ตจปัญจกกรรมฐาน

วันที่ 22 กพ. พ.ศ.2548

 

            ตจปัญจกกรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานที่มีหนังเป็นที่ครบห้า หมายถึงการทำกรรมฐานที่กำหนดพิจารณาอวัยวะ ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ( เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ) เป็นอารมณ์ โดยพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นสิ่งปฏิกูล ไม่งาม เป็นต้น เพราะมีคำว่า ตโจ เป็นคำที่ ๕ จึงเรียกว่า ตจปัญจกกรรมฐาน

กรรมฐานนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มูลกรรมฐาน คือเป็นกรรมฐานเบื้องต้น กรรมฐานที่เป็นพื้นฐาน

         กรรมฐานนี้พระอุปัชฌาย์จะสอนแก่ผู้ขอบวช ( นาค) ในท่ามกลางสงฆ์ก่อนที่จะมอบผ้าไตรให้ไปนุ่งห่มเพื่อให้อุปสมบทต่อไป เรียกขั้นตอนนี้ว่า บอกกรรมฐาน

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.025809315840403 Mins