วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

อ่านอดีต ขีดอนาคต
เรื่อง : พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร.


ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
อยู่ในบุญพฤศจิกายน2560 , อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอน , ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

ตอนที่ ๑ : เรากำลังศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในลักษณะใด ?

          ในการศึกษา “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” ถ้าเราเป็นเพื่อนกับโดราเอมอนหรือโนบิตะก็คงจะไม่ยากอะไร เพราะเราสามารถใช้เครื่องไทม์แมชชีนย้อนไปดูในสิ่งที่เราต้องการศึกษาได้แต่ในความเป็นจริงเมื่อไม่เป็นเช่นนั้น เราจำต้องอาศัย “เศษเสี้ยว” อันน้อยนิดของ “จิกซอว์” (jigsaw) ทางประวัติศาสตร์ในแง่มุมต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไป แต่ทำไมถึงพูดว่า “เราอาศัยเศษเสี้ยวอันน้อยนิดของจิกซอว์ทางประวัติศาสตร์” นั่นเป็นเพราะอะไร ?

         ก่อนอื่น เรามาดูความหมายของคำว่า “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” กันก่อน โดยประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนานั้นมีความหมายอยู่ ๒ ลักษณะ ได้แก่

            ๑. ความหมายโดยกว้าง หมายเอา  “เหตุการณ์ทั้งหมด”  ที่เกิดขึ้นในอดีตของพระพุทธศาสนา ในแต่ละภูมิภาค ชนชาติ และอารยธรรม

          ๒. ความหมายโดยแคบ หมายเอา “เหตุการณ์บางส่วน” ที่เกิดขึ้นในอดีตของพระพุทธศาสนาที่ถูกบันทึกขึ้น อาจจะเป็นคัมภีร์ ตำรา จดหมายเหตุ รวมถึงโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ โดยกลุ่มบุคคลหรือตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

      ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความหมายทั้ง ๒ ลักษณะนี้ พบว่าสิ่งที่เราจะสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ จากประวัติศาสตร์จริง ๆ นั้น อยู่ในลักษณะที่ ๒ คือ “ประวัติศาสตร์จากการบันทึก” นั่นหมายความว่า สิ่งที่เรากำลังศึกษาอยู่นี้เป็นเพียง “เศษเสี้ยว” ของเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น

        และถ้าจะขยับคิดอีกสักเล็กน้อย เราจะพบว่าใน “เศษเสี้ยว” ที่ว่านี้ มีทั้ง “ข้อเท็จและจริง” นั่นหมายความว่า ในเศษเสี้ยวของเหตุการณ์ที่ว่า เรายังไม่อาจบอกได้ว่าเหตุการณ์ใดจริง เหตุการณ์ใดเท็จ ตัวอย่างเช่น “จำนวนนิกาย” ที่เกิดขึ้นในช่วง ๑๐๐ ถึง ๒๐๐ ปี หลังพุทธปรินิพพานหลักฐานฝ่ายหนึ่งกล่าวว่ามี “๑๘ นิกาย” แต่หลักฐานอีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่ามี “๒๐ นิกาย” นอกจากนี้ยังรวมถึงมติในเรื่อง “รูปแบบการแตกนิกาย” ที่ต่างกันออกไปอีกด้วย แล้วแท้ที่จริงมติใดถูกต้องกันแน่ ?

             ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า “เราอาศัยเศษเสี้ยวอันน้อยนิดของจิกซอว์ทางประวัติศาสตร์” ในการศึกษา และเพื่อให้สามารถเข้าถึงความจริงทางประวัติศาสตร์ให้ได้ใกล้เคียงที่สุด เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรวบรวม “จิกซอว์” แต่ละตัวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วนำมาศึกษาให้รอบด้านที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๗๙ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล