จับผิด จับดี

วันที่ 21 กย. พ.ศ.2553

sp530921.jpg

อุชฺฌตฺติพลา พาลา นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา

คนพาลมีความเพ่งโทษเป็นกำลัง
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง

(องฺ. อฏฺฐกฺ ๒๓/๒๒๗)

 

บางคนแสวงหาความดีใส่ตนด้วยการจ้อง

“จับผิด” ผู้อื่น จ้อง “ติติง” ผู้อื่นอยู่เสมอ

นั่นไม่ใช่วิสัยของคนดี และสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ความดี

สังเกตที่ใจ ยิ่งจับผิด ยิ่งเพ่งโทษ ยิ่งติติง ยิ่งทุกข์ร้อน

ความทุกข์ร้อนเกิดขึ้นในใจผู้นั้นก่อน เสมือนจับกองไฟ

เผาไหม้ตัวเอง เห็นกองไฟเมื่อใดเป็นต้องไขว่คว้าเข้าหาตัวเมื่อนั้น

ใจจึงอุดมไปด้วยไฟ แล้วความสุขใจจะบังเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

ผู้เป็นบัณฑิตจึงไม่ติทุกเรื่อง ไม่ติทุกอย่าง ไม่ติทุกเวลา

ติเท่าที่จำเป็น ติเป็นบางเรื่อง ติเป็นบางอย่าง ติบางเวลา

และที่สำคัญที่สุด จะติเมื่อเกิดประโยชน์เท่านั้น

 

บัณฑิตจะพยายามไม่เพ่งโทษใคร ไม่คอยจับผิดใคร

ตรงกันข้ามบัณฑิตจะคอยเพ่งโทษตัวเอง จับผิดตัวเอง

จับดีผู้อื่นอยู่เป็นนิจ เหมือนถอนวัชพืชออกจากใจ

นำดอกไม้ภายนอกมาปลูกไว้กลางใจ

 

ในใจของบัณฑิต จึงอุดมไปด้วยบุปผานานาพรรณ

หอมฟุ้ง อบอวล สวยสด งดงาม ตลอดเวลา

 

  • จับแต่ผิด มีสิทธิ์จับ แต่กลับผิด

พาลมีฤทธิ์ เพราะจับผิด เก่งนักหนา

จับแต่ผิด เลิกเถอะนะ เสียเวลา

กลับกายา กลับจิตใจ จับดีเอย

 

 

ขอขอบคุณ หนังสือ ส่องธรรม ล้ำภาษิต เล่ม ๒
สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไร ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.036331164836884 Mins