ทำไมบางคนจึงไม่คิดทำสังคมสงเคราะห์
ผู้ที่ไม่คิดทำสังคมสงเคราะห์ ทั้งๆ ที่ตนก็อยู่ในฐานะที่จะทำได้โดยไม่เดือดร้อนนั้น แต่ละคน
อาจมีความเห็นแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1) บางพวกเห็นว่าเรื่องสังคม สงเคราะห์เป็นหน้าที่รับผิดชอบของรัฐ บุคคลกลุ่มนี้คิดว่า
ตนเองเสียภาษีให้แก่รัฐแล้ว ดังนั้นรัฐจึงต้องจัด รร เงินภาษีไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสไม่ใช่หน้าที่ของ
พวกเขาที่จะต้องตามไป สงเคราะห์ใครๆ
2) บางพวกเห็นว่าผู้คนที่ขัด สนยากไร้ ก็เพราะเกียจคร้าน จึงเห็นว่าการให้การ สงเคราะห์
ผู้คนเหล่านี้ ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมพวกเขาให้เกียจคร้านในการทำมาหากินยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้คนในกลุ่มนี้จึงไม่คิดทำสังคมสงเคราะห์
3) บางพวกมีความตระหนี่ถี่เหนียวมาก บุคคลในกลุ่มนี้มีความคิดว่า การที่ตนมั่งมีทรัพย์สิน
เงินทอง ก็เพราะรู้จักเก็บหอมรอมริบมาเป็นเวลานาน ถ้าจะบริจาคเงิน สงเคราะห์ผู้อื่นก็จะทำให้ทรัพย์สิน ของตนพร่องลงไป บางคนยังคิดด้วยความรอบคอบ แต่คับแคบต่อไปอีกว่า ถ้าตนบริจาคทรัพย์สินเงินทอง ช่วยเหลือผู้อื่น ถ้าถึงคราวที่ตนตกระกำลำบากบ้าง จะหวังได้อย่างไรว่าจะมีใครมาสงเคราะห์ตน เมื่อคิดเช่นนี้แล้วผู้คนในกลุ่มนี้ก็จะพยายามสะสมทรัพย์สินเงินทองไว้มากๆ จนเกินเหตุ โดยไม่คิด สงเคราะห์ใครๆ
4) บางพวกไม่รู้ไม่เข้าใจธรรมะ บุคคลในกลุ่มนี้นอกจากไม่ สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสต่างๆ แล้ว
ยังไม่ สงเคราะห์เหล่าสมณพราหมณ์อีกด้วย เพราะเห็นว่าบรรดานักบวชเอาเปรียบสังคม เห็นว่าบรรพชิตมีชีวิตอยู่อย่างพร้อมบริบูรณ์ด้วยปัจจัย 4 โดยไม่ต้องลงแรงทำงานดังเช่นฆราวาผู้คนที่มีความคิดเช่นนี้ก็เพราะไม่ สนใจพระธรรมคำสั่ง สอนในพระพุทธศาสนา แม้ตนจะถือกำเนิดในครอบครัวที่เรียกตนเองว่าชาวพุทธ จึงไม่รู้ว่าโดยพระวินัยนั้น บรรพชิตไม่สามารถประกอบอาชีพดังเช่นฆราวา ได้ เมื่อบวชเข้ามาเป็นบรรพชิต ในพระพุทธศา นาแล้ว ท่านต้องมีหน้าที่ศึกษา และปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นแจ้งในสัจธรรม แล้วนำความรู้นั้นมาอบรมสั่งสอนญาติโยม ให้เป็น
คนดีมีสัมมาทิฏฐิ รู้ชัดถึงเรื่องบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ โดย สรุปก็คือเป็น ครู สอนศีลธรรมให้ญาติโยมประพฤติตนเป็นคนดีในชาตินี้ เมื่อละโลกไปแล้วก็จะได้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ส่วนญาติโยมทั้งหลาย เนื่องจากต้องสาละวนอยู่กับการทำมาหากิน ไม่มีเวลาศึกษาธรรมมากนักก็ได้อาศัยการฟังธรรม จากบรรพชิตเป็นการเรียนลัด ขณะเดียวกันก็ต้องทำหน้าที่อุปถัมภ์ค้ำชูสมณพราหมณ์ในเรื่องปัจจัย 4 เข้าลักษณะต่างฝ่าย ต่าง สงเคราะห์ซึ่งกันและกันสันติสุขจึงจะเกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า ผู้คนทั้ง 4 ประเภทนี้ ล้วนไม่รู้ไม่เข้าใจธรรมะ ประกอบกับมีนิสัยตระหนี่ถี่เหนียว และกิเลส ที่นอนเนื่องอยู่ในกมลสันดาน พวกเขาจึงไม่คิดทำสังคมสงเคราะห์ถ้าผู้คนไม่ทำสังคม งเคราะห์จะเกิดโทษภัยแก่สังคมอย่างไร
ก่อนอื่นพึงทำความเข้าใจว่า แม้รัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องสังคมสงเคราะห์ก็ตาม แต่เนื่องจากความจำกัดในด้านงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง จึงทำให้การ งเคราะห์ในกรณีต่างๆ ไม่ทั่วถึง และไม่ทันท่วงที ดังนั้นถ้าผู้คนในสังคมที่อยู่ใกล้เหตุการณ์ ร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลือ สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสหรือประสบสาธารณภัยต่างๆ นอกจากจะเป็นการป้องกัน ไม่ให้โทษภัยเกิดขึ้นแก่สังคมแล้วยังเป็นการป้องกันโทษภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะผู้อดอยากยากจนทุกคน ต่างต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อความอยู่รอด ตราบใดที่ยังมีพละกำลังอยู่ ย่อมไม่มีใครยอมอดตาย ถ้าไม่พบหนทางสุจริตพวกเขาก็พร้อมที่จะทำทุจริตได้เสมอ นับตั้งแต่การลักขโมย จี้ปล้น โจรกรรม ล่อลวง ค้าสิ่งผิดกฎหมาย ค้ายาเสพติด ค้าบริการทางเพศ เกี่ยวข้องกับอบายมุขทุกรูปแบบ ซึ่งล้วนเป็นทางนำไปสู่อาชญากรรมทั้งสิ้นสังคมใดที่ถูกบุคคลมิจฉาทิฏฐิคอยรังควานอยู่เนืองๆ ย่อมหาความ สงบสุขไม่ได้ มีข้อคิดสะกิดใจอยู่อย่างหนึ่งว่า คฤหาสน์ของเศรษฐีที่ถูกรายล้อมด้วย ลัม หรือแม้อยู่ใกล้ ลัม เจ้าของคฤหาสน์นั้น อย่าพึงหวังว่าจะมีความสุข และคราใดที่ ลัมถูกไฟไหม้แล้ว อย่าพึงหวังว่าคฤหาสน์หลังนั้นจะรอดพ้นจากอัคคีภัย
ข้อนี้ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าผู้คนในสังคมที่มีโอกาสดีกว่า ไม่คิด สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสมิวันใดวันหนึ่งโทษภัยนั้นก็จะลามมาถึงตนอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง นี่คือโทษภัยของการที่ผู้คนไม่เห็นประโยชน์ของการทำสังคม สงเคราะห์ในพระพุทธศาสนาเรียกการทำสังคม งเคราะห์ว่า "ยัญ" หรือ "ยัญที่บูชาแล้ว" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "ยัญที่บูชาแล้วมีผล" คือ มีผลดี หรือมีประโยชน์ ควรทำอย่างยิ่ง ใครก็ตามที่มีความเห็นว่า "ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล" ความเห็นผิดของเขาชื่อว่า "มิจฉาทิฏฐิ" ในทางกลับกัน ใครก็ตามที่มีความเห็นถูกว่า "ยัญที่บูชาแล้วมีผล" ความเห็นของเขาชื่อว่า "สัมมาทิฏฐิ"
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก