ปรสฺส วา อตฺนโน วาปิ เหตุ
น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ
โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ
ปจฺฉาปิ โส สุคฺคติคามิ โหติ ฯ
ผู้มีปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อยๆ
เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง
ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมนุม
แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ
(ขุ.ชา. ๒๗/๔๒๗)
รักจะเป็นนักติ พึงศึกษาดังนี้
ถ้ายังฝึกตัวเองไม่ดีพอ ก็อย่าริเป็นนักติ
ถ้ายังไม่เคยชมเขาเลย ก็ยังไม่สมควรติเขาเลย
อย่าติพร่ำเพรื่อ อย่าปกิณกะติ (ติเรี่ยราด)
อย่าติคนหนึ่ง เพื่อประชดอีกคนหนึ่ง
อย่าติคนหนึ่ง เพื่อประจบอีกคนหนึ่ง
ไม่ควรพูดพล่อยๆ วิจารณ์ไปทุกเรื่อง
ทำเขื่องว่าฉันเก่ง ฉันรู้ ฉันฉลาด
นั่นเป็นอาการของคนไม่เก่ง ไม่รู้ และไม่ฉลาดเลย
ถ้าจะติ ติเมื่อจำเป็นสุดๆ
ติน้อยเรื่องที่สุด ติจุดสำคัญที่สุด
ติกับเจ้าตัวโดยตรงในที่ลับที่สุด
ติด้วยความปรารถนาดีสูงสุด
ติด้วยถ้อยคำคัดสรรอย่างดีแล้ว
พูดไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกๆคน
ผู้กระทำได้เช่นนี้..
ย่อมเป็นที่ยกย่องของมหาชน
ย่อมประสบสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ขอขอบคุณ หนังสือ ส่องธรรม ล้ำภาษิต เล่ม ๒
สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไร ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย