วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ๑ เดือนแห่งการสร้างบุญใหญ่

eta content="text/html; charset=windows-874" http-equiv="Content-Type" /> itle> tyle type="text/css"> BODY { PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 1px; PADDING-TOP: 0px } A:hover { COLOR: #ff9900 } A { TEXT-DECORATION: none } TD { FONT-SIZE: 16px; FONT-FAMILY: "MS Sans Serif" } .style2 {color: #999999} .style4 {color: #003366} cript language="javascript" type="text/javascript"> tyle type="text/css">

 

            ก่อนที่จะทอดกฐินสามัคคีพร้อม ๆ กันในวันนี้ หลวงพ่อขอโอกาสให้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องกฐินแก่พวกเราสักครู่หนึ่งก่อน เพื่อว่าลูกหลานของเราที่ติดตามมาวัดด้วย ซึ่งวันนี้เห็นมีอยู่ไม่น้อยทีเดียว จะได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฐิน เกี่ยวกับประเพณีอันดีงามที่เนื่องด้วยกฐิน ไปพร้อม ๆ กันกับพวกเรา

           เมื่อเพิ่มพูนศรัทธาปสาทะ เพิ่มพูนความเข้าใจให้กับเขาแล้ว ลูกหลานของเราเหล่านี้ จะได้เป็นกำลังสำคัญในการสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไป
พวกเราคงจำกันได้ดีว่า ทุก ๆ ปีเมื่อถึงวันเข้าพรรษา เวลามาทำบุญพร้อมหน้ากันอย่างนี้ หลวงพ่อมักจะชักชวนพวกเราทุกคนว่า พรรษานี้อย่าปล่อยให้เฉพาะพระภิกษุ และสามเณรเข้าพรรษา แม้พวกเราเองก็ต้องเข้าพรรษาตามไปด้วย

           ที่ว่าเข้าพรรษาตามไปด้วยนี้ โดยย่อหมายถึงว่า ในฤดูเข้าพรรษาของทุก ๆ ปีนั้น แท้ที่จริงก็คือ การเข้าแคมป์อบรมศีลธรรมอย่างเข้มข้นของชาวพุทธนั่นเอง

           นั่นคือพระภิกษุ สามเณร ท่านก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ตลอด ๓ เดือนนี้ หากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ แล้ว จะไม่ยอมออกไปไหน จะตั้งใจฝึกฝนอบรมตนให้เต็มที่ ในเขตวัดของท่าน

             การเข้าแค้มป์อบรมศีลธรรมของพระภิกษุนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ระดับด้วยกัน คือ

            ๑. ระดับพระผู้ใหญ่
ได้แก่ พระอุปัชฌาย์ พระที่เป็นครูบาอาจารย์ และพระภิกษุผู้มีพรรษามาก ๆ ท่านก็จะทำหน้าที่ให้การอบรมศีลธรรม ทั้งภาคปริยัติ ทั้งภาคปฏิบัติ แก่พระภิกษุผู้บวชใหม่ กับพระภิกษุที่มีพรรษาน้อย ไปพร้อม ๆ กัน

            พระอาจารย์ท่านจะเคี่ยวเข็ญให้พระภิกษุใหม่ ศึกษาธรรมะในพระไตรปิฎก ศึกษาการเจริญสมาธิภาวนา และเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความรู้พื้นฐาน ในการที่จะฝึกหัดขัดเกลาตัวเองให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ให้สมกับการเป็นลูกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

            ๒. ระดับพระภิกษุผู้บวชใหม่ กับพระภิกษุที่มีพรรษาน้อย

            ในเวลาเดียวกัน พระลูกศิษย์ หรือพระภิกษุผู้บวชใหม่ ก็ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอาจารย์ พยายามฝึกฝนตนเอง ตามที่พระอาจารย์ได้เมตตาพร่ำสอนให้

            ยิ่งกว่านั้น พระอาจารย์ หลวงพ่อ หลวงปู่ ยังถือโอกาสอบรมศีลธรรมให้กับ โยมพ่อ โยมแม่ ที่มาเยี่ยมพระลูก พระหลาน ในระหว่างที่เข้าพรรษาอีกด้วย

            นี่คือภาพรวม ๆ ของพระภิกษุ สามเณร ในฤดูเข้าพรรษา

            ในเวลาเดียวกัน อย่างที่หลวงพ่อเคยเตือนเอาไว้ ตั้งแต่ก่อนวันเข้าพรรษาก็คือ เมื่อรู้ว่าพระภิกษุท่านฝึกตัวเองกันอย่างนี้แล้ว พวกเราก็ควรจะได้ฝึกตัวตามท่านไปด้วย โดยอยู่จำพรรษาในเขตบ้านของตัวเองนั่นแหละ

            แล้วใครที่เคยรักษาศีล ๕ ในฤดูธรรมดา ได้ไม่ค่อยจะครบถ้วนนัก ในฤดูเข้าพรรษาต้องรักษาให้ครบให้ได้

            ส่วนใครรักษาศีล ๕ ได้ครบดีแล้ว ฤดูเข้าพรรษาปีต่อไปก็รักษาศีล ๘ ให้ได้ ไม่ว่าจะรักษาศีล ๘ เฉพาะวันโกนกับวันพระ หรือว่าจะรักษาศีล ๘ ตลอดพรรษาก็ตาม

            รวมทั้งตักบาตรเป็นประจำ เพื่อเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณร และที่ขาดไม่ได้ก็คือ การเจริญสมาธิภาวนา เพราะว่าฤดูฝนเป็นฤดูที่เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง เนื่องจากอากาศไม่ร้อน ไม่หนาว จนเกินไป

             เมื่อฝ่ายวัด คือ พระภิกษุ สามเณร และฝ่ายบ้าน คือ พวกเรา ได้อบรม ได้เคี่ยวเข็ญตัวเองด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่ายอย่างนี้ ก็จะเป็นหลักประกันว่า

            ๑. เราจะได้พระภิกษุที่เป็นเนื้อนาบุญเพิ่มขึ้นมาอีกจำนวนไม่น้อย

            ๒. เราจะได้ครูสอนศีลธรรม ครูสอนพระพุทธศาสนา เพิ่มขึ้นมาในวัดข้างบ้านของเรา

            สำหรับพระภิกษุ สามเณร ในวัดพระธรรมกาย ก็พยายามที่จะเคี่ยวเข็ญตัวเอง ให้มีความเป็นเนื้อนาบุญแก่ชาวโลก ให้มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่ง ๆ ขึ้นไป

            ในเวลาเดียวกัน ก็พยายามที่จะเคี่ยวเข็ญและฝึกฝนตนเอง ให้เป็นครูสอนศีลธรรม คอยปลูกฝังความรู้ในพระพุทธศาสนาให้กับพวกเรา ให้มากยิ่ง ๆ ขึ้น

            ไม่ใช่เฉพาะวัดพระธรรมกายเท่านั้น ที่ทุ่มเททำกันอย่างนี้ พระภิกษุทุกวัดท่านก็ทำเต็มความรู้ความสามารถของท่านเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พอออกพรรษา ฝ่ายพระก็พร้อมที่จะเป็นเนื้อนาบุญให้กับญาติโยม ฝ่ายญาติโยมก็ดีอกดีใจ ว่าจะได้ทำบุญกับเนื้อนาบุญที่แท้จริง

             พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ว่า ในระยะ ๑ เดือนหลังจากวันออกพรรษา จะเป็น ๑ เดือนพิเศษ คือเป็น ๑ เดือนสำหรับให้ญาติโยม ได้เตรียมเนื้อเตรียมตัว ในการทำบุญใหญ่กัน
เหตุที่ต้องมีการเตรียมตัวในการทำบุญใหญ่นั้น พวกเราคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำบุญแต่ละครั้ง ถ้าจะให้ได้บุญเต็มที่กันจริง ๆ ล่ะก็ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ

            ๑. วัตถุที่นำมาทำบุญบริสุทธิ์ เช่น ผ้ากฐิน ข้าวปลาอาหาร และสิ่งของที่เป็นบริวารต่าง ๆ ที่ได้นำกันมาในวันนี้ ล้วนเป็นของที่บริสุทธิ์ คือได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของเราจริง ๆ

            ๒. เจตนาของผู้ให้บริสุทธิ์ คือ ตั้งใจมาทำเพื่อเอาบุญจริง ๆ อีกเหมือนกันไม่มีอย่างอื่นแอบแฝงอยู่เลย

            ๓. ผู้รับบริสุทธิ์ คือ ไม่ว่าญาติโยมจะถวายเป็นสังฆทาน หรือถวายแบบเฉพาะเจาะจง พระภิกษุและสามเณรที่มารับก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์

            ๔. ผู้ให้บริสุทธิ์ ประการสุดท้ายนี้สำคัญอย่างยิ่งทีเดียว คือ ตัวของเราเองต้องบริสุทธิ์ด้วย มิฉะนั้นแล้วถึงจะเกิดบุญใหญ่เท่าไร ถ้าตัวของเราไม่บริสุทธิ์ ก็เหมือนอย่างกับโอ่งที่ไม่ได้ขัด ไม่ได้ล้าง เอาไว้ให้ดี ถึงจะเติมน้ำสะอาดลงไป พอไปเจอโอ่งที่สกปรกเข้า น้ำนั้นก็จะพลอยสกปรกตามไปด้วย
เพราะฉะนั้น พอถึงวันออกพรรษาของทุกปี พวกเราก็ตั้งใจรอกันทีเดียวว่า วันไหนหนอ วัดที่เราไปทำบุญเป็นประจำจะทอดกฐินเสียที เพราะว่าเราสร้างความบริสุทธิ์ให้กับตัวเองมาตลอดพรรษา แล้วหลวงพ่อ หลวงพี่ ท่านก็สร้างความบริสุทธิ์ของท่านมาตลอดพรรษาเช่นกัน
เมื่อผู้บริสุทธิ์ ผู้มีศีลมีธรรม ที่เหมาะสมตามเพศตามภาวะของตนเอง มาพร้อมกันอย่างนี้ บุญใหญ่จึงเกิดขึ้น

            ขณะนี้พวกเราได้น้อมนำผ้ากฐินมาตั้งอยู่เบื้องหน้าแล้ว ซึ่งเราไม่ได้มองว่าเป็นเพียงผ้าไตรหนึ่ง หรือว่าผ้าผืนหนึ่งเท่านั้น แต่เรามองว่าผ้ากฐินที่ตั้งอยู่เบื้องหน้านี้ เป็นสัญลักษณ์ที่บอกให้รู้ว่า ทั้งพระภิกษุและสามเณรที่จะมารับกฐินในวันนี้ คือผู้บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญได้อย่างเต็มภาคภูมิ แล้วตัวของพวกเราที่มานั่งพร้อมหน้ากัน จำนวนตั้งหลายหมื่น ก็ล้วนแต่เป็นผู้บริสุทธิ์

            ยิ่งกว่านั้น ผ้ากฐินที่ตั้งอยู่ในพานข้างหน้านี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ของการประพฤติปฏิบัติธรรม อย่างเคร่งครัดในพระพุทธศาสนา เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกผ้านี้ว่า "ธงชัยของพระอรหันต์"

            พวกเราจึงไม่เพียงแต่จะมาทอดกฐิน หรือว่ามาถวายผ้ากฐินให้แก่พระภิกษุสามเณรเท่านั้น วันนี้พวกเราได้มาร่วมใจกันถวายธงชัยของพระอรหันต์ ให้กับพระภิกษุสามเณรได้ใช้ครอง และใช้สำหรับเป็นอุปกรณ์ในการฝ่าฟันกิเลสที่อยู่ในตัว

            ส่วนตัวพวกเราเอง ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้บวชเหมือนอย่างกับหลวงพ่อ หลวงพี่ และสามเณรทั้งหลาย แต่ว่าก็เห็นเป้าหมายของการสร้างบารมีที่สมบูรณ์ อย่างชัดเจนดีแล้ว

            เพราะฉะนั้น ใครที่ยังไม่ได้บวช พรรษาหน้าเตรียมตัวมาบวชได้แล้ว หรืออย่าว่าแต่พรรษาหน้าเลย ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป ถ้าใครจะมาบวช หลวงพ่อก็ยินดี

            ส่วนญาติโยมอุบาสิกาทั้งหลาย แม้ว่าชาตินี้ไม่สามารถจะบวชเป็นภิกษุณีได้ ก็ไม่เป็นไร รีบสั่งสมบุญของเราเอาไว้ก่อน มองเป้าหมายไว้ว่า วันใดวันหนึ่ง ชาติใดชาติหนึ่ง คงจะได้มาบวชเช่นกัน
ถ้าหากไปทันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเบื้องหน้า คงได้บวชเป็นภิกษุณี ถ้ายังไม่ทันอีก ก็รีบเป็นผู้ชาย แล้วมาบวชด้วยกัน จะได้สร้างบารมีกันอย่างเต็มที่

            นอกจากการทำทาน ที่มองเห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนอยู่ขณะนี้ว่า เดี๋ยวจะทำพิธีถวายผ้ากฐินสามัคคีกันแล้ว สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการทอดกฐินสามัคคีก็คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวพุทธทั้งแผ่นดิน

            เพราะว่าในฤดูทอดกฐินตลอด ๑ เดือนนี้ ทั่วแผ่นดินไทยจะมีการทอดกฐินกันทุกวัด จึงเท่ากับว่า ๑ เดือนเต็ม ๆ นี้ เป็น ๑ เดือนแห่งการสร้างบุญของชาวไทย ของชาวพุทธโดยเฉพาะ เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง ของมนุษย์ทั้งหลาย ขึ้นอยู่ด้วยบุญ

            เพราะฉะนั้น ฤดูนี้จึงเป็นฤดูของการสร้างบุญใหญ่ทั่วแผ่นดินไทย และเป็นสัญลักษณ์บอกให้เรารู้ว่า นับแต่เดือนนี้เป็นต้นไป ความดีงาม ความเจริญรุ่งเรือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านสังคมของประเทศไทย นับแต่จะดีวัน ดีคืน ด้วยบุญที่พวกเราได้ร่วมสร้างกันนี่เอง

            แล้วสิ่งที่อยู่ข้างหลังยิ่งกว่านั้นไปอีกก็คือ ด้วยอำนาจบุญที่คนไทยร่วมกันสร้างให้ยิ่ง ๆ กันขึ้นไปนี้ จะเป็นองค์ประกอบ เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้คนไทยทั้งหลายได้มีโอกาสร่วมกันสร้างความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

            ขอให้พวกเราตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมกันอย่างนี้ เดี๋ยวเมืองไทยของเราก็จะเจริญรุ่งเรือง โดยไม่ต้องไปพึ่งพาอาศัยชาติอื่น เราพึ่งตัวเอง พึ่งพระพุทธศาสนา พึ่งคุณงามความดีของเรา แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดีขึ้นมาได้เอง

www.kalyanamitra.org

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ 37 พฤศจิกายน ปี 2548

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล