อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ

พระมหาสิริราชธาตุ รุ่นดูดทรัพย์ สำหรับ ผู้สร้างพระธรรมกายประจำตัวภายในมหาธรรมกายเจดีย์นั้น จะได้รับของที่ระลึกเป็นพระธรรมกายของขวัญ

อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ โอวาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒

โอวาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์
(หลวงพ่อธัมมชโย)
วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒


พระรัตนตรัยต้องพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติ

พระรัตนตรัยนั้นมีอยู่ ๓ ระดับคือ ระดับเบื้องต้น ระดับท่ามกลาง และระดับเบื้องปลาย

ระดับเบื้องต้น สั่งสอนแนะนำสำหรับผู้ที่เพิ่งจะเรียนรู้ เพิ่งที่จะเข้ามาศึกษาพระรัตนตรัย ท่านก็ได้บอกให้รู้จักว่า พระพุทธเจ้าคือใคร ก็ให้แนะนำว่าคือพุทธปฏิมากร พระพุทธรูปที่ตั้งอยู่บนโต๊ะหมู่บูชาก็ดี ในโบสถ์ ในวิหาร ในศาลาการเปรียญ แม้กระทั่งองค์พระที่ห้อยอยู่ที่คอ จะองค์ใหญ่องค์เล็ก จะทำด้วยวัสดุอันใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นอิฐหินปูนทราย โลหะ รัตนชาติ นั่นแหละคือพระพุทธเจ้าในเบื้องต้น

ในท่ามกลาง ก็ให้หมายเอาพระสิทธัตถะราชกุมาร ที่ทรงสละราชสมบัติแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ และได้ตรัสรู้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยให้ศึกษาพุทธประวัติว่า มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา เป็นต้น ได้ทรงแสวงหาหนทางไปนิพพาน ได้พบหนทางพระนิพพานที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์


ถ้าพระพุทธเจ้าในเบื้องสูง หมายเอา พุทธรัตนะ รัตนะก็แปลว่าแก้ว พุทธรัตนะหมายถึงพระพุทธเจ้าที่เป็นแก้ว ใสเป็นแก้ว มีอยู่ภายในตัวของมนุษย์ทุกๆ คนในโลก มีอยู่ในตัวของพระสิทธัตถะ มีอยู่ในตัวของพระอรหันต์ทั้งหลาย และในตัวของพวกเราทุกๆ คน ลักษณะคล้ายๆ กับพุทธปฏิมากร ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ เกตุดอกบัวตูม นั่งทำสมาธิภาวนาอยู่ในกลางกายของตัวเราทุกๆ คน ใสเกินใส งามไม่มีที่ติ นั่นหมายเอาพระพุทธเจ้าในเบื้องปลาย

พระธรรมในเบื้องต้น ท่านก็หมายเอาคำสอนที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎก จะเป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาไทย หรือภาษาอะไรก็ตาม นั่นคือพระธรรมในเบื้องต้น


พระธรรมในท่ามกลาง นั้นหมายเอาคำสอนที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสาวกของพระองค์ให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน


พระธรรมในเบื้องปลาย หมายเอา ธรรมรัตนะคือพระธรรมที่เป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวง เป็นดวงใสๆ กลมรอบตัว เหมือนดวงแก้ว อยู่ในกลางของพุทธรัตนะ ใสบริสุทธิ์ งามไม่มีที่ติ ใสเกินใส ใสเหมือนกับพุทธรัตนะอย่างนั้น

ส่วนพระสงฆ์ในเบื้องต้น ก็ได้แก่สมมุติสงฆ์ ตั้งแต่หลวงพ่อ หลวงพี่เหล่านี้เป็นต้น เป็นสมมุติสงฆ์
พระสงฆ์ในท่ามกลาง พระสงฆ์ก็คือพระอริยสาวกที่ได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็ได้ตรัสรู้ตาม ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพระโสดาบันก็มี พระสกทาคามีก็มี พระอนาคามีก็มี เป็นพระอรหันต์ก็มี


ในเบื้องปลาย ก็หมายเอาถึงสังฆรัตนะคือธรรมกายที่อยู่ในกายธรรม และธรรมกายที่อยู่ในกลางธรรมรัตนะ ที่ทำหน้าที่รักษาธรรมรัตนะ ใสบริสุทธิ์ผุดผ่องทีเดียว

สิ่งที่ท่านต้องการให้รู้จักก็คือรัตนะทั้งสามอย่างนี้ แต่สิ่งที่ต้องการให้เข้าถึง ก็คือรัตนะภายใน ได้แก่ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นี่คือสิ่งที่ท่านอยากให้เข้าถึง เพราะเข้าถึงแล้วจึงจะได้ที่พึ่งและที่ระลึกให้กับตัวของตัวเอง สันติสุขของโลกจะบังเกิดขึ้น ถ้าทุกคนได้เข้าถึงพระรัตนตรัยที่มีอยู่ภายในตัว


เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทุกคนในโลกปรารถนาอยากจะให้โลกเกิดสันติสุขที่แท้จริงนั้นสามารถเป็นความจริงได้ ไม่ใช่เป็นความเพ้อฝันเลื่อนลอย เพราะพระรัตนตรัยนั้นมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกๆ คน ถ้าหากใครได้เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะแล้ว เขาจะมีชีวิตใหม่ที่สดใส ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เขาจะมีความคิดที่แตกต่างไปจากเดิม คำพูดและการกระทำที่แตกต่างไปจากเดิม ที่มีแต่ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ที่แท้จริง ไม่ใช่ปากพูดอย่างหนึ่ง แต่ใจคิดอีกอย่างหนึ่ง


พระรัตนตรัยนี้เป็นของมีจริงที่อยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ของจริงนั้นต้องคู่กับคนจริง ถ้าทำจริงๆ ก็จะเข้าถึงได้อย่างแน่นอน ถ้าหากปฏิบัติตามพุทธวิธีที่ได้ทรงแนะนำเอาไว้ ก็จะได้รู้แจ้งเห็นจริง หมดความสงสัยในพระรัตนตรัย ความเคลือบแคลงสงสัยในธรรมทั้งหลาย จะหมดไปได้ต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ได้อยู่ที่การทุ่มเถียงกัน โต้แย้ง ให้สมมุตืฐาน วิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งก็จะเป็นการเสียเวลาเปล่า


บัณฑิตควรจะพิสูจน์โดยลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ให้รู้แจ้งเห็นไปตามความเป็นจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณทรงเปล่งอุทานว่า "ยทา หเว ปาตภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ" ซึ่งแปลว่า "เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ชัดแจ้งซึ่งในธรรมพร้อมทั้งเหตุ"


ธรรมกายเป็นของจริงที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา และมีอยู่ในตัวของพวกเราทุกๆ คน ควรที่เราจะพิสูจน์ให้เข้าถึง ผู้ที่ไม่รู้จักธรรมกายนั้นมีอยู่ ๒ ประเภทคือ ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ คือไม่ได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติธรรมกันอย่างจริงจัง จึงไม่ทราบว่าธรรมกายนั้นมีอยู่จริง เมื่อไม่รู้จัก ไม่เคยเห็น จึงกล่าวแบบผู้ไม่รู้ไม่เห็นกันไปต่างๆ นานา อีกประเภทหนึ่ง คือผู้ที่ลงมือปฏิบัติ แต่ปฏิบัติแล้วทำไม่ได้ เพราะปฏิบัติไม่ถูกวิธี เมื่อไม่ถูกวิธีก็เข้าไม่ถึง หรือบางพวกรู้วิธีการหมดแล้ว แต่ขาดความเพียร ไม่ทำให้ต่อเนื่อง จึงไม่รู้จัก และไม่เข้าใจเรื่องธรรมกายซึ่งเป็นหลักของพระพุทธศาสนา

ผู้ทรงธรรม

ในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอรหันต์รูปหนึ่งชื่อว่า พระเอกุทานเถระ ว่าเป็นผู้ทรงธรรมที่แท้จริง เนื่องจากได้เข้าถึงคำสอนของพระองค์ด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างถูกวิธี จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ หมดความสงสัยในธรรมกาย


เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากพระเอกุทานะศึกษาด้วยพระปริยัติพอประมาณแล้ว ท่านได้ปลีกวิเวกเพื่อมุ่งเข้าสู่การปฏิบัติ เพราะท่านสอนตนเองว่า พระธรรมของพระบรมศาสดาจะรู้แจ้งได้ ก็ด้วยการปฏิบัติเท่านั้น ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นได้ด้วยการอ่าน การเขียน หรือการท่องจำพระสูตรแต่อย่างใด ดังนั้นท่านจึงไม่ประมาททำความเพียรอย่างจริงจัง

ท่านก็ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่งเพียงลำพัง ปกติท่านจะระลึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์อยู่บทหนึ่ง และจะกล่าวสาธยายธรรมบทนี้ เพื่อเตือนสติตนเองอยู่เสมอว่า "ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท เป็นผู้รู้ ผู้ศึกษาในทางแห่งการปฏิบัติ เพื่อความเป็นผู้รู้ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น สงบระงับแล้ว มีสติในทุกเมื่อ"

โดยเฉพาะในวันอุโบสถ พระเอกุทานะท่านก็มักจะกล่าวหัวข้อธรรมบทนี้อยู่เป็นประจำ และเหตุอัศจรรย์ก็ได้บังเกิดขึ้นทุกครั้ง คือเมื่อพระเถระกล่าวธรรมบทนี้จบลง ก็จะได้ยินเสียงสาธุการของเทวดาที่สิงสถิตอยู่บริเวณนั้นดังกังวานไปทั่วราวป่า ประหนึ่งว่าแผ่นดินทรุด
อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ มีพระเถระ ๒ รูป เป็นพระผู้ทรงพระไตรปิฎกแตกฉานและเชี่ยวชาญในหัวข้อธรรมต่างๆ ได้พาลูกศิษย์ของท่านจำนวน ๑,๐๐๐ รูป เดินทางมาขอพักอยู่ในราวป่าแห่งนั้นด้วย พระเอกุทานะ ได้เห็นคณะพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มาถึง ก็ออกมาต้อนรับด้วยความดีใจ และก็ได้กล่าวว่า "ในวันนี้นับว่าเป็นบุญลาภ ที่ท่านทั้งหลายได้มาพำนักอยู่ที่นี้ กระผมได้ยินกิตติศัพท์อันดีงามของท่านว่า เป็นผู้ชำนาญในพระไตรปิฎก แสดงธรรมได้ลึกซึ้ง วันนี้ใคร่ขอฟังธรรมของท่านทั้งสอง ขอกราบอาราธนาแสดงธรรมเพื่อเป็นมงคลแก่กระผมด้วยเถิด"

พระเถระจึงได้ถามพระเอกุทานะว่า "แล้วปกติในที่นี้มีใครมาฟังธรรมกันบ้าง เพราะสถานที่แห่งนี้ก็อยู่ในป่า ห่างไกลจากบ้านเรือนผู้คน" พระเอกุทานะจึงได้กล่าวว่า "ปกติธรรมดาในวันอุโบสถ กระผมก็มักจะกล่าวธรรมอยู่เพียงบทเดียวตามลำพัง เมื่อกล่าวจบก็จะมีเสียงเทวดาทั้งหลายในบริเวณนี้ให้สาธุการ กระผมจึงเข้าใจว่า มีเทวดามาฟังธรรมทุกวันอุโบสถ"


แล้วพระเถระทั้ง ๒ รูปซึ่งเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกก็ได้แสดงธรรม แต่ไม่มีเสียงสาธุการของเหล่าเทวดาเลย แม้เทวดาตนเดียวก็ไม่ได้ให้สาธุการ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเถระทั้งสองจึงได้ถามพระเอกุทานะว่า "เราทั้ง๒ รูปได้แสดงธรรมพร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะเป็นอเนกปริยาย แต่ไม่มีเสียงสาธุการของเหล่าเทวดาทั้งหลายในราวป่านี้เลย นี่เพราะเหตุใดกัน"

พระเอกุทานะก็กล่าวว่า "ในวันที่กระผมกล่าวธรรมอยู่ ก็จะมีเสียงสาธุการของเหล่าเทวดาทุกครั้งไป แต่วันนี้ไม่ทราบว่าเป็นด้วยเหตุใด" พระเถระทั้ง ๒ รูปจึงได้กล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น ผู้อาวุโส เธอจงแสดงธรรมแก่พวกเรากันบ้าง" เมื่อถูกนิมนต์แล้ว ท่านจึงกล่าวแสดงธรรมบนอาสนะด้วยธรรมบทเดิมนั้น

ทันทีที่กล่าวธรรมจบลง เหล่าเทวดาทั้งหลายก็ได้ให้สาธุการด้วยเสียงที่ดังกึกก้อง ประหนึ่งว่าแผ่นดินจะทรุดทีเดียว พระเถระทั้ง ๒ รูปได้ยินเสียงเทวดาเปล่งสาธุการเช่นนั้นจึงคิดว่า เรานี้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก มหาชนทั้งหลายก็ยกย่องว่าเป็นผู้แตกฉานและเชี่ยวชาญในพระธรรมอย่างยิ่ง แต่ทำไมเหล่าเทวดาจึงไม่ให้สาธุการแก่พวกเราเลย หรือเป็นเพราะเทวดาลำเอียง พวกสานุศิษย์ของพระเถระทั้งสองจึงได้กล่าวติเตียนเทวดาทั้งหลายว่า พวกเทวดาให้สาธุการแก่พระเอกุทานะก็เพราะว่าเห็นแก่หน้า


พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดเมื่อกลับไปถึงวัดพระเชตวันแล้ว ก็ได้กราบทูลความนั้นแด่พระบรมศาสดา พระพุทธองค์ได้ตรัสเตือนภิกษุเหล่านั้นว่า


"ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกผู้เรียนมามาก หรือพูดมาก ว่าเป็นผู้ทรงธรรม ส่วนผู้ใดเรียนคาถาแม้บทเดียว แล้วแทงตลอดในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม"

จากนั้นพระองค์ก็ได้ตรัสยกย่องพระเอกุทานะว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ทรงธรรมอย่างแท้จริง เพราะท่านเป็นผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลสแล้ว จึงตรัสย้ำอีกว่า "บุคคลไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมากอยู่ ส่วนบุคคลใดฟังแม้นิดหน่อยย่อมเห็นธรรมคือธรรมกาย เป็นผู้ไม่ประมาทในธรรม บุคคลนั้นแลเป็นผู้ทรงธรรม"

เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่าลำพังความรู้ในทางพระปริยัติเพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องนำความรู้เหล่านั้นมาปฏิบัติให้ได้ด้วย เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ ถ้าเราเข้าถึงธรรมกายได้เมื่อไหร่ ความสงสัยทั้งปวงก็จะสิ้นไป จากผู้ไม่รู้ ก็จะกลายเป็นผู้รู้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ สามารถรู้แจ้งได้ด้วยธรรมกาย ถ้าทุกคนลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ทำอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ ก็จะสามารถเข้าถึงได้ทุกคน เมื่อนั้นเราก็จะได้ชื่อว่าเป็น "ผู้ทรงธรรม" อย่าง

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล