วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ วัดพุทธแฟรงก์เฟิร์ต




โดยรัชฎา

                             สวัสดีค่ะ เพื่อนผู้นำบุญลูกพระธัมฯ ทั่วโลก ผ่านไปหนึ่งเดือน เจอกันอีกที ยังไงก็อย่าลืมใช้เวลาทุกนาทีให้มีค่า อย่าให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าอยากได้บุญก็ต้องลงทุนทำบุญ เพราะถ้าไม่ทำก็ไม่ได้ ไม่เหมือนความแก่ความชรา ไม่ต้องหาก็มาเอง บุญเป็นสิ่งเดียวที่มีแต่ให้คุณ ไม่เคยให้โทษ อะไรอย่างอื่นที่เรารักมากในชีวิตล้วนแต่รอเวลาทำให้เราผิดหวังทั้งสิ้น แม้ทุกสิ่งในร่างกายของเราเอง ที่เราสรรหาสิ่งดีๆ มาดูแล บำรุงรักษาตลอดเวลา เช่น ผม...ถึงเวลาไม่อยากให้หงอก มันก็หงอก ฟันฟางเคยแปรงด้วยยาสีฟันยี่ห้อดีขนาดไหน ถึงเวลามันก็หัก ผิวพรรณนี่ก็สารพัดจะหาครีมแพงๆ มาทา แต่เดี๋ยวมันก็เหี่ยว มีแต่บุญเท่านั้นที่ยิ่งตามตรึกระลึกนึกถึงยิ่งทับทวีและยิ่งตามสิ่งดีๆ มาให้เราอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นเราจึงควรทำครุกรรม ฝ่ายกุศลให้เป็นอาจิณกรรม

                            มาถึงสถานที่ท่องเที่ยวของเราในวันนี้กันนะคะ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต เป็นมหานครใหญ่ที่มีความทันสมัย และเป็นเมืองเก่าที่มีมรดกล้ำค่า ทางวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นชนชาติที่มีความภูมิใจในความเป็นอารยันของตนเองเป็นอย่างยิ่ง

                             ขณะเดียวกันยังเป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน การธนาคาร และการคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมัน เป็นศูนย์กลางของ งานแสดงสินค้าต่างๆ ระดับโลก เช่น การกีฬา อุตสาหกรรม เป็นที่ตั้งของ บริษัทผลิตสินค้า ชั้นนำระดับโลกมากมาย และเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่สำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศเยอรมนี

                             สิ่งที่น่าสนใจในแฟรงก์เฟิร์ตได้แก่ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร โรงโอเปร่า สวนปาล์ม และโบสถ์เก่าแก่ และยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายตลอดทั้งปี เช่น การล่องแพชมสองฝั่งแม่น้ำเมน เทศกาลดนตรี เทศกาลอาหารและเครื่องดื่ม งานแสดงหนังสือ จากทั่วโลก เป็นต้น

                             เมื่อเป็นศูนย์กลางความเจริญและกิจการระดับโลกเช่นนี้ จึงมีผู้คนมากมาย จากทั่วโลกหลั่งไหลกัน เข้ามายังมหานครแห่งนี้ เพื่อทำธุรกิจ เพื่อมา ศึกษาหาความรู้ และมาท่องเที่ยว

                             เมืองแฟรงก์เฟิร์ตจึงเป็นเบ้าหลอมทางวัฒนธรรม ภาษา และรูปแบบความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิตของผู้คนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์กว่า ๑๘๐ เชื้อชาติ ที่มาอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข แฟรงก์เฟิร์ตจึงเป็นเมืองที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย

ภาพกิจกรรมงานบุญ


                             ด้วยเหตุนี้ พระขจรศักดิ์ ทิพฺยกุโล จึงเข้าไปหาสถานที่ เพื่อตั้งเป็นศูนย์สาขา สำหรับงาน เผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ที่แฟรงก์เฟิร์ต โดยเดินทางไปครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้เข้าพักที่บ้าน
ของ กัลฯสมเกียรติ-นิภาพร ภุมรินทร์ ที่ Hufmagel str. 31 โดยทั้ง ๒ ท่านได้รับเป็นเจ้าภาพ ภัตตาหารเช้า ตลอดเวลาที่ พระอาจารย์พักอยู่ และยังทำหน้าที่ เป็นสารถีแก้ว ในการหาสถานที่เพื่อก่อตั้งวัด อย่างไม่เห็นแก่ ความเหน็ดเหนื่อย ส่วนภัตตาหารเพลนั้น มีผู้ใจบุญรับเป็นเจ้าภาพ

                             คณะสงฆ์ชุดแรกของ วัดพุทธแฟรงก์เฟิร์ตประกอบด้วย พระขจรศักดิ์ ทิพฺยกุโล พระวิฑูรย์ ปูชากโร พระประสิทธิ์ นนฺทสิทฺโธ และพระสนธยา สุทฺธาโภ เข้าไปจำพรรษาที่ Odenwald 22, Ruanheim เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้ทำพิธีเปิดวัด อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยได้รับเกียรติ จากท่านกงสุลใหญ่ประจำ นครแฟรงก์เฟิร์ต คุณวิญญู แจ่มขำ และ คุณ Thomas Juhe นายกเทศมนตรีเมือง Ruanheim มาเป็นประธานในการเปิดป้ายวัด พร้อมด้วยประธานสงฆ์ จากทุกศูนย์สาขา ของวัดพระธรรมกาย ที่ประจำอยู่ในภาคพื้นยุโรป

                             กิจกรรมที่ทางวัด จัดให้สาธุชนร่วมทำอย่างสม่ำเสมอ คือการนั่งสมาธิปฏิบัติธรรมในวันอาทิตย์ จัดพิธีบูชาข้าวพระในวันอาทิตย์ต้นเดือน จัดงานบุญตามวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และสนับสนุนกิจกรรมงานบุญต่างๆ เช่นเดียวกับวัดพระธรรมกาย ประเทศไทย

                            และก่อนจากกันในวันนี้ ก็ขอฝากคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ไว้เป็นข้อคิดนะคะ "...กรรมบางอย่างไม่สมกับกรรมในปัจจุบันที่เราทำ แต่สมกับกรรมในอดีตที่ตามมาทัน บุญปัจจุบันที่เราทำ จะทำให้กรรมในอดีตที่ตามมาเจือจางไป..." สวัสดีค่ะ....

ที่อยู่วัดพุทธแฟรงก์เฟิร์ต

เจ้าอาวาส : พระขจรศักดิ์ ทิพฺยกุโล
Wat Buddha Frankfurt : วัดพุทธแฟรงก์เฟิร์ต
Germany-Frankfurt
(MEDITATION VEREIN FRANKFURT/Me.V)
Odenwald Str.22,65479,Ruanheim,Germany
Tel : +(49)-614-2833-0888
Mobile: +(49)-17-562-90882
Fax : +(49)-614-2833-0890
E-mail : [email protected]


บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล