ความรู้ในเชิงจิตวิทยาการเรียนรู้ หมายถึงอะไร
เมื่อได้ยินคำว่าจิตวิทยา ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งตกใจ เพราะจิตวิทยาในที่นี้ เป็นเรื่องธรรมชาติการเรียนรู้ของ "จิต" แม้ผู้ไม่รู้หนังสือก็สามารถเข้าใจได้โดยง่าย กล่าวคือ จิต หรือ ใจ คนเรานั้น มีขั้นตอนการทำงานไปตามลำดับๆ อยู่ 4 ประการ คือ รับ จำ คิด และ รู้ใจคนเราทำหน้าที่ "รับ"สิ่งต่างๆ เข้ามาโดยอาศัยประสาทในอวัยวะต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้นผิวกายเด็ก (หรือใครก็ตาม) เมื่อ "รับ"สิ่งต่างๆ เข้ามาก็จะ "จำ" เอาไว้ ขณะเดียวกันก็จะนำสิ่งนั้นมา "คิด" เมื่อได้คิดแล้วก็จะ "รู้" ความรู้ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นบ่อเกิดแห่ง "ความเข้าใจ" ซึ่งจะกลายเป็นความเชื่อต่อไป เช่น เด็กคนหนึ่ง เห็น (คือรับ) พระพุทธรูปองค์หนึ่งซึ่งประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ และมีผู้คนมากราบไหว้บูชาอยู่เสมอ เขาก็จะ "จำ" ภาพที่เห็นไว้หมด ขณะเดียวกันก็นำไป "คิด" บางคนอาจ "คิด" เงียบๆคนเดียว แล้วได้ข้อส สรุปด้วยตนเองเป็น "ความรู้" ว่า พระพุทธรูปมีไว้กราบไหว้บูชา หรือเมื่อเห็นพระพุทธรูปแล้วต้องกราบไหว้แต่เด็กบางคน "คิด" แล้ว สงสัยว่าทำไมผู้คนจึงพากันกราบไหว้พระพุทธรูป เขาจึงพยายามแสวงหาคำตอบ คำตอบที่ได้มาย่อมเกิดเป็น "ความรู้" และเป็น "ความเข้าใจ" ซึ่งจะกลายเป็นความเชื่อ
ต่อไปถ้าเขาได้ความรู้อย่างถูกต้องมา เขาก็จะเกิดความเข้าใจถูกต้อง มีความเชื่อถูกต้อง แล้วเขาก็จะกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปเป็นประจำ จนกลายเป็นลักษณะนิสัย และเป็นวันธรรมทางจิตใจ หรือทางคติธรรมต่อไปเพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ลักษณะนิสัยของเด็ก (หรือของใครก็ตาม) ล้วนเกิดจากขบวนการรับ จำ คิด รู้ เรื่อยไปตลอดชีวิตถ้า "รับ" ถูกต้อง ก็จะ "จำ" ถูกต้อง ก็จะ "คิด" ถูกต้อง และ "เข้าใจ" ถูกต้อง
ความเข้าใจถูกต้องในระดับตื้น ในที่สุดก็จะกลายเป็นนิสัยดีๆ ของเด็กคนนั้นส่วนความเข้าใจถูกต้องในระดับลึก ในที่สุดก็จะกลายเป็นสัมมาทิฏฐิติดใจของเด็กคนนั้นไปตลอดสัมมาทิฏฐิที่ติดใจบุคคลข้ามภพข้ามชาติก็คือสิ่งที่เรียกว่า "โลกนี้มี" (ในเชิงบวก) ดังมีคำอธิบายแล้วในบทที่ 1 ในทางกลับกัน ถ้า "รับผิด" ก็จะ "จำผิด" "คิดผิด" และ "เข้าใจผิด" ในที่สุดก็จะกลายเป็นนิสัยไม่ดี หรือกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิติดใจของเด็กคนนั้นไปตลอด ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะติดใจข้ามภพข้ามชาติเรื่อยไป เช่น เด็กที่เห็นผู้ใหญ่ดื่มสุรากัน ดูแล้วมีความสุขสนุกสนานทั่วบ้านทั่วเมือง ก็จำภาพนี้ไว้แล้วนำไป"คิด" จึงได้ข้อ รุปเป็น "ความรู้" ว่า การดื่มเป็นความนิยม หรือค่านิยมอย่างหนึ่งในสังคม ใครไม่ดื่มจะไม่ประสบความก้าวหน้าในอาชีพการงาน เมื่อเกิด "ความเข้าใจ (ผิด)" เช่นนี้ เขาจึงต้องฝึกเป็นนักดื่มบ้างจนกลายเป็นนิสัยที่เลิกไม่ได้ และเป็นมิจฉาทิฏฐิไปตลอดชีวิต
เพราะฉะนั้น ในการปลูกฝังภาคปฏิบัติ ผู้ใหญ่ในฐานะ "ผู้ให้" จะต้องคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วน
รอบคอบว่า อะไรคือสิ่งที่ "ควรให้เด็กรับ" เพื่อให้เกิดผลลัพธ์เป็นค่านิยมที่สูงส่ง เกิดนิสัยที่ดีงาม และสัมมาทิฏฐิเป็นที่สุด เฉกเช่นแพทย์ที่ต้องพิจารณาตัดสินใจให้ถูกต้องว่า จะต้องสั่งยาชนิดใด คนไข้ของตนจึงจะหายจากโรคที่กำลังเป็นอยู่ค่านิยม ลักษณะนิสัย ตลอดจนทิฏฐิของผู้คนในชุมชนสังคม และบ้านเมืองนี้เอง คือสิ่งที่หลอมรวมกันเป็นวันธรรมทางจิตใจ ตลอดจนวันธรรมด้านต่างๆ ของสังคม และประเทศชาติในปัจจุบัน มักจะได้ยินบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เ่าผู้แก่บ่นกันว่า วันธรรมไทยทุกวันนี้ตกต่ำ เสื่อมทราม ฟอนเฟะทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชน
ก็ต้องถามว่าสาเหตุแห่งความเสื่อมทรามดังกล่าวมาจากใคร ผู้ใหญ่ใช่ไหมที่เป็นต้นเหตุมีผู้ใหญ่ไม่น้อย นอกจากไม่ได้ตระหนักว่าควรจะเลือก รรสิ่งดีๆ มาให้เด็กแล้ว ยังพยายามยัดเยียดสิ่งผิดศีลธรรม มาให้เด็ก "รับ" อีกใช่หรือไม่ทั้งหมดนี้คือจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องเรียนรู้
1.2) เด็กๆ ที่ได้รับการปลูกฝังภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงคราวเรียนภาคทฤษฎี ก็จะสามารถเข้าใจได้โดยง่าย อีกทั้งยังจะเกิดกำลังใจปฏิบัติกรรมดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก