พระทุทธศาสนากับใบปริญญา

วันที่ 08 กพ. พ.ศ.2564

พระพุทธศาสนากับใบปริญญา

 

640208b.jpg

 

                  ช่วงนี้นิสิตนักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบ ก็เริ่มทยอยรับ ปริญญาบัตรกันแล้ว ๔ ปีในมหาวิทยาลัยนั้นเร็วมาก เร็วจนเพื่อนบางคนในรุ่นเดียวกัน เรายังไม่รู้จักมักคุ้นเท่าที่ควร
 

                 ชีวิตหลังจากนี้ จะไม่มีใครให้เงินค่าขนมเราแล้ว ต้องรับผิดชอบ ทำมาหาเลี้ยงชีพตัวเองให้ได้ แต่เมื่อออกไปสู่ชีวิตการทำงาน ที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และการตัดสินใจ เราจึงได้พบว่า ชีวิตในมหาวิทยาลัย ไม่ได้สอนอะไรบางอย่างให้แก่เรา สิ่งนั้นก็คือ เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจว่า อะไร คือความ ถูก-ผิด ดี-ชั่ว บุญ-บาป ควรทำ-ไม่ควรทำ ด้วยการสังเกตตัวเอง ในข้อนี้ ผมจึงมองหาการเติมเต็มสิ่งนี้จากพระพุทธศาสนา

 

                 ตั้งแต่ผมจำความได้ ก็รู้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีมาตั้ง แต่ก่อนเราเกิด และเราก็รู้สึกเหมือนๆ ว่า เรารู้จักพระพุทธศาสนามานาน แต่เมื่อเราย้อนกลับมาถามตัวเราว่า พระพุทธเจ้าคือใคร พระพุทธ ศาสนาสอนอะไรให้แก่เราบ้าง เรากลับตอบได้ไม่เต็มปากว่า พระพุทธ ศาสนาคืออะไร และสำคัญอย่างไรต่อชีวิตของเรา

 

                 ครั้นเมื่อผมโตขึ้น รับรู้สิ่งต่างๆ กว้างขึ้น เราก็ชักจะลืมนึกถึง พระพุทธศาสนา และถูกกระแสโลกดึงใจให้ไปสนใจเรื่องอื่นๆ พระพุทธ ศาสนาจึงค่อยๆ เลือนไปจากใจของเรา

 

                 จนเมื่อวันหนึ่งชีวิตมีทุกข์มากๆ เข้า ผมจึงเริ่มแสวงหาที่พึ่ง แล้วจึงค่อยมารู้ว่า พระพุทธศาสนาสำคัญอย่างไรต่อชีวิตของเรา

 

                ในวันนั้น ผมเองก็เป็นคนที่ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา และเที่ยว แสวงหาคำตอบที่ถูกใจเช่นกัน แต่พอนานวันเข้าก็ยิ่งถูกกระแสโลกอัน เชี่ยวกรากดึงใจออกไปให้ห่างพระพุทธศาสนา

 

                การเห็นอะไรมามากเกินวัย อดทำให้คิดไม่ได้ว่า โลกนี้คงจะไม่มี คนดีเสียแล้ว คงมีแต่คนเลวมากกับเลวน้อยเป็นแน่แท้

 

                ในที่สุด ผมก็เริ่มห่างออกมาจากพระพุทธศาสนาทีละน้อย แล้ว ก็ไม่รู้ว่า ผมนับถือพระพุทธศาสนาไปทำไม แต่สิ่งหนึ่งที่พอจะยั้งใจให้

 

                  เรารู้จักพระพุทธศาสนามานาน แต่เมื่อเรา 

                  ย้อนกลับมาถามตัวเราว่า พระพุทธเจ้าคือใคร             

                 พระพุทธคาสนาสอนอะไรใหัแก่เราบ้าง เรา
                 กลับตอบได้ไม่เต็มปากว่า พระพุทธศาสนา   

                 คืออะไร และสำคัญอย่างไรต่อชีวิตของเรา

 

                 คิดถึงพระพุทธศาสนาอยู่บ้างก็คือ การยอมรับคำสอนประโยคหนึ่งของ พระพุทธศาสนาที่ว่า ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว และเพราะประโยคนี้ ที่ทำให้ผมเองยังพอจะเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมอยู่บ้าง

 

                  จนกระทั่งในวันหนึ่งของเดือน เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ก็เริ่ม พบแสงสว่างว่า พระพุทธศาสนามีคุณค่าอย่างไรต่อชีวิตของคนเรา ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษาเรียนอยู่ชั้นปี 3 ได้มีโอกาสไปเปิดอ่านหนังสือเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ในหน้าที่ ๖๗ โดยบังเอิญ ผู้แต่งเป็นพระภิกษุ ชื่อพระภาวนาวิริยคุณ

 

                   ผมอ่านจนกระทั่งจบหัวข้อ "ทุกข์" แล้วมุมมองชีวิตก็เปลี่ยนไป ข้อความในหน้านั้น บอกให้รู้ถึงความจริงของโลกและชีวิตว่า โลกนี้คือทะเลทุกข์
 

                   เพราะว่า คนเราทุกคนตั้งแต่กำเนิดมานั้นล้วนมีทุกข์ที่ติดตามเรา เหมือนเงาตามตัวด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งทุกข์นั้น แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท ใหญ่ๆ เป็นความทุกข์ที่เรามองไม่เห็นตัว แต่เรารู้ว่ามันมีอยู่ และคอย ตามกัดกร่อนเราอยู่ตลอดเวลา

 

                 ๒ อย่างนั้น ก็คือ ๑) ทุกข์ประจำ  ๒) ทุกข์จร  ขึ้นชื่อว่าทุกข์ประจำนั้น แม้จะระดมมหาปราชญ์ทั้งโลกนี้มาอธิบาย ก็คงจะหาใครอธิบายได้ยากว่า ทำไมคนเราไม่ว่าจะหญิงชาย เด็ก-คนแก่ คนหนุ่ม-คนสาว คนรวย-คนจน สามัญชน-กษัตริย์ ถึงได้มีอยู่ประจำตัว ซึ่งได้แก่ ทุกข์จากการเกิด ทุกข์ที่เกิดจากความแก่ ทุกข์ที่เกิดจากความ เจ็บ และทุกข์ที่เกิดจากความตายกันทุกคน แม้แต่ตัวมหาปราชญ์ใน แต่ละยุคเองก็ยังหนีไม่พ้น สิ่งเหล่านี้มหาปราชญ์ที่เก่งที่สุดในแต่ละยุคก็ ตอบไม่ได้ บอกได้แต่เพียงว่า เป็นธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนหนีไม่พ้น แต่ก็ไม่มีใครบอกทางเอาชนะธรรมชาติเหล่านี้ได้เลย

 

              นอกจากทุกข์ประจำแล้ว หนังสือเล่มนั้น ยังบอกให้ผมรู้อีกว่า มนุษย์แต่ละคนก็ยังมีทุกข์จรที่วนเวียนผลัดเปลี่ยนกันมาทำให้เป็นทุกข์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๙ ประการ ได้แก่

 

             ๑. ความเสียใจทำให้เป็นทุกข์
             ๒. ความตัดอาลัยไม่ขาดทำให้เป็นทุกข์
             ๓. จิตใจหดหู่ท้อแท้ทำให้เป็นทุกข์
             ๔. ความน้อยอกน้อยใจทำให้เป็นทุกข์
             ๕. ความตรอมใจทำให้เป็นทุกข์
             ๖. การเจอสิ่งที่เกลียดทำให้เป็นทุกข์

 

             เพราะมนุษย์ทุกคนทั้งโลกต่างมีทุกข์และต้อง   

             เผชิญทุกข์อยู่เช่นนี้เป็นประจำ โลกนี้ซึ่งเป็นที่   

             อยู่ของคนทั้งโลกจึงเปรียบเหมือนทะเลทุกข์

              และยังมีมนุษย์อีกมากที่ไม่ยอบรับรู้ด้วยว่า                   

             ความจริงแล้วโลกนี้คือทะเลทุกข์

 

             ๗. การพลัดพรากจากสิ่งที่รักทำให้เป็นทุกข์
             ๘. ความผิดหวังไม่สมดังใจทำให้เป็นทุกข์
             ๙. ทุกข์ทุกอย่างรวมกันทำให้เป็นทุกข์

 

             ทุกข์เหล่านี้หมุนเวียนกันมาทำร้ายความรู้สึกในจิตใจของมนุษย์ซํ้า แล้วซํ้าเล่า เป็นทุกข์ที่มีมาตั้งแต่ก่อนที่เราจะเกิด และเมื่อเราเกิดแล้ว ก็ไม่มีที่ทำว่าจะน้อยลงไป มิหนำซ้ำกลับมีแนวโน้มว่าคนในโลกกลับจะ มีทุกข์เพิ่มยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

               เพราะมนุษย์ทุกคนทั้งโลกต่างมีทุกข์และต้องเผชิญทุกข์อยู่เช่นนี้ เป็นประจำ โลกนี้ชึ่งเป็นที่อยู่ของคนทั้งโลกจึงเปรียบเหมือนทะเลทุกข์ และยังมีมนุษย์อีกมากที่ไม่ยอมรับรู้ด้วยว่า ความจริงแล้วโลกนี้คือทะเล ทุกข์

 

              เมื่อได้อ่านเนี้อหาเรื่องทุกข์นี้จบลง ผมเริ่มเข้าใจโลกและชีวิต มากขึ้น และก็เริ่มได้คิดว่า พระพุทธศาสนาให้ประโยชน์แก่ผมอย่าง เหนือความคาดหมายทีเดียว ความคลางแคลงสงสัยในหลายๆ เรื่องก็ พสันหายไปอย่างอัศจรรย์ รู้สึกเหมือนกับคนที่ตาบอดมานาน แล้วจู่ๆ วันหนึ่งก็มองเห็นได้เลยทีเดียว

 

             จากเนื้อหาธรรมะที่ได้อ่านในวันนั้น ก็ได้กลายมาเป็นข้อคิดสอน ตัวเองว่า

 

             "คนเรานั้นมีทุกข์ติดตัวกันอยู่คนละมากๆ ทุกข์เป็นเพชฌฆาตที่ เรามองไม่เห็นตัว แล้วมนุษย์เรานี้ก็แปลก ทั้งที่เวลายืนตรงไหนก็ใช้
พื้นที่เพียง ๑ ตารางเมตร เดินไปไหนมาไหนก็ใช้พื้นที่เพียง ๑ ตารางเมตร นั่งตรงไหนก็ ๑ ตารางเมตร จะมีพิเศษก็ตอนนอนที่ใช้พื้นที่เพียง
๒ ตารางเมตร แล้วเมื่อเข้าสู่เชิงตะกอนก็เหลือแค่ขี้เถ้าหนักไม่ถึงขีด เอาอะไรไปไม่ได้เลย

 

               แต่ก็แปลกที่มนุษย์กลับมาดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่เกินความจำเป็น ยอมทนทุกข์อยู่กับความอยากที่ไม่มีวันพอและไม่มีใครจะถมให้มันเต็มได้ แล้วก็ต้องแสวงหาเรื่อยไปจนหมดลมหายใจเข้าออก แทนที่การมีมากจะ ทำให้ได้พบความสุขมาก แต่ผลกลับตรงข้ามคือ การมีมากกลับทำให้เขา ทุกข์มากขึ้นกว่าเก่า

 

              สิ่งสำคัญก็คือ คนเราทุกคนต้องมีวันหมดลมหายใจอย่างแน่นอน ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ เราต้องทำความดีเอาไว้ให้มากๆ เพราะเมื่อเวลา ที่เราจากโลกนี้ไปแล้ว ความดีก็จะได้เป็นตัวแทนของเราไว้ในโลกนี้ ลูกหลานรุ่นหลังที่ตามมาก็จะได้รู้ว่าบรรพบุรุษของเขาเป็นคนดี แล้วเสียง สรรเสริญแห่งความกตัญญูก็จะดังไม่ขาดสาย แม้ว่าเราจะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ก็ยังมีคนพูดถึง ถามถึงเหมือนเมื่อตอนที่เรายังมีชีวิตอยู่

 

                ขณะเดียวกันถ้าตอนที่เรามีชีวิตอยู่ เราทำแต่ความชั่ว เมื่อเราจาก โลกนี้ไปแล้ว ความชั่วก็จะกลายเป็นตัวแทนของเรา ให้ลูกหลานด่าทอ สาปแช่งไปอีกนานแสนนาน"


                ด้วยข้อคิดตรงนี้เอง ทำ ให้ผมเริ่มรู้ตัวว่า พระพุทธศาสนาได้เข้ามา มีอิทธิพลต่อความคิดของด้วเองแล้ว และ ทำให้เริ่มแล้วว่า พระพุทธศาสนามีคุณค่าต่อชีวิตของเราอย่างมหาศาล คือ ทำ ให้เรารู้ว่าตัวเอง เป็นอย่างไร และจะต้องเตรียมตัวอย่างไรต่อไป เพื่ออนาคต


               อย่าให้วุฒิทางปริญญาของเรา มาบดบังการเรียนที่ยิ่งใหญ่จาก พระพุทธศาสนานะครับ

 

เรื่องเล่า...ของพี่ชายคนหนึ่ง
โดย ชัยภัทร ภัทรทิพากร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.002298899491628 Mins