จับผิด จับดี
อุชฺฌตฺติพลา พาลา นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา
คนพาลมีความเพ่งโทษเป็นกำลัง บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง(องฺ. อฏฺฐกฺ ๒๓/๒๒๗)
บางคนแสวงหาความดีใส่ตนด้วยการจ้อง“จับผิด” ผู้อื่น จ้อง “ติติง” ผู้อื่นอยู่เสมอนั่นไม่ใช่วิสัยของคนดี และสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ความดีสังเกตที่ใจ ยิ่งจับผิด ยิ่งเพ่งโทษ ยิ่งติติง ยิ่งทุกข์ร้อนความทุกข์ร้อนเกิดขึ้นในใจผู้นั้นก่อน เสมือนจับกองไฟเผาไหม้ตัวเอง เห็นกองไฟเมื่อใดเป็นต้องไขว่คว้าเข้าหาตัวเมื่อนั้นใจจึงอุดมไปด้วยไฟ แล้วความสุขใจจะบังเกิดขึ้นได้อย่างไรผู้เป็นบัณฑิตจึงไม่ติทุกเรื่อง ไม่ติทุกอย่าง ไม่ติทุกเวลาติเท่าที่จำเป็น ติเป็นบางเรื่อง ติเป็นบางอย่าง ติบางเวลาและที่สำคัญที่สุด จะติเมื่อเกิดประโยชน์เท่านั้นบัณฑิตจะพยายามไม่เพ่งโทษใคร ไม่คอยจับผิดใครตรงกันข้ามบัณฑิตจะคอยเพ่งโทษตัวเอง จับผิดตัวเองจับดีผู้อื่นอยู่เป็นนิจ เหมือนถอนวัชพืชออกจากใจนำดอกไม้ภายนอกมาปลูกไว้กลางใจในใจของบัณฑิต จึงอุดมไปด้วยบุปผานานาพรรณหอมฟุ้ง อบอวล สวยสด งดงาม ตลอดเวลา•จับแต่ผิด มีสิทธิ์จับ แต่กลับผิดพาลมีฤทธิ์ เพราะจับผิด เก่งนักหนาจับแต่ผิด เลิกเถอะนะ เสียเวลากลับกายา กลับจิตใจ จับดีเอย
จากหนังสือ ส่องธรรม ล้ำภาษิต เล่ม ๒