วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๐)

บทความพิเศษ
เรื่อง : นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ
(ตอนที่ ๔๐)

การค้นพบหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณอายุ ๑,๐๐๐ ปี ในวาระ ๑๐๑ ปี วิชชาธรรมกาย

         ก่อนอื่นใด ผู้เขียนต้องขออนุโมทนากับศรัทธาสาธุชน ผู้นําบุญ ที่เข้าร่วมในงาน “Semi-ชิตัง เม” ที่คณะทํางานของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้ เป็นอีกก้าวหนึ่งที่ทําให้พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายมีความเข้มแข็ง มั่นคง และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันยิ่งขึ้นอย่างมีนัยสําคัญแก่ผู้ร่วมงาน

          ในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้ดําเนินการในย่างก้าวที่สําคัญ ๆ โดยเฉพาะในการพัฒนา ๔ ด้านของสถาบัน อันได้แก่ การปรับปรุงอาคารการพัฒนางานด้านการวิจัย การพัฒนางานเผยแผ่ และการพัฒนาบุคลากร ซึ่งความสําเร็จดังกล่าวนี้มีผลอย่างยิ่งต่อความเชื่อมั่นในวิชชาธรรมกาย ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ดีจริง และเข้าถึงได้จริง

          สําหรับในปีนี้ (พุทธศักราช ๒๕๖๑) นับเป็นอีกปีหนึ่งที่นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยอีกท่านหนึ่ง คือ พระอาจารย์เกียรติศักดิ์กิตฺติปญฺโญนักศึกษาปริญญาเอกด้าน Asian Middle Eastern Studies แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ประเทศอังกฤษ ได้ศึกษาวิจัยคัมภีร์พุทธจีนจากถ้ำโม่วเกา เกี่ยวกับเทคนิคการทําสมาธิในจีนยุคต้น ซึ่งการค้นพบของพระอาจารย์เกียรติศักดิ์ในครั้งนี้เท่ากับเป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์และร่องรอยจากอดีตถึงปัจจุบันของวิชชาธรรมกายเข้าหากันเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นความภาคภูมิใจอีกครั้งหนึ่งในการดําเนินภารกิจของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย ที่เป็นไปตามมโนปณิธานขององค์ผู้สถาปนาสถาบันด้วย

         เมื่อกล่าวถึงถ้ำโม่วเกานั้น พุทธศาสนิกชนทั่วไปต่างรู้จักกันดีว่าเป็นมรดกที่สําคัญแห่งหนึ่งของโลก เพราะเป็นแหล่งเก็บรักษาองค์ความรู้และศิลปะทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่นับพันปี ถ้ำนี้ตั้งอยู่ในเมืองตุนหวงซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างยุโรปและเอเชีย เป็นพื้นที่ที่ผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยเคยเดินทางไปสํารวจและศึกษานําร่องมาก่อนแล้วในหลายปีก่อน (พุทธศักราช ๒๕๕๘) เมืองตุนหวงยังเป็นเมืองซึ่งเปรียบเสมือนประตูแห่งการพัฒนาจากเส้นทางสายไหมยุคโบราณมาถึงยุคใหม่ของจีน ซึ่งในเอกสารประวัติศาสตร์มากมายหลายแหล่งต่างกล่าวถึงความสําคัญของเมืองตุนหวงกันอย่างกว้างขวาง


ม้วนคัมภีร์ภายในถ้ำผาหินโม่วเกา หรือถ้ำพุทธะพันองค์ เมืองตุนหวง
ภาพจาก Serindia, Vol. II, Text : Rows of cave shrines


ภาพถ่ายหน้าถ้ำผาหินโม่วเกาหรือถ้ำพุทธะพันองค์ เมืองตุนหวง
ภาพจาก Serindia, Vol. II,Text : Rows of cave shrines

 

             เช่นเดียวกับในบันทึกการเดินทางสู่แดนตะวันตก (大唐西游记) ของ พระถังซําจั๋ง (釋玄奘) ซึ่งผ่านผู้คน วัฒนธรรม จารีตประเพณีเศรษฐกิจ การเมือง และร้อยพันเรื่องราวที่ทาบผืนฟ้าจรดผืนทรายและทิวเขาหิมาลัยอันยาวเหยียด เพื่อไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และมีการอัญเชิญพระคัมภีร์กลับมายังแผ่นดินจีนในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นั้นนอกจากเป็นแหล่งข้อมูลสําคัญทางประวัติศาสตร์แล้วยังได้สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คนมากมาย รวมถึง เซอร์มาร์ก ออเรล สไตน์(Sir Marc AurelStein)นักโบราณคดีและนักสํารวจชาวฮังการีผู้ผันตัวเองมารับราชการกับรัฐบาลอังกฤษหลังจบการศึกษาด้านโบราณคดีและภาษาตะวันออก ต่อมาเขาถูกส่งตัวไปเป็นผู้อํานวยการวิทยาลัยโอเรียลทัลในประเทศอินเดีย ระหว่างที่ท่านเซอร์สไตน์รับราชการที่อินเดีย เขาทราบข่าวสําคัญว่ามีการค้นพบคัมภีร์โบราณจํานวนมากที่ถูกซ่อนไว้ในถ้ำโม่วเกา เมืองตุนหวง ดินแดนฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ในห้วงเวลานั้นอังกฤษกับรัสเซียต่างขับเคี่ยวแผ่แสนยานุภาพด้านต่าง ๆ ไปยังภูมิภาคอื่นรวมถึงเอเชียกลาง เนื่องจากท่านเซอร์สไตน์เกรงว่านักสํารวจจากชาติอื่นจะสามารถเข้าถึงคัมภีร์ล้ำค่าเหล่านี้ก่อนทําให้เขาเร่งพาทีมงานจํานวนหนึ่งไปยังเมืองตุนหวงในพุทธศักราช ๒๔๔๓ (1900 CE)


แผนที่เส้นทางสายไหม
ที่มา https://www.britannica.com/topic/Silk-Road-trade-route


ภาพถ่ายภายในถ้ำผาหินโม่วเกา เมืองตุนหวง
 

           ที่เมืองตุนหวงท่านเซอร์สไตน์ได้พบภูเขาที่ทอดแนวยาวกว่า ๑,๖๐๐ เมตร ขนานไปกับแม่น้ำ และมีถ้ำมากมายกว่าพันถ้ำ หนึ่งในถ้ำมากมายเหล่านี้ มีถ้ำสําคัญหมายเลข ๑๗ นามว่า ถ้ำพุทธะพันองค์(qian fo dong 千佛洞) หรือบางครั้งเรียก ถ้ำผาหินโม่วเกา (mogao ku 莫高窟) ในเวลานั้นมีนักพรตหวังหยวนลู่ (王圓籙,นักพรตหวัง) เป็นผู้ดูแล ถ้ำแห่งนี้ ก่อนหน้าที่ท่านเซอร์สไตน์เดินทางมาที่นี่ นักพรตหวังค้นพบประตูลับที่นําไปสู่ ห้องลับอีกห้องที่ติดกันหลังจากเข้าไปได้แล้วนักพรตหวังตกตะลึงกับม้วนคัมภีร์มากมายที่จัดวางเรียงเก็บไว้ภายในห้องลับนี้จากนั้นเขาได้พยายามส่งข่าวนี้ไปยังรัฐบาลกลางที่กรุงปักกิ่ง แต่เนื่องจากรัฐบาลกลางกําลังเผชิญความวุ่นวายอยู่ในขณะนั้นจึงมิได้สนใจข่าวการค้นพบคัมภีร์ล้ำค่าเหล่านี้ กระทั่งข่าวการค้นพบคัมภีร์แพร่สะพัดไปถึงหูของท่านเซอร์สไตน์ซึ่งขณะนั้นกําลังสํารวจพื้นที่แถบเอเชียกลางอยู่

       หลังจากได้พบกับนักพรตหวัง ท่านเซอร์สไตน์ได้ใช้เวลาทําความคุ้นเคยอยู่ระยะหนึ่งกระทั่งสามารถเจรจาต่อรองขอซื้อคัมภีร์จํานวนหนึ่งไว้ได้ซึ่งนักพรตหวังได้นําเงินจํานวนนี้ไปปฏิสังขรณ์ภาพวาดและพระพุทธรูปภายในถ้ำโม่วเกา

    ท่านเซอร์สไตน์ใช้เวลาเดินทางไปสํารวจคัมภีร์และรับซื้อวัตถุโบราณล้ำค่า ๓ ครั้ง ในช่วงปีพ.ศ. ๒๔๔๓-๒๔๕๙ เฉพาะตัวคัมภีร์โบราณที่เขานําไปอังกฤษนั้นมีมากกว่า ๔๕,๐๐๐ ชิ้น ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (British Library) ในชื่อ “สไตน์คอลเลคชัน” (Stein Collection) โดยคัมภีร์เหล่านี้จารึกด้วยภาษาและอักษรโบราณต่าง ๆ มากมาย เช่น พราหมี, ขโรษฐี, สันสกฤต, ทิเบต, ตันกุต, โขตาน, โตคาเรียน, ซอกเดียน, อุยกูร์, เติร์ก, มองโกเลียน และคัมภีร์จารึกภาษาจีนซึ่งมีมากที่สุดถึง ๒๑,๒๔๓ ชิ้น ในส่วนของอายุ “คัมภีร์ตุนหวง” (Dunhuang Manuscripts) เหล่านี้มีความหลากหลายตั้งแต่ยุคปลาย พ.ศ. ๘๐๐ กว่า ๆ ถึงต้น พ.ศ. ๑๕๐๐


นักพรตหวังหยวนลู่


 

เซอร์มาร์ก ออเรล สไตน์
 

         นักวิชาการชาวจีน ศาสตราจารย์หรงซินเจียง สันนิษฐานว่าคัมภีร์เหล่านี้ในอดีตเคยเก็บรักษาไว้ภายในหอสมุด ของวัดตรีโลกธาตุหรือซานเจ่ซื่อ(sanjie si 三界寺) เมืองตุนหวงต่อมาคัมภีร์เหล่านี้ถูกโยกย้ายไปซ่อนไว้ในห้องลับ เพื่อป้องกันการทําลายของกองทัพมุสลิมเติร์ก

           จากบันทึกแผ่นศิลาในยุคราชวงค์ถัง ชื่อ “หลี่จุนโม่วเกาคู่โฝวคันเปย” (李君莫高窟 佛龕碑) ระบุว่าปฐมเหตุของการสร้างถ้ำพุทธะพันองค์นั้น เริ่มขึ้นในปีพ.ศ. ๙๐๙ ครั้งนั้นพระเล่อจุน (樂尊) ได้จาริกผ่านมาแถบตุนหวง แล้วเห็นนิมิตด้วยตาเปล่าคือ เห็นพระพุทธเจ้านับพันองค์เรืองรองสว่างไสวลอยอยู่เหนือภูเขาซันเวย จากนิมิตนี้ ท่านจึงได้ตัดสินใจเจาะภูเขาให้เป็นถ้ําในบริเวณนั้น เพื่อใช้เป็นที่สวดมนต์ทําสมาธิภาวนา ต่อมาเมื่อมีพระภิกษุ มากขึ้น จึงขยับขยายจํานวนถ้ําเพิ่มขึ้น กระทั่งถึงยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๕ (ราว พ.ศ. ๑๕๐๐) บริเวณนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนสถานที่สําคัญ และเป็นชุมทางสําหรับการค้าและการเดินทางที่รุ่งเรือง เชื่อมระหว่างแผ่นดินจีน เอเชียกลาง และอินเดีย ทําให้ตุนหวงกลายเป็น ศูนย์กลางการศึกษาทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาที่สําคัญแห่งหนึ่งในยุคกว่าพันปีที่ผ่านมา


สถาบันวิจัยตุนหวง ประเทศจีน 


หน้าถ้ำโม่วเกา (ถ้ำพุทธะพันองค์)


ซ้าย : การวิเคราะห์สภาพคัมภีร์ตุนหวง ณ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ
โดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

ขวา : สรุปแนวคิดจากการวิจัยคัมภีร์สมาธิตุนหวง
 

          การวิจัยของทีมงานนักวิจัยสถาบันนานาชาติธรรมชัย (DIRI) โดยพระเกียรติศักดิ์กิตฺติปญฺโญ เป็นงานที่ดําเนินไปภายใต้การให้คําปรึกษางานวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์ตุนหวงแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และผู้เชี่ยวชาญด้านสมาธิในจีนแห่งสถาบันโซแอส มหาวิทยาลัยลอนดอน จากการวิจัยพบว่า หนึ่งในคัมภีร์ตุนหวงที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษนั้นมีคัมภีร์คู่มือการทําสมาธิรวมอยู่ด้วย จากการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของตัวคัมภีร์พบว่าตัวคัมภีร์ตุนหวงนี้น่าจะถูกบันทึกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ แต่ถ้าวิเคราะห์เนื้อหาของตัวคัมภีร์สันนิษฐานว่าน่าจะถูกเรียบเรียงขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ โดยมีเทคนิคการทําสมาธิบางอย่าง และมีรูปแบบถาม-ตอบระหว่างผู้สอนสมาธิกับผู้เรียนด้วยเหตุนี้นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมาธิในจีนยุคต้น เช่น ศาสตราจารย์ยามาเบะ โนบุโยชิจากประเทศญี่ปุ่นและผู้ช่วยศาสตราจารย์อีริก กรีน แห่งมหาวิทยาลัยเยล จึงลงความเห็นว่า คัมภีร์นี้จัดเป็น “คู่มือการปฏิบัติสมาธิ” (Meditation Manual) ซึ่งกล่าวถึงเทคนิคการทําสมาธิ ๙ วิธีโดยเนื้อหาเหล่านี้คัดลอกมาจากคัมภีร์สมาธิอื่น ๆ ที่เคยแพร่หลายมาก่อนหน้านี้โดยเฉพาะเทคนิคที่นํามาจากคัมภีร์อู่เหมินฉาน (五門禪) นั้น สามารถสืบย้อนไปถึงสายการปฏิบัติของพระอุปคุตมหาเถระ ผู้ปราบพญามารในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช โดยหนึ่งในวิธีปฏิบัติที่มีความโดดเด่นในคัมภีร์นี้คือ การทําสมาธิที่สอนให้ผู้ปฏิบัติวางใจไว้กลางนาภี (ท้อง) เมื่อใจหยุดนิ่งปราศจากนิวรณ์ก็จะเข้าถึงประสบการณ์ภายใน คือ เห็นองค์พระผุดซ้อนออกมาจากกลางนาภีของผู้ปฏิบัติโดยองค์พระที่ผุดซ้อนออกมานี้คือพระธรรมกายนั้นเองงานวิจัยของศาสตราจารย์ยามาเบะระบุว่าสมาธิแบบโบราณในคัมภีร์อู่เหมินฉานนี้เป็นหนึ่งในวิธีปฏิบัติที่เคยแพร่หลายในเอเชียกลางมาก่อนต่อมาได้สูญหายไปการค้นพบวิธีปฏิบัติธรรมแบบโบราณนี้ นอกจากเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจแก่นักวิชาการจีนผู้ตรวจผลงานวิจัยแล้ว ยังสร้างความประทับใจแก่นักวิชาการด้านจีนวิทยาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อีกด้วย ซึ่งต่างชื่นชมว่าเป็นงานวิจัยที่ยอดเยี่ยม สมควรได้รับคะแนนระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (Distinction) ซึ่งนับเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล