บทความพิเศษ
เรื่อง : บริบูรณ์ สัญลัษณ์พิบูลย์
จากตัวเลขทางสถิติที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติสำรวจ ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ระบุว่าในประเทศไทยมีวัดร้างถึง ๕,๙๓๗ วัด ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนถึงสภาวะความน่าเป็นห่วง ของสถานการณ์พระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน การที่มีวัดร้างเป็นจำนวนมาก นอกจากจะทำให้เสียประโยชน์ จากศาสนสถานไปอย่างน่าเสียดายแล้ว การไม่มีพุทธบุตรจำพรรษายังก่อให้เกิดความแล้งไร้ซึ่งศีลธรรม พุทธศาสนิกชนไม่มีที่พักพิงทางใจ ขาดเนื้อนาบุญที่จะประกอบศาสนพิธีและหล่อหลอมศีลธรรม แม้แต่กิจวัตรขั้นพื้นฐานของชาวพุทธ คือ การทำบุญตักบาตรก็ลดน้อยลง เมื่อจิตใจของผู้คนห่างไกลจากศีลธรรม แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ทางสังคมก็จะตามมา
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้วัดต่าง ๆ ถูกปล่อยให้รกร้างเพราะขาดพระภิกษุร่วมกันสืบสาน รวมถึงค่านียมในการบวชของชายไทยยุคนี้ ก็ลดน้อยลง ครั้นบวชแล้วเมื่อไม่ได้รับการหล่อหลอมอย่าง ใกล้ชิด ก็ทำให้ขาดความซาบซึ้งถึงคุณค่าในชีวิตสมณะ ดังนั้นจึงมักจะนิยมบวชกันในช่วงเวลาสั้น ๆ ตามประเพณีเท่านั้น
จนกระทั่งมีโครงการอุปสมบทหมู่ ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ ตำบลทั่วไทย ในระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม ถึงวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ซึ่งมีชายไทยเข้าอุปสมบทกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ผู้บวชล้วน ได้รับการหล่อหลอมในพระธรรมวินัยอย่างเต็มที่จากคณะพระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง ทำให้เกิดความซาบซึ้งในพระพุทธศาสนา ทำให้มีพระภีกษุตัดสีนใจ อยู่ในสมณเพศต่อเป็นจำนวนมาก และเมื่อฝึกฝนอบรมตนเองทั้งภาคปริยัติ ปฏิบัติ โดยสมบูรณ์แล้ว ท่านก็ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะไปประจำอยู่ตามวัดต่าง ๆ และร่วมกันฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เปลี่ยนวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง รวมถึงฟื้นฟูศีลธรรมในใจของผู้คนให้รุ่งเรืองตามไปด้วย
|
ดังเช่นเรื่องราวอันน่าปลื้มใจที่เกีดขึ้น ณ วัดฉลีกมงคล ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งวัดแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างมาหลายปี แม้สาธุชนในชุมชนแห่งนี้ปรารถนาที่จะสร้างบุญ ตามวิถีอันดีงามของชาวพุทธก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีเนื้อนาบุญ จนกระทั่งมีการอุปสมบทหมู่ ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ ตำบลทั่วไทย ซึ่งพระครูจันทปัญญาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอศรีณรงค์ ได้ส่งสุภาพบุรุษในพื้นที่ของ ท่านมาบวชถึง ๘๒ คน และเมื่อสิ้นสุดการอบรมแล้ว ท่านก็ได้ทำหนังสือขออนุญาตให้ธรรมทายาทไป ช่วยกันดูแลวัดร้าง คือ วัดฉลีกมงคล ซึ่งมีพระภิกษุ อาสาไปทำหน้าที่ถึง ๕ รูปด้วยกัน
การเดินทางไปจำพรรษาของพระภิกษุทั้ง ๕ รูป ณ วัดฉลีกมงคล เปรียบเหมือนการเดินทางของดวงตะวัน ซึ่งทำหน้าที่ให้แสงสว่าง และจากการที่พระภิกษุ ทุกรูปได้รับการหล่อหลอมทั้งด้านกิจวัตร กิจกรรมและพระธรรมวินัยมาเป็นอย่างดี รวมถึงได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ไม่เคยขาด ดำเนินชีวิตสมณะได้อย่างน่าเลื่อมใส ทำให้ชาวบ้านยิ่งเพิ่มพูนความศรัทธา และพากันมาทำบุญที่วัดไม่เคยขาด
คุณสมพงษ์ เลื่อมใส รองนายก อบต.ตรวจ ได้ถ่ายทอดความตื้นตันใจของชาวบ้านให้ฟังว่า "หลายปีแล้วที่ชาวบ้านไม่มีโอกาสได้เห็นภาพนี้เลย ชาวบ้านว้าเหว่ อยากทำบุญ พอมีพระมาอยู่ก็ดีใจ มาก เมื่อมาแล้วท่านก็ช่วยกันบูรณะวัดจนสะอาด สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น และบิณฑบาต ทำให้ ชาวบ้านศรัทธาพระมาก วัดพระธรรมกายอบรมมาดีมาก ท่านพาญาติโยมสวดมนต์นั่งสมาธิที่วัดได้ จึงการันตีได้ว่าโครงการบวชที่วัดพระธรรมกายเป็นโครงการที่ดี และอยากให้ทุกคนมีโอกาสได้มาบวชกันมาก ๆ ครับ"
คุณป้าที่อยู่ในพื้นที่คนหนึ่งเล่าว่า "ตั้งแต่มี พระมาอยู่จะได้ยินเสียงระฆังปลุกตั้งแต่ตี ๔ กว่า ๆ จากนั้นก็ได้ยีนเสียงพระสวดมนต์ โยมก็ลุกสวดมนต์ ตามพระ จากนั้นก็ไปหุงข้าวทำกับข้าวเตรียมใส่บาตร พอวันพระก็ไปทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม ชาวบ้านก็มีความสุข"
วิถีชีวิตของชุมชนที่นั่นเปลี่ยนไปนับตั้งแต่ มีพระภิกษุไปจำพรรษา ชาวบ้านมีหลักพักพิงใจ หากว่างจากภารกิจการงานเมื่อใด ก็พากันไปช่วยพระภิกษุ พัฒนาวัด ครั้นตกเย็นก็ไปสวดมนต์ทำวัตรกับคณะสงฆ์ จากนั้นก็ได้นั่งสมาธิ และฟังเทศน์ ฟังธรรม จิตใจของทุกคนก็แช่มชื่นเบิกบาน
สำหรับพระภิกษุที่ทำหน้าที่เป็นเนื้อนาบุญ และเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของสาธุชนแห่งวัดฉลีกมงคล ทั้ง ๕ รูปนั้น ท่านได้เล่าถึงความรู้สึกให้ฟังว่า
พระตาล ภทฺทาสโภ "ตอนมาอยู่ครั้งแรกสภาพวัดดูไม่ได้เลย ทุกอย่างผุพัง ปลวกก็ขึ้น ซึ่งสหธรรมิกที่มาอยู่ด้วยกัน มีจำนวน ๕ รูป ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ ชาวบ้านพากันมาใส่บาตรจนล้นเหลือทุกวัน พอวันพระก็มาสวดมนต์ด้วย"
รูปต่อมา คือ พระบู๊ กมลสุโภ ท่านเล่าว่า "แต่ก่อนอาตมาเป็นคนดื้อดึง หัวรั้น ไม่ฟังใคร พอมาบวชและได้ฟังธรรมะที่หลวงพ่อสอนก็จับจิตจับใจ ในชีวิตที่ผ่านวัยมา ๖๐ กว่าปี ไม่เคยคิดว่าจะมีใครพูดธรรมะได้จับใจเท่านี้ อาตมาซาบซึ้งมาก ตอนนี้ได้มาทำภารกีจพลิกวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง พอมาถึงวัดพวกเราก็ปรึกษาหารือกันว่า เราได้ชื่อว่าผ่าน การอบรมมาจากวัดพระธรรมกาย จะไม่ทำให้เสียชื่อ ถ้าพระดีคนก็นิยม พระไม่ดีคนก็ไม่นิยม พวกอาตมา ก็ปฏิบัติศาสนกิจไม่เคยขาดเลย ยิ่งปฏิบัติดีชาวบ้าน ก็ยิ่งปลื้ม พากันมาใส่บาตรเยอะมาก ทำให้ชีวิตสมณะในแต่ละวันมีคุณค่ามาก ๆ"
ทางด้านพระทวี ปุญฺญาธิโก ซึ่งอดีตท่านเป็นช่างตัดผม และได้ตัดสินใจที้งร้านตัดผมมาบวชเพื่อตัดกิเลส ท่านบอกว่า "ถ้าไม่มาบวชคง จะไม่รู้เลยว่า ชีวิตดี ๆ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง เมื่อเจ้าคณะอำเภอส่งมาอยู่วัดฉลีกมงคล อาตมาก็ได้สอนญาติโยมว่า "ธรรมะรักษาใจ สมุนไพรรักษากาย บุญบารมีถ้าอยากได้ต้องทำเอง" พอโยมได้ฟังธรรม ก็ซาบซึ้งขึ้นเรื่อย ๆ เอาใจใส่พระและวัดดีมาก ๆ ตอนนี้มาวัดสวดมนต์จนเต็มศาลา อาตมาจะช่วยกัน ทำงานนี้จนสุดความสามารถ"
ส่วนพระภิกษุอีก ๒ รูป คือ พระบัณฑิต มหิทฺธิโก และพระแดง อินฺทสโน ต่างก็ภูมิใจที่ได้มาดูแลวัดร้างแห่งนี้ ซึ่งกิจวัตรของพระภิกษุที่นี่ คือ ตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ แล้วสวดมนต์ทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิ จากนั้นก็เดินบิณฑบาตและปัดกวาดเสนาสนะ ซึ่งญาติโยมก็จะพากันตักบาตรพระทุกเช้าไม่เคยขาด ตอนนี้ศาลาของวัดฉลีกมงคลเนืองแน่นไปด้วยคณะศรัทธาสาธุชนที่มาทำบุญและฟังธรรม
นอกจากนี้ อดีตพระธรรมทายาทร่วมรุ่น ที่ลาสิกขาไปแล้ว ต่างก็ช่วยกันทำหน้าที่ชักชวนให้ชาวบ้านเข้าวัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็น การทำหน้าที่พุทธบริษัท ๔ อย่างสมบูรณ์ เพราะพระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ ก็ต่อเมื่อพุทธบริษัททั้งหลายร่วมมือร่วมใจ และทำหน้าที่ของตนเองอย่าง สมบูรณ์
พระครูจันทปัญญาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอ ศรีณรงค์ ได้กล่าวเปิดใจว่า "จากการที่มีการจัดโครงการบวชพระ ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ ตำบลทั่วไทย ขึ้นมา อาตมาเห็นด้วยกับโครงการนี้เป็นอย่างยิ่ง และผู้บวชก็ได้อบรมตนเป็นพระแท้ เป็นพระที่มีคุณภาพ เมื่อได้พระดีมีคุณภาพ ญาติโยมก็มีคุณภาพ ช่วยกันฟื้นฟูศีลธรรมในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก อาตมาได้ส่งคนในอำเภอศรีณรงค์ไปบวชทั้งหมด ๘๒ รูป และได้ทำหนังสือขออนุญาตหลวงพ่อให้ธรรมทายาทมาช่วยกันดูแลวัดร้างให้เป็น วัดรุ่ง สำหรับโครงการบวช ๑๐๐,๐๐๐ รูป ที่จะถึงนี้ อาตมาจะช่วยสนับสนุนอย่างเต็มร้อย ชนิดเกินร้อย ขออนุโมทนาและขอบคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนา"
ทางด้านพระสมุห์สุพิน สุธีโร เลขาเจ้าคณะอำเภอศรีณรงค์ ก็ได้กล่าวเช่นเดียวกันว่า "อาตมามีส่วนในการชวนคนบวชครั้งนี้ถึง ๘๒ คน ต้องขออนุโมทนาบุญกับท่านนายอำเภอวิทยา สโรบล ที่เปิดไฟเขียวจนทำให้อำเภอเราสามารถชวนคนได้มากที่สุดในระดับประเทศ เห็นภาพของการบวชแล้ว ประทับใจมากจนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ เพราะโยมพ่อและพี่ชายอาตมาก็ไปบวชด้วย พระที่ไปบวชก็ได้รับการฝึกอย่างดี และกลับมาช่วยกันพัฒนาวัดร้าง ปฏิบัติกิจวัตร พาโยมสวดมนต์นั่งสมาธิไม่เคยขาด นอกจากนี้บางคนแม้ลาสิกขาแล้วก็มาเป็นมัคนายก เป็นต้นแบบในการสร้างวัฒนธรรมใส่ชุดขาวมาวัด อาตมาเชื่อว่าต่อไปนี้จะไม่มีวัดร้างอีกแล้ว และโครงการบวชพระ ๑๐๐,๐๐๐ รูป อาตมาจะชวนคนไปบวชให้มากที่สุด"
จากสิ่งที่เกิดขึ้นที่วัดฉลีกมงคล จ.สุรินทร์ ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา และในไม่ช้าประวัติศาสตร์หน้าใหม่ แห่งวงการพระพุทธศาสนาจักบังเกิดขึ้นอีกครั้งกับ โครงการบวชพระ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ซึ่งการอุปสมบทในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างศาสน-ทายาท เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนไปอีกนานแสนนาน วัดจะไม่ถูกปล่อยให้รกร้าง แต่จะกลายเป็นวัดรุ่งส่องแสงศีลธรรมนำพาสันติสุข มาสู่ประเทศชาตีและชาวโลกสืบต่อไป..