ม ง ค ล ที่ ๒๓ มีความถ่อมตน
บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้ถ่อมตน
กำจัดมานะได้ กำจัดความกระด้างได้ เป็นเสมือนผ้าเช็ดเท้า
เสมอด้วยโคอุสุภะเขาขาด และเสมอด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว
ย่อมเป็นผู้ละเอียดอ่อนละมุนละไม ผ่องแผ้วด้วยความสุข
๑. การพิจารณาตน
๑.๑ ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรี
หรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัวส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด
หรือในภาชนะน้ำ อันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำ ที่หน้านั้น ก็พยายามเพื่อขจัดธุลีหรือจุดดำ นั้นเสีย
หากว่าเขาไม่เห็นธุลีหรือจุดดำ ที่หน้านั้น ก็ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า
เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ หรือ
ว่าเราไม่เป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้อันถีน
มิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้มีความสงสัย
อยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้โกรธอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมาก
หรือหนอ... เราเป็นผู้มีกายอันปรารภแรงกล้าอยู่โดยมากหรือหนอ... เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดย
มากหรือหนอ... เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ... ดังนี้ย่อมเป็นอุปการะมากในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล.
อัง.ทสก. (พุทธ) มก. ๓๘/๑๖๘
๑.๒ ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิย่อมเสด็จประพาสโลก เพื่อทรงพิจารณาดูคนดีคนเลวทุกวัน
ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรพิจารณากายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกวัน แล้วทำให้
บริสุทธิ์โดยคิดว่า วันคืนล่วงไป กาย วาจา ใจของเราบริสุทธิ์ดีงามเพียงไร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๓
๒. ความถ่อมตน
๒.๑ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีชาติต่ำต้อย ไม่สมควรมีอาสนะเสมอด้วยพระองค์ผู้สูงศักดิ์
เหมือนสุนัขจิ้งจอกผู้มีชาติต่ำต้อย จะพึงมีอาสนะเสมอด้วยพระยาไกรสรราชสีห์อย่างไรได้พระเจ้าข้า.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๔/๔๑๕
๒.๒ กุลบุตรบางพวกเป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงมียศ โดยประการใดๆ โน้มลงด้วยดีดุจข้าวสาลี
ที่เต็มด้วยผลพวง โดยประการนั้นๆ เมื่อพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา เป็นต้น เข้าไป
หาอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เข้าไปตั้งความสำคัญในความเป็น
สมณะไว้ เป็นผู้สงบเสงี่ยม ไม่เบ่ง มีจิตต่ำ ดุจโคอุสภะมีเขาขาด และดุจเด็กจัณฑาล ปฏิบัติแล้ว
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ภิกษุสงฆ์และแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๙/๔๐๑
๒.๓ จิตเสมอด้วยผ้าเช็ดเท้า คือ เมื่อเท้าเปื้อนหรือไม่เปื้อนอันบุคคลเช็ดอยู่ ความยินดี
ความยินร้ายย่อมไม่มีแก่ผ้าเช็ดเท้า ฉันใด พึงเป็นผู้มีจิตไม่ยินดีไม่ยินร้ายในอิฏฐารมณ์ และอนิ
ฏฐารมณ์ ฉันนั้น.
วิ.ป. (อรรถ) มก. ๑๐/๖๙๒
๒.๔ พระสารีบุตรเปรียบตนเองกับพระโมคคัลลานะว่า ท่านเป็นเหมือนก้อนหินเล็กๆ ที่นำ
ไปวางเทียบกับเขาหิมพานต์ เพราะพระโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เมื่อต้องการอยู่
ตลอดกัปก็สามารถอยู่ได้
พระโมคคัลลานะฟังแล้ว จึงเปรียบตนเองกับพระสารีบุตรว่า ท่านนั้นเปรียบเหมือนก้อนเก
ลือเล็กๆ ที่บุคคลหยิบไปวางเทียบกับหม้อเกลือใหญ่ เพราะพระสารีบุตรเป็นผู้ที่พระบรมศาสดา
ทรงสรรเสริญว่า เปี่ยมด้วยปัญญา มีศีล และอุปสมะ.
สัง.นิ. (เถระ) มก. ๒๖/๗๕๗
๒.๕ บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้ถ่อมตน กำจัดมานะได้กำจัดความกระด้างได้ เป็น
เสมือนผ้าเช็ดเท้า เสมอด้วยโคอุสุภะเขาขาด และเสมอด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว ย่อมเป็น
ผู้ละเอียดอ่อนละมุนละไม ผ่องแผ้วด้วยความสุข.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙๘
๓. การไม่โอ้อวด
๓.๑ พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ประสงค์จะบอกคุณวิเศษแก่กันและกัน เหมือนบุรุษผู้ได้
ขุมทรัพย์แล้ว ไม่บอกขุมทรัพย์อันตนรู้เฉพาะแล้ว ฉะนั้น.
สัง.ส. (อรรถ) มก. ๒๔/๒๑๑
๓.๒ ธรรมดาหม้อน้ำ เมื่อมีน้ำเต็มย่อมไม่เกิดเสียงดัง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเมื่อได้
รับรู้ความดีเต็มเปี่ยมแล้ว ก็ไม่มีเสียง ไม่มีมานะ ไม่ดูถูกผู้อื่น ไม่ปากกล้า ไม่โอ้อวด ฉันนั้น
ข้อนี้สมดังพระพุทธพจน์ว่า หม้อที่มีน้ำพร่องย่อมมีเสียงดัง หม้อที่มีน้ำเต็มย่อมเงียบ คนโง่
เปรียบเหมือนน้ำครึ่งหม้อ บัณฑิตเปรียบเหมือนน้ำ เต็มหม้อ.
มิลิน. ๔๖๑
๔. การไม่ดูหมิ่น
๔.๑ โคอาชาไนยที่ดีอันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน ย่อมอาจนำแอกเกวียนไปได้ ไม่ย่อท้อ
ต่อภาระอันหนัก ไม่ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้ว แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา
เหมือนมหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๔๗๖