ทรงพิจารณาเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว

วันที่ 16 มีค. พ.ศ.2564

16-3-64-2-bbr.jpg

๒.ทรงพิจารณาเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว

              [๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรับคำทูลอาราธนาของพรหม เเละเพราะอาศัยพระกรุณา

ในหมู่สัตว์ ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ1  เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีใน

ตาน้อย มีธุลีในตามาก2  มีอินทรีย์เเก่กล้ามีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้

ได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกเเละโทษว่าน่ากลัวก็มี บางพวกมักไม่เห็นปรโลกเเละโทษว่าน่ากลัวก็มี

 

              อุปมาเหมือนในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก

มีบางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ  จมอยู่ในน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก มีบางดอกที่

เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก มีบางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ 

ขึ้นพ้นน้ำ ไม่เเตะน้ำ ฉันใด

 

               พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีธุลีในตาน้อย

มีธุลีในตามาก มีอินทรีย์เเก่กล้า  มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ด้ยาก

บางพวกมักเห็นปรโลกเเละโทษว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวก็มี บางพวกมักไม่เห็นปรโลกเเละโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัวก็มี

ฉันนั้น3

 

                ครั้นทรงเห็นเเล้ว ได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า

 

สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด

เราได้เปิดประตูอมตธรรมเเก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเเล้ว

ท่านพรหมเพราะเราสำคัญว่าจะลำบาก

จึงมิได้เเสดงธรรมที่เราคล่องเเคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์

 

               ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทราบว่า "พระพุทธองค์ได้ทรงประทานโอกาสเพื่อจะเเสดง

ธรรมเเล้ว" จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณเเล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเเล

 

เชิงอรรถ

1 พุทธจักษุ หมายถึง (๑) อินทริยปโรปริยัติญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งเเละความหย่อนเเห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายคือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เเค่ไหนเพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ (๒) อาสยานุสยญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สภาพจิที่่นอนอยู่

 

2 ตา ในที่นี้หมายถึง ปัญญาจักษุ

 

3 เเล้วเเบ่งบุคคลเป็น ๔ เหล่าคือ (๑)อุคฆฎิตัญญู  (๒)วิปจิตัญญู (๓)เนยยะ (๔)ปทปรมะ , เปรียบ  (๑)อุคฆฎิตัญญู  เป็นเหมือนบัวพ้นน้ำ  ที่พอต้องเเสงอาทิตย์เเล้วก็บานในวันนี้ ,เปรียบ (๒)วิปจิตัญญู  เป็นเหมือนบัวอยู่เสมอน้ำ ที่จะบานในวันรุ่งขึ้น ,เปรียบ (๓)เนยยะ  เป็นเหมือนบัวจมอยู่ในน้ำ ที่จะขึ้นมาบานในวันที่ ๓ , ส่วน (๔)ปทปรมะ เปรียบเหมือนบัวที่มีโรคยังไม่พ้นน้ำ ไม่มีโอกาสขึ้นมาบาน เป็นภักษาของปลาเเละเต่า พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุ อันเป็นเหมือนกออุบล เป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงว่า หมู่ประชาผู้มีธุลีในตาน้อยมีประมาณเท่านี้ หมู่ประชาผู้มีธุลีในตามากมีประมาณเท่านี้ เเละในหมู่ประชาทั้ง ๒ นั้น อุคฆฎิตัญญูบุคคลมีประมาณเท่านี้

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014698664347331 Mins