บทความพิเศษ
เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม)และคณะนักวิจัย DIRI
หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ
(ตอนที่ ๙)
เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้เขียนและคณะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการและร่วมพิธีฉลองการเปิดอาคารอเนกประสงค์ของวัดต้าฝอซื่อ ที่เมืองกว่างโจวสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดโดยภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น ร่วมกับวัดต้าฝอซื่อ ในการประชุมทางวิชาการนั้น มีการเสวนาบรรยายธรรมโดยพระมหาเถระคณาจารย์ฝ่ายปกครองรูปสำคัญของสาธารณรฐั ประชาชนจนี เพอื่ ใหป้ ระชาชนเข้าใจ
คำสอนที่ถูกต้องของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง ทั้งนี้ กิจกรรมการร่วมฉลองเปิดอาคารอเนกประสงค์ของวัดต้าฝอซื่อ และกิจกรรมการร่วมประชุมทางวิชาการนี้ ปรากฏว่ามีสาธุชนจำนวนมากหลั่งไหลมาร่วมพิธีกรรมอย่างล้นหลาม และต่างก็มีความปลื้มปีติใจโดยถ้วนหน้ากัน
ในการนี้ ผู้เขียนและคณะมีโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนทัศนะและประสบการณ์ในการขยายงานพระพุทธศาสนาของแต่ละพื้นที่ร่วมกับนักวิชาการระดับนานาชาติมากมาย ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า “มังกรตื่นแล้ว” (มังกร คือ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ตื่นตัวขึ้นแล้วด้วยนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ทำให้ชาวพุทธในจีนมีจำนวนมากขึ้น และทางวัดแต่ละแห่งก็ตั้งใจพัฒนาพระภิกษุสงฆ์ บุคลากร ให้เป็นเนื้อนาบุญ สืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป) ภาพที่เห็นคือ การมีนักวิชาการจากนานาประเทศเข้าร่วมประชุมและร่วมสัมมนากันถึงความสำคัญในหัวข้อ “เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางทะเล”ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา พบว่าเป็นประเด็นที่นักวิจัยให้ความสนใจทำผลงานทางวิชาการด้านนี้น้อยมาก อย่างไรก็ดี จากการลงพื้นที่ภาคสนามของทีมงานสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ในครั้งนี้ ทางสถาบัน DIRI ได้เล็งเห็นถึงทิศทางและทราบถึงข้อมูลการศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นหลักฐานคัมภีร์ โบราณในดินแดนแถบนี้ รวมทั้งตลอด “เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางทะเล” ด้วย ซึ่งทางทีมงานจะได้ค้นคว้าวิจัยต่อไป
Prof. Lewis Lancaster ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิจัยเส้นทางแพรไหมทางทะเล กำลังบรรยายในหัวข้อ
“เส้นทางแพรไหมทางทะเลและประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา”
ผู้เขียนขอเสนอเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว ซึ่งเป็นจังหวะที่คณะทำงานได้เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวพอดี
ผู้เข้าร่วมสัมมนาถ่ายภาพหมู่หน้าหอประชุมมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น
ถวายสื่อธรรมะแด่ท่านเจ้าอาวาสวัดต้าฝอซื่อ
รูปปั้นพระอรหันต์เปิดท้อง ณ วัดตั๊กม้อประติมากรรมทางพระพุทธศาสนา ที่แสดงปริศนาธรรมให้เห็นถึง “พุทธภาวะภายใน”
Prof. Lewis Lancaster กำลังสนทนาธรรมกับพระสุธรรมญาณวิเทศ วิ.
พระเถรานุเถระจากประเทศต่าง ๆ กำลังเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีเปิดอาคารอเนกประสงค์ ณ วัดต้าฝอซื่อ
อาณาจักรศรีวิชัย1 เป็นมหาอำนาจทางทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ แผ่อิทธิพลครอบคลุมเกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา รวมไปถึงทางใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญมาแต่โบราณ พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาจากอินเดียตอนใต้ภายใต้การปกครองของราชวงศ์โจฬะ และจากเบงกอลภายใต้การปกครองของราชวงศ์ปาละ ซึ่งทั้ง ๒ สาย ล้วนเป็นพระพุทธศาสนานิกายมหายาน วัชรยาน อาณาจักรศรีวิชัยได้ส่งพระภิกษุไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ส่วนทางเบงกอลก็ได้ส่งพระภิกษุเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และส่งช่างฝีมือเข้ามาสอนศิลปะวิทยาการด้วย พระราชาทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงบำรุงพุทธศาสนาในทุก ๆ ทาง พระพุทธศาสนาในอาณาจักรศรีวิชัยจึงเจริญรุ่งเรืองเต็มที่ เผยแผ่ไปทั่วหมู่เกาะอินโดนีเซียและอาณาจักรอื่นๆในเอเชียอาคเนย์ อาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรืองอยู่ประมาณ ๖๐๐ ปี2 ได้พบหลักฐานโบราณคดีทางพระพุทธศาสนามากมาย ทั้งประติมากรรมใหญ่น้อย พระพิมพ์ดินดิบ ศิลาจารึก รวมถึงพุทธสถานขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เช่น จันทิส่าหรี3 จันทิกาลาสัน4 จันทิปะวน5 จันทิเมนดุต6 ในเมืองยอกยาการ์ตาของเกาะชวา
จากบันทึกการเดินทางที่มีชื่อเสียงของพระภิกษุจีนอี้จิง7 ใน พ.ศ. ๑๒๑๔8 ท่านได้ออกจากเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง โดยเรือของชาวอาหรับมาถึงเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยที่ศรีโภคะ แล้วพำนักอยู่ ๒ เดือน ก่อนเดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทาขากลับท่านแวะพักที่ศรีวิชัยอีกครั้งนานถึง ๖ ปี9 ระหว่างปี พ.ศ. ๑๒๓๒-๑๒๓๘ บันทึกของท่านกล่าวว่า เวลานั้นพระพุทธศาสนาเจริญมากในศรีวิชัย มีพระสงฆ์กว่าพันรูปในเมืองศรีโภคะล้วนแต่มุ่งมั่นต่อการศึกษาพระธรรมต่าง ๆ มีวินัยและพิธีกรรมเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติกันในอินเดีย และแนะนำว่าพระสงฆ์จีนควรแวะพักศึกษาเตรียมตัวที่นั่นเสียก่อนสักปีสองปี จึงค่อยเดินทางไปศึกษาคัมภีร์ดั้งเดิมทางตะวันตกท่านได้บันทึกไว้อีกว่า พระราชาและผู้นำเกาะต่าง ๆ ในทะเลใต้ล้วนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีจิตมุ่งต่อการสั่งสมบารมี ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลาช้านาน
พุทธสถานจันทิส่าหรี ยอกยาการ์ตา เกาะชวาอินโดนีเซีย พุทธศตวรรษที่ ๑๓
ที่มา http://lokasiwisata.info/wp-content/uploads/2014/01/artikel-sejarah-candi-sari2.jpg
พุทธมหาสถานบุโรพุทโธ ยอกยาการ์ตา เกาะชวาอินโดนีเซีย พุทธศตวรรษที่ ๑๔
ที่มา http://arts.bdnews24.com/wp-content/gallery/borobedur-mandir/borobudur-temple.jpg
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวเบงกอล ชนชาวพม่าเริ่มมีกำลังเข้มแข็ง รวบรวมกันเป็นปึกแผ่น สามารถควบคุมเขตลุ่มน้ำเอยาวดี (อิรวดี) และซิตตาวน์(สะโตง) รวมถึงเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย และได้สร้างเมืองพุกามขึ้นเป็นศูนย์กลางอาณาจักรพุกาม
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ในสมัยพระเจ้าอโนรธา10 กษัตริย์แห่งพุกามผู้ทรงพระปรีชา11 ศาสนาของอาณาจักรในขณะนั้นเป็นการปนเปของหลักพระพุทธศาสนานิกายมหายานกับการนับถืออำ นาจธรรมชาติแบบพื้นเมือง พระองค์ได้นิมนต์พระชินอรหันต์ ซึ่งเดินทางมาจากมอญ อาณาจักรที่รุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อแสดงธรรม เมื่อจบธรรมเทศนา พระเจ้าอโนรธาทรงเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก และทรงยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ทรงให้ประชาชนเลิกนับถือผีสางเทวดา ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา ต่อมาพระองค์ทรงประสงค์จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไปอีก พระชินอรหันต์จึงแนะนำ ให้อัญเชิญพระไตรปิฎกและพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองสะเทิม(สุธรรมวดี) มาไว้ที่พุกาม
สมัยนั้น พระเจ้ามนุหา กษัตริย์มอญที่เมืองสะเทิม ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เมื่อพระเจ้าอโนรธาทรงส่งพระราชสาส์นพร้อมกับทูตมายังเมืองสะเทิมเพื่อขอพระไตรปิฎกและพระบรมสารีริกธาตุนั้นพระเจ้ามนุหาทรงปฏิเสธ พระเจ้าอโนรธาจึงทรงยกทัพประชิดเมืองสะเทิม เมื่อชนะศึกก็ทรงจับพระเจ้ามนุหาเป็นเชลยและอัญเชิญพระไตรปิฎกและพระบรมสารีริกธาตุกลับไปพุกาม พร้อมกับกวาดต้อนช่างฝีมือต่าง ๆจากมอญไปด้วย พุกามจึงได้รับการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการจากมอญเป็นอย่างมาก พระเจ้าอโนรธาทรงสร้างพระมหาเจดีย์และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาไว้ที่พระมหาธาตุเจดีย์ชเวซิกอง
พระองค์ยังทรงมีอุปการะต่อพระพุทธศาสนาในศรีลังกา โดยทรงส่งกองทัพเข้าช่วยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ กู้อาณาจักรคืนจากพวกโจฬะที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ยังทรงส่งพระภิกษุออกไปอุปสมบทให้ชาวลังกาและตรวจสอบชำ ระพระไตรปิฎกของพุกามกับพระไตรปิฎกของลังกา เพื่อความบริสุทธิ์ของพระธรรมคำ สอน พุกามได้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา12 ในเวลานั้น ความมั่งคั่งของอาณาจักรสะท้อนให้เห็นได้ด้วยจำ นวนพุทธสถานในเมืองพุกามประมาณ ๕,๐๐๐ แห่งซึ่งยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ลังกาได้ย้ายเมืองหลวงลงมาอยู่ที่โปลนนารุวะ13 พระเจ้าปรากรมพาหุทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ทรงรวมคณะสงฆ์ที่เคยแยกเป็นคณะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน พระสงฆ์ในลังกามีวินัยเป็นระเบียบเรียบร้อยเคร่งครัดดีขึ้นกว่าแต่ก่อนภายใต้ความเป็นเอกภาพเดียวกัน กิตติศัพท์จึงเลื่องลือขจรไปยังนานาประเทศ ลังกาได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมาพระสงฆ์จากอาณาจักรต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เดินทางไปสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกา ทางพม่ามีพระภิกษุมอญชื่อฉปัต ได้ไปอุปสมบทและศึกษาที่ลังกาถึง ๑๐ ปี เมื่อกลับมาได้ตั้งสำนักเรียนขึ้นที่เมืองพุกามและสร้างพระเจดีย์ที่เรียกกันว่าเจดีย์ฉปัต14 ตามอย่างเจดีย์ในลังกาสำนักของท่านแยกจากคณะสงฆ์เดิมในพุกามต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๓๑ อาณาจักรพุกามถูกกุบไลข่านจากมองโกลเข้าทำ ลาย รวมเวลาที่พุกามรุ่งเรืองอยู่ ๒๔๐ ปี
เมืองพุกามศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเมียนมาร์ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ที่มา http://www.globeholidays.net/Asia/Myanmar/Media/Bagan_Temples_Valley.jpg
ส่วนอาณาจักรมอญในสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ศรีปิฎกธร ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ พระสงฆ์ในเมืองมอญได้แตกเป็น ๖ คณะใหญ่ มีความหย่อนยานในวัตรปฏิบัติขาดความเป็นเอกภาพในคณะสงฆ์ พระเจ้าธรรมเจดีย์ศรีปิฎกธรจึงทรงนิมนต์คณาจารย์จาก ๖ คณะใหญ่ไปอุปสมบทใหม่ในลังกา เพื่อสร้างความเสมอภาคและเป็นปึกแผ่นของสังฆมณฑล พระคณาจารย์ ๒๒ รูป พระอนุจรอีก ๒๒ รูป รวมเป็น ๔๔ รูป เดินทางไปลังกาเพื่ออุปสมบทใหม่ กษัตริย์ลังกาทรงอุปถัมภ์ด้วยดี ทรงจัดให้มีการอุปสมบทแก่พระสงฆ์มอญตามประสงค์ เมื่อคณะสงฆ์บวชใหม่กลับเมืองหงสาวดีแล้ว พระเจ้าธรรมเจดีย์ก็มีพระราชโองการให้พระสงฆ์ทั่วแผ่นดินสึกทั้งหมด แล้วอุปสมบทใหม่กับคณะสงฆ์ที่บวชจากลังกานั้น พระสงฆ์คณะใหม่นี้คือคณะกัลยาณี มีพระสงฆ์อุปสมบทกว่า ๑๕,๐๐๐ รูปในครั้งนั้นคณะสงฆ์ในเมืองมอญ หงสาวดี จึงกลับมาเป็นปึกแผ่น ล้วนมีวัตรปฏิบัติตามอย่างคณะมหาวิหารในลังกา
จากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนมีประวัติศาสตร์อันยาวนานยิ่ง อีกทั้งกระบวนการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็มีความหลากหลาย นอกจากจะต้องอาศัยพระบารมีของพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองในการทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกแล้ว ยังต้องอาศัยการแผ่ขยายทางวัฒนธรรมการศึกษา เศรษฐกิจ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางสังคมระหว่างกันของประชาชนด้วยอย่างยาวนาน เช่นเดียวกับที่ปรากฏในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนเส้นทางแพรไหมทางทะเลดังที่มีนักวิชาการคนสำคัญ ๆ ได้ศึกษาไว้
ฉบับหน้าทางคณะทีมงานจะได้นำ เสนอรายละเอียดการศึกษาวิจัย และการเก็บข้อมูลภาคสนามในเมืองกว่างโจวให้ทราบกันต่อไป
1 Srivijaya
2 ประมาณ พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๘๐๐
3 Candi Sari (Candi Bendah) Dusun Bendan, Tirtomartani village, Kalasan, Sleman regency, Yogyakarta.
4 Candi Kalasan (Candi Kalibening) Kalasan District of Sleman Regency, Yogyakarta.
5 Candi Pawon (Bajranalan) Yogyakarta, Central Java, Indonesia.
6 Candi Mendut, Mendut village, Mungkid sub-district, Magelang Regency, Central Java, Indonesia
7 義淨 หรือ 义净; pinyin: Y?j?ng; Wade–Giles: I Ching ((635 -713 A.D.)
8 671 A.D.
9 689-695 A.D.
10 พ.ศ. ๑๕๘๗-๑๖๒๐
11 หม่องทินอ่อง, หน้า ๓๒
12 หม่องทินอ่อง, หน้า ๓๗
13 Polonnaruva
14 Sapada