ม ง ค ล ที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง
นรชนจะเป็นผู้มีชาติกำเนิดเลวทราม แต่เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร
มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ และศีล
ย่อมรุ่งเรืองแจ่มใส เหมือนกองไฟในยามราตรี ฉันนั้น
๑. อิทธิบาท ๔
๑.๑ ธรรมดาราชสีห์ย่อมเที่ยวไปด้วยเท้าทั้งสี่อย่างองอาจ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ก็ควรเที่ยวไปด้วยอิทธิบาท ๔ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๙
๑.๒ นรชนจะเป็นผู้มีชาติกำเนิดเลวทราม แต่เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร มีปัญญา
ประกอบด้วยอาจาระ และศีล ย่อมรุ่งเรืองแจ่มใส เหมือนกองไฟในยามราตรี ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๔
๑.๓ มื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน คือ แสงเงินแสงทองเป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน
เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๗๕
๑.๔ กรรมที่บุคคลใดพิจารณาถี่ถ้วนก่อนแล้วทำลงไป ผลอันเจริญย่อมมีแก่บุคคลนั้น
เหมือนความถึงพร้อมแห่งยาแก้โรค ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๑๖๕
๑.๕ ผู้ใดช้าในเวลาที่ควรช้า รีบด่วนในเวลาที่ควรรีบด่วน ผู้นั้นเป็นบัณฑิตจะถึงความสุข
เพราะได้จัดแจงโดยอุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น เขา
ย่อมได้ยศ ได้เกียรติคุณ และไม่แตกจากมิตรทั้งหลาย.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๓๖
๒. โทษของความเกียจคร้าน
๒.๑ ท่านจงยกตนของท่านขึ้นจากความเกียจคร้าน เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัด ฉะนั้น
ท่านจงทำจิตให้ตรงแล้วทำลายอวิชชาเสีย.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๐/๑๘๖
๒.๒ พวกคนเขลาไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมซบเซา
ดังนกกะเรียนแก่ ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลา ฉันนั้น
พวกคนเขลาไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมนอนทอดถอน
ถึงทรัพย์เก่า เหมือนลูกศรที่ตกจากแล่ง ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๑๘๔
๒.๓ กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร ย่อมครอบงำบุรุษผู้ไม่อาจข้ามมหาสมุทรนั้นได้ ฉันใด ชาติ
และชราย่อมครอบงำท่านผู้ถูกความเกียจคร้านครอบงำแล้ว ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๒/๑๘๙
๓. การทำงานโดยไม่พิจารณา
๓.๑ ผู้ใดรีบด่วนในเวลาที่ควรช้า และช้าในเวลาที่ควรรีบด่วน ผู้นั้นเป็นพาลย่อมประสพ
ทุกข์ เพราะไม่จัดแจงโดยอุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมเสื่อมไป เหมือนพระจันทร์ข้างแรม
เขาย่อมถึงความเสื่อมยศ และแตกจากมิตรทั้งหลาย.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๓๖
๓.๒ การงานย่อมเผาบุคคลผู้มิได้พิจารณาแล้ว รีบร้อนจะทำให้สำเร็จ เหมือนกับของร้อนที่
บุคคลไม่พิจารณาก่อนแล้วใส่เข้าไปในปาก ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๗/๑๔
๓.๓ กรรมที่บุคคลไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน แล้วทำลงไป ผลชั่วร้ายย่อมมีแก่บุคคลนั้น
เหมือนความวิบัติแห่งยาแก้โรค ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๑๖๕
๓.๔ ในเวลาที่จะต้องทำช้าๆ ผู้ใดรีบด่วนทำเสียเร็ว ในเวลาที่จะต้องรีบด่วนทำกลับทำช้าไป
ผู้นั้นย่อมตัดรอนประโยชน์ของตนเอง เหมือนคนเหยียบใบตาลแห้งแหลกละเอียดไป ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๖
๔. โทษของการคบคนเกียจคร้าน
๔.๑ แม้บุคคลผู้มีความเป็นอยู่ดี แต่อาศัยบุคคลผู้เกียจคร้าน ย่อมจมลงในมหาสมุทร คือ
วัฏสงสาร เปรียบเหมือนบุคคลขึ้นสู่แพไม้น้อยๆ พึงจบลงในมหาสมุทร.
ขุ.อิติ. (อรรถ) มก. ๔๕/๔๗๘
๔.๒ เต่าตาบอดเกาะบนขอนไม้เล็กๆ จมลงไปในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด กุลบุตรอาศัยคน
เกียจคร้านดำรงชีพ ย่อมจมลงในวัฏสงสาร ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๑/๖๓
๔.๓ คนเกาะไม้เล็กๆ ต้องจมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด คนแม้ดำรงอย่างดี แต่อยู่ร่วมกับคน
เกียจคร้าน ก็ต้องจมอยู่ในวัฏสงสาร ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๑/๓๒๑