ระเบียบปฏิบัติการนั่งพับเพียบ

วันที่ 30 เมย. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
ระเบียบปฏิบัติรักษามารยาทในสังคม

ระเบียบปฏิบัติการนั่งพับเพียบ


พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติรักษามารยาทในสังคม , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice , ระเบียบปฏิบัติการนั่งพับเพียบ , สมาธิ , Meditation , การนั่งพับเพียบ , มารยาทในสังคม , ทำบุญ

อิริยาบถการนั่งพับเพียบ

         การนั่งพับเพียบเป็นกิริยาอาการนั่งที่นิยมกันในหมู่ชาวพูดว่า  เป็นกิริยาอาการที่สุภาพเรียบร้อย สวยงาม น่าดูน่าชม เหมาะสมแก่มารยาทของชาวไทย  ที่ละเมียดละไม น่ารัก ซึ่งชาวพุทธเรานิยมปฏิบัติกันสืบมาแต่โบราณกาล  จนกระทั่งทุกวันนี้

         การนั่งพับเพียบนี้ ชาวพุทธนิยมปฏิบัติจนมีความเคยชินจนทำได้เรียบร้อยน่าดูซึ่งเป็นอิริยาบถที่ชาวต่างชาติต่างศาสนากระทำตามได้ยาก แม้จะทำตามได้บ้างก็ไม่เรียบร้อย ไม่น่าดู มักจะขวางนัยย์ตาของผู้ได้ประสบพบเห็น

         การนั่งพับเพียบนี้  สาวไทยเรานิยมใช้ปฏิบัติเป็นประจำทั้งทางโลกและทางธรรมในขณะที่เข้าร่วมประชุม ณ สถานที่ซึ่งต้องนั่งอยู่กับพื้น

 

วิธีการนั่งพับเพียบ

         วิธีการนั่งพับเพียบนั้น นิยมนั่งพับขาทั้งสองราบลงกับพื้น หันปลายเท้าไปด้านหลัง จะพับขาทั้งสองไปทางซ้ายหรือพับไปทางขวาก็ได้ ตามถนัด

         ถ้าผู้นั่งพับขาราบไปทางขวา ก็นิยมหงายฝ่าเท้าซ้ายขึ้นวางขาขวาทับลงบนฝ่าเท้าซ้าย ปลายเท้าขวาหันไปทางด้านหลังระวังอย่าให้นิ้วเท้าซ้ายเกินหัวเข่าขวาออกมาข้างหน้า

         ถ้าผู้นั่งพับขาราบไปทางซ้าย ก็นิยมหงายฝ่าเท้าขวาขึ้นวางขาซ้ายทับลงบนฝ่าเท้าขวา ปลายเท้าซ้ายหันไปทางด้านหลังระวังอย่าให้นิ้วเท้าขวาเกินหัวเข่าซ้ายออกมาข้างหน้า

         การนั่งพับเพียบนี้ นิยมนั่งตั้งตัวตรง อย่าให้เอียงซ้ายหรือเอียงขวา อย่าให้เอนไปข้างหน้า หรือเอนไปข้างหลัง มือทั้งสองประสานกันวางไว้ที่หน้าตัก หรือที่ขาพับ

         ถ้านั่งพับเพียบพับขาราบไปทางขวา ก็นิยมวางมือทังสองประสานกันวางไว้บนขาพับข้างซ้าย

         ถ้านั่งพับเพียบพับขาราบไปทางซ้าย ก็นิยมวางมือทั้งสองประสานกันวางไว้บนขาพับข้างขวา

         กิริยาอาการที่วางมือประสานกันนั้น นิยมวางมือซ้ายหงายขึ้น วางมือขวาทับลงบนมือซ้ายก็ได้ หรือวางมือซ้ายควรลงวางมือขวาทับลงบนหลังมือซ้ายก็ได้

         กิริยาอาการที่วางมือประสานกันนั้น นิยมวางพักอย่างสบายไม่จับกันจนแน่น ไม่เกร็ง ไม่ใช้ลําแขนเป็นเครื่องค้ำยันลําตัว

         การนั่งพับเพียบนี้ สําหรับสุภาพบุรุษ นิยมนั่งแยกหัวเข่าทั้งสองออกห่างกันพอสมควร ประมาณ ๑ คืบ ขณะนั่งอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ สําหรับสุภาพสตรี นิยมนั่งให้หัวเข่าทั้งสองแนบชิดกัน ไม่นิยมนั่งแยกหัวเข่าทั้งสองออกห่างจากกัน

         การนั่งพับเพียบนี้ นิยมไม่หันปลายเห้าไปทางปูชนียวัตถุหรือปูชนียบุคคล เพราะการทําเช่นนั้นถือกันว่าเป็นกิริยาอาการแสดงความไม่เคารพ

 

วิธีการนั่งพับเพียบได้นาน

        การนั่งพับเพียบได้นานนั้น นิยมนั่งแยกหัวเข่าให้ห่างออกจากกัน ขนาดฝ่าเห้าข้างหนึ่งจรดกับหัวเข่าอีกข้างหนึ่ง อย่าให้ขาทับฝ่าเท้า การนั่งพับเพียบแบบนี้ นิยมเฉพาะผู้ใหญ่ หรือนิยมเฉพาะในพิธีที่จะต้องนั่งเป็นเวลานานๆ เช่น นั่งฟังพระเทศน์ นั่งฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ เป็นต้น

         การนั่งพับเพียบแบบนี้ ไม่นิยมนั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ เพราะแสดงกิริยาอาการองอาจผึ่งผายมากเกินไป และไม่นิยมนั่งสําหรับสุภาพสตรี เพราะเป็นกิริยาอาการไม่สุภาพ ไม่น่าดูไม่เหมาะสมกับสตรีเพศ

 

วิธีการเปลี่ยนนั่งพับเพียบ
         เมื่อนั่งพับเพียบอยู่ข้างเดียวเป็นเวลานานๆ มักเกิดมีอาการปวดเมื่อย ถ้าต้องการจะผลัดเปลี่ยนการนั่งพับเพียบไปอีกข้างหนึ่ง นิยมปฏิบัติดังนี้

         ใช้มือทั้งสองยันที่หัวเข่าทั้งสอง หรือยันที่พื้นข้างตัว หรือยันที่พื้นข้างหน้า (วิธีนี้เหมาะสําหรับคนเจ้าเนื้อป้องกันไม่ให้หัวคะมําได้เป็นอย่างดี) แล้วกระหย่งตัวขึ้น พร้อมกับพลิกเปลี่ยนเท้าพับไปอีกช้างหนึ่ง โดยพลิกเท้าผลัดเปลี่ยนกันอยู่ด้านหลังไม่นิยมยกเท้ามาผลัดเปลี่ยนกันข้างหน้า เพราะเป็นกิริยาอาการที่ไม่สุภาพ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.040148766835531 Mins