วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

บทความพิเศษ
เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม)
และคณะนักวิจัย DIRI

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ
(ตอนที่ ๑๑)

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)


        ผู้เขียนและคณะ ได้ค้นคว้าเรียบเรียงเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แสดงเหตุและปัจจัยในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่ว่ามีเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้น ในลักษณะบทความอย่างย่อให้ได้สาระสำคัญในแต่ละยุคสมัย นับตั้งแต่เริ่มต้นมาจนถึงฉบับที่ท่านทั้งหลายกำลังอ่านอยู่นี้ ทำให้เราได้เห็นภาพและมีความรู้ เป็นพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี อักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวพุทธแต่ละยุคสมัย ซึ่งผู้เขียนและคณะนักวิจัย ของสถาบัน DIRI ก็ได้นำความรู้เหล่านั้นมาเป็นฐานข้อมูลหรือข้อมูลในการค้นคว้าวิจัยคำสอนดั้งเดิม เพื่อจะไดท้าความจริง ให้ปรากฏเป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนาต่อไป

         ในการนำเสนอสาระโดยย่อของประวัติศาสตร์ที่ยาวนานถึง ๒,๖๐๐ ปี อย่างต่อเนื่องหลายฉบับจนถึงยุคปัจจุบัน ผู้เขียนขออนุโมทนากับท่านผู้อ่านที่ให้ความสนใจติดตามมาโดยตลอด และฉบับนี้ผู้เขียนก็ขอเสนอบทความต่อจากฉบับที่แล้ว

       การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจาก ศรีลังกาไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เจริญรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่ง แต่ภายหลังเกิดภัยสงครามจากอินเดียทำให้ชาวสิงหลต้องถอยร่นลงมาทางใต้ และทำได้เพียงการรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงไว้เท่านั้น ความสัมพันธ์กับประเทศชาวพุทธที่สำคัญครั้งหนึ่งที่ควรแก่การกล่าวไว้ คือ ในช่วง พ.ศ. ๒๐๑๙ คณะพระภิกษุจากพม่าตอนใต้ได้มารับการอุปสมบทที่ลังกา และ นำคัมภีร์ภาษาบาลีที่มีอยู่กลับไป จึงนับว่า ศรีลังกาเป็นต้นทางของพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่เผยแผ่สืบต่อกันมาช้านานในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกหลายศตวรรษ

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

ภาพเขียนฝาผนังเรื่องพิธีสถาปนานิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา
ที่มา http://static.naewna.com/uploads/userfiles/images/F_สถาปนาสยามวงศ์opt.jpg

 

        อย่างไรก็ตาม ศรีลังกาในยุคล่าอาณานิคมช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ต้องประสบกับภัยเบียดเบียนทางศาสนาจากโปรตุเกสและฮอลันดา ประกอบกับภัยสงครามภายในและทุพภิกขภัย ทำให้สถานการณ์ด้านพระพุทธศาสนาทรุดลงอย่างหนัก จนไม่เหลือพระสงฆ์พอจะทำอุปสมบทกรรมได้ เมื่อ พ.ศ.๒๒๙๓ สามเณรผู้ใหญ่ชื่อ สามเณรสรณังกร ได้ทูลขอให้พระเจ้ากิตติราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น ส่งทูตมานิมนต์พระสงฆ์จากกรุงศรีอยุธยาไปฟื้นฟูสถานการณ์ด้านพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนา พระอุบาลีเถระและพระสมณทูตไทยรวม ๑๐ รูป เดินทางมาทำการบรรพชาอุปสมบทแก่ชาวลังกา พร้อมกับเชิญคัมภีร์พุทธศาสนาจากกรุงศรีอยุธยามาด้วยจำนวนหนึ่ง

       ในการอุปสมบทที่เมืองแคนดี มีกุลบุตรชาวลังกาเข้ารับการอุปสมบทถึง ๓,๐๐๐ คน ซึ่งได้ตั้งเป็นคณะสงฆ์ นิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ ขึ้น ในช่วงระยะเดียวกันนั้นมีสามเณรลังกาอีกคณะหนึ่ง เดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้ง นิกายอมรปุระ นอกจากนั้นยังมีชาวลังกาอีกคณะหนึ่งเดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญและกลับมาตั้ง นิกายรามัญ ขึ้น ทั้ง ๓ นิกายนี้ยังคงปรากฏสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

จารึกวงล้อธรรมจักร อักษรปัลลวะ ภาษาบาลี จารึกข้อความ ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ ทะเบียนวัตถุ ลบ.๑๙ พบที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/uploads/images/20140724104150pJBR.jpg

 

    เมื่อศึกษาประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ประเทศไทยจากหลักฐานโบราณคดีต่าง ๆ ที่จะได้แสดงต่อไป บ่งชี้ว่าสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนในเขตประเทศไทย เคยนับถือปฏิบัติพระพุทธศาสนามาแล้วหลายนิกาย ดินแดนนี้เป็นเบ้าหลอมและเป็นสถานที่คัดสรรคติความคิดของพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ หลายยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน โดยพบว่า หลักฐานทางโบราณคดีด้านพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด คือ ศิลาจารึกอักษรปัลลวะ1 ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ บ่งชี้ว่าพระพุทธศาสนาในเวลาดังกล่าวเผยแผ่เข้ามาจากอินเดียโดยตรง ศิลาจารึกอักษรปัลลวะภาษาบาลีแสดงความเป็นพระพุทธศาสนาเถรวาท ข้อความในจารึกส่วนใหญ่เป็นคาถาที่คัดลอกมาจากพระไตรปิฎก เช่น คาถา เย ธัมมา... ซึ่งเป็นคาถาที่พระอัสสชิกล่าวแก่อุปติสสปริพาชก กล่าวโดยย่อถึงธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนโปรดอุปติสสปริพาชก ซึ่งต่อมาคือพระสารีบุตรพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระศาสดา

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

ศิลาจารึก เย ธัมมา ๔ อักษรปัลลวะ ภาษาบาลี จารึกคาถา เย ธัมมา... พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
ทะเบียนวัตถุ นฐ.๕ พบที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/uploads/images/30_1.jpg

 

     นอกจากคาถา เย ธัมมา... แล้ว ยังพบศิลาจารึกที่มีคาถาบาลีบทอื่น ๆ เช่น ธัมมจักกัปปวัตนสูตรและปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น สถานที่ที่พบศิลาจารึกเหล่านี้กระจายอยู่แถบภาคกลางของประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี ชัยนาทซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า พระพุทธศาสนาเถรวาทที่เผยแผ่มาจากอินเดียโดยตรงนั้น เป็นที่ยอมรับปฏิบัติกันในขอบเขตจำกัด ไม่ได้แพร่ไปไกลกว่าบริเวณจังหวัดดังกล่าวในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

จารึกโบราณสถานหมายเลข ๐๐๙๖ อักษรปัลลวะ ภาษาบาลี จารึกข้อความในปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
และปฏิโลม พุทธศตวรรษ ๑๒–๑๔ พบที่โบราณสถานหมายเลข ๐๐๙๖ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
จังหวัดเพชรบูรณ์ 
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_detail.php?id=289

 

     ที่เมืองโบราณศรีเทพ นักโบราณคดีได้พบหลักฐานพระพุทธศาสนามหายาน กล่าวคือพระพิมพ์ดินเผาที่มีจารึกอักษรปัลลวะ ด้านหลังเป็นจารึกอักษรจีน อ่านว่า ภิกษุบุญ (ปี่ชิวเหวิน) ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นการสร้างพระพุทธรูปอุทิศให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งตามคติมหายาน โดยที่พระพุทธศาสนามหายานนี้เผยแผ่มาจากจีนและที่เมืองศรีเทพนี้ได้พบจารึกอักษรปัลลวะภาษาบาลีเช่นกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาทเป็นที่นับถือปฏิบัติพร้อม ๆ กันไปที่เมืองศรีเทพนี้

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

จารึกพระพิมพ์เมืองศรีเทพ (ด้านหน้า) ดินเผา สูง ๘.๕ เซนติเมตร ทะเบียนวัตถุ ลบ.๑๐ พุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๔
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/uploads/images/20140825111142etSu.jpg

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

จารึกพระพิมพ์เมืองศรีเทพ (ด้านหลัง) ดินเผา สูง ๘.๕ เซนติเมตร ทะเบียนวัตถุ ลบ.๑๐ พุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๔
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/uploads/images/201408251111588GhS.jpg

 

    ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ทางภาคใต้ของประเทศไทยพบศิลาจารึกที่ใช้อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤตที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีเนื้อหาในจารึกกล่าวถึงการฉลองพระธาตุเจดีย์ที่สำ คัญ ซึ่งมีการถวายภัตตาหารแก่คณะสงฆ์ พราหมณ์ และเลี้ยงบุคคลทั่วไปมีการฟังพระธรรมเทศนาและการปฏิบัติธรรมเพื่อฝึกอินทรีย์ไม่ขาดสักเวลา มีการบูชาพระเจดีย์ด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ธงเพดาน จามรธงผ้าจีน รวมทั้งตั้งหน่วยรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในงานด้วย

          หากการปฏิบัติธรรมหมายรวมถึงการทำ สมาธิภาวนา ศิลาจารึกนี้จะเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่แสดงถึงการทำ สมาธิภาวนาแบบพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร
ที่มา http://4.bp.blogspot.com/-A07-_vsDOks/UtJQCdumnSI/AAAAAAAAAH4/MdIphiRR8S4/s1600/01_358.jpg

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

จารึกวัดมเหยงค์ อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤตพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ทะเบียนวัตถุ นศ.๑๐กล่าวถึงการฉลองพระมหาธาตุเจดีย์
การปฏิบัติพระธรรม พบที่วัดมเหยงคณ์ จ.นครศรีธรรมราช
ภาพโดย : ชะเอม แก้วคล้าย

 

      เรื่องเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนานี้ ผู้เขียนและคณะนักวิจัยจะนำ เสนอในฉบับต่อไป และเนื่องจากวันที่ ๒๒ เมษายนนี้ เป็นวันคล้ายวันเกิดขององค์สถาปนา “สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย” (DIRI) ซึ่งในปีนี้ท่านมีอายุวัฒนมงคลได้ ๗๒ ปี พวกเราเหล่าลูกพระภิกษุ-สามเณร อุบาสก-อุบาสิกาที่เป็นคณะทำ งานวิจัยใน “โครงการสืบค้นวิจัยคำ สอนดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เพื่อทำ ความจริงให้ปรากฏและเป็นทนายแก้ต่างพระพุทธศาสนาจะได้พร้อมใจกันแสดงความกตัญญูประกาศพระคุณบูชาธรรมแด่พระเดช-พระคุณพระเทพญาณมหามุนี ด้วยการรวบรวมหลักฐานธรรมกายในเอกสารและคัมภีร์พุทธโบราณ และจัดงานเสวนาบูชาธรรม ๗๒ ปี พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนีเรื่อง “หลักฐานธรรมกาย ครั้งที่ ๓” ในวันที่๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น. ณ อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี


      นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา ๓ สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนและคณะผู้บริหารสถาบันวิจัยฯเดินทางไปประชุมเพื่อปรึกษางานและสรุปความก้าวหน้าในความร่วมมือทางวิชาการ ดังนี้

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

๑. แรกลงนาม MOU เมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และประชุมกับ Prof. Richard Salomon และคณะ
ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ๒๖–๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

๒. แรกลงนาม MOU เมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และร่วมประชุมกับ Prof. Jens Erland Braarvig
และคณะ ที่มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ เมื่อ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๕๙

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

๓. แรกลงนาม MOU เมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และร่วมประชุมกับ Dr.Raffaele Sammarco ที่สถาบันจิตวิทยา
และสมาธิ เมื่อ ๗ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ เมืองเทรวิโซ ประเทศอิตาลี

 

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)

๔. แรกลงนาม MOU เมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และร่วมประชุมกับ Prof. Richard Gombrich
ที่ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เมื่อ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙


    ผลการประชุมในทุกสถาบันมีความก้าวหน้าได้ผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและมีประสิทธิผลอย่างยิ่ง จึงขอถือโอกาสอนุโมทนาบุญกับท่านเหล่ากัลยาณมิตรผู้ใจบุญที่คอยให้กำ ลังใจสนับสนุนอุปถัมภ์ให้งานในโครงการฯ มีความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอเจริญพร

 


1 อักษรอินเดียใต้ พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๒

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๖๒ เดือนเมษายน ๒๕๕๙

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล