บทสรุปการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

วันที่ 19 มีค. พ.ศ.2563

บทสรุปการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

 

                 เมื่อเรากล้าหันกลับไปมองปัญหาที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา เราจะพบว่า เกิดปัญหาการลดจำนวนของพระภิกษุและสามเณร รวมถึงการประพฤติปฏิบัติธรรมของชาวพุทธในจำนวนที่น่าเป็นห่วง ซึ่งเราจะพบว่ามีสาเหตุมาจาก

 

                ๑) การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม คือ จากสังคมเกษตรกรรมมาสู่สังคมอุตสาหกรรม

 

                ๒) การปฏิบัติตัวของพระสงฆ์ที่ปรากฏต่อสาธารณะ


               ๓) ทัศนคติในการมองพระสงฆ์ของชาวพุทธ และทั้งหมดนี้ก็มีความเกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่

 

                   สำหรับสาเหตุในข้อที่ ๑ เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถไปแก้ไขอะไรได้ เพราะเป็นกลไกทางสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของโลก แต่สาเหตุในข้อที่ ๒ และ ๓ เป็นสิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้เพราะเป็นปัจจัยภายในพระพุทธศาสนา ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้ด้วยสังฆคารวตา คือ ความเคารพในพระสงฆ์

 

                   ในการแก้ปัญหาที่มีสาเหตุมาจาก การปฏิบัติตัวของพระสงฆ์ที่ปรากฏต่อสาธารณะ เราสามารถนำข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ที่ปรากฏใน สามัญญผลสูตร พระสูตรที่ทำให้เราเห็นถึง วิธีการ
ฝึกปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ และผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติอย่าเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับสูง ซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ระดับ ได้แก่

 

                  ระดับที่ ๑ ทำให้ผู้บวชสามารถยกตนจากฐานะเดิม ซึ่งสิ่งที่ผู้บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาพึงปฏิบัติ คือ 

 

                   ๑) บวชอย่างมีเป้าหมาย คือ ไม่ว่าจะบวชระยะสั้นหรือระยะยาวก็ตาม ก็ตั้งใจบวชเพื่อฝึกฝนอบรมตนเองตามวัตถุประสงค์ที่ได้ปฏิญาณในท่ามกลางสงฆ์ว่า จะบวชเพื่อกำจัดทุกข์ทั้งหลายให้สิ้น        และทำพระนิพพานให้แจ้ง ด้วยการศึกษาอบรมจิตใจทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยได้รับการชี้แนะจากพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์

 

                  ๒) สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่เสมอ คือ ตั้งใจศึกษาและรักษาพระวินัย มีมารยาทงดงาม ไม่ดูเบาในโทษภัยเล็กน้อยว่าจะไม่มีผลเสียตามมา เป็นต้น

 

                ๓) มีอาชีพบริสุทธิ์ คือ การบิณฑบาต ซึ่งเป็นการขอตามแบบอริยประเพณี

 

                ๔) ถึงพร้อมด้วยศีล อันได้แก่ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีลเป็นต้น   

     

                 ระดับที่ ๒ ทำให้ผู้บวชมีโอกาสอบรมจิตใจให้สงบประณีตขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าถึงความสว่างภายใน เข้าถึงดวงธรรมภายใน สามารถละกิเลสอย่างกลาง คือ นิวรณ์ ได้ ซึ่งสิ่งที่พระภิกษุ
พึงปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลดังกล่าว คือ

 

                ๑) สำรวมอินทรีย์ ระมัดระวังในการดู การฟัง การลิ้มรสเหล่านี้เป็นต้น กล่าวคือ สิ่งใดไม่ควรดู     ไม่ควรฟัง ไม่ควรลิ้มรส ก็อย่าไปดู อย่าไปฟัง อย่าไปลิ้มรส เป็นต้น

 

                ๒) ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ไม่ปล่อยใจเลื่อนลอยหรือเผลอสติ

 

               ๓) เป็นผู้สันโดษพระภิกษุผู้สันโดษจะต้องมีความพอใจตามมีตามได้ แม้เป็นโยมผู้ปวารณาไว้ก็ตามก็ไม่ออกปากขอจนเกิน ความจำเป็น

 

               ๔) ละนิวรณ์ ๕ เข้าถึงฌานสมาบัติ คือ ตั้งใจเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ เข้าถึงดวงธรรมภายใน เข้าถึงกายภายในละนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้ เพื่อรองรับคุณธรรมคุณวิเศษที่สูงขึ้นไปตามลำดับ

 

               ระดับที่ ๓ ทำให้ผู้บวชสามารถบรรลุวิชชา ๘ เข้าถึงคุณธรรมคุณวิเศษที่ประณีตขึ้นไป โดยมี วิปัสสนาญาณ (ญาณรู้เห็นไปตามความเป็นจริง) เป็นต้น และ อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำอาสวกิเลส
ให้สิ้น) เป็นที่สุด

 

                ข้อปฏิบัติเหล่านี้ใน สามัญญผลสูตร ยังทำให้เราเห็นถึงมาตรฐานในการดำเนินชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ แต่อย่างไรก็ตาม การที่พระภิกษุจะสามารถฝึกหัดปฏิบัติให้ได้เช่นนี้ มีความจำเป็นที่ต้อง
มี ต้นแบบที่ดี เพราะเว้นจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสียแล้ว แม้พระสารีบุตรผู้เป็นเลิศด้านมีปัญญามาก ก็ยังยากที่จะสามารถรู้ทั่ว ถึงธรรมได้โดยไม่มีครูบาอาจารย์ชี้แนะดั้งนั้น ต้นแบบ หรือ ครูดี จึงมีความสำคัญต่อการฝึกฝนอบรมตนเองของพระภิกษุสงฆ์ ควบคู่ไปกับความเคารพในพระรัตนตรัย คือ ความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเคารพในพระสงฆ์ หรือสังฆคารวตานั้น มีความเกี่ยวข้องโดยตรง   

 

                กับความเสื่อมและความเจริญของตัวพระภิกษุเอง จนกระทั่งไปถึงความเสื่อมและความเจริญของพระพุทธศาสนาโดยรวม       

 

               ในการแก้ไขเกี่ยวกับ ทัศนคติในการมองพระสงฆ์ของชาวพุทธ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องจากสาเหตุใน การปฏิบัติตัวของพระสงฆ์ เพราะถ้าพระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตัวดี ทัศนคติที่ดีก็จะเกิดขึ้น      ในทางตรงกันข้าม ถ้าพระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตัวไม่ดี ทัศนคติในด้านลบก็จะเกิดขึ้นตามมา แต่ชาวพุทธเราก็ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยว่า พระภิกษุเดิมทีท่านก็เป็นคนธรรมดาเหมือนเรา แล้ววันหนึ่งท่านเห็นถึงประโยชน์ของการบวช จึงได้เข้ามาบวช และแน่นอนว่า ไม่มีใครสมบูรณ์ได้ทันทีทันใดในวันแรกที่บวช เพราะไม่ว่าจะวงการใดก็ตาม ความสำเร็จก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ

 

                นายแพทย์ผ้เูชี่ยวชาญระดับ โลกก็เริ่ม จากหมอฝึกหัด นักธุรกิจระดับโลกก็เริ่มจากธุรกิจเริ่มต้น (Startup company) แม้พระอรหันต์
 

                ผู้หมดกิเลสก็เริ่มจากพระปุถุชนผู้เต็มไปด้วยกิเลส แต่เพราะมีจิตเมตตามีความปรารถนาดี และการให้กำลังใจสนับสนุน สิ่งนี้ต่างหากที่จะทำให้บุคคลเหล่านี้ ก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จได้ ลองนึกจินตนาการดูว่า ถ้าเราวิพากษ์วิจารณ์ โดยไม่ให้โอกาสบุคคลเหล่านี้ในวันนี้ เราจะมีนายแพทย์หรือนักธุรกิจที่มีฝีมือในวันหน้าได้อย่างไร

 

                 แม้พระภิกษุสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน ในเมื่อท่านตั้งใจบวชเข้ามาในพระพทุธศาสนาแล้ว แต่เนื่องจากยังเป็นผู้ใหม่อยู่ก็มีผิดพลาดกันได้ชาวพุทธเราจึงควรปรับทัศนคติมุมมอง หรือ mindset เสียใหม่
มองท่านด้วยจิตเมตตา มีความปรารถนาดี และให้กำลังใจสนับสนุนไม่ใช่ว่าทำอย่างนั้นก็ไม่ดี ทำอย่างนี้ก็ไม่ถูก ซึ่งมุมมองหรือความคิด

 

                  เหล่านี้จะมีได้ เราต้องสร้าง สังฆคารวตา ให้เกิดขึ้น ด้วยการหมั่นจับดี ไม่จับผิด เพราะพระสงฆ์ท่านก็พยายามฝึกฝนตัวเองของท่านอยู่แล้ว เราก็ควรจับดีในตัวท่าน ให้กำลังใจสนับสนุนกัน

 

                ดังนั้น สังฆคารวตา จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมให้คฤหัสถ์และบรรพชิต ต่างมีโอกาสพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการฝึกฝนอบรมตนเองของทั้ง ๒ ฝ่าย เกื้อกูลกันด้วยอามิสทานและธรรมทาน เพื่อ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาอย่างแท้จริง นั่นคือ เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบนั่นเอง

 

                อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับการที่เราจะมีความเคารพต่อพระภิกษุที่เราไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะพระภิกษุผู้ใหม่ในพระธรรมวินัยยังอยู่ในขั้น ฝึกฝนอบรมตนเองอยู่ ยังไม่สมบรูณ์จึงทำให้เรามีทัศนคติในด้านลบต่อท่าน แต่ความคิดเช่นนี้ไม่นำมาซึ่งการปรับปรุงตัวของเราแต่อย่างไร สู้เป็นว่าปรับทัศนคติที่ตัวของเราจะเป็นการดีกว่า เพราะอย่างไรเสีย ผู้ที่ได้รับ ผลจากทัศนคติในด้านลบนี้ ก็คือตัวของเราเองไม่ใช่ผู้อื่น       

 

               โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนคติในด้านลบที่มีต่อตัวของพระภิกษุสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นสมมติสงฆ์หรือพระอริยสงฆ์ ก็นำมาซึ่งความทุกข์ในภายภาคหน้า ในทางกลับกัน หากเราเป็นผู้ที่มี ความเคารพในพระสงฆ์หรือ สังฆคารวตา ย่อมนำมาซึ่งความสุขกายสุขใจ ไม่ต้องทนทุกข์ที่จะเกิดในภายภาคหน้า นอกจากนี้ ยังเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการศึกษาธรรมอย่างมีแบบแผน ลุ่มลึกไปตามลำดับจากพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงภูมิรู้ภูมธรรมซึ่งต่างจะเกื้อกูลซึ่งกันและกันอีกทั้งยังทำให้พระพุทธ

 

              ศาสนาอันประกอบด้วยฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ มีความแข็งแกร่งและเป็นปึกแผ่นอีกด้วย และเมื่อเราลองขยายใจจากภาพของนักบวชแบบรายบุคคล (พระภิกษุ) ไปสู่การมอง แบบภาพรวม (หมู่สงฆ์)         เราก็จะพบว่ามีพระภิกษูสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบอยู่อีกมากมายจริงๆถ้าทำได้อย่างนี้ ตัวพระภิกษุสงฆ์ท่านก็จะได้มีกำลังใจในการฝึกฝนอบรมตนเอง เห็นคุณค่าในเส้นทางนักบวช ตัวเราเองก็มีจิตผ่องใสไม่เป็นนักจับผิด มองเห็นความดีของบุคคลรอบข้าง และได้โอกาสในการศึกษาธรรมจากท่าน แม้พระพุทธศาสนาเองก็ได้พระภิกษุสงฆ์ผู้รักษาพระธรรมวินัยและชาวพุทธผู้มีความเคารพในพระรัตนตรัย

 

              ดังสิ่งที่ได้ยกมาแสดงทั้งหมดนี้ ความเคารพในพระสงฆ์ หรือสังฆคารวตา ถือเป็น จุดเริ่มต้นของกระบวนการแก้ไขปัญหาทั้งปวงดังนั้นเราจึงควรปลูกฝัง สังฆคารวตา นี้ให้มีในตัวของเราและบุคคล
รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ และเมื่อกระทำได้เช่นนี้ ความเจริญรุ่งเรืองของพระพทุธศาสนาในประเทศไทยก็จะหยั่งรากลึก อีกทั้งยังสามารถแผ่ขยายไปสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้อีกด้วย

 

            "สังฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ
ความเสื่อมและความเจริญของพระภิกษุ รวมถึงความเสื่อมและความเจริญ
ของพระพุทธศาสนา"

 

จากหนังสือ ที่สุดแห่งธรรม ถึงได้ด้วยความเคารพ 3 

โดยคุณครูไม่เล็ก

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0082870483398438 Mins