัย

    ตัวอย่างเช่น ชฎิลสามพี่น้องและบริวารซึ่งเคยบูชาไฟมาก่อน พระองค์จึงทรงเทศน์อาทิตตปริยายสูตรว่าด้วยธรรมที่แสดงถึงของร้อนแก่ชฎิลเหล่านั้น จนบรรลุเป็นพระอรหันต์กันทั้งหมดหรือกรณีพระนันทะ ผู้มีราคะจริต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำท่านไปสู่ภพดาวดึงส์ เพื่อไปดูเทพนารีทั้งหลายและทรงรับประกันว่าหากพระนันทะตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม ถ้าละโลกขณะที่ยังไม่หมดกิเลสก็จะได้นางฟ้าเป็นภรรยา ท่านพระนันทะจึงตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม และสุดท้ายก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ หมดความต้องการด้วยนางฟ้าไปโดยปริยาย

7) อธิบายพุทธคุณบทว่า สตฺถา เทวมนุสสฺสาน
     สตฺถา เทวมนุสสฺสาน แปลว่า เป็นพระศา ดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย6 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เป็นศาสดาของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นศาสดาของเทวดาด้วย ดังที่ปรากฏในพุทธกิจ ประจำวันของพระองค์ว่า "ในมัชฌิมยามพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย" มัชฌิมยามคือเวลาประมาณ 22.00 น.  02.00 น. คำว่าเป็นศาสดาของเทวดานี้หมายรวมเอารูปพรหมต่าง ๆ ด้วย

     พุทธคุณข้อนี้ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษที่โดดเด่นอีกข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาเทวนิยมนั้นต่างอ้างเอาเทวดาเป็นที่พึ่งที่ระลึกทั้งสิ้น เช่น ศาสนาคริสต์นับถือพระเจ้าคือ "พระยะโวาห์ซึ่งเป็นกายทิพย์"ส่วนมุสลิมก็นับถือพระอัลเลาะห์โดยเชื่อว่า "พระอัลเลาะห์มีรูปร่างตัวตน ไม่ใช่เป็นนามธรรมแต่เป็นร่างทิพย์ จึงไม่มีใครสามารถเห็นพระองค์ได้..." คำว่ากายทิพย์คือกายของเทวดานั่นเอง ในศาสนาพราหมณ์ฮินดูนับถือพระพรหมเป็นที่พึ่งสูงสุด และเชื่อกันว่าความเป็นไปของชีวิตขึ้นอยู่กับพรหมลิขิต แต่
มีหลักฐานบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกจำนวนมากว่า แม้แต่รูปพรหมทั้งหลายยังยกย่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา

8) อธิบายพุทธคุณบทว่า พุทฺโธ
       คำว่า พุทโธ แปลได้หลายนัย ในที่นี้จะแปลในนัยที่ว่า เป็นผู้บานแล้ว

  คำว่าบานนั้นเปรียบด้วยดอกประทุมชาติ คือบานเหมือนดอกบัวที่บานแล้วเต็มที่ ในช่วงที่พระองค์ทรงประกอบความเพียรอยู่ ยังไม่ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณก็เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว จึงเปรียบเสมือนดอกบัวที่บานแล้ว

     และการที่นำเอาดอกบัวบานมาเทียบความหมายแห่งคำว่าพุทโธนั้น ก็เพราะเหตุว่าในช่วงปฐมกัปซึ่งมีแผ่นดินตั้งขึ้นใหม่ ๆ มีกอบัวเกิดขึ้นพร้อมทั้งมีดอก 5 ดอก ท้าวสุทธาวาสพรหมหยั่งรู้ว่านี้เป็นนิมิตว่า ในกัปนี้จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสโปรดเวไนยสัตว์ 5 พระองค์ จึงกล่าวคำว่า "นะ, โม, พุท,
ธา, ยะ" ไว้ นะ คือ พระกกุสันโธ ,โม คือ พระโกนาคมนะ, พุท คือ พระพุทธกัส ปะ, ธา คือ พระสมณโคดมและ ยะ คือ พระศรีอาริยเมตไตรย์

9) อธิบายพุทธคุณบทว่า ภควา
      คำว่า ภควา แปลได้หลายนัย แปลว่า "หัก" ก็ได้ แปลว่า "แจก" ก็ได้

     ที่ว่า หัก นั้น หมายความว่า พระองค์หักเสียได้ซึ่งสังสารจักรกล่าวคือ อวิชชา ตัณหา อุปาทานกรรมอันเป็นเสมือนตัวจักรที่พัดผันส่งต่อไปยังกันและกัน เป็นกำลังดันให้หมุนเวียนวนว่ายอยู่ในวัฏสงสารมิให้ออกจากภพ 3 พระองค์หักเสียได้แล้ว พระองค์จึงพ้นไปจากภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เสด็จออกสู่นิพพานไป

   ที่ว่า แจก นั้นมีความหมายว่า พระพุทธองค์ทรงแยกย่อยธรรมะออกเป็นข้อเล็กข้อน้อยให้เหมาะสมกับสติปัญญาของผู้ฟัง เปรียบเสมือนการบิขนมหรือการตักข้าวให้พอคำแก่คนกิน เด็กก็ต้องให้คำเล็ก ผู้ใหญ่ก็ตักให้คำโต หรือคนป่วยก็ตักเอาชนิดอาหารเปอย อาหารตุ๋นที่ย่อยง่าย ๆ มาให้ส่วนที่
ปัญญาแก่กล้าแล้วก็ไม่ต้องย่อยให้มากนักสอนเพียงย่อ ๆ เฉพาะแต่หัวข้อธรรมที่เข้าใจทันที และธรรมะที่ทรงแยกย่อยไว้ดีแล้วนี้ยังช่วยให้ผู้ที่มาในภายหลังสามารถเลือกธรรมะที่พอเหมาะกับตนเอาไปปฏิบัติได

    พระพุทธคุณทั้ง 9 ประการนี้ รุปให้เหลือ 3 ประการได้ดังนี้คือ พระบริสุทธิคุณ, พระปัญญาคุณ และ พระมหากรุณาธิคุณ

       พระบริสุทธิคุณ ได้แก่ อรหํ, สุคโต และ พุทฺโธ,

       พระปัญญาคุณ ได้แก่ สมฺมาสมฺพุทฺโธ, วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน และ โลกวิทู

       พระมหากรุณาธิคุณ ได้แก่ อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ, สตฺถา เทวมนุสฺสานํ และ ภควา

 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.022724799315135 Mins