วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ ที่สุดแห่งถ้อยคำ

อานุภาพ “สัมมา อะระหัง”
เรื่อง : พระบริบูรณ์ ธมฺมวิชฺโช

 

ที่สุดแห่งถ้อยคำ

 

    “ถ้าใจใส ใจสบาย ทำอะไรก็สำเร็จ ถ้าใจอยู่ฐานที่ ๗ ทำอะไรก็สำเร็จอย่างสบาย ๆ”


    ข้อความประโยคข้างต้น คือ ที่สุดแห่งถ้อยคำ ที่เป็นเคล็ดลับนำความสำเร็จมาสู่มนุษย์ได้ทุกภารกิจ ซึ่งพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้เมตตาสอนลูก ๆ เสมอมา และสิ่งที่จะเป็นตัวช่วยส่งเสริมดวงใจให้ปรับเข้าสู่โหมดของความสบายก็ไม่ได้ซับซ้อนหรือกระทำได้ยากแต่อย่างใด แค่ภาวนา “สัมมา อะระหัง” เรื่อยไป เดี๋ยวความสำเร็จอย่างสบาย ๆ ก็บังเกิดขึ้นแล้ว


    ดังตัวอย่างของนักสร้างบารมีผู้ไปทำหน้าที่ชวนบวชและสามารถพิชิตความลังเลหรือกิเลสในใจของชายแมน ๆ ให้ตัดสินใจมาบวชได้อย่างง่ายดาย


ยิ่งภาวนา ยิ่งสำเร็จ
พระประทีป กตทีโป 

 


    หลวงพี่เป็นผู้สนับสนุนทีมงานชวนบวช มีหน้าที่ดูแลเรื่องการกิน    การอยู่ของผู้ที่ออกไปชวนบวชในแต่ละวัน และสนับสนุนเรื่องรถ บางครั้งก็มีโอกาสออกไปชวนบวชเองบ้าง 


    ทีมงานของเราทำหน้าที่ชวนบวชได้ใบสมัคร ๑๒๓ ใบ และมีคน     มาบวชจริง ๆ ถึง ๙๓ คน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงถึง ๗๕ เปอร์เซ็นต์      ของใบสมัคร 


    หลวงพี่กับทีมงานประชุมกันอยู่เป็นประจำ จึงมีโอกาสทราบว่า ทีมที่เขาชวนบวชได้ผลดีนั้นเขารักษาใจ ไม่เกี่ยวกับการพูดเก่งหรือมีวาทศิลป์อะไรต่าง ๆ เลย แต่ละคนมีแต่หัวใจและยึดหลักที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านบอกว่า “ถ้าใจใส ใจสบาย ทำอะไรก็สำเร็จ ถ้าใจอยู่ฐานที่ ๗ ทำอะไรก็สำเร็จอย่างสบาย ๆ”


    เพราะฉะนั้น ก่อนออกไปทำหน้าที่ แต่ละคนก็จะนั่งสมาธิกันตั้งแต่ตอนเช้า ๘-๙ โมง นั่งทุกวัน และระหว่างที่นั่งรถออกไปชวนบวช เขาก็จะภาวนา “สัมมา อะระหัง” ภาวนาไปเรื่อย ๆ เพลิน ๆ เวลาคนที่มี    หน้าที่ลงไปคุยชวนคนบวช คนที่ไม่ได้ลงไปคุยก็ภาวนา “สัมมา อะระหัง”  รักษาใจเป็นหลัก คนทำหน้าที่ก็ภาวนาไปด้วย ปรากฏว่า ทีมไหนขยันภาวนา ทีมนั้นได้คนบวชมากที่สุด ทีมงานของหลวงพี่ใช้เวลาก่อนบวชแค่เดือนเดียวสามารถชวนคนบวชได้ถึง ๙๓ คน

 

“สัมมา อะระหัง” ชวนบวชไม่ยาก
คุณทองล้วน พงศ์ศิริวิวัฒน์ 

 


    ทุกครั้งที่ลงพื้นที่จะภาวนา “สัมมา อะระหัง” ทั้งทีมค่ะ “สัมมา อะระหัง” ตลอดเวลา ตอนแรกคิดว่าการที่เราจะไปชวนใครสักคนมาบวชคงเป็น  เรื่องยาก แต่พอถึงเวลาจริง ๆ แล้วไม่ยากเลย หากเรา “สัมมา อะระหัง” ตรึกเชื่อมสายบุญกับครูบาอาจารย์ตลอดเวลา ทำใจให้ใส ๆ และตั้งใจ        ทำหน้าที่ ก็จะสำเร็จได้ไม่ยาก


    การที่เราจะชวนใครบวช สิ่งแรกที่จะพูดกับเขาก็คือ บวชไหมคะ? โครงการนี้บวชฟรีนะคะ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น บวชไหม? เราพูด     แค่นี้จริง ๆ ไม่ได้มีกลยุทธ์อะไรมากมายเลย เราถามแค่ว่าบวชไหมคะ?       น้องบวชไหมคะ? ลุงบวชไหมคะ? คนไหนที่อยากบวชเขาจะสนใจ แล้วก็หันมามองเรา พอเราเห็นว่าเขาสนใจ เราก็เข้าไปคุยและถามว่ามีบัตรประชาชนไหม? ถ้าเขาบอกว่ามี ก็ถามว่าเขียนใบสมัครเลยได้ไหม?


    กลยุทธ์การชวนบวชเราคิดว่าง่ายมาก คือ เราตรึกระลึกนึกถึง       ครูบาอาจารย์ตลอดเวลาด้วยการ “สัมมา อะระหัง” และใช้เครื่องนับดิจิทัล “สัมมา อะระหัง” ทีหนึ่งก็กด ๑ ครั้ง ทั้ง ๓ ท่านในทีมงานเราก็ทำ         อย่างนี้ตลอดเวลา วันหนึ่งทำได้ประมาณ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ครั้ง ปลื้มนะ      ใจเราจดจ่ออยู่กับครูบาอาจารย์ และตรึก “สัมมา อะระหัง” ตลอดเวลา       ทำแบบนี้แล้วการชวนบวชของเราง่ายมากเลยค่ะ 

 

“สัมมา อะระหัง” จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
แม่ชีบัวผัด กันทวิเดช

 


    เวลาทำหน้าที่ก็ภาวนา “สัมมา อะระหัง” ตั้งแต่นั่งรถจนไปถึง        จุดหมายปลายทาง 


    พอไปถึงก็เดินลงตามหมู่บ้าน แล้วก็ “สัมมา อะระหัง” ไปเรื่อย ๆ ถ้าเจอผู้ชายก็ชวนเลย ถ้ายังไม่เจอก็ “สัมมา อะระหัง” ไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดเลย จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถ้ายังไม่ถึงเป้าหมายก็ยังไม่กลับ แต่ก็ถึงเป้าที่เราตั้งใจไว้ทุกครั้งค่ะ


    ช่วงเวลานับจากนี้ของหมู่คณะยังต้องมีภารกิจสำคัญอย่างต่อเนื่องในการชักชวนกุลบุตรหรือชายแมน ๆ ให้เข้ามาบวชศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโครงการต่าง ๆ รวมทั้งชักชวนเยาวชนมาบวชเณรให้ครบล้านรูปตามโครงการที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวางไว้ ทั้งนี้      เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง และขจัดปัดเป่าความรุ่มร้อนทุกข์ลำเค็ญแก่ผู้คน          บนโลกใบนี้ ดังนั้นผู้ทำหน้าที่ชวนบวชทั้งหลายจึงเปรียบเสมือนขุนรบที่ก้าวเข้าสู่สมรภูมิที่ต้องเอาชนะกิเลสในใจของผู้คนให้ได้ ขุนรบที่เก่งกล้าต้องคู่กับกลยุทธ์ที่ดี ดังนั้นเวลาทำหน้าที่             ก็ภาวนา “สัมมา อะระหัง” ไปเถิด นี่แหละคือสุดยอดแห่งกลยุทธ์ที่จะทำให้เป็นผู้ชนะทุกทิศ.. อย่างสบาย ๆ  

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๕๑ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล