สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันที่ 13 ตค. พ.ศ.2559

สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   , พระสงฆ์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , เส้นทางการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์

1. พระสงฆ์คือใคร
  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า "พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติ มควร ได้แก่ อริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลีเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก"

     พระดำรัสนี้ได้ยืนยันอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่า "พระสงฆ์"สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้นหมายถึง "อริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล"

     คำว่า "8 บุคคล" คือ บุคคลผู้พร้อมเพียงด้วยมรรค 4 ผู้พร้อมเพียงด้วยผล 4 ได้แก่

บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์

    บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน หมายถึง พระโสดาปัตติผล บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลหมายถึง พระโสดาปัตติมรรค... บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ หมายถึง พระอรหัตผล และ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์ หมายถึง พระอรหัตมรรค

       โดยสรุปอริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล ได้แก่

คู่ที่ 1 พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล
คู่ที่ 2 พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล
คู่ที่ 3 พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล
คู่ที่ 4 พระอรหัตมรรค พระอรหัตผล

      ดังนั้นพระสงฆ์ในความหมายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ อริยบุคคล 4 คู่คือ 8 บุคคล อันหมายถึงพระอริยสงฆ์ ไม่ได้หมายถึง พระสงฆ์ปุถุชนทั่ว ๆ ไป ดังในอรรถกถาที่ว่า "คำว่า บุคคล 8 คือผู้ตั้งอยู่ในมรรค 4 ชื่อว่า พระอริยสงฆ์"

      พระอริยสงฆ์ที่ชาวพุทธรู้จักกันในสมัยพุทธกาล ได้แก่ พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ พระมหากัจจายนเถระ พระมหากัสสปเถระ พระอนุรุทธเถระ พระอานนเถระ พระอุบลวรรณเถรี พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี และ พระภัททากาปิลานีเถรี เป็นต้น

      แม้ฆราวาสที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล เช่น เป็นพระโสดาบัน เป็นต้น ก็ถือเป็นพระอริยสงฆ์ตามความหมายนี้ แต่เป็นด้วยคุณภายในหรือเป็นการบวชภายในนั่นเอง

         สำหรับพระสงฆ์ปุถุชนทั่ว ๆ ไปนั้นท่านเรียกว่า "พระสมมติสงฆ์"

      คำว่าสมมติ แปลว่า รู้พร้อมกัน, รู้กันพร้อมหน้า ใช้ในความหมายทั่วไปว่า อนุญาต, เลือกเฟ้น, ยินยอม, ยอมรับ, พิจารณา

       สมมติ ในคำไทยใช้ในความหมายว่า รู้สึกนึกคิดเอาเอง, ต่างว่า, ถือเอาว่า, ข้อคิดเห็นที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผลหรือการค้นคว้าทดลอง

      สมมติสงฆ์ หมายถึง พระสงฆ์โดย มมติ คือเป็นพระสงฆ์โดยการยอมรับกันในหมู่สงฆ์ หลังจากการได้ผ่านการคัดเลือกเฟ้นคุณสมบัติถูกต้องและผ่านพิธีกรรมที่เรียกว่าอุปสมบทกรรมครบถ้วนตามพระวินัยแล้ว ใช้เรียกพระสงฆ์ที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล เช่น พระสงฆ์ทั่วไปในปัจจุบัน ถ้าได้บรรลุมรรคแล้ว เช่น เป็นพระโสดาบัน เรียกว่า อริยสงฆ์

      คำว่า พระสงฆ์ มาจาก "บทว่า สงฺฆํ หรือ สงฺฆํ ในภาษาบาลี ได้แก่ ภิกษุสงฆ์"

      เมื่อกล่าวถึงพระสงฆ์ ในแง่ของจำนวนแล้วอาจหมายถึง "พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเพียงรูปเดียว" หรือหมายถึง "หมู่พระภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป" ก็ได้ เพราะคำว่าสงฆ์ แปลว่า "หมู่" ก็ได้ดังในอรรถกถาที่ว่า "บทว่า สงฺฆา วา คณา วา ได้แก่ หมู่ หรือ คณะ คือ ชุมนุมชน"

      คำที่มักใช้แทนพระสงฆ์มีดังนี้ "พระ, ภิกษุ, พระภิกษุ, พระภิกษุสงฆ์, บรรพชิต, สมณะ"

     คำว่า พระ มาจากคำว่า วร ในภาษาบาลี แปลว่า ประเสริฐ เลิศ วิเศษ ดังนั้นคำว่า พระ จึงแปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ ผู้เลิศ ผู้วิเศษ

      คำว่า ภิกษุ มาจากบทว่า "ภิกฺขุ ในภาษาบาลี แปลว่า เห็นภัยในสังสารวัฏ"

     ภิกฺขุ มีรากศัพท์มาจากคำว่า "ภยะ + อิกขะ + รู ปัจจัย" ภยะ แปลว่า ภัยอันตราย หมายถึง ภัยในสังสารวัฏ อิกขะ แปลว่า มองเห็น ดังนั้น ภิกฺขุ จึงแปลว่า เห็นภัยในสังสารวัฏ หรือ ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏนั่นเอง

   คำว่า พระภิกษุ นั้นเติมคำว่า "พระ" เข้ามาข้างหน้าคำว่า "ภิกษุ" เพื่อแ ดงความยกย่องว่า ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้วิเศษ หากฝ่ายหญิงก็จะเรียกว่าภิกษุณี

    คำว่า บรรพชิต มาจากบทว่า "ปพฺพชิโต ในภาษาบาลี แปลว่า เข้าถึงบรรพชา อธิบายว่า เป็นผู้บวชแล้ว" ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า บรรพชิต หมายถึง นักบวชในพระพุทธศาสนาส่วนนักบวชนอกพระพุทธศาสนาเรียกว่า "เดียรถีย์"

      คำว่า มณะ มาจากบทว่า "สมโณ ในภาษาบาลี แปลว่า เป็นผู้สงบบาป" คำว่าสมณะ นั้นหมายเอาเฉพาะพระอริยสงฆ์ดังบทว่า "สมโณ ได้แก่ มณะผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ พระโสดาบัน เป็นต้น" หรือดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับสุภัททปริพาชกว่า

      "ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด แม้สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้นสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยใด แม้สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 หาได้ในธรรมวินัยนั้นสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 หาได้ในธรรมวินัยนี้สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่น ๆ ว่างจาก มณะผู้รู้สุภัททะ ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย"

      อรรถกถาอธิบายไว้ว่า "สมณะที่ 1 คือพระโสดาบันสมณะที่ 2 คือพระ สกทาคามี สมณะที่ 3 คือ พระอนาคามี สมณะที่ 4 คือพระอรหันต์" ดังนั้นคำว่าสมณะจึงหมายเอาพระอริยสงฆ์เท่านั้น และ สมณะ ดังกล่าวมีเฉพาะในธรรมวินัยนี้คือมีเฉพาะในพระพุทธศาสนานั่นเอง


2. พระสังฆคุณ
      พระสังฆคุณในที่นี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมายเอาคุณของพระอริยสงฆ์เท่านั้นซึ่งพระองค์ตรัสไว้ในวัตถูปมสูตรว่า "สุปฏิปนฺโน ภควโตสาวก สงฺโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโตสาวก สงฺโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ,สามีจิปฏิปนฺโน ภควโตสาวก สงฺโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปริสปุคฺคลา เอ สภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย, ปาหุเนยฺโย, ทกฺขิเณยฺโย, อฺชลิกรณีโย, อนุตฺตรํ ปฺุญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ ฯ"

      จากพุทธดำรัสดังกล่าวสามารถสรุปพระสังฆคุณได้ 9 ประการดังนี้

   1)สุปฏิปนฺโน แปลว่า ท่านปฏิบัติแล้วดี คือ ปฏิบัติไปตามแนวมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลางตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาดำเนินมาแล้ว ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป

     2) อุชุปฏิปนฺโน แปลว่า ปฏิบัติแล้วตรง คือ ท่านปฏิบัติมุ่งตรงต่อพระนิพพาน ไม่วอกแวกไปทางอื่น แม้จะล่วงเลยข้ามไปกี่ภพกี่ชาติท่านก็ไม่เปลี่ยนใจ ยังมุ่งตรงต่อนิพพานอยู่

      3) ญายปฏิปนฺโน แปลว่า ปฏิบัติมุ่งเพื่อรู้ธรรมที่จะออกจากภพ 3 โดยแท้

     4)สามีจิปฏิปนฺโน แปลว่า ปฏิบัติอย่างดีเลิศ เพราะท่านปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงพระนิพพานจริง ๆ ไม่ใช่เพื่อเหตุอื่น จึงสมควรนับว่าเป็นการปฏิบัติอย่างดีเลิศ

      5) อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรเคารพสักการะ

      6) ปาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรต้อนรับ

      7) ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรรับของที่เขาทำบุญ

      8) อฺชลิกรณีโย แปลว่า สมควรกราบไหว้

     9) อนุตฺตรํ ปฺุญกฺเขตฺตํ โลกสฺสะ แปลว่า  เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศไม่มีนาบุญอื่นจะดีกว่าอีกแล้ว แม้ทำบุญกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ได้บุญมากเท่ากับทำในพระสงฆ์ เพราะการทำบุญเจาะจงพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นเพียงปาฏิบุคลิกทานไม่เป็นสังฆทาน พระพุทธองค์ตรัสถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "เราไม่กล่าวว่าปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่าสังฆทานด้วยปริยายอะไร ๆ เลยสังฆทานเป็นประมุขของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแลเป็นประมุขของผู้บูชา และพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า"

 พระสังฆคุณข้อนี้หมายเอาคุณของหมู่สงฆ์ไม่ได้หมายถึงคุณของพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งเพียงรูปเดียวโดยสังเกตได้จากพุทธดำรัสที่ว่า "ปาฏิบุคลิกทาน คือ ทานที่ให้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง" และ "สังฆทาน คือ ทานที่ให้แก่หมู่สงฆ์"


3. ในปัจจุบันยังมีพระอริยสงฆ์อยู่หรือไม่
      คำถามที่ว่าในปัจจุบันยังมีพระอริยสงฆ์อยู่หรือไม่ เป็นคำถามที่มักได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ และคนถามก็มักจะได้คำตอบที่ไม่ค่อยชัดเจน แม้ยึดตามหลักการในพระไตรปิฎกดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า "ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย" พระดำรัสนี้ก็ยังไม่อาจระบุได้ชัดว่าปัจจุบันยังมีพระอรหันต์หรือไม่ เพราะยากที่จะรู้ว่าพระภิกษุแต่ละรูปปฏิบัติชอบได้ถึงระดับไหน และตามปกติพระที่ได้บรรลุธรรมขั้นสูงท่านจะไม่เปิดเผยให้คนอื่นรู้ ถ้าเป็นในสมัยพุทธกาลก็จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสบอกและยืนยันว่า ภิกษุชื่อนั้น ชื่อนี้ บรรลุธรรมขั้นไหนแล้ว อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่าในช่วงปลายศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเสื่อมสูญไป แต่ในช่วงนั้นก็ยังมีพระอริยสงฆ์อยู่ดังที่พระทัพพมัลลบุตรได้เล่าไว้ว่า

    เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกปรินิพพานแล้ว เมื่อศาสนากำลังจะสิ้นไป ครั้งนั้นข้าพเจ้าและเพื่อนภิกษุรวม 7 รูป ได้เห็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งศาสนา จึงคิดกันว่า 'เราทั้งหลายเว้นศาสนาไม่ควรจะมีชีวิตอยู่ จึงเข้าไปยังป่าใหญ่แล้วบำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์เถิด' ข้าพเจ้าได้พบภูเขาหินสูงในป่าจึงไต่บันไดขึ้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้วผลักบันไดให้ตกลง พระเถระได้ตักเตือนพวกข้าพเจ้าว่า 'การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าหาได้แสนยาก และศาสนายังเหลืออีกเล็กน้อย ผู้ที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไป จะต้องตกลงไปในสาคร คือความทุกข์ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายควรกระทำความเพียรตลอดเวลาที่ศาสนายังดำรงอยู่เถิด' ครั้งนั้น พระเถระนั้นเป็นพระอรหันต์ องค์รองได้เป็นพระอนาคามี พวกข้าพเจ้าที่เหลือจากนั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ประกอบความเพียรจึงได้ไปเกิดยังเทวโลก

     จะเห็นว่าแม้ศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้ากำลังจะสิ้นอยู่แล้ว แต่ยังมีผู้ปฏิบัติชอบจนได้บรรลุเป็นพระอริยสงฆ์คือเป็นพระอรหันต์และพระอนาคามีอยู่ส่วนในปัจจุบันถือว่าอยู่ในช่วงกลางๆของศาสนา พระสมณโคดม-พุทธเจ้า กว่าจะถึงช่วงปลายของศาสนาอย่างน้อยก็ประมาณ 2,500 ปี2 ยุคนี้จึงถือว่าพระพุทธศาสนายังเจริญอยู่ ยังมีพระภิกษุทั่วโลกเรือนล้านรูป จึงเป็นไปได้มากที่ยังมีพระอริยสงฆ์อยู่ และจากที่คุณครูไม่ใหญ่เล่าในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ทำให้ทราบว่า ตามป่าตามเขาและบริเวณชายแดนของไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า ทิเบต เนปาล เป็นต้น มีพระผู้สำเร็จอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะที่ถ้ำจุงจิงในประเทศกัมพูชา หรือ ภูเขาควาย ในประเทศลาว พระผู้สำเร็จเหล่านี้เป็นฌานลาภีบุคคลคือได้บรรลุฌานในระดับต่าง ๆ แสดงฤทธิ์ได้ ย่นย่อระยะทางได้ หายตัวได้ อำพรางตัวได้ หลายรูปอยู่ได้โดยไม่ต้องฉันอาหาร บางรูปยืดอายุตัวเองให้ยาวออกไป 200 ปีก็มี 400 ปีก็มี หรือมากกว่านั้นก็มี

     ครั้งหนึ่งคุณครูไม่ใหญ่เล่าว่า ท่านไปเจอโยมคนหนึ่งซึ่งเคยบวชและออกเดินธุดงค์อยู่ 9 ปี โยมท่านนี้ชื่อ "อุ๊ย" อุ๊ยเล่าว่า คราวหนึ่งหลังจาก สงครามครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ท่านได้เดินธุดงค์จากเมืองไทยไปทิเบต ไปกันทั้งหมด 5 รูป เข้าทางพม่า ผ่านชายแดนอินเดีย และข้ามเทือกเขาหิมาลัยไป ด้วยความทุรกันดารของเส้นทางทำให้พระที่เดินธุดงค์มาด้วยกัน ค่อย ๆ มรณภาพไปทีละรูป จนเหลือ "อุ๊ย" เพียงรูปเดียว เมื่อท่านข้ามเขาไปแล้วเจอป่าใหญ่สมบูรณ์ พอเข้าไปในป่าก็พบต้นโพธิ์ต้นใหญ่ ที่โคนต้นมีโพรงกว้างมากภายในจุคนได้ถึง 50 คน ในโพรงนั้นมีพระภิกษุนั่งทำภาวนาอยู่หลายรูป ได้แก่ พระอาจารย์ 1 รูป พระฝรั่ง 2 รูป พระอินเดีย 2 รูป พระพม่า 2 รูป พระจีน 1 รูป พระทิเบต 1 รูป และตัวท่านที่เข้าไปสมทบอีก 1 รูป

      เหตุที่อุ๊ยไปถึงได้เพราะมีสายบุญกับพระอาจารย์คือ ในอดีตเคยทำบุญกับท่านเอาไว้ อุ๊ยเรียกพระอาจารย์ที่สอนภาวนาอยู่นั้นว่า "หลวงพ่อโพรงโพธิ์" เป็นพระที่มีบุคลิกต่างจากพระภิกษุทั่วไปคือมีร่างกายที่สูงใหญ่มาก กล่าวคือ ปกติอุ๊ยสูงประมาณ 170 กว่าเซนติเมตร แต่เมื่อไปยืนเทียบกับท่าน ปรากฏว่า อุ๊ยสูงแค่สะดือของพระอาจารย์เท่านั้น แม้ท่านจะสูงแต่ก็สมส่วน ผิว สวยเหมือนเด็กอ่อน ๆ คล้าย ๆ ลูกตำลึงสุก หน้าอิ่ม โครงหน้าแบบคนอินเดีย คิ้วโก่ง จมูกไม่โด่งมาก ปาก สวย ผิวขาว หูยานเกือบถึงกลางคอผิวไม่มีรอยย่น ตัวตรง คอกลม ไม่เห็นลูกกระเดือก มือเต็ม ฝ่าเท้ายาว นิ้วมือและนิ้วเท้าหลั่นกันนิด ๆ ไม่เห็นตาตุ่ม เท้าไม่มีเว้า ไม่เป็นแอ่ง ส้นกลม กล่าวคือ ได้ลักษณะมหาบุรุษบางประการ

      ท่านห่มจีวรแบบ "ห่มดอง" สีจีวรเหมือน สีเปลือกไม้ บาตรของท่านทำจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์ขนาดใหญ่มาก โยมอุ๊ยทดลองวัดดูพบว่า กว้าง 2 คืบ ยาว 3 คืบ สีดำเมื่อม หลวงพ่อโพรงโพธิ์ได้เห็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์ตั้งแต่เม็ดของมันใหญ่ขนาดนั้น ครั้งหนึ่งพระจีนถามว่า ท่านอายุเท่าไร หลวงพ่อโพรงโพธิ์จึงหยิบเอาถุงหนังโตเท่ากำปัน ข้างในมีเมล็ดทราย ขนาดเล็ก ๆ ไม่ใหญ่กว่าเม็ดงา พระจีนเอาออกมานับดูเพื่อจะได้รู้ว่าท่านอายุเท่าไร แต่ก็นับไม่หมดเพราะมีเยอะจึงเลิกนับไปก่อน อุ๊ยเล่าว่า ท่านอธิษฐานไว้ว่าจะเข้านิพพานพร้อมกับพระศรีอาริย์

     สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ หลวงพ่อโพรงโพธิ์สอนการทำภาวนาเหมือนกับที่หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญสอนคือ ท่านบอกว่า "ไปนิพพานมันไม่ยากหรอก แต่เขาทำของง่ายให้ยากกัน พระทั้งหลายไม่ค่อยจะรู้กันหรอก หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ไปทำของง่ายให้ยากวุ่นวายไปหมด ที่ว่าไม่ยากคือ ให้ทำจิตบริสุทธิ์ เป็นกลาง ๆ ไม่ยินดียินร้าย อยู่ตรงศูนย์กลางกายเหนือสะดือขึ้นมา ของดีมันอยู่ในตัว ตรงนั้นแหละ อย่าไปหาที่ไหนไม่เจอหรอก"

      จากเรื่องที่เล่ามาทั้งหมดนักศึกษาบางท่านอาจจะสงสัยหลายประการ เช่น จะเป็นไปได้หรือที่คนจะมีอายุยืนถึงขนาดนั้น หรือ จะเป็นไปได้หรือที่คนจะมีความสูงถึงเพียงนั้นสำหรับเรื่องอายุนั้นบางท่านอาจจะคิดว่า คงไม่มีใครที่จะมีอายุยืนเกินกว่าพระพากุลเถระไปได้คือ อายุ 160 ปี แต่ความจริงในประวัติศาสตร์มีชายคนหนึ่งอายุยืนถึง 256 ปี คือ นายลีชุนยุง เป็นชาวจีน เกิดในปี พ.ศ. 2220 และตายในปี พ.ศ.2476 เขามีสุขภาพแข็งแรง หลังตรง หนังตึงสายตาไม่ฝ้าฟาง เส้นผมกับฟันยังเป็นของแท้ตามธรรมชาติ ไม่มีใครเห็นเขามี ภาพเกินวัย 50 ปีเลย1 ยิ่งกว่านั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเจริญอิทธิบาท 4 ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน... ผู้นั้นเมื่อปรารถนาก็พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป" ซึ่งกัปในที่นี้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากดังได้กล่าวแล้ว การเจริญอิทธิบาท 4 ในที่นี้คือเจริญด้วยการทำสมาธิขั้นสูง

     นักศึกษาบางท่านอาจจะสงสัยเรื่องความสูงของหลวงพ่อโพรงโพธิ์ว่า จะเป็นไปได้หรือที่ท่านสูงกว่า 3 เมตรทีเดียว ความจริงตามที่บันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊กนั้น คนที่สูงใกล้เคียงกับระดับนี้ก็มีคือ นายลีโอนิด ตัดนิก ชาวยูเครน เขาสูงถึง 257 เซนติเมตร จากการวัดส่วนสูงเมื่อปี พ.ศ.2549 และในพระไตรปิฏกบันทึกไว้ว่าพระสมณโคดมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูงถึง 16 ศอก2 หาก 1 ศอกคือ 50 เซนติเมตร ก็แสดงว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราสูงถึง 8 เมตรทีเดียว และความจริงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ มีความสูงมากกว่านี้อีกมาก และถ้านักศึกษาเคยไปพิพิธภัณฑ์อาวุธโบราณต่าง ๆ จะเห็นว่าอาวุธในอดีตนั้นใหญ่มาก เราไม่อาจถืออาวุธนั้นด้วยมือเพียงข้างเดียวได้ จึงชี้ให้เห็นว่าคนยุคโบราณตัวใหญ่กว่าปัจจุบันเพราะสิ่งแวดล้อมดีกว่า และหากย้อนอดีตไปเรื่อย ๆสิ่งแวดล้อมก็จะดีกว่าในปัจจุบันมากขึ้นเรื่อย ๆ อาหารก็จะมีคุณประโยชน์มากกว่าด้วย จึงเป็นไปได้มากที่คนในสมัยพุทธกาลมีความสูงถึง 8 เมตรจริง


4. ความสำคัญของพระสมมติสงฆ์
     ต้องยอมรับความจริงว่ายิ่งห่างจากสมัยพุทธกาลมามากเท่าไร พระอริยสงฆ์ก็จะลดน้อยลงตามลำดับ ในปัจจุบันพระสงฆ์ส่วนใหญ่จึงเป็นสมมติสงฆ์ แต่ถึงกระนั้นก็มีความสำคัญมากในการ สืบอายุพระพุทธศาสนา จนกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาในปัจจุบันตั้งอยู่ได้ด้วย มมติสงฆ์นี้แหละ และผู้ที่มีโอกาสก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยเจ้าได้มากที่สุดก็คือพระสมมติสงฆ์ส่วนฆราวาส แม้จะมีโอกาสแต่ก็มีภาระทางโลกเหยี่ยวรั้งจึงทำให้ยากกว่าพระสงฆ์ พระภิกษุจำนวนมากในสมัยพุทธกาลก็เป็นสมมติสงฆ์ก่อน เมื่อได้ฟังธรรมและปฏิบัติธรรมแล้วจึงก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยสงฆ์ได้

    พุทธศาสนิกชนจึงควรอุปัฏฐากดูแลพระสงฆ์ทั้งหลายให้ดี ไม่ต้องไปคำนึงว่าท่านจะเป็นพระอริยสงฆ์หรือสมมติสงฆ์ ขอให้รู้ว่าหากพระภิกษุทั้งหลายหมั่นบำเพ็ญเพียรไปเรื่อย ๆ ก็จะได้เป็นพระอริยสงฆ์ในที่สุด หากไม่ได้เป็นในชาตินี้ก็จะเป็นบารมีที่เกื้อกูลต่อการตรัสรู้ธรรมในภพชาติต่อ ๆ ไป และที่สำคัญบุญที่ได้จากการทำสังฆทานแม้แก่สมมติสงฆ์ก็มีปริมาณมากดังพุทธดำรัสที่ว่า "ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู... ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้..."ภิกษุโคตรภูคือสมมติสงฆ์นั่นเอง

     นักศึกษาบางท่านอาจจะคลางแคลงใจว่า ก็ปัจจุบันมีข่าวลบ ๆ เรื่องพระภิกษุอยู่บ่อย ๆ จึงทำให้ชาวพุทธเสื่อมศรัทธาไม่อยากทำบุญ ตรงนี้ต้องบอกว่าวันธรรมการเสนอข่าวทุกวันนี้คือ เน้นข่าวลบ หรือ

      ข่าวร้าย บางข่าวก็ไม่เป็นความจริง มีคำกล่าวหนึ่งที่สะท้อนภาพของ สื่อได้ชัดเจนคือ "ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์" จากการสำรวจข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
พบว่า มีทั้งหมด 11 ข่าว เป็นข่าวการเมือง 2 ข่าว ข่าวทั่ว ๆ ไป 2 ข่าว ที่เหลืออีก 7 ข่าวนั้น เป็นข่าวร้ายทั้งสิ้น ได้แก่ การฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย ข่าวผู้ทำผิดกฎหมาย ฯลฯ ข่าวเหล่านี้จะพิมพ์ด้วยอักษรตัวใหญ่และมักโชว์ภาพอันน่าสยดสยองให้เห็นอย่างเด่นชัด

      จริง ๆ แล้วข่าวการเมืองทุกวันนี้ก็มีแต่เรื่องร้อน ๆ แฉกันไป แฉกันมา จริงบ้าง ไม่จริงบ้างก็ว่ากันไปได้ทุกวัน ข่าวทั่ว ๆ ไปที่มักถูกนำเสนอคือ เรื่องส่วนตัวด้านลบของดารา ซึ่งจะมีมาให้ได้ยินได้ฟังกันเป็นช่วง ๆ ผู้ที่ตกเป็นข่าวหลายคนถึงกับหมดอนาคตไปเลย และยังส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบของเยาวชนอีกจำนวนมาก โดยสังเกตได้ว่าเมื่อมีข่าวหนึ่งเกิดขึ้น ต่อมาไม่นานก็จะมีผู้ตกเป็นข่าวประเภทนั้นตามมาเป็นช่วง ๆ

    หนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ ก็คล้าย ๆ กัน หากกล่าวเฉพาะข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆแล้ว ประมาณ 6080  เป็นข่าวร้าย เป็นข่าวด้านลบ เมื่อครั้งที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึงกับเอ่ยปากแก่ สื่อมวลชนว่า "... สื่อก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ถ้าเรามองเฉพาะในส่วนที่เป็นด้านลบอย่างเดียว ไม่เสนอในสิ่งที่ดีงามให้กับสังคมบ้างสังคมก็คงจะลำบาก และกล่าวว่า นายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสได้พูดว่า 'ถ้าเรื่องเลวเขาก็ลงใน สื่อ ถ้าเรื่องดีต้องจ้างถึงลงได้' ก็เป็นเรื่องที่ท่านทั้งหลาย ควรจะมองตัวเอง ต้องคิดดูว่าอะไรบ้างต้องช่วยกันเพื่อช่วยสังคมของเรา..."

       พระภิกษุและสามเณรในประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 300,000 รูป จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีผู้ที่ประพฤติผิดพระธรรมวินัยบ้าง เพราะคนในโลกก็มีทั้งคนดีคนไม่ดี จึงเป็นไปได้ที่จะมีคนไม่ดีหลุดเข้ามาบวช แม้แต่ในสมัยพุทธกาลก็มีอยู่ไม่น้อยที่ภิกษุผิดศีลถึงขั้นปาราชิกคือขาดจากความเป็นพระ แต่ขณะเดียวกันพระภิกษุที่ตั้งใจฝึกตนจนบรรลุธรรมเป็นพระอริยสงฆ์ก็มีจำนวนมาก แม้ในปัจจุบันพระที่ตั้งใจปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยก็ยังมีอยู่มากเช่นกัน บ่อยครั้งที่มีพระภิกษุนับ 100,000 รูป มาสวดมนต์และปฏิบัติธรรมร่วมกัน ณ วัดพระธรรมกาย แต่แปลกที่ความดีของพระภิกษุเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับการเสนอเป็นข่าวแก่สาธารณชน คนในสังคมจึงเข้าใจไปว่าพระดี ๆ หาไม่ค่อยได้แล้ว

     สิ่งที่พุทธศาสนิกชนต้องทำคือ ช่วยกันดูแลรักษาพระพุทธศาสนา อุปัฏฐากพระภิกษุสามเณรให้ดีให้ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเต็มที่ พระภิกษุสามเณรรูปใดที่ปฏิบัติชอบก็ช่วยกันส่งเสริมยกย่องให้เป็นบุคคลต้นแบบของสังคม ผู้ที่มาบวชภายหลังจะได้เจริญรอยตาม แต่ถ้าพบพระภิกษุสามเณรรูปใดปฏิบัติตนไม่เหมาะสม ก็ต้องช่วยกันจัดการแก้ไข ไม่นิ่งดูดาย แต่ไม่ควรนำมาประจานให้หมู่สงฆ์เสียหาย อาจจะแก้ไขด้วยการแจ้งผู้ปกครองสงฆ์บ้าง หรือถวายความรู้ท่านบ้าง หากท่านไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงและสามารถกลับตัวกลับใจได้ ก็จะเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาต่อไป หากชาวพุทธทั้งหลายช่วยกันอย่างนี้พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองไปได้อีกยาวนาน และจะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ตัวท่านและ ลูกหลานของท่านตลอดจนสังคมไทยและสังคมโลกด้วย


 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.020697383085887 Mins