เรื่องจากปก
เรื่อง : มาตา
๑๐๐ ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
เมื่อวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ พุทธศักราช ๒๔๖๐ ภายในโบสถ์วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งซึ่งต่อมาคือ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ทำสมาธิ ปฏิบัติธรรมเอาชีวิตเป็นเดิมพันค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเลือนหายไปราว ๒,๐๐๐ ปี ให้หวนกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี จึงเป็นวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งในชีวิตของท่านและศิษยานุศิษย์ และเพื่อระลึกถึงวันสำคัญที่พระเดชพระคุณหลวงปู่เข้าถึงพระธรรมกาย คณะศิษยานุศิษย์จึงพร้อมใจกันกำหนดให้ทุก ๆ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็น “วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย”
วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายในปีนี้ (วันอังคารที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐) เป็นวันครบ ๑๐๐ ปีแห่งการบรรลุธรรม ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ซึ่งถือเป็นโอกาสพิเศษอย่างยิ่ง “วารสารอยู่ในบุญ” จึงจัดทำคอลัมน์ “๑๐๐ ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย” ขึ้น เพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณของพระเดชพระคุณหลวงปู่
ในขณะอ่านบทความนี้ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบุญกุศลจากทุกตัวอักษรที่บอกเล่า เรื่องราวของพระผู้ปราบมารได้มากที่สุด ขอให้ลูกหลานพระเดชพระคุณหลวงปู่ทุกท่าน วางใจหยุดนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ระลึกนึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ให้ชัดใสแจ่มกระจ่าง แล้วจึงย้อนอดีตไปพบกับเหตุการณ์ที่สำคัญในวันนั้นด้วยกัน
ในขณะอ่านบทความนี้ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบุญกุศลจากทุกตัวอักษรที่บอกเล่า เรื่องราวของพระผู้ปราบมารได้มากที่สุด ขอให้ลูกหลานพระเดชพระคุณหลวงปู่ทุกท่าน วางใจหยุดนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ระลึกนึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ให้ชัดใสแจ่มกระจ่าง แล้วจึงย้อนอดีตไปพบกับเหตุการณ์ที่สำคัญในวันนั้นด้วยกัน
กาลครั้งหนึ่ง เมื่อ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาในเวลาเช้าตรู่ของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ พ.ศ. ๒๔๖๐ ก่อนออกบิณฑบาต พระภิกษุหนุ่ม ผู้คงแก่เรียนนาม “สด จนฺทสโร” ระลึกขึ้นมาว่า
“เราบวชมานานนับได้ ๑๒ พรรษาแล้วยังไม่บรรลุธรรมของพระพุทธเจ้าเลย ทั้งที่การศึกษาของเราไม่เคยขาดสักวัน เราควรจะรีบกระทำความเพียรให้รู้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนา หากไม่เริ่มปฏิบัติก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท”
หลังกลับจากบิณฑบาต ท่านจึงเข้าไปปฏิบัติธรรมภายในโบสถ์วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ในขณะนั้น โดยตั้งปณิธานในใจว่า หากไม่ได้ยินกลองเพล ก็จะไม่ลุกจากที่
จากนั้น หลับตาทำสมาธิภาวนาจนกระทั่งใจหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ทูี่ศู่นยกลางกาย พอดีกับที่เสียงกลองเพลดังกังวานขึ้น
การเข้าถึงดวงธรรมขั้นต้นนี้ ทำให้ท่านมีความสุขตลอดทั้งวัน
เย็นวันนั้น ท่านกลับเข้าไปปฏิบัติธรรมภายในโบสถ์อีกครั้งหนึ่ง และครั้งนี้ท่านตั้งสัจจาธิษฐานโดยเอาชีวิตของท่านเป็นเดิมพันว่าหากไม่บรรลุธรรมจะยอมตายไม่ยอมลุกขึ้น ดังข้อความที่ท่านบันทึกไว้ในอัตชีวประวัติ
“ในเมื่อเราตั้งใจจริง ๆ ในการบวช จำเดิมอายุสิบเก้า เราได้ปฏิญาณตนบวชจนตาย ขออย่าให้ตายในระหว่างก่อนบวช บัดนี้ก็ได้บอกลามาถึง๑๕ พรรษาย่างเข้าพรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์ของเราแล้ว บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุ ยังไม่รู้ ไม่เห็น สมควรแล้วที่จะต้องกระทำอย่างจริงจัง เมื่อตกลงใจได้ดังนี้แล้ว วันนั้นเป็นวันกลางเดือน ๑๐ ก็เริ่มเข้าโรงอุโบสถแต่เวลาเย็น ตั้งสัจจาธิษฐานแน่นอนลงไปว่า ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการ เป็นอันไม่ลุกจากที่นี้จนหมดชีวิต”
จากนั้น ท่านก็นั่งหลับตาทำความเพียร อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
เมื่อนั่งไปจนกระทั่งใจหยุดสงบนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้ส่วนพอดี ดวงกลมโตใสบริสุทธิ์ที่ศูนย์กลางกายที่ท่านเห็นเมื่อเพล ยิ่งใสสว่างมากขึ้น มีขนาดเท่าดวงอาทิตย์และเห็นอยู่อย่างนั้นโดยไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป
ต่อมา มีเสียงผุดขึ้นมาจากกลางดวงนั้นว่า “มัชฌิมา ปฏิปทา” ขณะที่เสียงนั้นดังขึ้นมาในความรู้สึก ก็มีจุดเล็ก ๆ เรืองแสงสว่างวาบขึ้นมาจากกลางดวงนั้น ท่านมองดวงกลมใสสว่างที่อยู่กึ่งกลางดวงนั้น และคิดว่า
“นี่กระมังทางสายกลาง”
จุดเล็กนั้นค่อย ๆ โตขึ้นมา แล้วดวงเก่าก็หายไป เมื่อมองไปเรื่อย ๆ ก็เห็นดวงใหม่ที่สุกใสกว่าดวงเดิมลอยขึ้นมาแทนที่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ในที่สุดจึงเห็นกายต่าง ๆ ผุดซ้อนขึ้นมาจนถึงธรรมกาย ซึ่งเป็นพระปฏิมากร
เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์
ในเวลานั้น ท่านเข้าใจอย่างชัดเจนด้วยตนเองว่า ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งมาก จะเข้าถึงได้ต้องทำใจให้หยุดนิ่งสนิทที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เหนือสะดือ ๒ นิ้วมือ ถ้าใจไม่หยุด จะเข้าถึงพระธรรมกายไม่ได้
ดังนั้น ท่านจึงกล่าวสรุปเป็นคำสอนสั้น ๆ ว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” และสอนเช่นนี้เสมอมาตลอดอายุขัยของท่าน
หลังจากปฏิบัติธรรมจนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ท่านก็อาศัยธรรมจักษุของพระธรรมกายที่ท่านเข้าถึงมาศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับวิชชาธรรมกายอันเป็นแก่นแท้ ดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาต่อไป
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ที่วัดปากน้ำ พระเดชพระคุณหลวงปู่ ทุ่มเวลาให้กับการทำสมาธิภาวนาพร้อมกับพระภิกษุและอุบาสิกาในโรงงานทำวิชชา ซึ่งทีมงานของท่านทำภารกิจนี้เป็นเวลาประมาณ ๓๐ ปี โดยไม่มีวันหยุดแม้แต่วันเดียว ทั้งนี้เพื่อค้นคว้าความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และมีเป้าหมายที่จะปราบมาร(กิเลสอาสวะ) ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทรมานของสรรพชีวิต
นอกจากนี้ ท่านยังเผยแผ่วิชชาธรรมกายออกไปอย่างกว้างขวาง และสนับสนุนการเรียนปริยัติธรรม สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่พุทธศาสนา สร้างประโยชน์สุขแก่มหาชนตลอดมา
การค้นพบวิชชาธรรมกายของพระเดชพระคุณหลวงปู่และเมตตานำออกมาเผยแผ่แก่ชาวโลก ทำให้มวลมนุษย์ที่ถูกมารบังคับให้ หลับใหลเริ่มเบิกตาตื่น โลกที่มืดมนอนธการก็สว่างไสวขึ้นด้วยแสงแห่งพระรัตนตรัย
หากไม่มีพระเดชพระคุณหลวงปู่ ชีวิตเราจะไร้แก่นสารและไม่ปลอดภัย เพราะไม่มีใครเปิดเผยเรื่องวิชชาธรรมกายที่ถูกต้องและสมบูรณ์ให้เรารู้ เนื่องจากคำว่า “ธรรมกาย” ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และไม่ปะติดปะต่อ มีเพียงแค่คำหรือชื่อในคัมภีร์เท่านั้น ดังนั้นแม้ว่าเราจะตั้งใจศึกษาเรื่อง “ธรรมกาย” จากคัมภีร์ต่าง ๆ แล้ว ก็ยังยากที่จะเข้าใจวิชชาธรรมกายได้แจ่มแจ้ง จนกระทั่งน้อมนำมาปฏิบัติให้เข้าถึงได้
การที่พระเดชพระคุณหลวงปู่สละชีวิตปฏิบัติธรรมจนกระทั่งค้นพบ “วิชชาธรรมกาย”จึงเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าที่สุด เพราะทำให้ชาวโลกในยุคนี้มีโอกาสรู้จักพระรัตนตรัยที่แท้จริง และรู้วิธีปฏิบัติให้เข้าถึงพระธรรมกายซึ่งเป็นกายตรัสรู้ธรรม ที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้
พระเดชพระคุณหลวงปู่จึงเป็นยอดทักขิไณยบุคคลที่สมควรแก่การเคารพบูชาอย่างยิ่ง การได้เกิดมาพบท่าน ได้ยินได้ฟังคำสอนของท่าน จึงนับว่าเป็นบุญวาสนาและมหาโชคมหาลาภของเรา
ดังนั้น ในวาระวันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายทุกปี ลูกหลานของพระเดชพระคุณหลวงปู่จึงพร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายขึ้น และในบางปีก็มีกิจกรรมอื่นๆด้วย อาทิ พิธีอัญเชิญรูปหล่อทองคำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ประดิษฐาน ในมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี, พิธีเทคอนกรีต เสาค้ำฟ้ามหารัตนวิหารคดบูชาครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย เป็นต้น ซึ่งในโอกาสพิเศษนี้ กองบรรณาธิการวารสารอยู่ในบุญและทีมงาน ภาพนิ่งมีความยินดีนำเสนอภาพเหตุการณ์ในอดีตบางปีของวันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย เพื่อให้ลูกหลานพระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ ทบทวนบุญและอนุโมทนาบุญซึ่งกันและกัน
วันพุธที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖พิธียกยอดมหาวิหารคุณยายอาจารย์ฯ ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย
วันอังคารที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ พิธีอัญเชิญพุทธปฏิมากร Top Dome ขึ้นประดิษฐานบนยอดโดมอาคาร ๖๐ ปีฯ
วันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พิธีอัญเชิญรูปหล่อทองคำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ประดิษฐานในมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี
วันพุธที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พิธีเทคอนกรีตเสาค้ำฟ้า มหารัตนวิหารคด
วันอาทิตย์ที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ พิธีอัญเชิญองค์ต้นแบบรูปเหมือนพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และพิธีประดิษฐานแผ่นทอง จารึกชื่อผู้มีบุญในแกนกลางรูปหล่อทองคำพระเดชพระคุณหลวงปู่
วันศุกร์ที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พิธีตอกเสาเข็ม “ต้นมหาสมบัติจักรพรรดิ” (เสาเข็มต้นแรก) สถาปนาอาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์ฯ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ พิธีปิดแผ่นทอง รูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี พิธีอัญเชิญรูปหล่อทองคำ กระทำทักษิณาวรรต (เวียนขวา) รอบพระมหาธรรมกายเจดีย์
วันจันทร์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔พิธีปิดแผ่นทองรูปหล่อทองคำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) องค์ที่จะนำไปประดิษฐาน ณ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ พิธีอัญเชิญรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ประดิษฐานในมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี แทนองค์เดิมที่นำไปประดิษฐานบนเส้นทางพระผู้ปราบมาร
วันจันทร์ที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ พิธีสักการะรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) องค์ที่จะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียงจังหวัดนนทบุรี
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พิธีสักการะรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี สวดธรรมจักร เวียนประทักษิณรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ (ภายในมหารัตนวิหารคด)
วันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พิธีสักการะรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี สวดธรรมจักร เวียนประทักษิณ รอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ (ภายในมหารัตนวิหารคด)
หลังจากปลื้มอกปลื้มใจกับบุญในอดีตที่ทำมาอย่างต่อเนื่องแล้ว ในวาระครบ ๑๐๐ ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายนี้ นอกจากร่วมพิธีบูชาครูแล้ว หลายท่านยังตั้งใจทำความดีเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูบูชาธรรมพระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นพิเศษ อาทิการบวชบูชาธรรม การตั้งเป้าสวดธรรมจักรให้มากขึ้น บางท่านตั้งใจพัฒนาคุณธรรมในตัว
บางท่านก็จะช่วยเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก หลายท่านร่วมกันสร้างศาสนสถานเพื่อสืบค้นหลักฐานธรรมกาย ฯลฯ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ลูกหลานพระเดชพระคุณหลวงปู่ไม่พลาดแน่ๆก็คือ การตั้งเป้าทำสมาธิปฏิบัติธรรมให้มากขึ้นเป็นพิเศษ จะได้มีใจหยุดใจนิ่งจนกระทั่งสามารถเข้าถึงพระธรรมกายให้สมกับเป็นเชื้อสายพระผู้ปราบมาร
อาจารย์สมควร ทองหล่อ ศิลปินเขียนภาพสีน้ำมัน
วาระครบ ๑๐๐ ปี วิชชาธรรมกาย ซึ่งถือเป็นปีที่พิเศษกว่าทุกปี ผมได้รวบรวมกำลังกาย กำลังความรู้ และความสามารถทั้งหมด เพื่อวาดรูปเหมือนหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งเป็นภาพสีน้ำมันขนาดใหญ่มาก (๑.๖๐ ม. x ๒.๑๐ ม.) จำนวน ๒ ภาพ เพื่อบูชาธรรมพระเดชพระคุณหลวงปู่และประกาศคุณ วิชชาธรรมกาย โดยภาพ ๒ ภาพนี้ ผมจะถวายแด่พระเดชพระคุณพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามฯ เพื่อนำไปประดิษฐาน ที่วัดพุทธวิหาร นครเบอร์ลิน และวัดธรรมวิหาร เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ที่ผมทำแบบนี้ เพราะผมอยากให้คนทั่วโลกรู้จักพระเดชพระคุณหลวงปู่ให้มากที่สุด จากงานที่ผมถนัด เพื่อท้ายที่สุดให้คนที่มากราบไหว้ภาพนี้ สนใจอยากประพฤติปฏิบัติธรรม จะได้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง ที่สำคัญ ในปีนี้ผมได้ตั้งใจนั่งสมาธิมากขึ้นเป็นพิเศษด้วย เพื่อบูชาธรรมพระเดชพระคุณหลวงปู่
อาจารย์จำเรียง ปั้นยศ ข้าราชการครู สายครูผู้สอน ค.ศ. ๓ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดมะสงมิตรภาพที่ ๕๕ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายเป็นวันที่สำคัญยิ่งในชีวิตของดิฉัน และในฐานะที่เป็นครูคนหนึ่ง ทำให้ดิฉันตระหนักถึงความสำคัญของ “ครู” ตลอดมา ว่าสามารถชี้นำทิศทางชีวิตของศิษย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย” ผู้ชี้ทางสวรรค์และนิพพาน ทำให้เรามีบุญวาสนาได้รู้จักคำว่าธรรมกาย ทำให้เรามีที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง และมีชีวิตที่มั่นคงปลอดภัยในวัฏสงสาร
ในวาระวันครูวิชชาธรรมกายครบ ๑๐๐ ปี ดิฉันจึงอยากจะทำความดีเป็นพิเศษ คือตั้งใจที่จะเป็นต้นบุญต้นแบบที่ดีงามในด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่คนรอบข้าง ทั้งลูกศิษย์และผ้ปกครอง ส่วนการสวดธรรมจักรและนั่งสมาธินั้น ดิฉันทำเป็นประจำอยู่แล้ว และยังชักชวนลูกศิษย์ให้ปฏิบัติทุกวันในเวลาพักกลางวันค่ะ
Michael Dalsgaard Jensen, Denmark (มิเคล ดัลส์การ์ด เยนเซน, ประเทศเดนมาร์ก)
Jeg er bedre person efter jeg har l?rt om Dhammakaya og meditation, hvilket s?tter mig i stand til at overf?re min l?rdom til andre.
Hvad jeg har gjort for mig selv d?r med mig, men hvad vi gjort for andre og verden forbliver og er ud?delig.
Til denne begivenhed vil jeg meditere og hj?lpe Luang Por i Dhammakaya med at viderebringe hans l?rdom til et stort udvalg af danskere.
(คำแปล) ผมเป็นคนดีมากขึ้นหลังจากได้เรียนรู้เรื่องของธรรมกายและได้ปฏิบัติธรรม และผมยังนำสิ่งเหล่านี้ไปสอนผู้อื่นได้อีกด้วย
ผมคิดว่า สิ่งที่ผมทำเพื่อตนเอง จะติดตัวผมไปจนวันตาย แต่สิ่งที่ผมทำเพื่อคนอื่นนั้น จะคงอยู่บนโลกใบนี้นิรันดร
ในวาระพิเศษนี้ ผมตั้งใจจะนั่งสมาธิ และช่วยหลวงพ่อในการเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปสู่ชาวเดนมาร์กให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ