เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺหปรากฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ ฯ
ผู้ฉลาด เป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่น มั่นคง
เป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องพระนิพพานอันปลอดจากโยคะ
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
(ขุ.ธ. ๒๕/๑๘)
พระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
เป็นธรรมเฉพาะบัณฑิตผู้ทรงปัญญาคุณ
โดยเป็นปัญญาจาก “ภาวนามยปัญญา”
ปัญญาจาก “การรู้แจ้ง” อันเกิดจาก “การเห็นแจ้ง”
ไม่ได้เป็นปัญญาจากการทรงจำ ไตร่ตรอง ขบคิด
บุคคลผู้มุ่งหวังพระนิพพาน
พึงบำเพ็ญจิตเจริญสมาธิภาวนา
ประคองใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ประกอบความเพียรต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
มีจิตแน่วแน่ มั่นคง ไม่คลอดแคลน
บุคคลนั้น ย่อมรู้จัก สัมผัส ถูกต้อง
และเข้าถึงพระนิพพาน
อันสุขสงบ ปราศจากกิเลสอาสวะใด ๆ
หาสิ่งใดเสมอเหมือนหรือยิ่งกว่ามิได้
ขอขอบคุณ หนังสือ ส่องธรรม ล้ำภาษิต เล่ม ๒
สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไร ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย