วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๑)

บทความพิเศษ
เรื่อง : นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI

หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ
(ตอนที่ ๔๑)

การเปิดอาคารสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย : ย่างก้าว ๑๐๑ ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

        ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา นับเป็นปีที่ครบรอบ ๑๐๐ ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายที่คณะศิษยานุศิษย์ทั่วโลกได้พร้อมใจกันด้วยสามัคคีธรรม ที่จะเเสดงความกตัญญูกตเวทีแด่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ในหลาย ๆ กิจกรรม หนึ่งในนั้นก็ด้วยการพร้อมใจกันสถาปนาอาคาร “สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย” DHAMMACHAI INTERNATIONAL RESEARCH INSTITUTE (DIRI) ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา เพื่อเป็นประจักษ์พยานว่า วิชชาธรรมกายที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ค้นพบมานั้น ได้รับการสืบทอดต่อมาจนมีอายุได้ถึง ๑๐๑ ปีแล้ว ด้วยความตั้งใจจริงที่จะให้วิชชาธรรมกายเผยแผ่ออกไปอย่างมั่นคงทั่วโลก ซึ่งแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจสังคมของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใดก็ตาม แต่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมั่นคงมาโดยตลอดนั้นย่อมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ทำให้ในที่สุดความใฝ่ฝันของลูกศิษย์หลานศิษย์ของมหาปูชนียาจารย์ก็สามารถทำสำเร็จได้จริง

 

หนังสือพิมพ์ Otago Daily Times
ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ยอดนิยมใน ประเทศนิวซีแลนด์ ลงข่าวเกี่ยวกับ
สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และทางออนไลน์

 

  ในงานเปิดอาคารสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ดังกล่าวนี้ ทางสถาบันได้รับเกียรติจากท่านเทศมนตรีแห่งเมืองดันนีดิน ท่านคริสติน แกรี มาร่วมแสดงความยินดีต่อคณะผู้บริหารสถาบัน รวมทั้งชื่นชมความสำเร็จของการสถาปนาอาคารสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยอย่างเป็นทางการ โดยได้กล่าวรับรองความสำเร็จครั้งนี้ว่า “เป็นการมาในที่ที่ใช่” เพราะเมืองดันนีดินเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญที่ได้รับการประกาศจาก UNESCO ว่า เป็นเมืองที่ทรงคุณค่าทางด้านวรรณกรรม ขณะที่ในปีที่ผ่านมาก็เพิ่งเป็นวาระครบ ๕๐ ปี ในด้านศาสนศึกษาของมหาวิทยาลัยโอทาโก รวมทั้งบุตรีของท่านเทศมนตรีเองก็มีความสนใจเป็นพิเศษเรื่องพุทธศาสนาด้วย

 

ท่านเทศมนตรีแห่งเมืองดันนีดินท่านคริสติน แกรี
ร่วมพิธีเปิดอาคาร DIRI และกล่าวรับรองความสำเร็จครั้งนี้ว่า “เป็นการมาในที่ที่ใช่”

 

ท่านเฮเลน นิโคลสัน
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศมหาวิทยาลัยโอทาโก
ประธานในพิธีเปิดอาคารสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI)

 

ท่านรองศาสตราจารย์วีล สวีทแมน
หัวหน้าภาควิชาเทววิทยาและศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอทาโก

 

       ในขณะที่ผู้มีเกียรติอีก ๒ ท่าน คือ ท่านผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศท่านเฮเลน นิโคลสัน ในฐานะประธานในพิธีเปิดอาคาร และ ท่านรองศาสตราจารย์วีล สวีทแมน (หัวหน้าภาควิชาเทววิทยาและศาสนศาสตร์) ได้กล่าวแสดงความชื่นชมถึงความร่วมมือระหว่างกันที่มีมาอย่างยาวนานมากกว่า ๑๒ ปี ระหว่างมหาวิทยาลัยโอทาโกกับสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) โดยเฉพาะความสำเร็จในการพัฒนาความรู้ของนักศึกษาร่วมกันการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ การให้ทุนสนับสนุนการศึกษา ตลอดจนการมีความร่วมมือใน
โครงการวิจัยต่าง ๆ ร่วมกัน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ถือว่าเป็นดอกผลที่ออกมาอย่างคุ้มค่ายิ่งกับความพยายามในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอีกประการหนึ่งก็คือการที่สภามหาวิทยาลัยโอทาโกอนุมัติให้เปิดการสอน Buddhist Studies ในหลักสูตรปริญญาโทและการที่นักศึกษาในโครงการวิจัยได้รับความก้าวหน้าในการทำงานศึกษาสืบค้นซึ่งเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง ในวาระมงคลนี้ทางมหาวิทยาลัยโอทาโกได้มอบโล่เกียรติคุณให้แก่สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยด้วย ซึ่งในโอกาสนี้ ท่านประธานอำนวยการสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยได้กล่าวขอบคุณแขกกิตติมศักดิ์ ตลอดจนกล่าวเอ่ยนามผู้มีส่วนสำคัญทุกท่านที่ร่วมกันริเริ่มสร้างหน้าประวัติศาสตร์ทางวิชาการ เพื่อสืบค้นคำสอนที่เป็นพยานให้แก่วิชชาธรรมกายร่วมกันต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะในปีหน้านี้ ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยโอทาโกจะมีอายุครบ ๑๕๐ ปี ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่างอบอุ่นในอีกไม่นานนี้

 

บรรยากาศภายในงานเปิดอาคารสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI)

 

       อนึ่ง ในวันต่อมา (๑๐ พ.ย. ๒๕๖๑) ทางสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ยังได้จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการในหัวข้อ “Early Buddhist Manuscript and Buddhist Studies in India and Southeast Asia” ขึ้น ณ ห้อง Staff Club Gallery Room ของมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ โดยการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ ทางสถาบันได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดี (Dr. Royden J. Somerville) มากล่าวต้อนรับอย่างอบอุ่นในฐานะเจ้าของสถานที่ ซึ่งท่านก็ได้กล่าวชื่นชมและขอบคุณสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยอีกครั้งหนึ่ง ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันกับภาควิชาเทววิทยาบุกเบิกวิชาพุทธศาสตร์ศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยโอทาโก และแสดงความขอบคุณต่อสถาบันในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนด้านทุนการศึกษาและวิจัยให้แก่ทางมหาวิทยาลัยด้วยดีเสมอมา

     ทั้งนี้ ในงานสัมมนาดังกล่าว ทางสถาบันได้รับเกียรติจาก Professor Emeritus Dr. Jens Erland Braarvig ผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์โบราณจากมหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ (อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่รักในการทำงานศึกษาค้นคว้าคัมภีร์โบราณมาอย่างยาวนาน) มาร่วมเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิบรรยายในหัวข้อ “ความเป็นมาและพัฒนาการของโครงการคัมภีร์พุทธโบราณและสโคเยนคอลเลกชัน” (Evolution of Early Buddhist Manuscript Project & Schoyen Collection) ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ที่เข้าร่วมรับฟังในงานสัมมนา ซึ่งนับเป็นพรหมวิหารธรรมอย่างยิ่งของท่าน เนื่องจากการเดินทางมาของท่านมิใช่เรื่องง่าย เพราะเท่ากับเป็นการเดินทางจากขั้วโลกเหนือมาจนถึงขั้วโลกใต้เลยทีเดียว ซึ่งใช้เวลานานถึงกว่า ๕๐ ชั่วโมงในการเดินทาง ซึ่งคณะทำงานต้องขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูง

 

ทางสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดี
(Dr. Royden J. Somerville) มากล่าวต้อนรับอย่างอบอุ่นในฐานะเจ้าของสถานที่

 

บรรยากาศงานสัมมนาเชิงวิชาการในหัวข้อ “Early Buddhist Manuscript and
Buddhist Studies in India and Southeast Asia”
ณ ห้อง Staff Club Gallery Room มหาวิทยาลัยโอทาโก

 

Professor Emeritus Dr. Jens Erland Braarvig
ผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์โบราณจากมหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์
กำลังบรรยายในหัวข้อ “ความเป็นมาและพัฒนาการของโครงการคัมภีร์พุทธโบราณ
และสโคเยนคอลเลกชัน” (Evolution of Early Buddhist Manuscript Project & Schoyen Collection)

 

     ขณะที่ในช่วงบ่ายเป็นช่วงของการสัมมนาคัมภีร์พุทธโบราณในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีผู้เข้าร่วมบรรยายหัวข้องานวิจัยดังนี้คือ

         ดร. ชนิดา จันทราศรีไศล นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย ได้รายงานโดยสังเขปเกี่ยวกับ “ชิ้นส่วนคัมภีร์บามิยันของดีรี” (Kharosthi Bamiyan Manuscript Fragments in DIRI’s Possession) ว่าด้วยการวิเคราะห์ชิ้นส่วนคัมภีร์ ๒ ชิ้นของดีรี รหัส Diri.Kh 01 & Diri.Kh 02 อย่างละเอียดทั้งส่วนของสัณฐานของแผ่นจารึก (ไม้เบิร์ช) และตัวอักษร ซึ่งทั้งสองชิ้นสอดคล้องกับสโคเยนคอลเลกชัน โดย Diri.Kh 01 นั้น สอดคล้องกับคัมภีร์ของสโคเยนคอลเลกชัน Bamiyan Scribe 5 ขณะนี้ชิ้นส่วนนี้ของดีรีอยู่ในขั้นตอนการศึกษาร่วมกับสโคเยนคอลเลกชัน เพื่อตีพิมพ์เผยแผ่ต่อไป ส่วน Diri.Kh 02 มีรูปแบบอักษรและการจารึกคล้ายกับสโคเยนคอลเลกชัน Bamiyan Scribe 1 ที่อยู่ในส่วนของชุดคัมภีร์กลุ่มคันธารีเอโกตตริกาคมะ  ซึ่งคัมภีร์กลุ่มนี้ได้เผยแผ่ออกไปแล้วกับ BMSC 4 อย่างไรก็ตามทั้งของสโคเยนคอลเลกชันและดีรีเองก็ยังไม่ได้มีการศึกษาในรายละเอียดอย่างชัดเจน ขณะนี้จึงอยู่ในขั้นตอนอ่านแปลคัมภีร์ทั้ง ๒ คอลเลกชันร่วมกันเพื่อพิมพ์เผยแผ่ ซึ่งคัมภีร์ชิ้นนี้น่าจะตีพิมพ์ในหัวข้อ “เอโกตตริกาคมะ” ซึ่งในที่นี้ ดร.ชนิดาได้กล่าวถึงเนื้อหาคร่าว ๆ ในคัมภีร์ชิ้นที่สองของดีรีนี้ไว้ว่า กล่าวถึงพุทธประวัติช่วงตรัสรู้ธรรมและอาจกล่าวไปถึงช่วงปฐมเทศนาที่สวนกวางด้วย

 

พระอาจารย์วีรชัย ลือฤทธิกุล (เตชงฺกุโร)
นักศึกษาปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์

   นำเสนอ “รายงานเนื้อหาเบื้องต้นจากชิ้นส่วนของคัมภีร์บามิยัน ‘สมาธิราชสูตร’ DIRI Collection” (Preliminary Report on TwoManuscript Fragments of Sam?dhir?jas?tra from B?miy?n in DIRI Collection) ว่าด้วยเรื่องราวที่ดีรีได้รับมอบชิ้นส่วนของคัมภีร์บามิยันจากผู้มีจิตศรัทธา จากนั้นนำเสนอการวิเคราะห์รูปแบบตัวอักษรในคัมภีร์และปริวรรตอักษรในคัมภีร์ ๒ ชิ้นนั้นออกมา และชี้ให้เห็นว่าเนื้อหานั้นมีความสอดคล้องกับเนื้อหาในคัมภีร์ “สมาธิราชสูตร” ขณะเดียวกันยังได้นำเสนอคำแปลของเนื้อหาในคัมภีร์ ๒ ชิ้นดังกล่าวด้วย โดยเทียบเคียงกับเนื้อหาที่สมบูรณ์จากคัมภีร์ “สมาธิราชสูตร”

 

Dr. Elizabeth Guthrie
อาจารย์จากภาควิชาเทววิทยาและศาสนา มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์

        ได้นำเสนอ “ข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับคัมภีร์ชุด ‘ธรรมกาย’ และที่บันทึกคำว่า ‘ธรรมกาย’ ในคู่มือปฏิบัติสมาธิไทย-ขอมที่สำคัญ ๆ” (A Few Words about the ‘Dhammak?ya Genre’ and its Place in the Corpus of Tai-Khmer Meditation Manuals) โดยท่านได้กล่าวว่า “ธรรมกาย” เป็นกุญแจสำคัญในหนังสือปฏิบัติสมาธิของเขมรโบราณที่มีความสำคัญต่อการตรัสรู้ธรรม แต่ในปัจจุบันคำนี้กลับถูกลืมเลือนไป ทั้งนี้เพราะสายปฏิบัติเก่าแก่เหล่านั้นได้ถูกยกเลิกในยุคของการปฏิรูปพุทธศาสนาและในยุคของการล่าอาณานิคมของพวกตะวันตก อย่างไรก็ตามร่องรอยของการปฏิบัติเหล่านั้นก็ยังพอมีให้เห็นได้ในจารึกและในคัมภีร์โบราณสายปฏิบัติของเขมรบางส่วน และในส่วนของเนื้อหาและหลักฐานด้านอักษรศาสตร์ของคัมภีร์ก็ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของไทยพุทธและเขมรพุทธอย่างที่ยากจะแยกออกจากกันได้ จากนั้น ดร.อลิซาเบธได้นำเสนอคัมภีร์ต่าง ๆ ในชุดธรรมกาย ว่ามีนักวิชาการท่านใดศึกษามาแล้วบ้าง และมีเนื้อหาสังเขปเป็นอย่างไร เป็นต้น

 

คุณวรเมธ มลาศาสตร์
ผู้ช่วยวิจัย

       นำเสนอหัวข้อ “การทำให้พระพุทธเจ้ายังคงอยู่” การศึกษาวิจัยจากคัมภีร์พระธรรมกายในกัมพูชาและประเทศไทย (“Making the Buddha Present” : The Dhammak?ya Text in Cambodia and Northern Thailand) ว่าด้วยการทำพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปในประเทศไทยและกัมพูชา โดยคุณวรเมธได้นำเสนอถึงความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมในพิธีพุทธาภิเษกของชาวพุทธในทั้งสองประเทศ ซึ่งประเพณีดังกล่าวมีคัมภีร์ยืนพื้นที่สำคัญคือคัมภีร์พระธรรมกาย ที่เชื่อว่าเมื่อผ่านพิธีพุทธาภิเษกนี้แล้ว พระพุทธรูปนั้นจะมีคณุ สมบัติความมีชีวิต และเป็นพระพุทธเจ้าทุกประการ โดยคุณวรเมธได้ให้รายละเอียดที่สำคัญ ๆ ของพิธีพุทธาภิเษกนี้เอาไว้ และวิเคราะห์ถึงความสำคัญของคัมภีร์พระธรรมกายในพุทธเถรวาทในประเทศไทยและกัมพูชา

     ด้วยความพยายามและการทำงานอย่างตั้งใจของทีมงาน รวมทั้งความสำเร็จของการเปิดอาคารสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยดังที่กล่าวมานี้ แม้จะเป็นเสมือน “การเริ่มต้น” อีกก้าวหนึ่งบนเส้นทางอันยาวไกลของการสืบค้นหลักฐานธรรมกายก็ตาม แต่กระนั้น ย่างก้าวดังกล่าวนี้ก็ควรนับว่าเป็นย่างก้าวที่สำคัญมากที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการสืบค้นหลักฐานธรรมกายอย่างเป็นรูปธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยว่าหลังจากนี้เป็นต้นไป สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยก็คงจะได้ก้าวไปสู่การสร้างระบบการพัฒนาหลักสูตรในการศึกษาวิจัย การพัฒนาบุคลากรตลอดจนเครือข่ายที่เข้มแข็งในระดับสากลต่อไป ทั้งนี้ การพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ก็ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความก้าวหน้า แก่ภารกจิในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิช ชาธรรมกายต่อไปด้วย ซึ่งทางสถาบันก็ยังต้องการความร่วมแรงร่วมใจที่กว้างขวางของลูกศิษย์หลานศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายอยู่เสมอ

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๙๒ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล