ปกิณกธรรม
เรื่อง : พระมหาสเถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ.๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ.๙
ความตระหนี่เป็นมลทินของใจ แม้เราจะมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่หากไม่รู้จักนำออกด้วยการ ให้ทาน ทรัพย์นั้น ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด บุญจากการให้ก็ไม่เกิดขึ้น เหมือนห้วงมหาสมุทรที่เต็มเปี่ยม ไปด้วยน้ำ แต่ว่ามีรสเค็ม ดื่มกินไม่ได้ แม้สิ่งนั้นมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่ใครเลย นอกจากนี้ เพราะความประมาททำให้พลาดโอกาส ในการสั่งสมบุญ ชีวิตจึงเป็นโมฆะ คือ รวยฟรี ตายฟรี ไม่มีโอกาสรวยข้ามชาติ
ส่วนผู้ไม่ประมาทจะไม่พลาดในทุกๆ งานบุญ แม้จะประสบวิกฤตก็พลิกให้เป็นโอกาสได้เสมอ ชีวิต ขาดบุญไม่ได้ เหมือนลมหายใจที่ต้องใช้ทุกวัน ขาด บุญเหมือนขาดใจ ตราบที่ลมหายใจไม่สิ้นสุดก็จะไม่ หยุดสั่งสมบุญ เพราะท่านเหล่านั้น ตระหนักดีว่า บุญคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จทั้งมวล บุญเท่านั้นที่จะอำนวยผลให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ เหมือนดังเรื่อง ของเศรษฐีผู้ใจกล้า ทุ่มสุดฤทธิ์เพื่อพิชิตการได้เป็นประธานฉลองมหาสุวรรณเจดีย์ ทำให้ท่านได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ เกิดมาชาตินี้ก็ได้บรรลุธรรมทั้งครอบครัว
เศรษฐียอดนักบุญ
ในสมัยหนึ่ง หลังจากที่พระกัสสปพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน มหาชนชาวชมพูทวีปได้พร้อมใจ กันสร้างมหาเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ได้ปรึกษา กันว่าทำอย่างไรมหาเจดีย์ถึงจะยิ่งใหญ่สมกับที่เป็น เจดีย์ของบุคคลผู้เลิศที่สุด จึงตกลงกันว่าจะต้องหา ทองคำแท่งบริสุทธิ์มาทำเป็นอิฐทองคำในการก่อเป็น พระเจดีย์ ซึ่งแต่ละก้อนมีราคาถึงหนึ่งแสนกหาปณะ รวมทั้งยังให้ช่างเขียนจิตรกรรมงดงามวิจิตรมากมาย ไว้ที่หน้ามุขด้านนอก ทำให้มหาเจดีย์นี้งดงามสุกปลั่ง ด้วยทองคำและหาค่าประมาณมิได้
เมื่อพุทธศาสนิกชนช่วยกันสร้างเจดีย์สำเร็จแล้ว ก็ถึงคราวที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ภายในมหาเจดีย์ จึงตั้งกติกาขึ้นมาว่า ถ้าใครบริจาค ทรัพย์มากที่สุดจะได้เป็นประธานใหญ่ในการบรรจุ และเป็นประธานฉลองพระเจดีย์ ครั้งนั้นมีเศรษฐีชนบทท่านหนึ่ง อยากจะได้บุญใหญ่ในการเป็นประธานฉลอง จึงได้มอบทรัพย์จำนวน ๑ โกฏิเพื่อบูชาพระเจดีย์ มหาชนต่างก็อนุโมทนาในความใจบุญ ของท่านเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐีในเมืองเมื่อทราบข่าวก็อดรนทนอยู่ไม่ได้ อยากเป็นประธานใหญ่อย่างนั้นบ้าง จึงมอบทรัพย์ให้มากกว่าเศรษฐีชนบทเป็นจำนวน ๒ โกฏิ
เศรษฐีชนบทรู้ดีว่านี่เป็นบุญพิเศษ ตลอดชีวิต นี้ไม่รู้จะหาโอกาสอย่างนี้ได้อีกหรือไม่ จึงเพิ่มทรัพย์ ให้มากขึ้นเป็น ๓ โกฏิ เศรษฐีในเมืองก็ไม่ยอมแพ้ เพิ่มทรัพย์เข้าไปอีกเป็น ๔ โกฏิ ต่างฝ่ายต่างก็แข่งกันเพิ่มทรัพย์ขึ้นไปเรื่อยๆ จนเศรษฐีในเมืองใหทรัพย์ สูงถึง ๘ โกฏิ
แต่ทว่าเศรษฐีชนบทมีทรัพย์ทั้งสิ้นอยู่ ๙ โกฏิเท่านั้น ส่วนเศรษฐีในเมืองมีทรัพย์ถึง ๔๐ โกฏิ ถึงกระนั้นเศรษฐีชนบท ก็ไม่ละความพยายาม ไฉนเลย เรื่องทำความดีจะยอมแพ้กันได้ ท่านจึงคิดว่า ถ้าเราให้ทรัพย์ ๙ โกฏิไป ทรัพย์ในเรือนของเรา ก็จะไม่มีอีกต่อไป จากนั้นท่านตัดสินใจแน่วแน่โดยทุ่มทรัพย์หมดทั้ง ๙ โกฏินั้น พร้อมกับประกาศว่า ทั้งตนเองและครอบครัว คือ ภรรยา ลูกชาย ๗ คน และสะใภ้อีก ๗ คน รวมเป็น ๑๖ คน จะขอมอบกายถวายชีวิต ยอมตนเป็นทาสของพระเจดีย์ คอยปัดกวาด ทำความสะอาดดูแลมหาเจดีย์ไปจนชั่วชีวิต
โอกาสเป็นของผู้กล้า
มหาชนได้ฟังแล้วต่างปลื้มปีติใจ พร้อมใจกันยกตำแหน่งประธานใหญ่ให้แก่เศรษฐีชนบท เพราะ เห็นความตั้งใจจริงในการทุ่มเททำบุญกุศลของท่าน จึงกล่าวตกลงมอบตำแหน่งให้ว่า "ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สมบัติเป็นของนอกกาย หากยังมีลมหายใจอยู่ ก็สามารถหาใหม่ได้ แต่เศรษฐีชนบทพร้อมทั้งลูกและ ภรรยามอบตัวรับใช้พระเจดีย์ไปตลอดชาติเช่นนี้ เป็นความมหัศจรรย์ที่หาได้ยากยิ่ง ผู้มีใจกล้าเช่นนี้จึงเป็นผู้ที่สมควรอย่างยิ่งที่จะเป็นประธานใหญ่ในงานฉลองพระเจดีย์"
หลังจากงานฉลองพระเจดีย์และการบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว มหาชนพร้อมใจกัน ให้ท่านเศรษฐีและครอบครัวยกเลิก การเป็นผู้เฝ้าดูแลทำความสะอาดพระเจดีย์ เพื่อไม่ให้ต้องมาลำบาก แต่ถึงกระนั้น ท่านเศรษฐีก็ยังเต็มใจ ที่จะมาปัดกวาดลานพระเจดีย์ตามปกติ เพราะรู้ว่า เป็นบุญพิเศษที่หาได้ยากยิ่ง
เมื่อเศรษฐีละโลกไปแล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติยาวนานถึง ๑ พุทธันดร ครั้นมาถึง สมัยของ พระพุทธเจ้าของเรา ท่านเศรษฐีพร้อมทั้งครอบครัวรวม ๑๖ คนนั้น ได้มาเกิดร่วมกันอีก ซึ่งทั้งหมดมีโอกาสฟังธรรม จากพระพุทธองค์ ในที่สุดก็ ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันกันหมด ยกครอบครัว
ทุ่มสุดฤทธิ์ ปิดเจดีย์ คือโอกาสดีของทุกท่าน
ยอดนักสร้างบารมีทั้งหลาย ใจที่มุ่งมั่น ไมยอม แพ้ต่อโอกาสที่ดีๆ ที่จะได้ทำความดี นับเป็นหัวใจของผู้กล้าตัวจริง โอกาสดีไม่ได้มีบ่อยนัก ถ้าเศรษฐี ชนบทยอมแพ้ถอดใจแล้ว ประวัติศาสตร์อันดีงาม ของท่านคงไม่ถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฎก ในทำนอง เดียวกัน หากทุกท่านมัวกังวลกับเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แล้วปล่อยใจ ให้ตกไปตามกระแสโลก มงคลนามของ ทานจะมีโอกาสจารึกไว้ ณ มหาธรรมกายเจดีย์ได้อย่างไร ซึ่งผู้จะถึง ฝั่งแห่งความสำเร็จ ชิตัง เม ใหกับ ตัวเองได้นั้น ไม่ใช่แค่รอโอกาสหรือรอความพร้อม มีแต่ต้องพร้อมเสมอในทุกโอกาส ด้วยการเป็นผู้กล้า คิด กล้าตัดสินใจ ไม่ให้ความตระหนี่หรือความกังวล มาปิดกั้น ขณะนี้นับเป็นโอกาสทองของพวก เราที่จะได้โอกาสในการทุ่มสุดฤทธิ์ เพื่อเป็นหนึ่งในล้านชื่อบุคคลประวัติศาสตร์ของการปิดเจดีย์ให้เป็นมรดกโลก ชื่อของเราจะถูกจารึกก้องกล่าวขานผ่านองคพระธรรมกายประจำตัว ที่มนุษย์และเทวาจะมากราบสักการบูชา ยาวนานนับพันปี
ปิดเจดีย์ ปิดอบายให้มนุษยชาติ
การสร้างองค์พระธรรมกายประจำตัว คือการปิดประตูอบาย เปิดทางไปสู่สวรรค์ให้กับตัวเอง และชาวโลกอีกมากมาย นับไม่ถ้วน เพราะใครก็ตาม ที่มาสักการบูชาองค์มหาธรรมกายเจดีย์ ใจเขาจะน้อมถึงพระพุทธองค์ได้อย่างง่ายดาย พระเดช พระคุณหลวงพ่อธัมมชโยได้เคยให้โอวาทไว้ว่า "ถ้ามีพระธรรมกายเพียงองค์เดียวหรือจำนวนน้อย ไม่ พอที่จะทำให้ประทับลงไป ในใจของคนได้ ควรจะต้องมีพระธรรมกายเป็นล้านๆ องค์ และจะต้องประดิษฐานในที่เดียวกัน เราจึงจะนึกถึงพระสัมมา สัมพุทธเจ้าออก" ดังนั้นองค์พระที่ได้สร้างไปในวันนี้ จะเป็นกำลังใจแก่คนนับไม่ถ้วนให้เกิดเป็นบุญตาและพุทธานุสติ เพราะเป้าหมายที่สุดของมนุษยชาติ จะต้องรู้ให้ได้ว่า พระธรรมกายในตัวมีลักษณะเป็นอย่างไร เมื่อเข้าถึงแล้วก็จะเกิดความสุขและเกิดสันติภาพโลกได้อย่างไร
๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ คือวันปิดตำนานการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ เราทุกคนจะเป็นบุคคลมหัศจรรย์ ที่ได้ร่วมสร้างสิ่งมหัศจรรย์ ด้วยการลุยทำหน้าที่ทุ่มสุดฤทธิ์ ปิดเจดีย์ ด้วยใจใสๆ ที่ไร้ความวิตกกังวลถึงปัญหา ประดุจม้าศึกที่วิ่งอยู่แต่ ในเส้นทาง ด้วยพลังใจที่มุ่งมั่นเปี่ยมล้นด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย เชื่อเหลือเกินว่าทุกท่าน จะประสบชัยชนะ แล้วเปล่งวาจา "ชิตัง เม" ได้อย่างภาคภูมิใจ ประดุจดั่งว่าพระนิพพานเปิดแสงประทาน มาให้เราได้พบทางสว่างสู่ความสำเร็จของการทุ่มสุดฤทธิ์ปิดเจดีย์ในครั้งนี้อย่างแน่นอน