หลักเกณฑ์ขั้นตอนในการตัดสินใจ

วันที่ 06 สค. พ.ศ.2567

 

2567_08_07%20b.jpg

 

หลักเกณฑ์ขั้นตอนในการตัดสินใจ

 

2567.08.06b.jpg

 

         แยกประเภทของเหตุการณ์  หรือประเภทของเรื่องราวก่อน  โดยทั่วไปเหตุการณ์มี  ๓  ประเภทใหญ่ๆ  คือ


          ๑. เหตุการณ์ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณงามความดี
          ๒. เหตุการณ์ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชั่วร้ายเสียหาย
          ๓. เหตุการณ์ที่เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว


       เหตุการณ์ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณงามความดี   เช่น   การทำบุญให้ทานการรักษาศีล   การแผ่เมตตา   การมีความอดทน ฯลฯ  อย่างนี้เราพอเข้าใจ พอนึกภาพออกใช่ไหม


           เหตุการณ์ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชั่วร้ายเสียหาย   ก็มีทั้งที่มองเห็นชัดๆ   และที่แอบแฝง  เช่น  การผิดศีลไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่งใน ๕ ข้อ เป็นเรื่องของความชั่วที่มองเห็นชัดๆ ส่วนเรื่องความเกียจคร้าน ความท้อแท้ กลุ้ม เซ็ง เหล่านี้จัดว่าเป็นความชั่วอย่างหนึ่ง แต่ว่าเป็นความชั่วในระดับลึกๆ หรือแอบแฝง ที่บางที เราก็มองไม่ออกว่าเป็นความชั่วร้ายเสียหาย จริงๆ แล้วมันก็ชั่วนั่นแหละ แต่ว่าชั่วในระดับละเอียดๆ ระดับจิตใจ ก็เลยเรียกว่า “นิวรณ์”


        เหตุการณ์ที่เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เช่น เรื่องการยืน การเดิน การนั่ง การนอน ซึ่งโดยทั่วไปมันก็ไม่ใช่ดีไม่ใช่ชั่ว ยังเป็นกลางๆ อยู่


          เหตุการณ์ต่างๆ  ในโลก  รวมกระทั่งความคิดของคนเรา  เมื่อแบ่งแล้วก็  ได้ออกมา ๓ ประเภทอย่างนี้ แต่อย่างไรก็ตาม แม้เราจะมองภาพเหตุการณ์ ได้ชัดอย่างนี้แล้ว มันก็ยังเป็นแค่เพียงความรู้สึกลึกๆ ถามว่าการกระทำภารกิจในชีวิตประจำวันนี้ เราสามารถบอกได้ไหมว่า ทำอย่างนี้ดี ทำอย่างนั้นชั่ว ทำอย่างโน้นกลางๆ จะให้คําจํากัดความที่เป็นแน่นอนชัดเจนได้ไหม


          ก็ตอบว่าพอได้  คือ  เมื่อเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับตัวเองหรือหมู่คณะก็ตามสิ่งแรกเลย หลวงพ่ออยากให้พวกเราตัดสินลงไปให้ได้เสียก่อนว่า สิ่งนั้นเป็นความดี หรือความชั่ว หรือกลาง ๆ ต้องตัดสินตรงนี้ให้ได้ก่อน ซึ่งบางครั้งก็ตัดสินลง บางครั้งก็ตัดสินไม่ลง ก็ไม่เป็นไร ถ้าตัดสินใจไม่ลง ค่อยเอากฎเกณฑ์อื่นเข้ามาช่วยตัดสิน

2567%2008%2007%20b.jpg

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.036172485351562 Mins