วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ปัญญาอันรู้คุณพระรัตนตรัย

DOU ความรู้สากล
เรื่อง : พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ.๙

ปัญญาอันรู้คุณพระรัตนตรัย

อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนมกราคม2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072  , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , DOU ความรู้สากล , ปัญญาอันรู้คุณพระรัตนตรัย  , พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ.๙

            บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิย่อมพ้นจากอันตรายทั้งปวง อันได้แก่ อันตรายจากอมนุษย์ เป็นต้น ตัวอย่างมีปรากฏในนิทานชาดกว่า...วันหนึ่ง บิดาของสัมมาทิฐิกุมารพาผู้เป็นบุตรใส่เกวียนไปตัดฟืนในป่าแห่งหนึ่ง ครั้นตัดฟืนเสร็จแล้ว ก็ใส่เกวียนบรรทุกกลับบ้าน ขณะเดินทางกลับผ่านป่าช้าแห่งหนึ่งที่อยู่นอกพระนคร จึงหยุดพักปล่อยให้โคไปกินหญ้าโคนั้นหนีเข้าไปในเมือง บิดาจึงปล่อยให้บุตรเฝ้าเกวียน แล้วเข้าไปตามหาโคในเมือง เมื่อจับโคได้แล้ว จึงกลับออกมา ครั้นถึงประตูเมืองก็เป็นเวลาพลบค่ำ ผู้รักษาประตูเมืองปิดประตูแล้ว บิดาของกุมารนั้นจึงไม่สามารถกลับออกไปหาลูกได้ กุมารนั้นไม่เห็นบิดากลับมาจึงรำลึกถึงพระคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็ท่องบท “อิติปิโส ภควา ฯ” จนกระทั่งนอนหลับไป

            ต่อมา มียักษ์ ๒ ตนออกเที่ยวหาอาหารในยามราตรี ยักษ์ตนหนึ่งเป็นสัมมาทิฐิ อีกตนหนึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ ครั้นยักษ์ทั้งสองเห็นกุมารนั้นหลับอยู่ในเกวียน ยักษ์ผู้เป็นมิจฉาทิฐิจึงกล่าวแก่สหายว่า ควรจะจับกุมารนั้นมาเป็นอาหาร แต่ยักษ์ผู้เป็นสัมมาทิฐิกลับห้ามสหายมิให้ทำเช่นนั้น ฝ่ายยักษ์มิจฉาทิฐิก็มิได้ฟังคำทัดทาน ตรงเข้าไปจับเท้าทั้งสองของกุมารฝ่ายกุมารนั้นตกใจตื่น ก็รำลึกถึงพระพุทธคุณแล้วกล่าวว่า “นะโม พุทธัสสะ” ดัง ๆ ทำให้ยักษ์มิจฉาทิฐิตกใจ วางเท้ากุมารแล้วถอยออกไป

        ยักษ์สัมมาทิฐิจึงตำหนิสหายว่า  “ท่านกระทำไม่สมควร   เราจะลงทัณฑกรรมแก่ท่านท่านจงไปเที่ยวแสวงหาอาหารมาให้กุมารนี้” ว่าแล้วยักษ์สัมมาทิฐิก็อยู่เฝ้ากุมารนั้น ส่วนยักษ์มิจฉาทิฐิเหาะเข้าไปในพระราชวัง ขนเอาเครื่องพระสุธาโภชน์และข้าวหอมใส่พระสุพรรณภาชน์แล้วเหาะกลับมายังเกวียนนั้น จากนั้นยักษ์ทั้งสองก็แปลงตนเป็นมารดากับบิดาของกุมารนำอาหารมาให้กิน เสร็จแล้วจึงจารึกอักษรลงในภาชนะ แล้วอธิษฐานด้วยอานุภาพแห่งยักษ์ว่า “ขอให้เฉพาะแต่พระมหากษัตราธิราชพระองค์เดียวเท่านั้นทรงแลเห็นอักษรนี้ บุคคลอื่นอย่าได้เห็น” อธิษฐานเช่นนั้นแล้ว ก็เอาสุพรรณภาชน์นั้นใส่เกวียนไว้แล้วจึงจากไป

         ครั้นรุ่งเช้า ชาวเมืองทั้งหลายก็โจษจันกันเซ็งแซ่ว่า พระสุพรรณภาชน์ของหลวงหายไป จึงมีการส่งเจ้าหน้าที่ค้นหากันทั่วทั้งในเมืองและนอกเมือง ในที่สุดจึงพบพระสุพรรณภาชน์อยู่ในเกวียนของกุมารนั้น เจ้าหน้าที่จึงนำเอาพระสุพรรณภาชน์กับตัวกุมารนั้นเข้าไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทอดพระเนตรเห็นอักษรก็เข้าพระทัย จึงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ซักถามกุมาร และได้รับคำตอบว่า มารดาบิดาเอาสุพรรณภาชน์นั้นใส่อาหารมาให้กิน

       ครั้นแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงพากุมารนั้นพร้อมทั้งบิดาไปนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทูลถามพุทธองค์ว่า พุทธานุสติเพียงสิ่งเดียวสามารถรักษาสัตว์ให้พ้นอันตรายได้กระนั้นหรือ

         สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่าจิตของบุคคลผู้เจริญอนุสติทั้ง ๖ ประการ ย่อมรักษาผู้นั้นให้พ้นจากอันตรายได้ ครั้นแล้วจึงตรัสพระธรรมเทศนาถึงอนุสติทั้ง ๖ ประการไว้ดังต่อไปนี้

๑. สติอันระลึกถึงตถาคต คือ พุทธานุสติได้แก่ บทว่า...
“อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ฯ”

๒. สติอันระลึกถึงพระธรรมคุณ คือ ธัมมานุสติ ได้แก่ บทว่า...
“สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ฯ”

๓. สติอันระลึกถึงพระสังฆคุณ คือ สังฆานุสติ ได้แก่ บทว่า...
“สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ฯ”

๔. สติอันระลึกถึงความไม่สะอาดและน่ารังเกียจของร่างกาย คือ กายคตาสติ ได้แก่บทว่า...
“เกสา โลมา ฯ”

๕. สติอันระลึกถึงความกรุณา ได้แก่ บทว่า...
“สัพเพ ทุกขา ปมุญจันติ ฯ”

๖. สติอันระลึกถึงความเมตตา ได้แก่บทว่า...
“สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ ฯ”

           บุคคลใดมีอนุสติแม้เพียงประการเดียวใน ๖ ประการนี้ ระลึกมั่นอยู่ในสันดาน ในเวลากลางวันก็ดี กลางคืนก็ดี ตลอดเวลาก็ดี แม้เพียงวันละ ๓ หน หรือหนเดียวก็ดี ย่อมได้ชื่อว่าเป็นสาวกแห่งตถาคต ไม่ว่ายามหลับ ยามตื่นย่อมรอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงสำหรับเรื่องนี้มีอรรถาธิบายว่า บุคคลผ้ปู ระกอบด้วยปัญญา รู้จักคุณพระรัตนตรัย หมั่นเจริญอนุสติภาวนา ๖ ประการนี้เนือง ๆ ย่อมได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิอันเป็นโลกิยะ

           การดำรงชีวิตในแต่ละวันล้วนมีสิ่งต่าง ๆ เข้ามากระทบให้เราคิด พูด ทำ ทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งไม่ดี สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงคือความไม่ประมาท มีสติรับรู้ถึงสิ่งที่เข้ามากระทบกาย วาจา ใจของเรา และน้อมนำธรรมะที่ศึกษาไว้ดีแล้วมาประพฤติปฏิบัติ หมั่นเจริญอนุสติให้ตัวเราเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ เป็นผู้มีปัญญาอันรู้คุณพระรัตนตรัย และเป็นที่พึ่งให้แก่ผู้อื่นก็จะได้ชื่อว่าเป็นยอดกัลยาณมิตรที่จะติดตามตามติดมหาปูชนียาจารย์สร้างบุญสร้างบารมีไปทุกภพทุกชาติตราบถึงที่สุดแห่งธรรม

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๘๑ เดือนมกราคม ๒๕๖๑

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล