วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ สัมภาษณ์ พระพี่เลี้ยง และสามเณรบวชอุทิศชีวิต วันวิสาขบูชา ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ทบทวนบุญ

เรื่อง : พระสมศักดิ์ จนฺทสีโล
 
 
สัมภาษณ์ พระพี่เลี้ยง และสามเณรบวชอุทิศชีวิต
วันวิสาขบูชา ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ 
 
 
พระพี่เลี้ยง ผู้ดูแลสามเณรบวชอุทิศชีวิต พระมหาสุวิทย์ ธมฺมิกมุนิ ป.ธ. ๙
 
      การบวชอุทิศชีวิตของสามเณรวัดพระธรรมกาย มีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ปีนั้นพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านมาสอนปฏิบัติธรรมด้วยตัวท่านเอง เมื่อสามเณรได้รับฟังโอวาท ได้ปฏิบัติธรรม และได้ฝึกฝนอบรมตนเองมาอย่างยาวนาน ทำให้เข้าใจเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน เลยมีการปฏิญาณตนขอบวชอุทิศชีวิต ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเมตตาเป็นเจ้าภาพบวชให้ตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน รวม ๒๑ รุ่นแล้ว 
 
        “กว่าจะมาเป็นสามเณรที่บวชอุทิศชีวิตได้ ต้องเตรียมตัวนาน คือ แต่ละรูปต้องเริ่มฝึกตัวเองตั้งแต่เข้าวัด โดยใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ส่วนกระบวนการในการฝึกอบรมนั้น เราต้องคัดกรองสามเณรก่อน ตั้งแต่เรื่องกำลังใจ การศึกษา   เล่าเรียน สุขภาพ จากนั้นมีกระบวนการฝึกอบรมตั้งแต่วันแรกจนกระทั่งวันสุดท้ายที่ท่านได้บวช ในเรื่องเคารพ วินัย อดทน หรือแม้แต่ ๕ ห้องชีวิต เรื่องความสะอาด ระเบียบวินัย ความสุภาพ   อ่อนโยน การตรงต่อเวลา รวมทั้งสมาธิ 
 
      “กว่าจะมาเป็นสามเณรที่บวชอุทิศชีวิตได้ ต้องมีการประเมินทุกปี โดยปรับขึ้นไปจากนวกะ ๑ เป็นนวกะ ๒ นวกะ ๓ แล้วเป็นมัชฌิม ๑ มัชฌิม ๒ มัชฌิม ๓ เตรียมบวช ๑ เตรียมบวช ๒ เตรียมบวช ๓ ซึ่งใช้เวลาหลายปี บางรูปที่ยังไม่พร้อม ยังไม่ผ่านบทฝึกในการประเมิน ก็ต้องอยู่ชั้นเดิม บทฝึกเหล่านี้ทำให้ท่านต้องเคี่ยวเข็ญ   ตัวเอง พัฒนาขึ้นมาเป็นสามเณรที่มีความมั่นใจว่าจะบวชอุทิศชีวิต อีกกระบวนการหนึ่งก็คือ  การศึกษา ผู้ที่อยู่ในกลุ่มของสามเณรที่ตั้งใจบวชอุทิศชีวิต อย่างน้อยต้องได้เปรียญธรรม  ๓ ประโยค คือเมื่อบวชแล้วจะใช้คำนำหน้าว่า พระมหาทันที สองเรื่องนี้ เป็นเรื่องหลักในการตัดสินว่าใครจะได้บวชอุทิศชีวิต 
 
     “พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านกล่าวว่า การตัดสินใจบวชอุทิศชีวิตเหมือนกับเป็นการประกาศศึกว่า เรานี้จะทุ่มทั้งชีวิตของเราไป   ข้างหน้าโดยไม่เหลียวหลังมา เหมือนเราทุบ    หม้อข้าว เอาชีวิตทั้งชีวิตไว้ในพระศาสนา เมื่อบวชไปแล้วต้องรักษาอุดมการณ์ ปณิธานของตนเอง สิ่งใดยังไม่สมบูรณ์ เช่น การศึกษาที่ยังไปไม่ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค ถ้าเรายังมีความตั้งใจอยู่ก็ให้ไปให้ถึง ถ้าใครมีความรู้ความสามารถสติปัญญาไปไม่ถึง ก็ต้องช่วยกันทำ   งานพระศาสนา 
 
      “เมื่อก่อนนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเมตตาให้บวชอุทิศชีวิตในวันที่ ๒๒ เมษา รุ่นแรกบวช ๒๒ รูป แต่เมื่อวัดเราขยายตัวมากขึ้น กิจกรรมมีมากขึ้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเลยเมตตาให้บวชอุทิศชีวิตในวันวิสาขบูชา 
 
สามเณรบวชอุทิศชีวิต ๖ ใน ๑๘ รูป
 
 
พระมหานที อิทฺธิชโย ป.ธ. ๓
 
“มีคำถามมากมายเกิดขึ้นกับชีวิตหลวงพี่ เช่น เกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน อะไรคือสิ่งที่มีความหมายสูงสุดของชีวิต ฯลฯ ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา และนี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจออกบวช เมื่อบวชแล้วก็ได้รับความสุขจากรสพระธรรมและปรารถนาที่จะแบ่งปันความสุขให้แก่บุคคลอื่นทั่วทั้งโลก และนี่ก็คือภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ที่ใช้เวลาทั้งชีวิตก็ไม่แน่ว่าจะกระทำได้สำเร็จ ดังนั้นจึงต้องบวชอุทิศชีวิต เพราะเวลาที่เหลือหลังจากนี้ไม่อาจจะ ใช้ไปกับสิ่งอื่นได้อีกแล้ว นอกจากเพื่อความสำเร็จแห่งงานพระศาสนาและวิชชาธรรมกายเท่านั้น”
 
 
พระมหาฉัตรชัย จิรญฺชโย ป.ธ. ๔
 
 
พระมหาฉัตรชัย จิรญฺชโย ป.ธ. ๔
 
“การที่กุลบุตรได้ออกบวชในพระพุทธศาสนาตั้งแต่เยาว์วัย ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ได้บวชอุทิศตนเป็นอายุพระพุทธศาสนา ถือว่ามีบุญมากที่สุด หลวงพี่จึงตั้งเป้าหมายว่า จะต้องบวชอุทิศชีวิตให้จงได้ และจะตั้งใจเป็นสมณะแท้ สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ให้คงอยู่คู่โลกตลอดกาล ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อเคยกล่าวไว้ว่า ‘การปฏิญาณตนว่าจะบวช     อุทิศชีวิตไม่สึกนั้น เปรียบเหมือนการทุ่มเดิมพันหมดหน้าตัก ถ้าเราแพ้ก็ไม่เหลืออะไรเลย แต่   ถ้าชนะเราก็จะได้ทับทวีคูณ’ ฉะนั้นหลวงพี่จะขอบวชเพื่อศึกษาวิชชาธรรมกายไปตลอดชีวิต จะขอตายในผ้าเหลือง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการทุ่ม  เดิมพันให้หน่อเนื้อพุทธางกูรที่จะตามมาใน   ภายหลังยึดเป็นแบบอย่างสืบไป”
 
 
พระมหาฐาปนาวุฒิ ถาวรชโย ป.ธ. ๕
 
พระมหาฐาปนาวุฒิ ถาวรชโย ป.ธ. ๕
 
“‘ถ้าสึกตายเสียดีกว่า’ เป็นถ้อยคำที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเมตตาสอนพวกหลวงพี่ตอนที่ยังเป็นสามเณร เพื่อให้นำไปสอนตัวเอง และยิ่งได้ยินหลวงพ่อบอกว่า ‘หลวงพ่อปลื้มทุกวันที่รู้ว่าลูกเณรจะบวชอุทิศชีวิต’ ‘วันที่พวกลูกได้บวชอุทิศชีวิต เป็นวันที่พ่อรอคอย’ หลวงพี่ก็บอกกับ ตัวเองทันทีเลยว่า ‘หลวงพ่อครับ ลูกจะขอบวชตลอดชีวิต จะขออยู่กับหลวงพ่อตลอดไป’” 
 
  พระพ่อคือ ทุกอย่าง ในชีวิต
ทั้งกายจิต มีแต่พ่อ มิเลือนหาย
จะขออยู่ คู่พ่อ จนชีพวาย
ชาติสุดท้าย ตามพ่อไป สุดแห่งธรรมฯ
 
 
พระมหาพงศ์ศิริ สิริวิชโย ป.ธ. ๗
 
 
พระมหาพงศ์ศิริ สิริวิชโย ป.ธ. ๗ 
 
“ก่อนบวชเป็นสามเณรวัดพระธรรมกาย หลวงพี่มองหาสายการเรียนที่คิดว่าดีที่สุด เมื่อบวชแล้วก็พบว่าสายการเรียนที่ดีที่สุด คือ การศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และอาชีพที่ดีที่สุดคืออาชีพนักบวช เพราะอาชีพอื่นล้วนแต่เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในชาตินี้เท่านั้น แต่การเป็นนักบวชเป็นอาชีพที่เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในภพชาตินี้และในภพชาติต่อ ๆ ไป ซึ่งการใช้ชีวิตให้ปลอดภัยในสังสารวัฏอันยาวไกลนี้ ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินเงินทองที่ได้มาจากการประกอบอาชีพการงาน แต่ใช้บุญบารมีเท่านั้น และอาชีพที่   สร้างบุญบารมีได้มากที่สุดก็คือ อาชีพนักบวช   ด้วยเหตุนี้หลวงพี่จึงเลือกที่จะบวชอุทิศชีวิต”
 
 
พระมหาอุกฤษฏ์  อุกฺกฏฺฐชโย ป.ธ. ๕
 
 
พระมหาอุกฤษฏ์  อุกฺกฏฺฐชโย ป.ธ. ๕
 
       “การที่คนหนึ่งคนจะลงมือทำอะไร    สักอย่างนั้น ถ้าหากใจไม่อยากทำ ถึงฝืนต่อไป   ก็คงทำได้ไม่นาน เพราะใจไม่มีความสุข ชีวิตของสมณะก็เช่นกัน ต้องมีความสุขเป็นพื้น แต่ไม่ถึงกับสบาย เพราะถ้าบวชแล้วสบายจริงอย่างที่ เข้าใจกัน จำนวนพระในประเทศไทยคงไม่เหลือแค่หลักแสน วัดคงไม่เหลือแค่หลักหมื่น และผู้ชายคงบวชหมดประเทศแล้วเป็นแน่
 
      “อย่างไรก็ตาม หลวงพี่เองก็มีความสุขที่ตัดสินใจบวชอุทิศชีวิตเพื่อเป็นอายุพระศาสนา และพร้อมที่จะตั้งใจฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ เพื่อเป็นแสงสว่างแก่ชาวโลกต่อไป แม้จะต้องอาศัยกำลังใจอย่างสูงก็ตาม”
 
 
พระมหาสุทธิพงษ์ สุชโย ป.ธ. ๕
 
 
พระมหาสุทธิพงษ์ สุชโย ป.ธ. ๕
 
          “คนเราเกิดมาทำไม แค่เกิดมาแล้วก็ตายหรือ แล้วทำไมต้องมีความแตกต่างกัน และอะไรทำให้เราต่างกัน นี่คือสิ่งที่หลวงพี่สงสัยมาตั้งแต่เด็ก และพยายามหาเหตุผลมารองรับ แต่ยังรู้สึกว่าไม่ใช่ มีเพียงความรู้สึกลึก ๆ ว่า ‘เราไม่ได้ เกิดมาเพื่อรอวันตายแน่นอน ” จนกระทั่งเข้าวัดจึงพบคำตอบ เหมือนคนที่หลงทางอยู่กลางป่า    ได้พบเส้นทางออกจากป่า 
 
       “เพราะมีพระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อ จึงทำให้หลวงพี่มีวันนี้และรู้ว่าเกิดมาเพื่อบวชอุทิศชีวิต และจะขอบวชอย่างนี้ไปทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุด  แห่งธรรม”
 
        ข้าขอบวช อุทิศ ชีวิตนี้ ข้าขอพลี กายใจ ให้ศาสนา
  ตายขอตาย ใกล้บาท พระศาสดา ขอชนา จงเป็นสุข ทุกกาลเทอญ
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ 128 มิถุนายน ปี2556

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล