รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฏก
"บทวิเคราะห์การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช"
บทวิเคราะห์การปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราชนี้ อ้างอิงข้อมูลพื้นฐานจากหนังสือ "รัฐศาสตร์เชิงพุทธ" โดยพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวา วัดพระธรรมกาย และบางส่วนผู้จัดทำหนังสือได้เขียนเสริมเข้าไป เพื่อให้เกิดความเหมาะ สมกับเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ โดยประเด็นแรกที่จะวิเคราะห์คือ พิธีกรรมบูชามหายัญยุคดั้งเดิม ดังนี้
1. พิธีกรรมบูชามหายัญยุคดั้งเดิม
ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์นับพันๆ ปีก่อนพุทธกาล พระราชาแต่ละแคว้นปกครองประชาชนด้วยหลักราชสังคหวัตถุ อันเป็นหลักสงเคราะห์ประชาชนพลเมือง โดย มัยนั้นเรียกหลักสงเคราะห์นี้ว่า "ยัญ 5" มีดังนี้
(1) สัสสเมธะ คือ ฉลาดในการทำนุบำรุงพืชพันธ์ ธัญญาหาร โดยเก็บภาษีที่นาร้อยละ 10 ตามความอุดม สมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อทำนุบำรุงเหล่าเกษตรกร
(2) ปุริสเมธะ คือ ฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถโดยให้ค่าจ้างบำเหน็จรางวัลแก่ทหารทุกๆ 6 เดือน
(3) สัมมาปาสะ คือความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ ให้กู้ยืมเงินโดยปลอดดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี
(4) วาชเปยยะ คือ การมีวาจาอันดูดดื่ม ด้วยการพบปะให้โอวาทประชาชน
(5) นิรัคคฬะ คือ บ้านเมืองสงบสุขปราศจากโจรผู้ร้าย ไม่ต้องระแวงกัน บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน ซึ่งเป็นผลอันเกิดจากยัญ 4 ประการแรก
ต่อมาเมื่อหลายร้อยปีก่อนยุคพุทธกาล มีพราหมณ์บางคน บางกลุ่ม บางพวก ไม่ซื่อตรงต่อวิชาความรู้ของตน ได้ดัดแปลงการบูชายัญเพื่อกำจัดศัตรูบ้านเมือง และเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนโดยเปลี่ยน
(1) สัสสเมธะ เป็น อัสวเมธะ คือ การฆ่าม้าบูชายัญ
(2) ปุริสเมธะ เป็นการฆ่าคนบูชายัญ
(3) สัมมาปาสะ เป็นการทำบ่วงแล้วขว้างไม้ลอด ไปตกที่ไหนก็ทำพิธีบูชายัญที่นั่น
(4) วาชเปยยะ การดื่มน้ำเมาเพื่อกล่อมจิตใจให้พร้อมที่จะบูชายัญ
(5) นิรัคคฬะ การฆ่าครบทุกอย่าง
การบูชายัญโดยการฆ่าสัตว์นี้ ได้แพร่ระบาดไปทั่วชมพูทวีป จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแก้ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการบูชายัญ ให้กลับมาเป็นราชสังคหวัตถุตามเดิม ดังเรื่องราวในกูฏทันตสูตรที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
2. แผนภูมิการปกครองประเทศด้วยหลักบนสี่ล่างสาม
จากเนื้อหาในกูฏทันตสูตรสามารถสรุปเป็นแผนภูมิการปกครองประเทศของพระเจ้ามหาวิชิตราชได้ดังแผนภูมิข้างบนนี้ จะเห็นว่ามีการแบ่งกลุ่มบุคคล ซึ่งเป็นเป้าหมายในการบริหารประเทศออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับล่าง 3 กลุ่ม และระดับบน 4 กลุ่ม
กลุ่มเป้าหมายระดับล่าง 3 กลุ่ม
กลุ่มเป้าหมายระดับล่างนั้น ถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในปัจจุบันเรียกคนกลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มระดับรากหญ้า มีดังนี้
(1) กลุ่มเกษตรกร ได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ ผู้ทำการเกษตรและกสิกรรม
(2) กลุ่มพ่อค้าย่อย ได้แก่ พ่อค้า แม่ค้า ผู้ประกอบอาชีพอิสระทั้งหลาย
(3) กลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อย และผู้รับจ้างในวงราชการ
ในยุคปัจจุบันมีการพันาอุตสาหกรรม ทำให้เกิดกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นมา คือ กรรมกรผู้ใช้แรงงาน ซึ่งก็อาจจะรวมอยู่ในกลุ่มที่หนึ่งของระดับล่าง คือ กลุ่มเกษตรกร
กลุ่มเป้าหมายระดับบน 4 กลุ่ม
กลุ่มเป้าหมายระดับบน ถือเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในแผ่นดิน หากเทียบปริมาณแล้ว กลุ่มนี้มีจำนวนน้อยกว่าคน 3 กลุ่มในระดับล่างมาก แต่แม้จะมีปริมาณน้อย ถึงกระนั้นกลุ่มคนเหล่านี้ก็มีอิทธิพลมากต่อการเมืองการปกครอง ซึ่งมีดังนี้
(1) กลุ่มเจ้าเมืองประเทศราช หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มนักการเมืองระดับชาติ เช่น สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.), มาชิก ภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.), คณะรัฐมนตรี ฯลฯ กลุ่มคนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ
(2) กลุ่มอำมาตย์ราชบริพารผู้ใหญ่ หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น เสนาธิการ, ปลัดกระทรวง, อธิบดี, ผู้ว่าราชการจังหวัด, ผู้บัญชาการทหารทุกเหล่า ฯลฯ ซึ่งถือเป็นกลุ่มรับนโยบายไปปฏิบัติ
(3) กลุ่มพราหมณ์มหาศาล หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ ผู้นำทางความคิดนักวิชาการใหญ่สื่อมวลชนใหญ่ ซึ่งเป็นสถาบันทางความคิดที่ถ่วงดุลอำนาจรัฐโดยการชี้นำประชาชน
(4) กลุ่มคหบดีมหาศาล หากเทียบกับในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจใหญ่ๆ หรือ พวกพ่อค้าระดับประเทศ เป็นกลุ่มที่มีทรัพย์มาก มีบริวารซึ่งเป็นชนในระดับล่างมาก
3. การปราบโจรที่ต้นเหตุคือเศรษฐกิจ
หากถามว่า ทำไมชาวชนบทบางกลุ่มของพระเจ้ามหาวิชิตราชจึงต้องเป็นโจร คำตอบคงมีหลากหลาย แต่เมื่อย้อนกลับไปทบทวน "หัวข้อประวัติศาสตร์โลกและมนุษยชาติ" ในเรื่องมนุษยศาสตร์ในพระไตรปิฎกจะพบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเป็นโจรมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการคือ กิเลสคือความโลภในตัวบีบบังคับ และความยากจนอันเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นแรงกดดัน
ในกรณีนี้ มีข้อสังเกตว่าปัญหาโจรมาจากความยากจนเป็นหลัก เพราะเมื่อพระโพธิสัตว์แนะนำให้พระราชาแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจแล้ว ทำให้ปัญหาโจรระงับไป และในช่วงที่พระราชาทรงปรารภจะบูชามหายัญนั้น เป็นช่วงหลังจากที่พระองค์ได้ทำสงครามแผ่ขยายอาณาจักรออกไปจนกว้างขวาง ผลของการรบย่อมทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลุกลามใหญ่โต ถึงกับมีโจรปล้นเมือง ในทุกยุค มัย ผลของ งครามจะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเหลือคณานับ เช่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในอเมริกาเหนือ ยุโรป และแพร่ระบาดไปยังนานาประเทศทั่วโลก
ในกรณีนี้ ปัญหาที่แท้จริงจึงอยู่ที่ "ความยากจนอันเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ" การจะแก้ปัญหานี้ได้ จึงต้องแก้ไขที่เศรษฐกิจอันเป็นต้นเหตุของปัญหา ด้วยเหตุนี้ พระโพธิสัตว์จึงกราบทูลพระราชาว่า "การปราบปรามโจรด้วยการประหาร จองจำ ปรับไหม ตำหนิ หรือ เนรเทศไม่ชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ..." เนื่องจากการแก้ปัญหาวิธีนี้ เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ไม่อาจจะให้ปัญหานี้จบสิ้นได้อย่างถาวร เปรียบเสมือนกำจัดวัชพืชด้วยการตัด ไม่อาจจะทำให้วัชพืชนั้นตายได้ จะต้องถอนรากถอนโคนอันเป็นต้นเหตุที่แท้จริงทิ้งไป
4. แก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยส่งเสริมคนที่ขยัน
วิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของพระโพธิสัตว์ คือการส่งเสริมคนระดับล่าง 3 กลุ่ม ซึ่งขยันทำมาหากิน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร, กลุ่มพ่อค้า และกลุ่มข้าราชการ ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่าต้องมีระบบการคัดคนเป็นอย่างดี ไม่ช่วยแบบเหวี่ยงแหเพราะจะไม่บังเกิดผลดีเท่าที่ควร
การช่วยเฉพาะคนขยันนั้น จะทำให้ทรัพยากรที่ช่วยไปเกิดผลงอกงาม เศรษฐกิจโดยรวมมีการขับเคลื่อนตัวสูงขึ้น ทำให้รายรับจากภาษีอากรสูงตามไปด้วยส่งผลให้รัฐมีทรัพยากรเพิ่มขึ้นสามารถช่วยเหลือบุคคลอื่นๆ ต่อไปได้อีก และเป็นการเชิดชูคนดีมีคุณธรรมให้สูงเด่นเพื่อให้เป็นบุคคลต้นแบบของสังคม เพื่อให้คนดีมีกำลังใจในการขวนขวายทำงานยิ่งๆ ขึ้นไป และที่สำคัญคนที่เกียจคร้านจะได้ตระหนักว่า หากตนขยันทำงานบ้างก็จะได้รับการช่วยเหลือเช่นนี้เหมือนกัน พวกที่เป็นโจรเพราะความยากจนบีบบังคับ ก็จะได้เลิกเป็นโจรแล้วหันมาทำมาหากินบ้างดังคำกราบทูลของพระโพธิสัตว์ที่ว่า หากพระองค์ทำอย่างนี้ พลเมืองจักขวนขวายในการงานของตน จักไม่เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์
ในทางตรงข้าม หากพระราชาไม่เลือกให้ กล่าวคือ ช่วยเหลือหมดทั้งคนขยันและคนเกียจคร้าน หากเป็นเช่นนี้ ความหายนะจะเกิดขึ้น เพราะรัฐมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะช่วยคนทุกคน ภาวะการเงินการคลังของรัฐจะอ่อนแอ และคนที่ขยันก็จะหมดกำลังใจและเลิกขยันทำงานบ้าง คนที่เกียจคร้านอยู่แล้วก็จะได้ใจยิ่งเกียจคร้านหนักมากขึ้น บ้านเมืองก็จะตกอยู่ในสภาพย่ำแย่
5. การช่วยเหลือในโอกาสอันสมควร
พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า ในการเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินแก่เกษตรกรก็ดี ในการเพิ่มทุนแก่พ่อค้าก็ดี และในการพระราชทานเบี้ยเลี้ยงแก่ข้าราชการก็ดี จะต้องให้ในโอกาอันสมควร กล่าวคือ ต้องให้ในเวลาที่เหมาะสม การให้นั้นจึงจะบังเกิดผลไพบูลย์ ในเรื่องนี้ภาษาบาลีใช้คำว่า "กาลัญญู" หมายถึง เป็นผู้รู้จักกาล ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะกาลัญญู เป็น 1 ใน 7 ของสัปปุริสธรรม คือ ธรรมของคนดี ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกดำเนินไปโดยมีกาลเวลาเป็นตัวกำกับ หากเราทำอะไรได้ถูกจังหวะถูกกาลเวลา ก็จะเป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จได้
ในการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่คนระดับล่าง 3 กลุ่มนี้ก็เช่นกัน ต้องช่วยเหลือในโอกาสที่เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์มาก เช่น ในช่วงที่ข้าวและธัญญาหารมีราคาแพง จึงเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่รัฐบาลจะส่งเสริมเกษตรกรในเรื่องการทำนา และการเพาะปลูกธัญพืช
6. กุศโลบายสร้างทีมงานบริหารประเทศ
หลังจากที่บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ามหาวิชิตราชจึงตรัสถามวิธีบูชามหายัญกับพราหมณ์ปุโรหิต พราหมณ์ปุโรหิตจึงกราบทูลให้พระราชาขอความเห็นชอบ และขอความร่วมมือเรื่องการบูชามหายัญจากคนระดับบน 4 กลุ่ม เพื่อเป็นบริวารของยัญสาเหตุที่ต้องทำเช่นนั้น ก็เพื่อเป็นกุศโลบายในการสร้างทีมงานบริหารประเทศนั่นเอง เพราะคนระดับบน 4 กลุ่มนี้ แม้จะมีจำนวนน้อยแต่มีอิทธิพลมากทางด้านการเมือง มีสติปัญญา ทรัพย์สิน และเครือข่ายมาก ในขณะที่ 3 กลุ่มระดับรากหญ้า มีจำนวนคนมากมายมหาศาลแต่มีอิทธิพลน้อย
การที่พระราชาทำเช่นนี้นั้น เป็นการให้เกียรติแก่พวกเขา เป็นการผูกมัดจิตใจคนระดับบนให้เกิดความรู้สึกว่า ได้รับความไว้วางใจจากพระราชาสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนกลุ่มนี้ขาด พวกเขาต่างก็มีโภคทรัพย์, สติปัญญา, ความรู้, ความสามารถและเครือข่ายมากอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ขาดคือ การได้รับการยอมรับนับถือจากผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน เมื่อพระองค์ทรงเลือกใช้วิธีการให้เกียรติ แทนการใช้พระราชอำนาจสั่งการ จึงเป็นที่ถูกใจกลุ่มบุคคลระดับบนเป็นอย่างยิ่งทำให้บุคคลเหล่านี้เต็มใจช่วยพระราชาบริหารกิจการบ้านเมือง อย่างเต็มกำลังความสามารถ
การจะให้อะไรแก่ใครก็แล้วแต่มีหลักอยู่ว่า จะต้องให้ในสิ่งที่เขาขาด และให้อย่างเหมาะสม จึงจะบังเกิดผลมากสำหรับคนจนขาดทรัพย์ ก็ต้องให้ทรัพย์ที่เหมาะ สมกับเขา เช่น หากเป็นชาวนาก็ให้ข้าวเปลือก พ่อค้าก็ให้ทุนไปลงทุน ข้าราชการก็ให้เบี้ยเลี้ยงหรือโบนั เป็นต้น ส่วนคนรวยไม่ได้ขาดทรัพย์ แต่เขาปรารถนาการยอมรับ และความไว้วางใจจากผู้ปกครองต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อหน้าที่การงานหรือธุรกิจของเขา ด้วยเหตุนี้ผู้ปกครองจึงต้องให้เกียรติแก่พวกเขา
กลุ่มผู้มีอิทธิพลทั้ง 4 กลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่เห็นด้วยกับการบูชายัญของพระราชาเท่านั้นแต่ยังนำทรัพย์มากมายมาถวายพระราชาด้วย ซึ่งพระเจ้ามหาวิชิตราชเองก็ไม่ทรงรับ โดยตรัสว่าอย่าเลย ทรัพย์เป็นอันมากนี้ของข้าพเจ้า ก็ได้รวบรวมมาแล้วจากภาษีอากรที่เป็นธรรม พวกท่านจงนำทรัพย์จากที่นี้เพิ่มไปอีก เมื่อพวกเขาถูกพระราชาปฏิเสธ ต่างคิดร่วมกันว่า การนำทรัพย์เหล่านี้กลับไปเรือนอีกไม่ มควรเลย เพราะพระเจ้ามหาวิชิตราชกำลังทรงบูชามหายัญอยู่พวกเราจะบูชายัญตามเสด็จพระองค์บ้าง จึงได้บำเพ็ญทานตามอย่างพระราชา การบูชามหายัญนี้จึงเป็นการกระจายความมั่งคั่งไปสู่บุคคลระดับล่าง เป็นการลดช่องว่างระหว่างผู้มีทรัพย์มากในระดับบน กับกลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในระดับล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของแผ่นดิน
การที่พระราชาไม่ทรงรับทรัพย์ของกลุ่มคนระดับบน แต่กลับทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับพวกเขาไปอีกสิ่งนี้ถือว่าเป็นกุศโลบายอันชาญฉลาด ในการเชิญชวนทางอ้อมให้คนกลุ่มนี้ร่วมบำเพ็ญทานกับพระองค์ โดยพระองค์ทรงเป็นต้นแบบให้เขาทำตาม และที่สำคัญเป็นการฝึกให้พวกเขารู้จักให้ทานเพื่อกำจัดความตระหนี่ ฝึกให้พวกเขาเป็นคนใจใหญ่ใจกว้างเพื่อป้องกันความโลภอันจะทำให้ทำผิดศีลธรรม เช่น การแสวงหาทรัพย์ โดยเอารัดเอาเปรียบหรือคดโกง ซึ่งปัญหานี้มีอยู่ในทุกยุคสมัยโดยมักจะเกิดกับกลุ่มคนระดับบนคนเหล่านี้ ไม่ได้แสวงหาทรัพย์โดยมิชอบเพราะยากจน แต่เพราะไม่รู้จักพอ ถ้าหากพวกเขา รู้จักการให้เสียบ้าง ความโลภก็จะลดลง จึงเท่ากับเป็นการป้องกันการเบียดเบียนกันในสังคมไปในตัว
มีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ การบูชามหายัญ หรือการบริจาคทานแก่ "ประชาชนทั่วไป" ครั้งใหญ่นี้ จัดทำขึ้นหลังจากที่พระราชาแก้ปัญหาเศรษฐกิจระดับเบื้องต้นเสร็จแล้วคือ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่คนระดับรากหญ้า 3 กลุ่มซึ่งขยันแต่ยากจน จนเศรษฐกิจฟนตัว ผู้คนอยู่ดีมีสุข ปราศจากโจรผู้ร้ายแล้วสาเหตุที่ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อน เพราะต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่เดือดร้อนมากที่สุดก่อน คล้ายๆ กับการรักษาโรคต้องรักษาคนที่เจ็บป่วยหนักก่อนส่วนคนที่ยังช่วยตัวเองได้เอาไว้ทีหลัง หากไม่คำนึงถึงตรงนี้ คนป่วยหนักก็จะไม่ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง โรคอันเกิดจากคนป่วยเหล่านี้ ก็จะยังคงระบาดต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
7. คุณสมบัติของผู้ปกครองและที่ปรึกษา
จากที่ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของพระเจ้ามหาวิชิตราช 8 ประการและคุณสมบัติของปุโรหิต 4 ประการซึ่งเป็นบริวารของยัญนั้น ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ปกครองและที่ปรึกษาจะเห็นว่าพระราชานั้นมีความ มบูรณ์พร้อมในทุกด้าน ทั้งชาติตระกูล บุคลิก ทรัพย์สมบัติกองทัพ ความรู้ และทรงมีพระราชศรัทธาในการให้ทานส่วนปุโรหิตนั้นก็มีคุณสมบัติที่สำคัญพรั่งพร้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาที่ดี คือ มีชาติตระกูลดี เป็นผู้คงแก่เรียน มีศีล และที่สำคัญท่านเป็นบัณฑิตมีปัญญาเฉียบแหลม
คุณสมบัติเหล่านี้มีความสำคัญมาก เพราะการจัดทำพิธีบูชามหายัญซึ่งเป็นงานใหญ่ให้สำเร็จสมบูรณ์ก็ดี หรือการบริหารประเทศให้ดำเนินไปด้วยดีนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทั้งแผ่นดิน พระราชาในฐานะเป็นศูนย์รวมใจ จะต้องได้รับการยอมรับนับถือ ไม่มีข้อตำหนิทั้งทางกายภาพและจิตใจ เพื่อป้องกันความกินแหนงแคลงใจ การดูถูกในใจอยู่ลึกๆ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลระดับบนส่วนปุโรหิตซึ่งเป็นผู้วางแผนงานทั้งปวงก็จะต้องมีคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ เป็นฐานในการทำงานใหญ่ต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ
8. การพัฒนาจิตใจของผู้ปกครองประเทศ
ยัญวิธี 3 ประการ คือ การให้พระราชารักษาใจให้ผ่องใสไม่เสียดายว่าทรัพย์หมดเปลืองไป กล่าวคือ เมื่อตัดสินว่าจะให้ทานแล้ว ก็ต้องตัดใจให้ขาดจากทานนั้นด้วย จึงจะทำให้เกิดบุญมาก และที่สำคัญ ยัญวิธีนี้เป็นกุศโลบายขยายใจผู้นำให้ใหญ่ครอบคลุมทั้งประเทศขยายใจผู้นำให้มีความเมตตากรุณาต่อคนทั้งแผ่นดินทั่วหน้า ไม่เห็นแก่ความสิ้นเปลือง เป็นการให้ด้วยความเต็มใจและจริงใจ
ประชาชนผู้รับทานก็จะสัมผัสความเต็มใจนี้ ได้จากพระพักตร์ที่ผ่องใสอันเกิดจากจิตใจที่ชื่นบานเพราะมหาทานของพระราชา จะสร้างความประทับใจแก่ประชาชนพลเมืองทั้งแผ่นดิน และส่งผลให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศร่วมกับพระราชา
ในทางตรงข้าม หากพระราชามีความเสียดายทรัพย์ ความเสียดายในใจนี้ ก็จะปรากฏออกทางพระพักตร์ที่หม่นหมอง ประชาชนก็จะรู้ว่าพระราชาไม่ได้ให้ด้วยความเต็มใจ แต่ให้แบบเสียไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงยากที่พลเมืองจะร่วมใจกันพันาประเทศ
ปกติผู้นำที่มีตำแหน่งใหญ่แต่ใจแคบการดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนย่อมทำไม่ทั่วถึง ประชาชนจะประสบความลำบาก ผู้นำที่ตำแหน่งเล็กแต่ใจใหญ่ ประชาชนจะประสบสุขแต่ตนเองจะเดือดร้อน ผู้นำที่ตำแหน่งเล็กและใจแคบ บ้านเมืองจะเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้าส่วนผู้นำที่ตำแหน่งใหญ่และใจใหญ่ บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรือง
9. การพัฒนาจิตใจประชาชนด้วยการตั้งมาตรฐานคนดี
ปุโรหิตยังให้ข้อคิดในการบริหารคนหมู่มากแก่พระราชาว่า การทำทานครั้งใหญ่ จะต้องทำใจให้หนักแน่น เพราะจะมีทั้งคนดีคนชั่วหลายเหล่าปะปนกันมารับแจกทาน ซึ่งยากจะแยกแยะได้ พระราชาจะต้องทำใจให้ได้ว่า พระองค์ตั้งใจให้เฉพาะคนดีเท่านั้น แต่ถ้ามีคนไม่ดีปะปนเข้ามา ก็ต้องทำใจให้หนักแน่น ทำใจให้กว้างใหญ่ไพศาลว่า เราจะให้โอกาสเขากลับตัวเป็นคนดีในภายหน้า
นอกจากคุณสมบัติของคนดีคือความขยันที่กล่าวมาแล้ว คนดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญอีกคือ ต้องมีศีลหรือถือกุศลกรรมบถ 10 ด้วย กุศลกรรมบถที่พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลพระราชานี้ ถือเป็นการประกาศมาตรฐานคนดีในยุคนั้น เพื่อให้ผู้นำมีเกณฑ์ในการคัดคน เป็นมาตรฐานในการตั้งเป้าหมายสำหรับการพันาคน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพันาเศรษฐกิจ หรือพัฒนาประเทศชาติในด้านอื่นๆ เพราะทุกโครงการจะสำเร็จได้ด้วยดีนั้น ก็อยู่ที่คุณภาพของคน
10. การพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาจิตใจ
พิธีบูชามหายัญของปุโรหิตของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้น เป็นการปฏิวัติพิธีกรรมเดิมของพราหมณ์ที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า จะต้องมีการฆ่าวัว แพะ แกะ ไก่สุกร และสัตว์นานาชนิด พิธีบูชามหายัญแบบใหม่นี้ใช้เพียง เนยใสน้ำมัน เนยข้น นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เท่านั้น ซึ่งเป็นของหาง่ายในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน และที่สำคัญทำให้หยุดทำปาณาติบาต แต่หันไปส่งเสริมเกษตรกรรมแทน ซึ่งสุดท้ายแล้วก็เป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน จึงถือได้ว่าเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจคู่กับจิตใจคือศีลธรรม
11. แผนภูมิการประกอบพิธีบูชามหายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช
พิธีบูชามหายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้นสามารถสรุปออกมาเป็นแผนภูมิได้ดังที่แสดงมานี้ แผนภูมินี้แตกต่างกับแผนภูมิแรก ตรงที่พระเจ้าแผ่นดินในฐานะประธานพิธีบูชามหายัญ ไม่ได้เพียงแต่นั่งสั่งการอยู่ข้างบน แต่เสด็จลงมาทำหน้าที่เป็นประธานพิธีเอง ลงมาบริจาคทานแก่พสกนิกรด้วยพระองค์เอง ลงมาอยู่ท่ามกลางประชาชนของพระองค์ จึงเป็นเหตุให้พระราชาสามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจของคนทั้งแผ่นดินได้ส่งผลให้กลุ่มผู้มีอิทธิพล 4 กลุ่มไม่อาจจะนิ่งดูดายอยู่ได้ ต้องลงมาทำกิจกรรมกับร่วมกับผู้นำด้วย จึงถือเป็นต้นแบบแห่งการปกครองด้วยวิธีจูงใจ เชิญชวนชาวเมืองให้ร่วมแรงร่วมใจ และร่วมสนับสนุนกำลังทรัพย์โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับจิตใจ
การปกครองและการแก้ปัญหาสังคมของพระเจ้ามหาวิชิตราชนี้ สอดคล้องกับ จักกวัตติสูตร ที่กล่าวแล้วในบทที่ 5 หัวข้อ "ประวัติศาสตร์โลกและมนุษยชาติ" กล่าวคือ ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นมีสาเหตุสำคัญอยู่ 2 ประการคือ พระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม และการบริหารจัดการเรื่องเศรษฐกิจไม่ดี เป็นเหตุให้ความขัดสนแพร่หลายส่งผลให้เกิดการลักขโมย และการทำผิดศีลผิดธรรมโดยประการต่างๆ ตามมา ดังนั้น เมื่อจะต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นผู้ปกครองประเทศจึงต้องตั้งอยู่ในธรรม และการบริหารจัดการเรื่องเศรษฐกิจให้ดี
ในกูฏทันตสูตรนี้จะเห็นว่า พระเจ้ามหาวิชิตราชและพราหมณ์ปุโรหิตตั้งอยู่ในธรรม คือพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงมีพระราชศรัทธา เป็นทานบดี เป็นดุจบ่อที่ลงดื่มของสมณพราหมณ์รวมทั้งประชาชนพลเมือง และทรงเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ทรงพระปรีชาสามารถ เป็นต้นส่วนพราหมณ์ปุโรหิตก็ตั้งอยู่ในธรรมคือเป็นผู้มีศีล เป็นต้น เมื่อมีปัญหาโจรผู้ร้ายที่เกิดขึ้นในแว่นแคว้นพราหมณ์ปุโรหิตก็ทราบดีว่า ต้นตอของปัญหาอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดกับกลุ่มคนในระดับล่างของสังคมเป็นหลัก ดังนั้น ปุโรหิตจึงถวายคำแนะนำให้พระราชาแก้ปัญหา ด้วยการช่วยเหลือเศรษฐกิจแก่คนเหล่านี้ เมื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเช่นนี้ จึงทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นดับไป และส่งผลให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองในที่สุด
12. สรุปหลักการปกครองของพระเจ้ามหาวิชิตราช
จากเนื้อหาในกูฏทันตสูตรและบทวิเคราะห์ที่กล่าวมานี้สามารถสรุปหลักการปกครองประเทศ และหลักการแก้ปัญหาสังคมของพระเจ้ามหาวิชิตราช ซึ่งพระองค์ทรงปฏิบัติตามคำแนะนำของพระโพธิสัตว์ได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. แบ่งกลุ่มเป้าหมายในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศออกเป็น 2 ระดับ คือ
1.1) กลุ่มเป้าหมายระดับบน คือ กลุ่มผู้มีอิทธิพล 4 กลุ่ม
1.2) กลุ่มเป้าหมายระดับล่าง คือ กลุ่มของประชาชนทั่วไป 3 กลุ่ม
2. มุ่งแก้ไขปัญหาและพัฒนากลุ่มเป้าหมายระดับล่างก่อน เพราะเป็นกลุ่มที่กำลังเดือดร้อนด้วยปัญหาต่างๆ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งลุกลามใหญ่โตและขยายวงมาสู่ปัญหาศีลธรรม คือ การลักขโมยและปล้นบ้านปล้นเมืองจึงต้องแก้ไขด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับพันาจิตใจคือศีลธรรม ดังนี้
2.1) พัฒนาเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมคนระดับล่างที่ขยันทำมาหากิน 3 กลุ่ม เพื่อ
เป็นต้นแบบแก่คนอื่นในสังคม โดยการสนับสนุนสิ่งที่เขาขาด อย่างเหมาะสมต่อกลุ่มคน และให้ในโอกาสอันสมควร
2.2) พัฒนาจิตใจหรือศีลธรรมของประชาชนโดยใช้กุศลกรรมบถ 10 อันเป็นมาตรฐานของคนดีในยุคนั้น
การพัฒนาประเทศนั้น จะต้องพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับจิตใจเสมอ การพัฒนานั้นจึงจะส่งผลยั่งยืน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เปรียบเสมือนไม้ 2 ท่อนที่วางพิงกันไว้ หากเอาอันใดอันหนึ่งออกอีกอันหนึ่งก็ต้องล้มไปด้วย กล่าวคือ หากมุ่งเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจไม่นำพาเรื่องจิตใจคือศีลธรรม คนก็จะขาดคุณภาพเพราะอำนาจกิเลส ที่ไม่มีศีลธรรมควบคุมส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น การคอร์รัปชัน เป็นต้น อันจะเป็นเหตุให้เศรษฐกิจย่ำแย่ไปด้วย แต่หากพันาเพียงศีลธรรมไม่ส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจ คนก็จะอดอยากและความอดอยากนี้ ก็จะกดดันให้คนทำผิดศีลด้วยการลักขโมย เป็นต้น ศีลธรรมก็ไม่อาจจะตั้งอยู่ได้เช่นกัน
3. การแก้ปัญหาและปกครองประเทศนั้นเป็นงานใหญ่ พระราชาไม่อาจจะทำเพียงลำพังได้ จำเป็นจะต้องสร้างและพัฒนาทีมบริหารขึ้นมาจากกลุ่มคนระดับบน 4 กลุ่ม ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลในสังคม
3.1) การสร้างทีมนั้นใช้การ "ให้เกียรติ" ซึ่งเป็นสิ่งที่คน 4 กลุ่มนี้ขาดและต้องการ วิธีการให้เกียรติของพระราชาคือ การเชิญคนทั้ง 4 กลุ่มนี้มา แล้วขอความเห็นชอบและขอความร่วมมือในกิจการต่างๆ ที่จะต้องจัดทำ
3.2) การพัฒนาทีมบริหารนั้น ทำได้ด้วยการที่พระราชาต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เขาปฏิบัติตาม เช่น การที่พระราชาบริจาคทานแก่พสกนิกรนั้น ก็เป็นแบบอย่างให้แก่คนทั้ง 4 กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นผู้ที่มีทรัพย์มากทำตามด้วย ด้วยวิธีการนี้ จะทำให้ใจของผู้นำประเทศและทีมบริหารกว้างขวางครอบคลุมทั้งประเทศ เท่ากับเป็นการป้องกันการหาทรัพย์โดยมิชอบไปในตัวซึ่งจะส่งผลให้พสกนิกรเป็นสุขกันทั่วหล้า
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา