วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ มิงกะลาบา…เยือนเมียนมาค้นหาคัมภีร์ (ตอนที่ ๓)

บทความน่าอ่าน
เรื่อง : Tipitaka (DTP)

มิงกะลาบา… เยือนเมียนมาค้นหาคัมภีร์
(ตอนที่ ๓)

อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนกุมภาพันธ์2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072 , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , บทความน่าอ่าน , มิงกะลาบา…เยือนเมียนมาค้นหาคัมภีร์ (ตอนที่ ๓) , พม่า

     บทความเรื่องมิงกะลาบา เยือนเมียนมาค้นหาคัมภีร์ตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงชนเผ่ามอญที่มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล และชนเผ่าปยูที่มีความเจริญด้านอารยธรรม ทั้ง ๒ ชนชาติมีบทบาทสำคัญในล่มุ แม่น้ำอิรวดีตอนบนและตอนกลาง และต่างก็นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทมาช้านาน เรื่องราวของทั้งสองชนชาติเป็นข้อมูลให้คณะสำรวจของโครงการพระไตรปิฎกฉบับวิชาการ นำมาใช้ศึกษาประกอบการลงพื้นที่ เพื่อสำรวจค้นหาคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศเมียนมาในปัจจุบัน เพราะแหล่งใดในอดีตที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ณ ที่นั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะยังคงมีคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานจารจารึกสืบทอดเรื่อยมานับตั้งแต่สมัยอาณาจักรโบราณ และอาจมีคัมภีร์เก่าแก่เก็บรักษาไว้โดยที่ยังไม่มีใครเคยสำรวจพบมาก่อน สำหรับเรื่องราวในตอนนี้จะกล่าวถึงชนชาติพม่า ซึ่งได้รับเอาความเจริญของชนชาติมอญและปยูเข้าไปผสมผสาน โดยเฉพาะการรับเอาพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้าไปยังอาณาจักรพุกาม ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกของชนชาติพม่า


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนกุมภาพันธ์2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072 , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , บทความน่าอ่าน , มิงกะลาบา…เยือนเมียนมาค้นหาคัมภีร์ (ตอนที่ ๓) , พม่า

ภาพวาดฝาผนังโบราณเป็นภาพพระเจ้าอโนรธาและคณะพระภิกษุ

   เมื่ออาณาจักรของชาวปยูเสื่อมอำนาจลงจากการรุกรานของอาณาจักรน่านเจ้า ชาวพม่าที่มีเชื้อสายพม่า-ทิเบตจึงอพยพจากทางตอนใต้ของจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานกระจายอำนาจการปกครองบริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำอิรวดีแทนชนเผ่าปยู และสถาปนาอาณาจักรพุกามขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ใครเคยสำรวจพบมาก่อน สำหรับเรื่องราวในตอนนี้จะกล่าวถึงชนชาติพม่า ซึ่งได้รับเอาความเจริญของชนชาติมอญและปยูเข้าไปผสมผสาน โดยเฉพาะการรับเอาพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้าไปยังอาณาจักรพุกาม ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกของชนชาติพม่า ศูนย์กลางของอาณาจักรตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่แห้งแล้งกึ่งทะเลทราย แต่เป็นชัยภูมิที่ดีเนื่องจากเป็นบริเวณที่แม่น้ำชินด์วินไหลมารวมกับแม่น้ำอิรวดี และอยู่ระหว่างพื้นที่การเกษตรที่มีระบบชลประทานที่ทำให้สามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นทำเลที่ตั้งจึงเอื้อต่อการควบคุมเส้นทางการเดินเรือและควบคุมการเกษตรที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของอาณาจักร

      ในระยะแรกอาณาจักรยังไม่เป็นปึกแผ่นมั่นคงนัก เพราะยังมีการทำสงครามแย่งชิงราชสมบัติอยู่ จนกระทั่งในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธามังช่อ (พระเจ้าอโนรธา) พระองค์ทรงรวบรวมแว่นแคว้นน้อยใหญ่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระองค์จึงได้รับยกย่องให้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม นอกจากความเป็นปึกแผ่นด้านอาณาจักรแล้ว พระองค์ยังทรงวางรากฐานด้านศาสนจักรโดยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาเถรวาทบนแผ่นดิน ทั้งยังทรงให้การอุปถัมภ์ค้ำจุน เป็นผลให้สมัยอาณาจักรพุกามเป็นยุคที่พระพุทธศาสนาเถรวาทมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในประวัติศาสตร์เมียนมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากโบราณสถานทางโบราณคดีที่เป็นเจดีย์ วิหาร และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มากกว่า ๔,๐๐๐ แห่ง จนกระทั่งพุกามได้รับสมญานามว่า ‘เมืองแห่งทะเลเจดีย์’ นอกจากนี้เรื่องราวพระพุทธศาสนาของอาณาจักรพุกามยังปรากฏในวรรณกรรมเป็นลายลักษณ์อักษร อาทิ จารึกกัลยาณีและหนังสือศาสนวงศ์ เป็นต้น

      ตามประวัติศาสตร์เมียนมากล่าวว่าพระเจ้าอโนรธาทรงเติบโตมาในวัดที่พระราชบิดาทรงพระผนวช เมื่อเติบใหญ่ขึ้น ได้ทรงทำสงครามแย่งราชบัลลังก์จากพระเชษฐาต่างมารดามาถวายคืนแก่พระราชบิดา แต่พระราชบิดาทรงปฏิเสธเนื่องจากพระชนมายุมากแล้ว พระเจ้าอโนรธาจึงทรงครองราชย์แทนและทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักรด้วยการรวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้วดำเนินการปกครองอย่างเป็นระบบ


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนกุมภาพันธ์2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072 , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , บทความน่าอ่าน , มิงกะลาบา…เยือนเมียนมาค้นหาคัมภีร์ (ตอนที่ ๓) , พม่า

ตัวอย่างภาพวาดนัตหลวงจากจำนวนทั้งหมด ๓๗ ตน ซึ่งในเจดีย์ชเวซิกองเป็นสถานที่เดียวที่มีหุ่นนัต
ครบทั้ง ๓๗ ตน แต่ละตัวทำจากไม้ ตกแต่งตัวด้วยอาภรณ์หลากสี

ที่มา: Temple, S. R. C. (1906). The Thirty-seven Nats by Sir Richard Carnac Temple. London : W. Griggs.

 

     ในด้านศาสนาทรงเล็งเห็นว่า ชาวพุกามในขณะนั้นมีความเชื่องมงายเรื่องผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติที่เรียกว่า “นัต” ทั้งยังถูกครอบงำด้วยอิทธิพลคำสอนของนักบวชนอกรีตที่เชื่อในเวทมนต์คาถาและมีหลักปฏิบัติที่ค้านกับคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงมีมโนปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ด้วยการประดิษฐานหลักธรรมและแนวทางปฏิบัติที่แท้จริงของพระพุทธองค์บนแผ่นดินพุกาม

     ครั้นเมื่อพระองค์ทรงพบกับพระสงฆ์มอญผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนามว่า พระชินอรหันต์ ที่เดินทางมาจากเมืองสะเทิมเพื่อมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทยังดินแดนพุกาม พระเจ้าอโนรธาจึงทรงเกิดพระราชศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงทรงส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วแผ่นดิน และมีพระราชกระแสรับสั่งให้จับนักบวชนอกรีตสึกแล้วให้อุปสมบทใหม่ตามหลักพระพุทธศาสนาหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตาม ก็จะถูกลงโทษ


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนกุมภาพันธ์2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072 , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , บทความน่าอ่าน , มิงกะลาบา…เยือนเมียนมาค้นหาคัมภีร์ (ตอนที่ ๓) , พม่า

      ปิตะกะไต้ (Pitaka Taik) สถานที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก ที่อัญเชิญมาจากเมืองสะเทิม สร้างในสมัยพระเจ้าอโนรธาการออกแบบมีจุดประสงค์ที่จะเก็บรักษาคัมภีร์ใบลานให้ปลอดภัยจากแสงแดด ฝน และอัคคีภัย มีผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางเป็นส่วนที่เก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก มีทางเดินโดยรอบ หลังคาทำเป็นหลังคาลาด ๕ ชั้นซ้อน

 พระชินอรหันต์ผู้มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกพิจารณาว่า การที่จะทำให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นในอาณาจักรพุกามได้นั้น ต้องอาศัยความพร้อมกันขององค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ซึ่งจำเป็นจะต้องเริ่มที่ปริยัติก่อน เพราะเป็นรากฐานให้ปฏิบัติและปฏิเวธบังเกิดขึ้นในที่สุด ทั้งนี้หลักปริยัติทั้งหลายนั้นมีบันทึกอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีในอาณาจักรพุกาม จึงกราบทูลพระเจ้าอโนรธาไปอัญเชิญพระไตรปิฎกมาจากเมืองสะเทิม ซึ่งเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของชาวมอญ ณ ที่แห่งนั้นได้มีการจารพระไตรปิฎกถึง ๓ ครั้งด้วยกันพระเจ้าอโนรธาทรงเห็นชอบและโปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะทูตเดินทางพร้อมของกำนัลไปเข้าเฝ้ากษัตริย์มอญพระนามว่า พระเจ้ามกุฎกษัตริย์แต่กลับถูกปฏิเสธ สร้างความไม่พอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าอโนรธาจึงทรงส่งกองทัพเข้าโจมตีและยึดครองเมืองสะเทิม และอัญเชิญพระไตรปิฎกบาลี ๓๐ ชุด ขึ้นหลังช้าง ๓๐ กว่าเชือก เดินทางรอนแรมเป็นเวลานานนับเดือนจึงลุล่วงสู่พุกาม พร้อมกวาดต้อนกษัตริย์พระบรมวงศานุวงศ์และไพร่ฟ้าประชากรซึ่งมีทั้งพระสงฆ์ ช่างจาร ช่างฝีมือ และผู้รู้มายังอาณาจักรของพระองค์ ต่อมา พระสงฆ์มอญเหล่านี้ได้มีบทบาทสำคัญในการชำระพระพุทธศาสนาในพุกามให้บริสุทธิ์ และทำการอุปสมบทให้ชาวพุกามจำนวนมาก และบรรดาช่างฝีมือทั้งหลายก็มีอิทธิพลต่อศิลปะพุกามดังจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมของพุกาม เช่น วิหารอนันทเจดีย์ ซึ่งมีโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่พัฒนาจากศิลปะของชาวปยูและชาวมอญ ได้รับการยกย่องว่าเป็นศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่และมีความงดงามที่สุดแห่งหนึ่ง


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนกุมภาพันธ์2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072 , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , บทความน่าอ่าน , มิงกะลาบา…เยือนเมียนมาค้นหาคัมภีร์ (ตอนที่ ๓) , พม่า

     วิหารอนันทเจดีย์มีผังเป็นรูปกากบาท แกนกลางก่อทึบและมีช่องเว้าเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ๔ ทิศ มีมณฑป ๔ ด้าน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดเป็นสิขรวิหารแสดงถึงอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมของปยู ชั้นหลังคาลาด ที่มุมหลังคาแต่ละชั้นมีเจดีย์จำลองซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะพุกาม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ และมีแผ่นดินเผาเคลือบแสดงภาพชาดกพร้อมคำอธิบายภาษามอญโบราณ แสดงถึงอิทธิพลด้านภาษาที่อาณาจักรพุกามรับมาจากชนชาติมอญ

    นอกจากการวางรากฐานพระพุทธศาสนาภายในอาณาจักรแล้ว พระเจ้าอโนรธายังเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกาในสมัยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ อีกด้วย ความสัมพันธ์และความเกื้อกูลกันของ ๒ อาณาจักร ทำให้มีการอัญเชิญพระไตรปิฎกจากลังกามายังอาณาจักรพุกาม เมื่อพระเถระนำคัมภีร์พระไตรปิฎกจากลังกามาเปรียบเทียบกับฉบับที่มีในอาณาจักรพุกาม ก็พบว่าคัมภีร์พระไตรปิฎกทั้งสองมีความไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนกุมภาพันธ์2561 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , 072 , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , บทความน่าอ่าน , มิงกะลาบา…เยือนเมียนมาค้นหาคัมภีร์ (ตอนที่ ๓) , พม่า

     พระเจ้าอโนรธายังทรงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วจากลังกามาประดิษฐาน ณ เจดีย์ชเวซิกอง ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ดัดแปลงมาจากเจดีย์ของชาวมอญ สร้างในสมัยพระเจ้าอโนรธา แต่แล้วเสร็จในสมัยพระเจ้าจันสิตถายอดเป็นฉัตรขนาดใหญ่ประดับอัญมณี องค์เจดีย์ประดับทองคำเปลวสีทองอร่าม องค์ระฆังมีรัดอกซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่าฐานเจดีย์เป็นฐานบัว ๓ ชั้น ที่มุมปรากฏเจดีย์จำลอง มีช่องใส่ภาพเล่าเรื่องชาดก บริเวณเจดีย์มีเสาจารึกด้วยภาษามอญ เจดีย์ชเวซิกองแห่งนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างเจดีย์ของพม่าในยุคต่อ ๆ มา

   อาณาจักรพุกามเมื่อเริ่มแรกสร้างอาณาจักรได้รับอิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรมจากชนชาติอื่น ๆ ได้แก่ ชนชาติปยูและชนชาติมอญค่อนข้างมาก ต่อเมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนชาติพม่าได้พัฒนารูปแบบทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของตนเองขึ้นมาและกลายเป็นต้นแบบให้ยุคอื่นนำไปพัฒนาต่อยอด ในทำนองเดียวกันเมื่อชาวพุกามนำ  คัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกจากชนชาติมอญมาเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ จึงมีความเป็นไปได้ว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานยุคแรกที่คัดลอกสืบทอดต่อกันมา น่าจะได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์ของมอญค่อนข้างมาก เช่น รูปแบบตัวอักษร และธรรมเนียมการจารอืน่ ๆ จนเมื่อกาลเวลาผ่านไป ความต้องการสร้างเอกลักษณ์ของชนชาติน่าจะมีส่วนทำให้พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวพม่าพัฒนารูปแบบการจารจารึกคัมภีร์และการใช้อักษรที่เป็นแบบอย่างเฉพาะตัว ซึ่งข้อสันนิษฐานนี้ควรได้รับการศึกษาวิเคราะห์เชิงวิชาการ เพื่อเทียบเคียงคัมภีร์ใบลานสายจารีตมอญและสายจารีตพม่าต่อไป

 

 

ขอขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลจาก
Guy, J. (2014). Lost Kingdoms : Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia (Metropolitan Museum of Art). : Yale University Press.

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๘๒ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล