มงคลหมู่ที่ 2 สร้างความพร้อมในการฝึกตนเอง
มงคลหมู่ที่ 2 สร้างความพร้อมในการฝึกตนเอง
มงคลที่ 4 อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มงคลที่ 5 มีบุญวาสนามาก่อน
มงคลที่ 6 ตั้งตนชอบ
เมื่อเราเริ่มต้นฝึกตนให้เป็นคนดี ด้วยการมีมาตรฐานความคิดเห็นที่ถูกต้อง มีต้นแบบทางความคิดคำพูด และการกระทำที่ทำให้สามารถถ่ายทอดและพันาคุณธรรมความดีให้เจริญขึ้นแล้ว ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมสร้างความพร้อมในการฝึกตนเองสามารถทำความดีได้อย่างสะดวก เพื่อจะได้ปรับปรุงตนเองได้อย่างดียิ่งขึ้น เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เรามี ความกระตือรือร้นและเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้เราสามารถฝึกตนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นประสบความสำเร็จทั้งชาตินี้ชาติหน้าจนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพาน เพราะฉะนั้นคนที่จะฝึกตัวเองได้ดีนั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม หมายถึง การอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ได้ที่สิ่งแวดล้อมดี ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่สุขภาพกายและใจ ยิ่งกว่านั้น ยังสนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัยสามารถประกอบ กิจการงานในหน้าที่อันเป็นสัมมาอาชีพ ให้เจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย และสามารถสร้างสมคุณงามความดีได้เต็มที่ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ อาวาส เป็นที่สบาย อาหารเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย และธรรมะเป็นที่สบาย อยู่ในถิ่นที่เหมาะสมนี้ ทำให้รอบ ๆ ตัวมีแต่คนดี เราก็มีโอกาสเป็นคนดี ถ่ายทอดคุณธรรมจากท่านได้สะดวก จะหาความรู้จะฝึกฝีมือ จะฝึกวินัย ฝึกพูด ก็หาคน อนได้ง่าย ยังเอื้ออำนวยให้สั่ง มความดีเพื่อประโยชน์ทั้งชาตินี้และชาติหน้า
2. มีบุญวาสนามาก่อน คือสร้างบุญมาดี ทั้งบุญเก่า บุญใหม่ มีความคุ้นในการสั่งสมบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่างไม่ขาดตอน
บุญเก่าที่ทำมาในอดีตชาติ ก็ทำให้เป็นคนมีร่างกายแข็งแรงสติปัญญาเฉลียวฉลาด ไหวพริบปฏิภาณไว อารมณ์แจ่มใสเบิกบาน มีบุญคอยส่งอยู่ จะร่ำเรียนเขียนอ่าน ทำการงานอะไรก็ก้าวหน้าได้เร็วกว่าคนอื่น
บุญใหม่ที่ทำในชาตินี้ การตั้งใจขยันหมั่นเพียร หมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็จะคอยช่วยหนุนอีกชั้นหนึ่ง ยิ่งถ้าใครบุญเก่าก็ดี บุญใหม่ก็ขวนขวายทำ ยิ่งก้าวหน้าได้เร็วเป็นทวีคูณสามารถฝึกตัวเองได้ง่าย
3. ตั้งตนชอบ คือมีเป้าหมายชีวิตที่ถูกต้อง ทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง และเป้าหมายสูงสุดไม่เป็นคนโลเล ดำเนินชีวิตไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย รู้ว่าควรจะฝึกฝนความสามารถและคุณธรรมอะไรเพื่อให้มุ่งหน้าสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ย่อมมีความกระตือรือร้นทุ่มเทพลังความสามารถของตน เพื่อฝึกตนเองให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างเต็มที่ ทำให้เป็นผู้มีความพร้อมในการฝึกตัวเองสูง
มงคลที่ 4 อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
ต้นโพธิ์ต้นไทร หากปลูกไว้ในกระถาง ถึงจะไม่ตาย ก็ต้องกลายเป็นไม้แคระแกร็นแต่ถ้านำไปปลูก ในที่ดินดี มีบริเวณกว้างขวาง น้ำท่าอุดม มบูรณ์ ก็โตวันโตคืนกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาเต็มที่ เช่นกัน คนเราหากตกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลวถึงจะมีความรู้ความสามารถ ก็ยากที่จะเอาดีได้ แต่ถ้าอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมแล้วก็สามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย
ถิ่นที่เหมาะ มหมายถึงอย่างไร
ถิ่นที่เหมาะสม หมายถึง ถิ่นที่สิ่งแวดล้อมดี ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่สุขภาพกายและใจ ยิ่งกว่านั้นยังสนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัยสามารถประกอบกิจการงานในหน้าที่อันเป็นสัมมาอาชีพให้เจริญก้าวหน้าได้โดยง่ายและสร้างสมคุณงามความดีได้เต็มที่
ถิ่นที่เหมาะสม มีความหมายกว้างครอบคลุมถึงถิ่นที่อยู่ทุกระดับ เช่น บ้านที่เราอาศัย โรงเรียนที่เราเรียนสถานที่ที่เราทำงาน หมู่บ้านชุมชนที่เราอยู่ ตำบลที่เราตั้งหลักฐาน อำเภอ จังหวัด ประเทศ ทวีป เป็นต้น
วิธีอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
1. เมื่อเรายังเป็นเด็กหรือเมื่อยังมีความสามารถน้อย ควรแสวงหา ถิ่นที่เหมาะสมอยู่อาศัยให้ได้จึงจะเจริญ เช่น แสวงหาโรงเรียนดีๆ ที่ทำงานดีๆ ทำเลปลูกบ้านดีๆ จะบวชก็หาวัดดีๆ
2. เมื่อเป็นผู้ใหญ่หรือมีความรู้ความสามารถเพียงพอแล้ว ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใดก็ตาม ต้องพยายามพัฒนาถิ่นที่เราอยู่ให้เป็นถิ่นที่เหมาะสมอย่างเต็มความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่เราอยู่สถานที่ที่เราทำงานหรือชุมชนที่เราอยู่อาศัยก็ตาม โดยยึดหลักการพัฒนาให้เป็นถิ่นที่เหมาะสม ดังนี้
ลักษณะของถิ่นที่เหมาะสม
1. อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึง เป็นที่ที่มี ภาพทางภูมิศาสตร์ดี เช่น ถ้าเป็นบ้าน ก็ต้องให้มีต้นไม้ร่มรื่น น้ำไฟสะดวก ถ้าเป็นโรงเรียน ก็ต้องมีสุขลักษณะดี มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีเสียงอึกทึกมีบริเวณกว้างขวาง มีสนามกีฬา ถ้าเป็นที่ตั้งร้านค้า ก็ต้องเป็นบริเวณที่อยู่ในย่านชุมชน การคมนาคมสะดวก ถ้าเป็นจังหวัดหรือภาค ก็ต้องเป็นบริเวณที่ ภาพภูมิศาสตร์ดี เช่น ไม่ลุ่มไม่ดอนเกินไป ไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไป เป็นต้น
2. อาหารเป็นที่สบาย หมายถึง เป็นบริเวณที่สามารถจัดหาอาหารกินได้สะดวก เช่น อยู่ใกล้ตลาดหรือบริเวณที่มีการเกษตรกรรมสามารถผลิตอาหารได้เองอย่างพอเพียง
3. บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึง บริเวณที่อยู่นั้นต้องไม่มีนักเลง อันธพาล โจรผู้ร้ายไม่ชุกชุมคนส่วนใหญ่ในละแวกนั้นเป็นคนดี มีศีลธรรม มีวินัย ใฝ่หาความก้าวหน้า
4. ธรรมะเป็นที่สบาย
ในทางโลก หมายถึง ในถิ่นนั้นมีโรงเรียน ถานศึกษาสำหรับให้ความรู้ได้อย่างดี ตลอดจนมีหลักการปกครองที่ดีอีกด้วย
ในทางธรรม หมายถึง ในถิ่นนั้นมีพระภิกษุ หรือฆราวา ผู้รู้ธรรม เป็นบัณฑิตสามารถให้การอบรมสั่งสอนศีลธรรมได้อย่างดี หรือถิ่นที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึงสามารถให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ทำสมาธิภาวนาได้เป็นนิจ
ลำดับความสำคัญของปัจจัย 4 ประการ
องค์ประกอบของถิ่นที่เหมาะสม ดังได้กล่าวมาแล้วทั้ง 4 ประการ จัดเรียงลำดับความสำคัญได้ ดังนี้
ธรรมะเป็นที่สบาย สำคัญอันดับ 1
บุคคลเป็นที่สบาย สำคัญอันดับ 2
อาหารเป็นที่สบาย สำคัญอันดับ 3
อาวาส เป็นที่สบาย สำคัญอันดับ 4
เพราะถึงแม้อาวาส จะไม่เป็นที่สบาย แต่ถ้ามีอาหารอุดมสมบูรณ์ก็ยังพออยู่ได้ หรือถ้าอาวาส และอาหารไม่เป็นที่สบาย แต่บุคคลเป็นที่สบายแล้ว ก็จะสามารถปรับปรุงอาหารและอาวาส ให้เป็นที่สบายได้แต่บุคคลจะเป็นที่สบายได้ก็ต้องมีธรรมะเป็นที่สบายอยู่ในจิตใจเสียก่อน
ตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นพื้นที่เป็นเกาะ มีภัยธรรมชาติจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อยๆพื้นที่ก็น้อย (อาวาส ไม่เป็นที่สบาย) เดิมอาหารการกินก็ไม่เพียงพอ (อาหารไม่เป็นที่สบาย) แต่เนื่องจากประชากรเขามีประสิทธิภาพ ขยันขันแข็ง มีวินัย ใฝ่หาความก้าวหน้า (บุคคลเป็นที่สบาย) และมีหลักในการปกครองประเทศที่ดี มีความรักชาติ (ธรรมะในทางโลกเป็นที่สบาย) จึงเป็นผลให้ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเจริญรุ่งเรือง จนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกได้
ส่วนประเทศไทย มี ภาพภูมิศาสตร์ที่ดีเยี่ยม ไม่มีภัยธรรมชาติที่รุนแรง (อาวาส เป็นที่สบาย) อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ (อาหารเป็นที่สบาย) แต่ที่ยังขาดอยู่คือ คนของเรายังขาดวินัย ยังมีความมานะพากเพียรไม่เพียงพอ (บุคคลไม่เป็นที่สบาย) แม้เราชาวไทยจะมีพระธรรมคำสั่ง อนของพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ทว่าเรายังเห็นแก่ความสะดวกสบายส่วนตัวอยู่มาก ยังไม่นำพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประพฤติปฏิบัติมากเท่าที่ควร (ธรรมะไม่เป็นที่สบาย) ทำให้ความเจริญของเรายังล้าหลังประเทศอื่นอยู่มาก
ดังนั้น ถ้าพวกเราร่วมใจกันพันาตนเองให้เป็นคนดี มีระเบียบวินัย มีความขยันขันแข็งใฝ่หาความก้าวหน้าอยู่เสมอ นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติ ก็เป็นที่หวังได้ว่าชาติไทยของเราจะมีความรุ่งเรืองก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศทั้งหลายได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ข้อเตือนใจ
ในหลายๆ ประเทศ มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านวัตถุมาก ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในเรื่องเครื่องอุปโภคบริโภค หางานทำได้ง่าย เก็บเงินทองได้มาก ดูเผินๆ แล้วน่าไปอยู่อาศัยมาก แต่อย่าไปอยู่เลย เพราะธรรมะไม่เป็นที่สบาย โอกาสที่ผู้อยู่อาศัยจะสร้างความก้าวหน้าทางใจ โอกาสที่จะร้างบุญบารมีมีน้อย คนอยู่ในประเทศเหล่านั้น ตื่นเช้าขึ้นมาก็นึกถึงแต่งาน ไม่เคยได้นึกถึงการทำบุญทำทาน การรักษาศีล หรือการทำสมาธิภาวนาเลย หรือบางครั้งนึกถึงแต่ก็ไม่มีใครแนะนำให้ ดังนั้นถึงมีชีวิตอยู่ ก็เหมือนคนที่ตายแล้ว คือตายไปแล้วจากคุณงามความดี
ในประเทศไทยเรา แม้ความเจริญทางด้านวัตถุ อาจจะยังล้าหลัง แต่ด้านธรรมะยังเจริญอยู่มากเรายังมีโอกาสให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาได้เต็มที่ มีโอกาสร้างบุญให้ยิ่งๆ ขึ้นไปได้
วิธีทำบ้านให้น่าอยู่
1. ดูแลบ้านให้สะอาด เป็นระเบียบ มีทางถ่ายเทอากาศได้สะดวก
2. เลือกซื้อเลือกทำอาหารให้ถูกหลักอนามัย เป็นแม่บ้านก็ต้องหัดทำอาหารให้เป็น
3. จูงใจคนในบ้านให้มีศีลธรรม มีความเคารพซึ่งกันและกัน มีความขยันหมั่นเพียร โดยเริ่มปรับปรุงที่ตัวเราเองให้ดีก่อน แล้วจึงชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม
4. ชักนำกันไปวัด ฟังเทศน์ ฝึกสมาธิ รักษาศีลเป็นประจำ จัดบ้านให้มีอุปกรณ์ เครื่องเสริมสร้างทางใจ เช่น มีหนังสือธรรมะ มีห้องพระหรือหิ้งพระ กำจัดภาพและหนังสือที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด เช่น ภาพหรือหนังสือลามก เป็นต้น
อานิสงส์การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
1. ทำให้ได้รับความสุขกายสุขใจเต็มที่
2. ทำให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม
3. ทำให้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเต็มที่ ทั้งทาน ศีล ภาวนา
4. ทำให้ได้รู้พระสัทธรรม คือได้ศึกษาธรรมะ
5. ทำให้ได้การเห็นอันประเสริฐ คือได้เห็นพระรัตนตรัย
6. ทำให้ได้ฟังธรรมอันประเสริฐ คือได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
7. ทำให้ได้ลาภอันประเสริฐ คือได้ความศรัทธาในพระรัตนตรัย
8. ทำให้ได้การศึกษาอันประเสริฐ คือได้ศึกษาศีลสมาธิ ปัญญา
9. ทำให้ได้การบำรุงอันประเสริฐ คือได้บำรุงพระพุทธศาสนา
10. ทำให้ได้การระลึกอันประเสริฐ คือใจระลึกผูกพันอยู่กับพระรัตนตรัย
11. ทำให้ได้นิสัยไม่ประมาท โดยดูตัวอย่างจากผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
12. ทำให้ได้ที่พึ่งอันสูงสุด คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
13. ทำให้ได้อริยทรัพย์ คือหนทางสู่นิพพาน ฯลฯ
มงคลที่ 5 มีบุญวาสนามาก่อน
ผลไม้พันธุ์เลว ถึงจะใส่ปุ๋ยรดน้ำพรวนดินดีอย่างไรก็ตาม
อย่างมากก็ทำให้มีผลดกขึ้นบ้าง แต่จะทำให้มีรสโอชาขึ้นกว่าเดิมนั้นยาก ตรงกันข้าม
ผลไม้พันธุ์ดี แม้รดน้ำพรวนดินเพียงพอประมาณ ก็ให้ผลมากเกินคาด รสชาติก็โอชา
เช่นกัน ผู้ที่ไม่ได้สั่งสมคุณความดีมาก่อน เมื่อประกอบกิจใดๆ
ถึงขยันขันแข็งสักปานไหน ผลแห่งความดีกว่าจะปรากฏเต็มที่
ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างหนักและเสียเวลามากส่วนผู้ที่สั่งสมคุณความดีมาก่อน
เมื่อทำความดี ผลดีปรากฏเต็มที่ทันตาเห็นส่งผลให้มีความเจริญก้าวหน้า
เหนือกว่าบุคคลทั้งหลายได้อย่างน่าอัศจรรย์
บุญคืออะไร
บุญ คือสิ่งซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือกคิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดีตามที่คิดนั้น
บุญ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมส่งผลปรุงแต่งใจของเราให้มีคุณภาพดีขึ้น คือตั้งมั่นไม่หวั่นไหว บริสุทธิ์ผุดผ่อง สว่างไสว โปร่งโล่ง ไม่อึดอัด อิ่มเอิบ ไม่กระสับกระส่าย ชุ่มชื่นเบา สบาย ผ่อนคลายไม่ตึงเครียดนุ่มนวลควรแก่การใช้งาน และบุญที่เกิดขึ้นนี้ยังสามารถสะสมเก็บไว้ในใจได้อีกด้วย
ผู้ที่ฝึกสมาธิจนเข้าถึงธรรมกายและฝึกจนชำนาญแล้ว ย่อมสามารถมองเห็นบุญได้ คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็นบุญ แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุขเปรียบได้กับ "ไฟฟ้า" ซึ่งเรามองไม่เห็นตัวไฟฟ้าโดยตรง แต่เราสามารถรับรู้อาการของไฟฟ้าได้ เช่น เมื่อไฟฟ้าผ่านเข้าไปในหลอดไฟแล้วเกิดแสงสว่างขึ้น หรือเมื่อผ่านเข้าไปในเครื่องปรับอากาศ แล้วเกิดความเย็นขึ้น เป็นต้น
คุณสมบัติของบุญ
1. ชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดได้
2. นำความสุขความเจริญก้าวหน้ามาให้
3. ติดตามตนไปทุกฝีก้าว แม้ไปเกิดข้ามภพข้ามชาติ
4. เป็นของเฉพาะตน ใครทำใครได้ โจรลักขโมยไม่ได้
5. นำมาซึ่งโภคทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
6. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ นิพพานสมบัติ แก่เราได้
7. เป็นปัจจัยให้บรรลุมรรคผลนิพพาน
8. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏฏสงสาร
ประเภทของบุญในกาลก่อน
บุญในกาลก่อนแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. บุญช่วงไกล คือคุณความดีที่เราทำจากภพชาติก่อน มาจนถึงวันคลอดจากครรภ์มารดา
2. บุญช่วงใกล้ คือคุณความดีที่เราทำในภพชาติปัจจุบัน ตั้งแต่คลอดจนถึงเมื่อวานนี้
บุญช่วงไกล การสั่งสมความดีมาแต่ภพชาติก่อนส่งผลให้เราเห็นในปัจจุบัน เปรียบเสมือนผลไม้ที่คัดพันธุ์มาดีแล้ว รสโอชะของมันย่อมติดมาในเมล็ด เมื่อนำเมล็ดนั้นมาปลูก ต้นของมันย่อมให้ผลที่รสอร่อยทันที โดยไม่ต้องทะนุบำรุงมาก คนเราก็เช่นกัน ถ้าในอดีตชาติสะสมความดีมามากพอ เกิดมาชาตินี้ก็เป็นคนใจใสใจสะอาด บริสุทธิ์มาตั้งแต่เด็ก มีสติปัญญาดีมาแต่กำเนิด รูปร่าง สง่างาม ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีโอกาสร้างความดีได้มากกว่าคนอื่นๆ ถ้าไม่ประมาท หมั่นสะสมความดีในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอีก ก็จะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าประมาทไม่เอาใจใส่ในการทำความดีในปัจจุบัน ก็เปรียบเสมือนต้นไม้ยอดด้วน ยากที่จะเจริญเติบโตต่อไปได้
บุญช่วงใกล้ คนที่ทำความดีตั้งแต่เล็กเรื่อยมา เช่น ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ขยันหมั่นเพียร คบคนดีเป็นมิตร ฝึกใจให้ผ่องใสมาตั้งแต่เด็ก ความคิด คำพูด การทำงาน ย่อมดีกว่าบุคคลอื่นในวัยเดียวกันเมื่อเติบโตขึ้น ย่อมมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าผู้อื่น
เพราะฉะนั้นเราจึงควรสั่งสมบุญ โดยทำความดีเสียตั้งแต่วันนี้ จะได้ส่งผลให้มีสติปัญญาดี มีความเฉลียวฉลาด มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตต่อไปในอนาคต ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้ทรงทำความดีสร้าง มบารมีมามากนับภพนับชาติไม่ถ้วน ในภพชาติสุดท้าย ก็ทรงฝึกเจริญสมาธิภาวนาศึกษาเล่าเรียน ตั้งแต่ยังเยาว์ จึงสามารถตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เมื่อพระชนม์เพียง 35 พรรษา
ผลของบุญ
บุญเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีผลกับตัวเรา 4 ระดับ คือ
1. ระดับจิตใจ เป็นบุญที่เกิดผลทันที คือทำความดีปุ๊บก็เกิดปั๊บ ไม่ต้องรอชาติหน้า เกิดขึ้นเองในใจของเรา ทำให้
-สุขภาพทางใจดีขึ้น คือมีใจเยือกเย็น ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อคำยกยอหรือตำหนิติเตียน
-สมรรถภาพของใจดีขึ้น คือเป็นใจที่สะอาดผ่องใสใช้คิดเรื่องราวต่างๆ ได้รวดเร็ว ว่องไว ลึกซึ้งกว้างไกล รอบคอบ เป็นระเบียบ และตัดสินใจได้ฉับพลันถูกต้องไม่ลังเล
2. ระดับบุคลิกภาพ คนที่ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีใจที่สงบ แช่มชื่นเบิกบาน ชุ่มเย็น นอนหลับสบาย ไม่มีความกังวลหม่นหมอง หน้าตาผิวพรรณจึงผ่องใสใจเปียมไปด้วยบุญไม่คิดโลภอยากได้ของใคร ไม่คิดสร้างความเดือดร้อนให้ใคร มีแต่คิดช่วยเหลือเขา จึงมีความมั่นใจในตัวเองมีความองอาจสง่างามอยู่ในตัว ไปถึงไหนก็สามารถวางตัวได้พอเหมาะพอดี บุคลิกภาพย่อมดีขึ้นเป็นลำดับ
3. ระดับวิถีชีวิต วิถีชีวิตของคนเรา เกิดจากการสรุปผลบุญและผลบาปที่เราได้ทำมาตั้งแต่ภพชาติก่อนๆ จนถึงภพชาติปัจจุบัน เป็นผลของบุญระดับจิตใจและระดับบุคลิกภาพ ร่วมกันชักนำให้เราได้รับสิ่งที่น่าปรารถนา ตอบสนองมาจากภายนอก เช่น ได้รับลาภ ยศสรรเสริญสุข การที่เราทำดี แล้ววิถีชีวิตของเราจะดีเต็มที่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับบุญเก่าหรือบาปในอดีตที่เราเคยทำไว้ด้วย จึงเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนทำให้บางคนเข้าใจผิด คิดว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี เพราะบางครั้งขณะที่เราตั้งใจทำความดีอยู่ กลับถูกใส่ร้ายป้ายสีหรือประสบเคราะห์กรรม ทำให้หมดกำลังใจในการทำความดี
แท้จริงแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในขณะนั้น ผลบาปที่เราเคยทำในอดีตกำลังส่งผลอยู่ แต่บุญที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันย่อมไม่ไร้ผล เมื่อเราตั้งใจทำบุญไปโดยไม่ย่อท้อ บุญย่อมจะส่งผลให้เคราะห์กรรมหมดสิ้นไปโดยเร็ว และได้รับความสุขความสำเร็จได้ในที่สุด
4. ระดับสังคม เมื่อเราทำความดีมาแล้วอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะไปอยู่สังคมใด บุญจะส่งผล ให้เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับนับถือ ได้เป็นผู้นำของสังคมนั้น และจะเป็นผู้ชักนำ สมาชิกในสังคมให้ทำความดีตามอย่างให้เกิดความสงบร่มเย็น และความเจริญก้าวหน้าขึ้นในสังคมนั้นๆ โดยลำดับ
ตัวอย่างผลของบุญ
ผู้ที่มีอายุยืน เพราะในอดีตไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
ผู้ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เพราะในอดีตไม่รังแกหรือทรมานสัตว์
ผู้ที่มีพลานามัย มบูรณ์ เพราะในอดีตให้ทานด้วยข้าวปลาอาหารมามาก
ผู้ที่มีผิวพรรณงาม เพราะในอดีตรักษาศีล และให้ทานด้วยเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมามาก
ผู้ที่มีอำนาจมีคนเกรงใจ เพราะในอดีตมีมุทิตาจิต ใครทำความดีก็อนุโมทนา ไม่อิจฉาริษยาใคร
ผู้ที่ร่ำรวยมีโภคทรัพย์มาก เพราะในอดีตให้ทานมามาก
ผู้ที่เกิดในตระกูลสูง เพราะในอดีตบูชาบุคคลที่ควรบูชามามาก
ผู้ที่ฉลาดมี ติปัญญาดี เพราะในอดีตคบบัณฑิต ฝึกสมาธิเจริญ ภาวนามามาก และไม่ดื่มสุรายาเมา
วิธีทำบุญ
การทำความดีทุกอย่างล้วนได้ผลออกมาเป็นบุญทั้งสิ้น แต่เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและนำไปปฏิบัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแบ่งวิธีทำบุญออกเป็น 10 วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
2. ศีล คือการสำรวมกายวาจาให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
3. ภาวนา คือการสวดมนต์ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
4. อปจายนะ คือการมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
5. ไวยยาวัจจะ คือการช่วยเหลือขวนขวายในกิจที่ชอบ
6. ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญแก่ผู้อื่น
7. ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
8. ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
9. ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
10. ทิฏุชุกัมม์ คือการปรับปรุงความเห็นของตนให้ถูกต้อง
ทั้ง 10 ประการนี้สรุปลงได้เป็น บุญกิริยาวัตถุ 3 คือ
ทาน คือ 1, 5, 6, 7 เป็นการฆ่าความตระหนี่ออกจากใจ
ศีล คือ 2 เป็นการป้องกันตนไม่ให้ทำชั่ว
ภาวนา คือ 3, 4, 8, 9, 10 เป็นการฝึกตัวเองให้ฉลาด มีสติปัญญาดี
แข่งบุญแข่งวาสนาใช่ว่าแข่งไม่ได้ แต่ถ้าแข่งแล้วไซร้ต้องแข่งด้วยการทำความดี
บุญวาสนาไม่ใช่อภินิหาร
บุญวาสนาไม่ใช่อภินิหาร แต่สามารถอธิบายด้วยหลักเหตุผลได้ดังนี้ คนที่จิตสั่งสมแต่บาปหรือความชั่วจะทำให้ใจมืดมัว กิเลส ต่างๆ เข้ายึดครองใจได้ง่าย ทำให้เกิดผลร้ายต่อตนเอง เช่น เวลาโกรธจัดความโกรธเข้ายึดครองใจ ทำให้หัวใจเต้นแรงผิดปกติ ระบบสูบฉีดเลือดผันแปร โลหิตมีการเผาไหม้มากเกิดอาการร้อนผ่าวตั้งแต่หน้าอกจรดใบหน้า ปลายประสาทสั่น ความร้อนจะทำให้ผิวหยาบกร้าน ไม่มีน้ำมีนวล อาหารไม่ย่อย ท้องอืด คนโกรธง่าย จึงเป็นคนเจ้าทุกข์ หงุดหงิด พูดจาห้วนแบบมะนาวไม่มีน้ำ เวลาโกรธจะขาดสติ คิดอ่านการใดก็ผิดพลาดได้ง่าย
ส่วนคนที่จิตสั่งสมแต่บุญหรือความดี จะทำให้ใจผ่องใสอยู่เป็นปกติ กิเลส ต่างๆ เข้ายึดครองใจได้ยาก เพราะมีสติคอยควบคุมใจไว้สามารถสอนตนเองและตักเตือนตนเองไม่ให้ทำความชั่วได้ จึงมีจิตใจที่สงบเยือกเย็นสดชื่น ผ่องใสระบบการทำงานของร่างกายก็เป็นปกติ มีผิวพรรณงาม เสียงไพเราะกิริยาน่ารัก คิดอ่านการใดก็แจ่มใส่งผลให้มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้ง่าย
ข้อเตือนใจ
เมื่อทราบว่าการทำบุญเป็นการสั่งสมความดีไว้เพื่อตนเองแล้ว เราจึงไม่ควรประมาทในการทำบุญควรทำบุญเท่าที่กำลังความสามารถจะอำนวย ผู้ที่ได้สั่งสมบุญมาดีแล้วแต่เพิกเฉยในการทำบุญเพิ่ม เปรียบเสมือนชาวนาที่เก็บเกี่ยวผลิตผลแล้วแจกจ่ายขายกินหมด ไม่เหลือไว้ทำพันธุ์ต่อไปภายหน้าเลย เขาย่อมเดือดร้อนในฤดูกาลทำนาครั้งต่อไป
ความดีทุกอย่างที่เราทำไว้ แม้จะไม่ให้ผลในปัจจุบันทันตาก็ไม่สูญเปล่า ความดีเหล่านั้นจะรวมกันเข้าปรุงแต่งจิตใจให้ดีขึ้นสิ่งนี้แหละ คือ บุญวาสนา
เราจึงควรเร่งสร้างความดีเสียแต่บัดนี้ โดยหมั่นศึกษาวิชาการ ฝึกฝนตนเองทั้งทางด้านการปรับปรุงคำพูด ความขยันขันแข็ง ทำการงานให้ดีขึ้น และพยายามฝึกใจให้ผ่องใสด้วยการหมั่นทำทาน รักษาศีลเจริญภาวนาอย่าง ม่ำเสมอ คนเช่นนี้จึงเป็นคนมีบุญวา นาที่แท้จริง
หลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
เราต้องเร่งสร้างบุญใหม่ตั้งแต่บัดนี้ จะได้เป็นบุญเก่าติดตัวไปในวันหน้า โดยยึดหลักว่า
1. เช้าใดยังไม่ได้ทำทาน เช้านั้นอย่าเพิ่งทานข้าว
2. วันใดยังไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล วันนั้นอย่าเพิ่งออกจากบ้าน
3. คืนใดยังไม่ได้สวดมนต์เจริญสมาธิภาวนา คืนนั้นอย่าเพิ่งนอน
เราต้องอดทนฝึกตนให้สร้างความดีเรื่อยไป แม้จะต้องกระทบกระทั่งกับสิ่งใด มีอุปสรรคมากเพียงไหนก็ปักใจมั่นไม่ย่อท้อ กัดฟันสู้ทำความดีเรื่อยไป
น้ำหยดทีละหยด ยังสามารถเต็มตุ่มได้ ฉันใด
บัณฑิตหมั่นสั่งสมบุญทีละน้อย
ย่อมเต็มเปียมด้วยบุญ ฉันนั้น
ขุ. ธ. 251931
อานิสงส์การมีบุญวาสนามาก่อน
1. ทำให้มีปัจจัยต่างๆ พร้อมสามารถทำความดีใหม่ได้โดยง่าย
2. อำนวยประโยชน์ทุกอย่างดังได้กล่าวมาแล้ว
3. เป็นต้นเหตุแห่งความสุขทุกประการ
4. เป็นเสบียงติดตัวทั้งภพนี้ภพหน้า ฯลฯ
มงคลที่ 6 ตั้งตนชอบ
เรือที่ฝ่าคลื่นอยู่กลางมหาสมุทร จะแล่นถึงฝังได้
นายเรือจะต้องตั้งจุดหมายปลายทางไว้ถูกต้อง
และรู้จักควบคุมหางเสือให้เรือวิ่งไปไม่ผิดทิศทางฉันใด
คนเราจะประ พความสำเร็จในชีวิตได้ ก็จะต้องตั้งตนชอบฉันนั้น
ตั้งตนชอบหมายถึงอย่างไร
ตั้งตนชอบ หมายถึง การตั้งเป้าหมายชีวิต ทั้งทางโลกและทางธรรมไว้ถูกต้อง แล้วประคับประคองตนให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายนั้น ด้วยความระมัดระวัง
การตั้งตนชอบเป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นขั้นตอนแรกในการสร้างความสุข ความเจริญก้าวหน้าแก่ชีวิตเพราะถ้าใครตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ผิด เช่น ตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นโจรที่ปล้นเก่งที่สุด หรือจะเป็นนักผลิตเโรอีนที่เก่งที่สุด แล้วพยายามดำเนินชีวิตไปตามนั้น คนๆ นั้นก็ไม่มีทางที่จะมีความสุขความเจริญก้าวหน้าได้ แม้จะไปเสาะแสวงหาความรู้ความสามารถได้มากเพียงไร ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด เพราะความรู้ ความสามารถนั้นๆ ล้วนเป็นไปเพื่อยังความพินาศให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง และผู้อื่นทั้งสิ้น
ผู้ที่รักความก้าวหน้าทั้งหลาย จึงจำเป็นต้องตั้งเป้าหมายชีวิตให้ถูกต้องก่อน จากนั้นจึงไปเสาะแสวงหาความรู้ความสามารถ พากเพียรพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตที่ถูกต้องนั้นให้ได้
อะไรคือเป้าหมายชีวิต
เป้าหมายของคนทุกคนแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. เป้าหมายชีวิตขั้นต้น คือการตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อประโยชน์ในชาตินี้ เป็นการตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะต้องตั้งตัวตั้งฐานะให้ได้ ด้วยการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม จะเป็นอาชีพอะไรก็ตามแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล จะเป็นนักธุรกิจ แพทย์ วิศวกร ชาวนา ชาวไร่ หรืออาชีพอื่นๆ ได้ทั้งนั้น ขอแต่เพียงให้เป็นอาชีพสุจริตก็แล้วกัน และเมื่อตั้งเป้าหมายชีวิตไว้แล้ว ก็มุ่งมั่นฝึกฝนตนเองสร้างตัวให้บรรลุเป้าหมายชีวิตนั้นให้ได้
หนูตัวเล็กๆ ยังสู้อุตส่าห์ขุดรูอยู่ นกกระจิบกระจอกยังสู้อุตส่าห์สร้างรังเราเกิดมาเป็นคนทั้งที ก็ต้องสร้างฐานะให้ดีให้ได้
2. เป้าหมายชีวิตขั้นกลาง คือการตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อประโยชน์ในชาติหน้า เป็นการตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ว่า นอกจากจะพยายามตั้งฐานะของตนให้ได้แล้ว ก็จะตั้งใจสร้างบุญกุศลอย่างเต็มที่ในทุกๆ โอกาสที่อำนวยให้เพื่อสะ มเป็นทุนเป็นเสบียงในภพชาติต่อไป เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วไม่สูญ ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเล ก็ยังต้องเกิดใหม่อีกอยู่ร่ำไป
คนบางคนคิดแต่จะหาประโยชน์เฉพาะในชาตินี้ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ชาติหน้าเลย คิดแต่จะหาทรัพย์จะตั้งฐานะให้ได้ โดยไม่ประกอบการบุญการกุศล เราลองคิดดูว่า ชีวิตของคนประเภทนี้จะมีคุณค่าสักเพียงไร ตั้งแต่เกิดก็อาศัยพ่อแม่เลี้ยง พอโตขึ้นหน่อยก็เรียนหนังสือหาความรู้ ครั้นโตขึ้นอีกก็ทำงานมีครอบครัวเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน ดิ้นรนหาสิ่งต่างๆ มาบำรุงบำเรอตน แล้วก็แก่เส่าตายไป ดูพวกนกกาตั้งแต่เล็กมันก็อาศัยพ่อแม่เลี้ยงสอนบิน อนให้รู้จักหาอาหาร โตขึ้นก็แยกรังไปมีครอบครัวหาอาหารมาเลี้ยงลูกเลี้ยงตัว หาความสุขตามประสานกกา แล้วก็แก่เส่าตายไปเหมือนกัน ถ้าคนเราเกิดมาแล้วมีชีวิตอยู่เพียงเท่านี้ ก็มีคุณค่าไม่ต่างอะไรกับนกกา
แต่นี่เราเป็นคน มีโครงร่างเหมาะแก่การใช้ทำความดีมากที่สุด ดังนั้น นอกจากความพยายามตั้งฐานะในชาตินี้ให้ได้แล้ว เราทุกคนจึงควรที่จะรู้จักสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต ด้วยการตั้งใจทำความดี ประกอบการบุญการกุศลอย่างเต็มที่ เผื่อไว้เป็นเสบียงในการเดินทางข้ามภพข้ามชาติ และเป็นปัจจัยในการบรรลุถึงเป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุด
3. เป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุด คือการตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ได้แก่ การตั้งใจปฏิบัติธรรมทุกรูปแบบ เพื่อปราบกิเลส ให้หมดสิ้น แล้วเข้านิพพานตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันต์ทั้งหลาย จะได้มีแต่ความสุขอันเป็นอมตะตลอดไป ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
โดยธรรมชาติทุกชีวิต เมื่อถึงที่สุดย่อมหมดกิเลส เข้านิพพานไปด้วยกันทุกคน ต่างแต่ว่าช้าหรือเร็วเท่านั้น ในช่วงที่ยังไม่หมดกิเลส นี้ ก็ต้องทนรับทุกข์กันไป มากบ้างน้อยบ้างตามแต่กรรมที่ตนทำไว้ เราเวียนเกิดเวียนตายกันมา นับภพนับชาติไม่ถ้วนแล้ว ถ้ามีใครสามารถเอากระดูกของเราทุกชาติมากองรวมกันเข้าก็จะสูงท่วมภูเขา ถ้าเอาน้ำตาของเราที่หลั่งไหลออกมาเพราะความทุกข์ทุกๆ ชาติมารวมกัน ก็จะมากกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก ใครสามารถเข้านิพพานได้ก่อน ก็หมดทุกข์ก่อน ที่ยังอยู่ก็ต้องเวียนเกิดเวียนตายในทะเลทุกข์แห่งวัฏฏสงสารต่อไป
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดเช่นเดียวกับพวกเราแต่พระองค์ตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ถูกต้อง คือตั้งเป้าไว้ว่าจะกำจัดกิเลส ในตัวให้หมดโดยเร็ว แล้วนำตนเองและผู้อื่นเข้านิพพานด้วย จากนั้นก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียร ฝึกฝนตนเองอย่างเต็มที่มานับภพนับชาติไม่ถ้วน แม้มีอุปสรรคหนักหนาสาหัส เพียงไรก็ไม่ย่อท้อ สละได้แม้เลือดเนื้อและชีวิต เพื่อรักษาเป้าหมายที่จะเข้านิพพานไว้ไม่ให้คลอนแคลน ในที่สุดพระองค์ก็ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถกำจัดกิเลส ได้หมดเข้านิพพานอันเป็นบรมสุขได้
ส่วนพวกเรามัวเที่ยวเถลไถล เกะๆ กะๆ ไม่เอาจริง ไม่ตั้งใจมุ่งมั่นในการทำความดี บ้างก็ยังไม่รู้เป้าหมายสูงสุดของชีวิตว่า คือการเข้านิพพาน บ้างก็รู้แล้ว แต่เกียจคร้านประพฤติย่อหย่อน ทำๆ หยุดๆจึงต้องมาเวียนเกิดเวียนตาย รับทุกข์อยู่อย่างนี้
ฉะนั้น ถ้าใครฉลาดก็ต้องรีบแก้ไขตนเอง ตั้งเป้าหมายสูงสุดของชีวิตไว้ให้มั่นคง ไม่ประมาทในการสร้างความดี หมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ชำระกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ เพื่อจำกัดกิเลส ให้หมดจะได้พ้นทุกข์เข้านิพพาน ได้รับความสุขอันเป็นอมตะตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง
จงอย่าประมาท เร่งเดินตามรอยบาทพระบรมศาสดา
ถึงจะทำประโยชน์ให้คนอื่นมากมาย
ก็ไม่ควรละทิ้งจุดหมายปลายทางของตน
เมื่อรู้ว่าอะไรคือจุดหมายปลายทางแล้ว ก็ควรใส่ใจขวนขวาย
ข้อเตือนใจ
คนบางคนเริ่มแรกก็ตั้งเป้าหมายชีวิตดีอยู่ เช่น ตั้งใจจะทำมาหากินโดยสุจริต แต่กำลังใจยังไม่เข้มแข็งพอ ครั้นทำไปนานเข้าเริ่มรู้สึกว่ารวยช้าไป ไม่ทันใจ เป้าหมายชีวิตชักเขว ลงท้ายเลยไปคดโกงคนอื่นเขา ต้องติดคุกติดตะรางไป หรือบางคนตั้งใจจะให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา แต่พอถูกคนอื่นเย้าแหย่บ้าง ล้อเลียนบ้าง เจอสิ่งยั่วยุมากเข้ามากเข้า เลยเลิกปฏิบัติธรรมปล่อยชีวิต ให้เป็นไปตามอำนาจของกิเลส
ทำอย่างไร เราจึงจะป้องกันตัวเราไม่ให้เป็นอย่างนั้นบ้าง ทำอย่างไร จึงจะรักษาเป้าหมายชีวิตของเราไว้ให้มั่นคง
วิธีรักษาเป้าหมายชีวิตให้มั่นคง
1. ฝึกให้เป็นคนมีศรัทธา ได้แก่ มีเหตุผล เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ การเชื่อมี 2 แบบ คือ
1) เชื่ออย่างมีเหตุผล ประกอบด้วยปัญญา เรียกว่า ศรัทธา
2) เชื่ออย่างไร้เหตุผล ปราศจากปัญญา เรียกว่า งมงาย
ศรัทธาขั้นพื้นฐาน 4 ประการ คือ
- เชื่อกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง เมื่อทำอะไรแล้วย่อมเป็นกรรม คือเป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตนการกระทำไม่ว่างเปล่า
- เชื่อในผลของกรรม คือเชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว โดยการทำดี นั้นจะต้องทำให้ครบองค์ประกอบ 3 ประการจึงจะได้ดี คือต้องทำให้
ถูกดี คือมีปัญญาสามารถทำถูกวัตถุประสงค์ของงานนั้น
ถึงดี คือมีความพยายามที่จะทำงานนั้นให้เต็มตามความสามารถ
พอดี คือมี ติดี ไม่ทำจนเลยเถิดไป เผื่อเหนียวมากไปจนเกิดความเสียหาย
- เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน คือเชื่อว่าบุญและบาป อันเป็นผลของกรรมดีและกรรมชั่ว ย่อมติดตามบุคคลผู้ทำนั้นตลอดไป
- เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง เชื่อในพระปัญญาการตรัสรู้ของพระองค์
2. ฝึกให้เป็นคนมีศีล อย่างน้อยศีล 5 (รายละเอียดของศีล โปรดดูในมงคลที่ 9)
3. ฝึกให้เป็นคนมีความรู้ เป็นพหูสูต คือหมั่นศึกษาหาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
4. ฝึกให้เป็นคนมีจาคะ คือรู้จักเสียสละ ได้แก่
1) สละทรัพย์สิ่งของเป็นทาน เป็นการกำจัดความตระหนี่ออกจากใจ จึงเป็นที่รักของคนทั้งหลาย
2) สละอารมณ์บูดเป็นทาน คือละอารมณ์โกรธพยาบาท ให้เป็นอภัยทาน ทำให้ใจ ผ่องใสเบิกบาน เป็นปกติ
5. ฝึกสมาธิเพื่อให้ใจผ่องใสเกิดปัญญา ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุดเพราะจะเห็นได้ว่าสาเหตุ ที่ทำให้เป้าหมายชีวิตของเราคลอนแคลนนั้น เป็นเพราะใจของเราขาดความมั่นคง ทนต่อความยั่วยุไม่ได้แต่การฝึกสมาธิภาวนาเป็นการฝึกใจโดยตรง ทำให้ใจของเรามีพลัง มีความหนักแน่นเข้มแข็งในการรักษาเป้าหมายชีวิตไว้ได้โดยสมบูรณ์
การฝึกทั้ง 5 ประการนี้ นิยมเรียกว่าสารธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นแก่น ถ้าผู้ใดมีคุณธรรมทั้ง 5 ข้อนี้ ชื่อว่า เป็นคนที่มีแก่นคนอย่างแท้จริงสามารถตั้งตนชอบได้
อานิสงส์การตั้งตนชอบ
1. เป็นผู้สามารถพึ่งตนเองได้
2. เป็นผู้ไม่ประมาท
3. เป็นผู้เตรียมพร้อมไว้ดีแล้วก่อนตาย
4. เป็นผู้มีความสวัสดีในทุกที่ทุกสถาน
5. เป็นผู้บูชาพระรัตนตรัยอย่างสูงสุด
6. เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ
7. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
8. เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ
9. เป็นผู้มีแก่นคนสามารถตักตวงประโยชน์จากชีวิตได้เต็มที่
10. เป็นผู้ได้รับสมบัติทั้งสาม โดยง่าย คือ มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
ฯลฯ
มารดาบิดา ก็หรือญาติเหล่าอื่น พึงทำเหตุนั้นให้ไม่ได้ จิตที่บุคคล
ตั้งไว้ชอบ พึงทำผู้นั้นให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้นได้
ขุ. ธ. 251320
จากหนังสือ DOU กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
วิชา GB 102 สูตรสำเร็จการพัฒนาตนเอง