lp460219.jpg

.....๑. สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคลมีอิทธิพลเหนือชีวิตเรา

.....๒. หลักในการแยกแยะระหว่างมิตรเทียม – มิตรแท้

.....๓. แหล่งของมิตรเทียม – มิตรแท้ พึงระลึกไว้เสมอว่าไม่มีใครในโลกนี้ที่จะเป็นคนเลวครบขั้น หรือดีครบเครื่อง ๑๖ ประการดังกล่าวแล้ว แต่ทว่าปุถุชนทุกๆ คนจะมีลักษณะนิสัยและพฤติกรรมทั้งเลวและดีปนกันอยู่ในตัว การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้พฤติกรรมของคนโดยแบ่งออกเป็นมิตรเทียมกับมิตรแท้ ก็เพื่อให้ยึดไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อสะดวกและง่ายสำหรับใช้ตรวจสอบ หรือค้าหาคนเลว – คนดี

.....๔. หลักในการพัฒนาลักษณะนิสัยของคนดด้วยการใช้ “ตะแกรงกายสิทธิ์” เป็นเครื่องมือตรวจสอบ เราย่อมพบว่า ตัวเราเอง ผู้ใกล้ชิดเรา ญาติพี่น้องเพื่อนพ้อง ตลอดจนคนที่เราติดต่อคบหาสมาคมด้วย ซึ่งรวมเรียกว่าทิศ ๖ มีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง เมื่อพบแล้ว พึงปฏิบัติดังนี้ คือ

      ๑) รักษาและถ่ายทอดความดีให้แก่กันและกัน คือ เก็บรักษาความดีทั้งหมดของทุกฝ่ายเอาไว้ ไม่ให้ขาดตก บกพร่อง แล้วถ่ายทอดให้กันและกัน

      ๒) กันไม่ให้ความชั่วแพร่กระจายออกไปสู่กันและกัน คือ ป้องกันหรือควบคุมความชั่วที่มีอยู่ใกล้ชิด ระวังไม่ให้แพร่กระจายออก เพื่อรอการกำจัดให้หมดสิ้นซากไปโดยเร็ว
เมื่อปฏิบัติทั้ง ๒ ประการนี้นานๆ ไป ลักษณะนิสัยของคนดีย่อมพัฒนาขึ้นในจิตใจของเราเอง

.....๕. ทุกคนล้วนเป็นเพื่อนร่วมโลกกัน การพัฒนาลักษณะนิสัยของคนดี จะสัมฤทธิผลได้ต่อเมื่อแต่ละคนมีความคิดว่า เราต่างก็เป็นเพื่อนร่วมโลกกัน หรือเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความเจริญรุ่งเรือง และความเสื่อมของกันและกัน

.....ที่ว่าเป็นเพื่อนร่วมโลกกัน หมายความว่า เราทุกคนต่างร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในโลกนี้เหมือนๆ กัน ไม่ว่า ยาจก เศรษฐี คนดี คนเลว ไม่มีใครสามารถหลุดออกไปจากโลกนี้ได้เลย ถ้าบังเอิญจะมีนักวิทยาศาสตร์ สามารถสร้างยานพาหนะพาเราออกไปนอกโลก ไม่ว่าจะไปสู่ดวงจันทร์หรือดวงดาวต่างๆ ได้ แต่เราก็ยังหนีไม่พ้นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่นั่นเอง

.....โลกเรานี้ถ้าจะอุปมา ก็เหมือนคุกขนาดมหึมาที่ขังสัตว์โลกทั้งหลายรวมกันไว้ ไม่ว่าใครก็หลุดอกจากคุกนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทุกคนในโลกก็คือเพื่อนนักโทษร่วมคุกกันเรานั่นเอง

.....ถ้าคิดได้อย่างนี้ ความคิดที่จะเบียดเบียนกัน แก่งแย่งชิงดีกัน อาฆาตพยาบาทกัน ย่อมจะลดน้อยถอยลง เกิดความคิดดีๆ มีเมตตากรุณาต่อกัน คิดช่วยกันสร้างสังคม และโลกนี้ให้มีความสุขให้น่าอยู่ โดยการกำจัดความคิดร้ายๆ ให้หมดไปจากใจตนเอง แล้วพัฒนาความคิดดีๆ ให้เกิดขึ้นแทน ขณะเดียวกันก็พยายามถ่ายทอดความดีของตนไปสู่ผู้อื่น และรับถ่ายทอดความดีของผู้อื่นมาใส่ตน

.....๖.บัณฑิตประเภทที่ชาติขาดแคลน ดังได้กล่าวแล้วว่า คำว่า “บัณฑิต” ตามความหมายในทางพระพุทธศาสนานั้น หมายถึงคนดี คือเป็นผู้ที่ละเว้นความชั่วทุกประการอย่างเด็ดขาด อีกทั้งสามารถผูกมิตรไว้ได้รอบด้าน
บัณฑิตจึงเป็นผู้ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมของมนุษยชาติ เพราะมีพลังความดีอย่างมหาศาลอยู่ในตัว ซึ่งพร้อมที่จะใช้ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจให้ดีตามไปด้วย ประเทศใดที่ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าก็ต้องมุ่งสร้างบัณฑิตประเภทนี้ขึ้นมาให้มาก แทนที่จะผลิตบัณฑิตที่มีแต่ในปริญญาบัตร ที่คอยหาช่องทางเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นอยู่ร่ำไป ต้องถือว่าบัณฑิตประเภทเอาเปรียบนี้จิตใจของเขาขาดศักดิ์และสิทธิ์ แห่งความเป็นบัณฑิตที่เป็นมิตรแท้

......ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยของเราจะต้องช่วยกันสร้างบัณฑิตที่เป็นมิตรแท้ให้เต็มบ้านเเต็มเมือง อย่ามัวไปหลงผลิตบัณฑิตประเภทที่ต้องให้ประเทศมหาอำนาจมาตรวจสอบ เพื่อประเมินคุณภาพอยู่เลย นอกจากจะเป็นการกระทำที่ไม่ฉลาดแล้ว ยังจะพาให้บ้านเมืองล่มสลายไปด้วย

.....๗. สิ่งแวดล้อมที่เป็นคนดี คือแหล่งที่มาของมิตรแท้ ทารกทุกคนเมื่อแรกลืมตาดูโลกนั้น ล้วนแต่ไร้เดียงสา บริสุทธิ์ สะอาดเหมือนกันหมด ครั้นเมื่อเติบโตขึ้น แต่ละคนก็จะมีลักษณะนิสัยแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลที่แวดล้อมเขาหรือบุคคลที่เขาคบหาสมาคมด้วย ซึ่งมีลักษณะนิสัยที่ดีและไม่ดี นั่นคือ ลักษณะนิสัยของมิตรเทียม หรือมิตรแท้ของเรา ย่อมได้มาจากทิศ ๖

.....๘. ผู้ที่มีลักษณะนิสัยของมิตรแท้ ย่อมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เราได้ทราบแล้วว่า “มิตรแท้” ตามนัยทางพระพุทธศาสนานั้น มีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ยคุณงาม ความดี ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขของทั้งตนเอง และเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ดังนั้น มิตรแท้ย่อมไม่กระทำสิ่งหนึ่งประการใด ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมในที่สุด

.....๙. ลักษณะนิสัยของมิตรแท้จะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะบุคคลได้รับการฝึกให้มีอริยวินัย ในด้านต่างๆ มาตั้งแต่เยาว์วัย

.....๑๐. อริยวินัยที่สำคัญยิ่งก็คือ อริยวินัยในการแสวงหาและใช้ทรัพย์

 

.....๑. สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคลมีอิทธิพลเหนือชีวิตเรา

.....๒. หลักในการแยกแยะระหว่างมิตรเทียม – มิตรแท้

.....๓. แหล่งของมิตรเทียม – มิตรแท้ พึงระลึกไว้เสมอว่าไม่มีใครในโลกนี้ที่จะเป็นคนเลวครบขั้น หรือดีครบเครื่อง ๑๖ ประการดังกล่าวแล้ว แต่ทว่าปุถุชนทุกๆ คนจะมีลักษณะนิสัยและพฤติกรรมทั้งเลวและดีปนกันอยู่ในตัว การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้พฤติกรรมของคนโดยแบ่งออกเป็นมิตรเทียมกับมิตรแท้ ก็เพื่อให้ยึดไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อสะดวกและง่ายสำหรับใช้ตรวจสอบ หรือค้าหาคนเลว – คนดี

.....๔. หลักในการพัฒนาลักษณะนิสัยของคนดด้วยการใช้ “ตะแกรงกายสิทธิ์” เป็นเครื่องมือตรวจสอบ เราย่อมพบว่า ตัวเราเอง ผู้ใกล้ชิดเรา ญาติพี่น้องเพื่อนพ้อง ตลอดจนคนที่เราติดต่อคบหาสมาคมด้วย ซึ่งรวมเรียกว่าทิศ ๖ มีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง เมื่อพบแล้ว พึงปฏิบัติดังนี้ คือ

      ๑) รักษาและถ่ายทอดความดีให้แก่กันและกัน คือ เก็บรักษาความดีทั้งหมดของทุกฝ่ายเอาไว้ ไม่ให้ขาดตก บกพร่อง แล้วถ่ายทอดให้กันและกัน

      ๒) กันไม่ให้ความชั่วแพร่กระจายออกไปสู่กันและกัน คือ ป้องกันหรือควบคุมความชั่วที่มีอยู่ใกล้ชิด ระวังไม่ให้แพร่กระจายออก เพื่อรอการกำจัดให้หมดสิ้นซากไปโดยเร็ว
เมื่อปฏิบัติทั้ง ๒ ประการนี้นานๆ ไป ลักษณะนิสัยของคนดีย่อมพัฒนาขึ้นในจิตใจของเราเอง

.....๕. ทุกคนล้วนเป็นเพื่อนร่วมโลกกัน การพัฒนาลักษณะนิสัยของคนดี จะสัมฤทธิผลได้ต่อเมื่อแต่ละคนมีความคิดว่า เราต่างก็เป็นเพื่อนร่วมโลกกัน หรือเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความเจริญรุ่งเรือง และความเสื่อมของกันและกัน

.....ที่ว่าเป็นเพื่อนร่วมโลกกัน หมายความว่า เราทุกคนต่างร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในโลกนี้เหมือนๆ กัน ไม่ว่า ยาจก เศรษฐี คนดี คนเลว ไม่มีใครสามารถหลุดออกไปจากโลกนี้ได้เลย ถ้าบังเอิญจะมีนักวิทยาศาสตร์ สามารถสร้างยานพาหนะพาเราออกไปนอกโลก ไม่ว่าจะไปสู่ดวงจันทร์หรือดวงดาวต่างๆ ได้ แต่เราก็ยังหนีไม่พ้นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่นั่นเอง

.....โลกเรานี้ถ้าจะอุปมา ก็เหมือนคุกขนาดมหึมาที่ขังสัตว์โลกทั้งหลายรวมกันไว้ ไม่ว่าใครก็หลุดอกจากคุกนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทุกคนในโลกก็คือเพื่อนนักโทษร่วมคุกกันเรานั่นเอง

.....ถ้าคิดได้อย่างนี้ ความคิดที่จะเบียดเบียนกัน แก่งแย่งชิงดีกัน อาฆาตพยาบาทกัน ย่อมจะลดน้อยถอยลง เกิดความคิดดีๆ มีเมตตากรุณาต่อกัน คิดช่วยกันสร้างสังคม และโลกนี้ให้มีความสุขให้น่าอยู่ โดยการกำจัดความคิดร้ายๆ ให้หมดไปจากใจตนเอง แล้วพัฒนาความคิดดีๆ ให้เกิดขึ้นแทน ขณะเดียวกันก็พยายามถ่ายทอดความดีของตนไปสู่ผู้อื่น และรับถ่ายทอดความดีของผู้อื่นมาใส่ตน

.....๖.บัณฑิตประเภทที่ชาติขาดแคลน ดังได้กล่าวแล้วว่า คำว่า “บัณฑิต” ตามความหมายในทางพระพุทธศาสนานั้น หมายถึงคนดี คือเป็นผู้ที่ละเว้นความชั่วทุกประการอย่างเด็ดขาด อีกทั้งสามารถผูกมิตรไว้ได้รอบด้าน
บัณฑิตจึงเป็นผู้ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมของมนุษยชาติ เพราะมีพลังความดีอย่างมหาศาลอยู่ในตัว ซึ่งพร้อมที่จะใช้ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจให้ดีตามไปด้วย ประเทศใดที่ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าก็ต้องมุ่งสร้างบัณฑิตประเภทนี้ขึ้นมาให้มาก แทนที่จะผลิตบัณฑิตที่มีแต่ในปริญญาบัตร ที่คอยหาช่องทางเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นอยู่ร่ำไป ต้องถือว่าบัณฑิตประเภทเอาเปรียบนี้จิตใจของเขาขาดศักดิ์และสิทธิ์ แห่งความเป็นบัณฑิตที่เป็นมิตรแท้

......ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยของเราจะต้องช่วยกันสร้างบัณฑิตที่เป็นมิตรแท้ให้เต็มบ้านเเต็มเมือง อย่ามัวไปหลงผลิตบัณฑิตประเภทที่ต้องให้ประเทศมหาอำนาจมาตรวจสอบ เพื่อประเมินคุณภาพอยู่เลย นอกจากจะเป็นการกระทำที่ไม่ฉลาดแล้ว ยังจะพาให้บ้านเมืองล่มสลายไปด้วย

.....๗. สิ่งแวดล้อมที่เป็นคนดี คือแหล่งที่มาของมิตรแท้ ทารกทุกคนเมื่อแรกลืมตาดูโลกนั้น ล้วนแต่ไร้เดียงสา บริสุทธิ์ สะอาดเหมือนกันหมด ครั้นเมื่อเติบโตขึ้น แต่ละคนก็จะมีลักษณะนิสัยแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลที่แวดล้อมเขาหรือบุคคลที่เขาคบหาสมาคมด้วย ซึ่งมีลักษณะนิสัยที่ดีและไม่ดี นั่นคือ ลักษณะนิสัยของมิตรเทียม หรือมิตรแท้ของเรา ย่อมได้มาจากทิศ ๖

.....๘. ผู้ที่มีลักษณะนิสัยของมิตรแท้ ย่อมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เราได้ทราบแล้วว่า “มิตรแท้” ตามนัยทางพระพุทธศาสนานั้น มีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ยคุณงาม ความดี ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขของทั้งตนเอง และเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ดังนั้น มิตรแท้ย่อมไม่กระทำสิ่งหนึ่งประการใด ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมในที่สุด

.....๙. ลักษณะนิสัยของมิตรแท้จะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะบุคคลได้รับการฝึกให้มีอริยวินัย ในด้านต่างๆ มาตั้งแต่เยาว์วัย

.....๑๐. อริยวินัยที่สำคัญยิ่งก็คือ อริยวินัยในการแสวงหาและใช้ทรัพย์

 

...อ่านต่อ

kampee470125.jpg

โดย พระธรรมกิตติวงศ์

 

.....พุทธภาษิตคติธรรม จำนวน ๑๐๘ บท กวีนิพนธ์นำเสนอคำภาษิตในรูปแบบหนึ่ง ที่มีทั้งความต่างและความเหมือนกับคำสุภาษิตอื่น โดยพระเดชพระคุณท่านผู้ประพันธ์ให้วัตถุประสงค์ก็เพื่อที่ว่านอกจากเป็นเครื่องประดับวงการร้อยกรองส่วนหนึ่งแล้ว ยังต้องการนำสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เป็นรูปธรรมซึ่งสัมผัสได้ทั้งที่เป็นคน สัตว์ ธรรมชาติ นำมาเป็นนิทัศน์คือตัวอย่างเปรียบเทียบ เพื่อให้เป็นคุณสมบัติบางอย่างที่มีอยู่แล้วในสิ่งนั้น ๆ คิดว่าสิ่งนั้น ๆ สามารถเป็นครูสอนคนได้เป็นอย่างดี และให้แนวคิด สติปัญญา ตลอดถึงเตือนใจได้ทุกอย่าง ทำให้ภาษิตต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนี้ จึงเป็นภาษิตเปรียบเทียบทั้งหมด และส่วนที่ว่าผู้อ่านจะได้รับอะไรบ้างนั้น ก็ขึ้นกับความคิด สติปัญญา อันเกิดจากการรู้จัก และเข้าถึงความหมายที่ปรารถนาอันดีสื่อเอาไว้ให้แล้ว ก็คงเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคลที่จะได้รับกันไป

.....ในแต่ละบทของภาษิต ให้ภาพประกอบเอาไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย เกี่ยวกับสิ่งที่ท่านยกมาเพื่อใช้เป็นเนื้อหานั้น ล้วนแล้วแต่พบเห็นได้ใกล้ตัวอยู่เสมอ คือท่านสามารถหยิบยกสิ่งใดก็ตามขึ้นมาเพื่อให้กลายมาเป็นข้อคิดสะกิดเตือนสอนใจไว้ได้ทั้งสิ้น นอกจากภาษิตแล้วสิ่งที่ช่วยเกื้อกูลผู้อ่านได้อีกทาง ก็เท่ากับว่าช่วยแนะนำให้รู้จักมอง ใส่ใจ และนำสิ่งที่ได้พบเห็นมาพิจารณาเป็นธรรมะให้เป็นได้ง่าย ๆ ด้วย นอกเหนือจากนำพาหนังสือนี้ติดไว้ใกล้ตัวเป็นคู่มือในเบื้องต้นก่อน

.....จากเรื่องกล่าวถึงคน เช่น เหล้ากินคน, คนสวะ, ผ้าเหลืองคลุมตอ, ปากกา- ปากคน, หงส์ปีกหัก, คนยาขม, คนทากปลิง, คนคางคก, คนหลังยาว, คนแมลงวัน-แมลงผึ้ง เป็นต้น

.....ธรรมชาติที่ยกมาเปรียบเทียบ ได้แก่ ธารน้ำใจ, เจดีย์ชีวิต, มีไว้ไร้ประโยชน์, รวงข้าวลีบ, จันทร์เพ็ญพ้นเมฆ รวมทั้งสาระอื่น ๆ เกี่ยวกับ สัตว์ สิ่งของ อีกจำนวนมาก

.....
บทสรุปของแต่ละบทถูกวางไว้ที่ มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสงบสุข ความดี ไม่เบียดเบียนทั้งแต่ตนเองหรือชีวิตอื่น แนะนำสั่งสอนให้ทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยความเมตตา สิ่งเหล่านี้คือธรรมะ คือคุณธรรมที่ปรากฏอยู่แล้วในทางพระพุทธศาสนา

.....ยกตัวอย่าง ในเรื่อง “พระปิดทวาร”


ลองปิดตา ปิดหู กันดูบ้าง
ปากอีกอย่าง ปิดสนิท คิดแก้ไข
ทำเช่นพระ ปิดทวาร สำราญใจ
อยู่ที่ไหน สบสุข ทุกเวลา ฯ.


สำหรับท่านที่สนใจ ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ๐-๒-๘๗๒–๙๘๙๘ ค่ะ

 

สุ. พูนพิพัฒน์.

...อ่านต่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้นทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่ สุดจะนับประมาณ กล่าวคือ เมื่อทรงแสดงเรื่องการแสวงหาทรัพย์ ตลอดจนการสะสมโภคทรัพย์ เพื่อให้บุคคลมีความมั่งคั่งร่ำรวยแล้ว พระพุทธองค์ก็ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณห่วงใยคฤหัสถ์ ด้วยทรงเกรงว่า จะบริหารจัดการกับทรัพย์ของตนอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม อาจจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ จึงได้ตรัสแสดงอริยวินัยในการใช้ทรัพย์โดยให้แบ่งทรัพย์ที่หามาได้นั้นออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้
...อ่านต่อ

kampee470118.jpg

โดย พระภาวนาวิริยคุณ

 

.....“รัฐศาสตร์เชิงพุทธ” งานค้นคว้าศึกษาพระไตรปิฎกซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลับแห่งมนุษยชาติอันเป็นวิชาจักรวาล และเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาจากพระไตรปิฎกเล่มล่าสุดของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ต่อจากหนังสือเรื่องเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ และเข้าไปอยู่ในใจ ซึ่งล้วนเปรียบเสมือนวิชาเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ทำให้ได้ภาพการศึกษา พระพุทธศาสนาในมุมองจากนักวิชาการภายนอกที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ช่วยให้เห็นภาพรวมในการใช้พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อมุ่งผลปฏิรูปมนุษย์ชาติ สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการสร้างสังคมใหม่ในอุดมคติที่มนุษย์ต่างมุ่งใฝ่ฝันกันมานานแล้ว

.....จากแวดวงนักวิชาการ วงการศึกษาในระดับต่าง ๆ ที่ล้วนมุ่งเพื่อศึกษาตามหลักวิชาและวิชาการแนวความคิดของโลกตะวันตกอยู่ โดยสุดท้ายได้เพียงแค่ทางตันที่ยังไม่อาจสร้างสังคมที่สันติสุขยั่งยืน สังคมแห่งคุณธรรมยังไม่ได้เด็ดขาดเสียที เพราะสิ่งสำคัญที่ขาดไปก็คือ ยังขาดการปฏิรูปคนให้เป็น “สัมมาทิฎฐิ”นั่นเอง และเนื่องจากยุคปัจจุบันที่กล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังมุ่งปฏิรูปเพื่อก้าวเข้าสู่เมืองไทยยุคใหม่ที่ทัดเทียมและก้าวหน้า อยู่ในช่วงแนวความคิดแบบภูมิปัญญาตะวันออก เศรษฐศาสตร์การเมืองแบบ “ทักษิโณมิคส์” ทั้งต่างชาติกำลังสนใจและวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ การ “คิดใหม่ ทำใหม่” ผู้นำเสนอคือ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และทีมนักคิด นักวิชาการ และนักบริหาร นักปกครองยุคใหม่ ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะไปลงสอดคล้องกับแนวความคิดการบริหารบ้านเมือง ตามแนวพระสูตร เรื่อง “กูฏทันตสูตร” ที่ชี้ช่องว่างระหว่างกลุ่มบุคคลระดับบน กับกลุ่มประชาชนระดับล่าง ซึ่งผู้นำมักจะมองข้ามและไม่มีการปิดช่องว่าง จนกลายเป็นช่องว่างแห่งความไม่เข้าใจ ระดับรายได้ และการแก้ปัญหาก่อให้เกิดการบริหารประเทศต้องวนเวียนอยู่ในความสับสนวุ่นวายหาที่จบยังไม่ได้

.....สำหรับท่านผู้สนใจ จากเนื้อหาท่านจะได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นกับความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในสังคมไทยของเรา ที่กำลังอยู่ระหว่างการบริหารจัดการของรัฐบาลยุคใหม่นี้ ได้จากการตามรอยการปฏิรูปบ้านเมืองแนวใหม่ตามพระสูตรกูฏกันตสูตร การบริหารบ้านเมืองแบบยั่งยืนเชิงพุทธ และ หลวงพ่อตอบคำถาม วิเคราะห์ “ทักษิโณมิคส์” กับรัฐศาสตร์เชิงพุทธ มุ่งเป้าหมายสำคัญเพื่อช่วยเติม ช่วยสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีศีลธรรม คุณธรรม ที่เจริญรุ่งเรืองทั้งทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับความเจริญทางศีลธรรม ซึ่งคือความยากแต่จะได้ความแตกต่างที่ดีโดดเด่นกว่าประเทศต่าง ๆ ในโลกทีเดียว อาจกลายเป็นต้นแบบที่ดีจริงหากปฏิบัติกันได้ต่อเนื่องทั่วถึง ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าถึงบทสรุปที่ชัดเจนเหล่านี้ได้จากสาระภายในเล่ม โดยติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐–๒๕๒๔–๐๒๕๗–๖๓ ค่ะ



 

สุ. พูนพิพัฒน์.

...อ่านต่อ

.....อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า “บัณฑิต” จะเป็นใครก็ได้ จะอ่านหรือเขียนเป็นหรือไม่ จะมีปริญญาการศึกษาทางโลกหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ตรงที่ต้องมีศีลบริบูรณ์ คือเป็นคนใจสะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ละเอียดอ่อนนั่นเอง ผู้ที่จะมีศีลบริบูรณ์ได้ จะต้องมีอริยวินัยควบคุมพฤติกรรมโดยตลอดทุกเรื่อง และมีปัญญาพิจารณาเรื่องต่างๆ อย่างแยบคายด้วยโยนิโสมนสิการ ไม่ประมาท ไม่มักง่าย ไม่มีอุปทาน ยึดมั่นถือมั่นอย่างไร้เหตุผลสมควร และมีอุเบกขาธรรมเสมอ

.....
ดังนั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า บัณฑิต มิตรแท้ กัลยาณมิตร หรือคนดี ย่อมมีความหมายเหมือนกันหมด ว่าเป็น “คนดี” มีความรับผิดชอบทั้ง ๔ ประการ ตามคุณสมบัติของคนดีดังกล่าวแล้ว

kampee140147.gif

แผนภูมิแสดงความรับผิดชอบทั้ง ๔ ประการ ของคนดี)

 

.....ประโยชน์ของการคบมิตรแท้

.....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสยกย่องสรรเสริญมิตรแท้ไว้แล้วว่าเป็นเสมือนมารดา ดังนั้นเมื่อเราได้พบมิตรแท้แล้ว ก็ควรเข้าไปสมาคมคบหาด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยควาทอ่อนน้อนถ่อมตน พยายามถ่ายทอดคุณธรรมของมิตรแท้มาสู่ตัวเรา ขณเดียวกัน ก็พยายามซักถามข้อปฏิบัติที่เรายังไม่เข้าใจดีนัก แล้วยึดเป็นหลักปฏิบัติประจำใจ ถ้าทำได้ดังนี้เราย่อมจะได้รับประโยชน์จากมิตรแท้นานัปการ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในทุติยเสขสูตร ว่า “(ภิกขุ) ผู้มีมิตรดียอ่มละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญกุศลให้เกิด”

.....การงานที่สำคัญในชีวิตของคนเราก็คือการทำมาหากิน หรือการแสวงหาทรัพย์ มีคำถามว่า “บุคคลย่อมหาทรัพย์ได้อย่างไร?”

.....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบว่า การแสวงหาทรัพย์จะสำเร็จได้ด้วยองค์ ๓ คือ “บุคคลผู้มีธุระ กระทำสมควร มีความหมั่นย่อมทำทรัพย์ได้”

.....บุคคลผู้มีธุระ หมายถึง ผู้มีความเพียรทางใจ คือมีใจเข้มแข็ง ไม่ย่อท้อต่อความยาก ลำบากในการงานทั้งปวง ไม่เกียจคร้าน

.....กระทำสมควร หมายึถงการกระทำสมควรแก่กาละเทศะ คือเมื่อตนอยู่ในกาลใด สมัยใด เมืองใด ควรจะทำอย่างไรจึงจะได้ทรัพย์ ก็พึงทำให้เหมาะแก่กาลนั้น สมัยนั้น เมืองนั้น เมื่อทำอย่างนั้นได้ ก็จะต้องได้ทรัพย์อย่างแน่นอน

.....มีความหมั่น หมายถึง มีความเพียรทางกาย คือ มีกายเข้มแข็งทนแดดลมทนฝนได้ สู้ได้ทั้งงานหนักงานเบา ทั้งแบกหามลากจูง

.....นั่นคือ ผู้ที่พร้อมด้วยองค์ ๓ คือ มีความเพียรทางใจ มีความเพียรทางกาย และมีปัญญากระทำให้เหมาะหรือสมควร ย่อมหาทรัพย์ได้ โดยไม่ต้องประพฤติทุจริต ผิดศีล ผิดกฎหมาย

.....คนดีย่อมแสวงหาทรัพย์ โดยยึดองค์ ๓ นี้ เป็นหลักปฏิบัติตลอดชีวิต

.....สำหรับการแสวงหาทรัพย์ของผู้คนในสังคมปัจจุบัน มีข้อสังเกตว่า ไม่ว่าคนที่มีการศึกษาต่ำหรือสูง ไม่วาคนที่มาจากครอบครัวยากจนหรือร่ำรวย ไม่ว่าคนที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ การงานต่ำหรือสูง มีจำนวนไม่น้อยที่คิดหาเล่ห์เหลี่ยมกลโกงต่างๆ เพื่อรวยทางลัด โดยไม่ต้องลำบากตรากตรำ แม้จะเสียงกับการผิดกฎหมายก็ไม่กลัว เฃ่น การละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลงสินค้าต่างๆ การคอรัปชั่น การค้ายาเสพติด เป็นต้น

.....แต่ถ้าเราได้คบหาสมาคมกับคนดี หรือมิตรแท้ มิตรแท้ย่อมจะเป็นแบบอย่าง ประคับประคองให้กำลังใจเรา ให้มีสิตคุ้มครองตอนอยู่ในความดีเสมอ มีหิริโอตตัปปะ ไม่ก้าวล่วงไปสู่การงานมีโทษ หรือมิจฉาอาชีวะทั้งปวง เพราะผิดทั้งศีล ผิดทั้งกฎหมาย

.....อย่างไรก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสยืนยันว่าผู้มีศีลสมบูรณ์ ย่อมมีความเจริญรุ่งเรือง คนดีแสวงหาทรัพย์ด้วยความขยันหมั่นเพียรและชอบธรรม แล้วรู้จักแบ่งเก็บออมไว้ ย่อมเหมือนกับหมู่แมลงผึ้งสร้างรัง คือทรัพย์นั่นย่อมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ครั้นนานไปก็จะเพิ่มพูนขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังเช่นจอมปลวกใหญ่ ดังที่ตรัสคาถาประพันธ์ไว้ในสิงคาลสูตรว่า

.....“บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคสมบัติอยู่ เหมือนแมลงผึ้งสร้างรัง โภคทรัพย์ย่อมถึงความเพิ่มพูน ดุจจอมปลวก อันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น”

.....จากคาถาประพันธ์นี้ ย่อมมีนัยแสดงว่า ผู้ประกอบอาชีพสุจริต ถ้าหมั่นแสวงหาด้วยปัญญา และโดยชอบธรรม แล้วรู้จักแบ่งเก็บออมย่อมมีสิทธิ์ร่ำรวยได้ทุกคน

.....อนึ่ง การที่บุคคลจะร่ำรวยได้ก็เพราะมีอริยวินัย การที่บุคคลจะรักษาอริยวินัยได้โดยตลอด ก็เพราะสมาคมกับคนดี นี่คือประโยชน์ของการคบมิตรแท้

 

...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล