ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเเปล (เพื่อการนำไปปฎิบัติ)
ข้าพเจ้าพระอานนท์ ได้ฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโดยตรงจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว
ดังใจความสำคัญต่อไปนี้
ในครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้ปรารถนาความพ้นทุกข์ จะต้องงดเว้นความประพฤติผิดสุดโต่ง ๒ ประการโดยเด็ดขาด คือ
๑.๑ กามสุขัลลิกานโยค ได้แก่ การประพฤติปฏิบัติตนหมกมุ่นอยู่ในกามสุขทั้งหลาย เพราะ
กามสุขเหล่านั้นลวนเป็นโทษ คือ
- หีโน เป็นเหตุใหโจตํ่าทราม
- คัมโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน
- โปถุชชนิโก เป็นเหตุให้ใจหมักหมมสั่งสมกิเลสหนาแน่นยิ่งขึ้น
- อนริโย เป็นเหตุให้ไม่สามารถไปจากเงื้อมมือข้าคืกคือกิเลสได้
- อนัตถสัญหิโต ไม่เป็นประโยชน์อันใดเลย
๑.๒ อัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ การทรมานตนเอง มีโทษคือ
- ทุกโข เป็นเหตุให้เป็นทุกข์แก่ตนเองโดยใช่เหตุ
- อนริโย เป็นเหตุให้ไม่สามารถไปจากเงื้อมมือข้าคึกคือกิเลสได้
- อนัตถสัญหิโต ไม่เป็นประโยชน์อันใดเลย
๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่แวะเข้าใกล้ข้อปฏิบัติผิด สุดโต่งทั้งสองนั้น ซึ่งเราตถาคตได้อภิสัมพุทธา ตรัสรู้แล้วด้วยพระญาณอันยิ่ง เมื่อใครปฏิบัติอย่างจริงจัง แล้วย่อมทำให้ได้
๒.๑ จักขุกรณี เครื่องเห็นความจริงเป็นปกติ
๒.๒ ญาณกรณี เครื่องรู้ความจริงเป็นปกติ
๒.๓ เพราะทั้งจักขุกรณีเเละญาณกรณีที่บังเกิดขึ้นทั้งสองประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
- อุปสมายะ เพื่อความเข้าไปสงบระงับดับกิเลส
- อภิญญายะ เพื่อทำให้เกิดความรู้ยิ่ง
- สัมโพธายะ เพื่อทำให้เกิดความรู้พร้อมในอริยสัจ
- นิพพานายะ เพื่อทำให้ดับสนิท
๒.๔ ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้นเป็นอย่างไร ที่เราตถาคตได้ตรัสรู้
คือ ค้นพบด้วยตนเอง ทำให้เกิดจักขุ เครื่องเห็นความจริงเป็นปกติ ๑ ทำให้เกิดญาณ เครื่องรู้ความจริงเป็น
ปกติ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับดับกิเลสด้วย เพื่อทำให้เกิดความรู้ยิ่งด้วย เพื่อทำให้เกิด
ความรู้พร้อมในอริยสัจด้วย เพื่อทำให้ดับสนิทด้วย คือ การปฏิบ้ติควบคุมทั้งกาย วาจา ใจ ให้ประกอบด้วย
องค์ ๘ ประการ ย่อมเป็นเครื่องไปจากเงื้อมมือข้าศึก คือ กิเสส ได้แก่
๑) สัมมาทิฎฐิ ปัญญาอันเห็นถูกต้อง ๕) สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง
๒) สัมมาสังกัปโป ความดำริถูกต้อง ๖) สัมมาวายาโม ความเพียรถูกต้อง
๓) สัมมาวาจา วาจาถูกต้อง ๗) สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง
๔) สัมมากัมมันโต การงานถูกต้อง ๔) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลายข้อปฏิบัติเป็นกลางทั้ง ๘ ประการนี้เองซึ่งเราตถาคตได้ตรัสรู้แล้วเองด้วยปัญญาอัน
ยิ่ง ทำให้เกิด จักขุ เครื่องเห็นความจริงเป็นปกติ ทำให้เกิด ญาณ เครื่องรู้ความจริงเป็นปกติ อันเป็นไปเพื่อ
ความเข้าไปสงบระงับกิเลส เพื่อทำให้เกิดความรู้ยิ่ง เพื่อทำให้เกิดความรู้พร้อม เพื่อความดับสนิท บรรลุ
นิพพาน
๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือ ความจริงที่มีอยู่ประจำโลก ซึ่งทำให้ผู้เห็น ผู้รู้ สามารถสำเร็จ
เป็นพระอริยเจ้าผู้ประเสริฐ มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการคือ
(๑) ทุกขอริยสัจ ความทุกข์อย่างแท้จริงของสัตวโลก
(๒) ทุกขสมุทัยอริยสัจ ต้นเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งหลายอย่างแท้จริง
(๓) ทุกขนิโรธอริยสัจ การดับความทุกข์ได้อย่างแท้จริง
(๔) ทุกขนิโรธคามินิปฏิปทาอริยสัจ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง
๓.๑ ทุกขอริยสัจ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อย่างแท้จริงของ
สัตวโลก มีอยู่ด้วยกัน ดังนี้
๓.๑.๑ | ชาติทุกข์ | ความเกิดเป็นทุกข์ | ทุกข์ประจำ ใครๆ ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้น |
๓.๑.๒ | ชราทุกข์ | ความแก่เป็นทุกข์ | |
๓.๑.๓ | มรณทุกข์ | ความตายเป็นทุกข์ |
๓.๑.๔ | โสกะ | ความเศร้าความเสียใจ | ทุกข์จร เป็นความทุกข์ที่ ประสบมากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่บุคคล |
๓.๑.๕ | ปริเทวะ | ความร่ำไรรำพัน | |
๓.๑.๖ | ทุกขะ | ความไม่สบายกาย เจ็บไข้ได้ป่วย | |
๓.๑.๗ | โทุมนัสสะ | ความน้อยใจ | |
๓.๑.๘ | อุปายาสะ | ความคับแค้นใจ | |
๓.๑.๙ | สัมปโยคะ | ความประสบสิ่งที่เกลียดชัง | |
๓.๑.๑๐ | วิปปโยคะ | ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก | |
๓.๑.๑๑ | อลาภะ | ความผิดหวัง ไม่ได้ดังใจ |
โดยสรุป อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
๓.๒ ทุกขสมุทัยอริยสัจ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า สมุทัย ต้นเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งหลายอย่างแท้จริง
แก่สัตวโลก คือ ตัณหา
๓.๒.๑ ตัณหามีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ
- โปโนพภวิกา ทำให้ต้องมีภพ คือ ต้องเกิดใหม่อีกรํ่าไป ไม่ใช่ตายแล้วสูญ
- นันทิราคสหคตา ประกอบขึ้นมาด้วยความกำหนัด เพลิดเพลินด้วยความยินดี
- ตัตระตัตราภินันทินี หากไปเกิดในที่ใดๆ ก็ยินดีเพลิดเพลินในที่นั้นๆ
๓.๒.๒ ตัณหาแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทด้วยกัน คือ
- กามตัณหา ความอยากในกาม
- ภวตัณหา ความอยากในรูปภพหรือความอยากเป็น
- วิภวตัณหา ความอยากในอรูปภพหรือความอยากไม่เป็น
๓.๓ ทุกขนิโรธอริยสัจ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า นิโรธ การดับความทุกข์ได้อย่างแท้จริง คือ ภาวะที่
ตัณหาดับสิ้นไป ทำให้ผู้นั้นไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดให้เป็นทุกข์อีก
ลักษณะในการดับตัณหา มีอาการดังนี้
-อเสสวิราคนิโรโธ ความดับตัณหาอย่างไม่เหลือหรอ
-จาโค ความดับตัณหา โดยการสละทิ้ง
-ปฎินิสสัคโค ความดับตัณหา โดยการไม่ข้องเกี่ยวอีก
-มุตติ ความดับตัณหา โดยการปล่อยให้พ้นไป
-อนาลโย ความดับตัณหา โดยความหมดห่วง ไม่อาลัยอาวรณ์อีก
๓.๔ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ หรือทีเรียกย่อๆ ว่า มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
อย่างแท้จริง คือ การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ประการ ดังต่อไปนี้
(๑) สัมมาทิฎฐิ ความเห็นถูกต้อง
(๒) สัมมาสังกัปโป ความดำริถูกต้อง
(๓) สัมมาวาจา วาจาถูกต้อง
(๔) สัมมากัมมันโต การงานถูกต้อง
(๕) สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง
(๖) สัมมาวายาโม ความเพียรถูกต้อง
(๗) สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง
(๘) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจถูกต้อง
๓.๕ ภิกษุทั้งหลาย จากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ประการอย่างดีแล้วนี้ เป็นผลให้ธรรมเหล่านี้
เกิดขึ้นแก่เรา คือ
- จักขุ ดวงตาเครื่องเห็นความจริงเป็นปกติได้เกิดขึ้น
- ญาณัง ญาณเครื่องรู้ความจริงเป็นปกติได้เกิดขึ้น
- ปัญญา ความหยั่งรู้เหตุรู้ผล ถูกต้องตามความเป็นจริงได้เกิดขึ้น
- วิชชา ความรู้ที่เป็นเหตุให้กำจัดกิเลสได้เด็ดขาดได้เกิดขึ้น
- อาโลโก แสงสว่างยิ่งกว่ารัศมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ตลอดแสนโกฏิจักรวาล รวมกันได้เกิดขึ้น
๓.๖ ภิกษุทั้งหลายจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ประการ อย่างดีแลวนื้ เป็นผลให้จักขุ ญาณ
ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราทำให้เราสามารถหยั่งรู้ใน ทุกขอริยสัจ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า
-ทุกข์มีจริง
- ทุกข์ เป็นสิ่งควรกำหนดรู้
- ทุกข์ เราได้กำหนดรู้แล้ว
๓.๗ ภิกษุทั้งหลาย จากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ประการอย่างดีแล้วนี้ เป็นผลให้ จักขุ ญาณ
ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราทำให้เราสามารถหยั่งรู้ใน ทุกขสมุทัยอริยสัจ ที่เราไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า
- ตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง
- ตัณหา เป็นสิ่งที่ควรละเสีย
- ตัณหา เราได้ละแล้ว
๓.๘ ภิกษุทั้งหลาย จากการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ประการอย่างดีแล้วนี้ เป็นผลให้ จักขุ ญาณ
ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราทำให้เราสามารถหยั่งรู้ใน ทุกขนิโรธ-อริยสัจ ทั้งๆ ที่ เราไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า
- นิโรธ มีจริง
- นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
- นิโรธ เราได้ทำให้แจังแล้ว
๓.๙ ภิกษุทั้งหลาย จากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ประการอย่างดีแล้วนี้ เป็นผลให้ จักขุ ญาณ
ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราทำให้เราสามารถหยั่งรู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทั้งๆ ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
- มรรค มีจริง
- มรรค ควรบำเพ็ญให้ครบ
- มรรค เราได้บำเพ็ญครบแล้ว
ตารางเเสดงเกณฑ์รู้ - เห็นอริยสัจ
อริยสัจญาณ | ต้องรู้ถึง ๓ รอบ คือ | ||
สัจจญาณ รู้รอบที่ ๑ ว่า | กิจจญาณ รู้รอบที่ ๒ ว่า | กตญาณ รู้รอบที่ ๓ ว่า | |
ทุกขอริยสัจ | ทุกข์มีจริง | ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ | ทุกข์ (เรา)ได้รู้เเล้ว |
ทุกขสมุทัยอริยสัจ | ตัณหาให้เกิดทุกข์จริง | ตัณหาเป็นสิ่งควรละ | ตัณหา(เรา)ได้ละเเล้ว |
ทุกขนิโรธอริยสัจ | นิโรธมีจริง | นิโรธเป็นสิ่งควรทำให้เเจ้ง | นิโรธ (เรา)ได้ทำให้เเจ้งเเล้ว |
ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทาอริยสัจ | มรรคมีจริง | มรรคเป็นสิ่งควรบำเพ็ญให้ครบ | มรรค(เรา)ได้บำเพ็ญครบเเล้ว |
ผลแห่งการรู้ - เห็นอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย หากว่าญาณทัสสนะ คือ ปัญญารู้เห็นตามเป็นจริงในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของ
เรา ซึ่งพิจารณาทบทวนถึง ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว ตราบนั้นเราตถาคตก็
ไม่ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไป
ตลอดทั่วทั้งมนุษย์โลก เทวโลก มารโลก พรหมโลกและในหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งมนุษย์
และเทวดา
ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะว่าเราได้ญาณทัสสนะอันบริสุทธิ์ รู้เห็นตามความเป็นจริงใน
อริยสัจ ๔ ซึ่งพิจารณาทบทวนถึง ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ เราตถาคต จึงกล้าปฏิญาณไปตลอดทั่วทั้ง
มนุษย์โลก เทวโลก มารโลก พรหมโลกและในหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งมนุษย์และเทวดาว่า
เราได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นจากวัฏสงสารของเรา เป็นของเที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้ายแล้ว ภพชาติใหม่จะไม่มีแก่เราอีกโดยเด็ดขาด
ผลแห่งพระธรรมเทศนา
๔ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตรจบลงแล้ว
พระโกณฑัญญะหนึ่งในปัญจวัคคีย์ไล้ดวงตาเห็นธรรมว่า
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเกิดขึ้น ก็ย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา"
เหล่าภุมมเทวดาทั้งหลายพากันส่งเสียงสนั่นหวั่นไหว ว่าพระผู้มีพระภาดเจ้าได้ทรง
ประกาศธรรมจักรอันเยี่ยม ซึ่งไม่มีสมณพราหมณ์ เทพยดา มาร พรหมหรือผู้ใดจะสามารถคัดค้านได้ ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีโน้น
เหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาได้ฟังเสียงประกาศของเหล่าฦมมเทวาแล้วก็ประกาศต่อไป
จนถึงเทวดาชั้นดาวดึงส์
เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็ประกาศต่อขึ้นไป ถึงเทวดาชั้นยามา
เหล่าเทวดาชั้นยามา ก็ประกาศต่อขึ้นไป ถึงเทวดาชั้นดุสิต
เหล่าเทวดาชั้นดุสิต ก็ประกาศต่อขึ้นไป ถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี
เหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็ประกาศต่อขึ้นไป ถึงเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงนั้นก็ดังขึ้นไปตลอดพรหมโลก หมื่นโลกธาตุก็สะท้านสะเทือน
หวั่นไหว บังเกิดแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ไปทั่วทั้งโลก
ท้ายที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า "อฌฺญาสิ วต โภ โกณฑญฺโญ" แปลว่า
"โกณฑัญญะรู้เห็นทั่วถึงแล้วหนอ" ด้วยเหตุนี้พระโกณฑัญญะจึงได้ชื่อใหม่ว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" ด้วย
ประการฉะน็้แล
คำอธิบายเพิ่มเติม
อริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ซึ่งมีความหมายมากถึง ๓ นัยยะ คือ
นัยยะที่ ๑ ความจริงทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นพระธรรมที่พระอริยเจ้าค้นพบ คนทั่วไปไม่สามารถจะค้นพบได้
นัยยะที่ ๒ ความจริงทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นกฎแห่งการปฏิบัติ ถ้าใครปฏิบัติได้สมบูรณ์ ผู้นั้นจะได้เป็นพระอริยเจ้าจึงเรียกว่าอริยสัจ
นัยยะที่ ๓ ความจริงทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นความจริงชั้นสูงสุดเหนือสามัญสัจจะ จึงเรียกว่า อริยสัจ