เราต้องหยุดนิ่งสนิท เห็น จำ คิด รู้ หยุดสนิทเป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7


พระพุทธเจ้าท่านสอนท่านไม่ได้เอาเรื่องภายนอกตัวมาเลย เอาเรื่องภายในเรื่องกายในกาย เรื่องจิตในจิต เรื่องเวทนาในเวทนา เรื่องธรรมในธรรมที่มีอยู่ภายในตัวของเรา เพราะฉะนั้นในการเดินเข้าสู่เส้นทางของพระอริยเจ้านั้นจะต้องเดินเข้าไปสู่ภายใน ในกลางของตัวของเราอย่างนี้ ผิดจากนี้ไปเป็นผิด เพราะหนทางที่เข้าถึงกายธรรมอรหัตหรือเป้าหมายของชีวิตนั้นมีหนทางเดียว หนทางเอกสายเดียวที่มีอยู่ในกลางตัวของเรานี้เท่านั้น 
...อ่านต่อ
ผู้รู้ผู้เห็นนั้นคือกายธรรมกาย ธรรมเป็นผู้รู้ กายธรรมเป็นผู้เห็น เห็นได้ด้วยธรรมะจักขุของธรรมกาย คือดวงตาธรรมกาย หยั่งรู้ได้ด้วยญาณของธรรมกาย ธรรมกายจึงเป็นตัววิปัสสนา มีความรู้ความเห็นได้วิเศษได้แจ่มแจ้ง
...อ่านต่อ
ธรรมกาย คือพระพุทธศาสนา  คำสอนทั้งหลาย หลั่งไหลออกมาจากธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ได้เข้าถึงธรรมกายแล้ว คำสอนทั้งหลายจึงปรากฏเกิดขึ้น
...อ่านต่อ
สมัยพุทธกาล พอสุดเสียงคำเทศนาของพระบรมศาสดา ทุกคนก็บรรลุธรรมาภิสมัย คือบรรลุมรรคผลนิพพาน ตามกำลังบุญของแต่ละคน ธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านแสดงสรุปแล้วก็ ท่านชี้ให้เห็นว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ ทุกข์เกิดจากความทะยานอยาก ซึ่งมีกิเลสอยู่เบื้องหลัง เมื่อทุกคนได้ปลดปล่อยวางใจ อย่างสบาย ๆ ก็เข้าถึงธรรมได้อย่างสบาย ๆ การเข้าถึงธรรมกาย จะทำให้ชีวิตของเราสมบูรณ์ เพราะกายธรรมเป็นกายตรัสรู้ เป็นกายที่รู้แจ้งเห็นแจ้ง แทงตลอดในชีวิตของเราทั้งหลาย เราจะรู้ว่าเราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายของชีวิต ปรับใจให้เรียบง่ายจะได้เข้าถึงธรรมได้อย่างรวดเร็ว
...อ่านต่อ
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ระลึกถึงพระธรรมกายโดยตรง หมายถึง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ
...อ่านต่อ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ว่าหนทาง เส้นทางสายกลางอัน เป็นทางไปของพระอริยเจ้าเป็นทางตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นปัญญาของพระธรรมกายในตัว เป็นพระตถาคตเจ้า เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องเข้าถึงซึ่งกลางธรรมกายจะเห็นเป็นปกติ
...อ่านต่อ
ธรรมกายนี้คือกายตรัสรู้ธรรมของมนุษย์ทุก ๆ คนในโลก อยู่ในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ มีลักษณะคล้าย ๆ กับพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นแก้ว งามไม่มีที่ติ ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน ๓๒ ประการ วิธีที่จะเข้าถึงธรรมกายนั้น เอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ฐานที่ตั้งนั้นคือฐานที่สุดลมคือศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ กำหนดเป็นดวงแก้วใสสะอาดบริสุทธิ์เป็นอโลกกสิน คำภาวนาสัมมาอะระหังเป็นพุทธานุสสติ
...อ่านต่อ
กายภายในแบ่งเป็นสองประเภท ขันธ์ ๕ ตกอยู่ในไตรลักษณ์ก็คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีสาระแก่นสาร ไม่คงที่ ไม่ใช่ตัวตน ขืนไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ เปล่าประโยชน์นำมาซึ่งความทุกข์  ธรรมขันธ์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่งที่ระลึก พ้นจากไตรลักษณ์ เป็นนิจจัง สุขขัง อัตตา คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีสุขล้วน ๆ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก เป็นตัวตนที่แท้จริง
...อ่านต่อ
ปรับใจ ใจที่เหมาะต่อการเข้าถึงธรรม จะต้องเป็นใจที่ปลอดโปร่ง บริสุทธิ์ ไร้กังวล ไม่มีภาระ ไม่มีเครื่องผูกพันทั้งสิ้นในโลก ปล่อยวางจากอารมณ์ภายนอก ให้ใจเข้ามาสู่อารมณ์ภายใน
...อ่านต่อ
ธรรมกายมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุก ๆ คนในโลก เป็นกายที่ละเอียดที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด ผ่องใสที่สุด สวยงามที่สุด ไม่มีที่ติ เป็นกายที่สมบูรณ์ด้วยสติและปัญญา และเป็นกายที่มีแต่ความสุขอย่างเดียว ไม่มีทุกข์เจือเลย ธรรมกายนั้นตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกายตรงฐานที่ ๗ ของทุก ๆ คนในโลก ซ้อนอยู่ในกายภายใน ที่ละเอียด กายภายในนั้นมีหยาบมีละเอียดซ้อนกันอยู่ไปตามลำดับ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่หุ้มอยู่ ถ้ากิเลสหยาบกายหยาบ กิเลสละเอียดลงไปกายละเอียดลงไป เครื่องหลุดพ้นก็ค่อย ๆ ละเอียดลงไปตามลำดับ 
...อ่านต่อ
เอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ที่เดียว ไม่ให้ไปหยุดนิ่งที่ไหน ก็เพราะว่าตรงฐานที่ ๗ ตรงนี้ที่เดียวในโลก เป็นทางไปสู่พระนิพพาน เป็นทางดับทุกข์เราจะเข้าถึงธรรมกายได้จะต้องหยุดอยู่ตรงฐานที่ ๗ เพราะพระธรรมกายนี้เกิดขึ้นอยู่ตรงนี้ พระนิพพานเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นอยู่ที่ตรงนี้ เราจะดับทุกข์ได้ก็ดับได้ที่ตรงนี้ จะเข้าถึงความสุขอันเป็นอมตะ ความสุขนั้นก็อยู่ที่ตรงนี้
...อ่านต่อ
พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านเสด็จเข้าสู่ทางสายกลางภายในตัวของท่าน ที่ตรงนี้ คือเมื่อท่านเอาใจของท่านมาหยุดที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ได้ถูกส่วน พอใจหยุดได้ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงปฐมมรรค เห็นหนทางไปสู่อายตนนิพพาน
...อ่านต่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนให้เราพิจารณา สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไปตามความเป็นจริง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ ไม่ยึดมั่นถือมั่น เอาความเห็น จำ คิด รู้ รวมหยุด เป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ไม่ช้าเราก็จะเข้าถึงธรรมภายใน
...อ่านต่อ
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ๖ อย่างนี้เป็นบ่วงของมาร มีวิบัติเจืออยู่ ไม่ให้ความสุขเราอย่างแท้จริงแค่เครื่องอาศัย ต้องปลด ปล่อย วาง จะเข้าถึงของจริงที่อยู่ในตัวคือธรรมกายภายในตัวตามลำดับ
...อ่านต่อ
การหยุดที่แท้จริง ต้องหยุดตามความหมายของพระอริยเจ้า คือหยุดใจอยู่ภายในเนี่ย หยุดเข้าไปให้เห็นธรรมกาย ให้ได้เข้าถึงวิชชาธรรมกาย ให้รู้เรื่องราวของตัวเองว่าเกิดมาจากไหน มาทำไม ตายแล้วจะไปไหน พิสูจน์ได้ว่านรก-สวรรค์ นิพพาน ภพ ๓ โลกันตร์มีจริง ให้หายสงสัย
...อ่านต่อ
คุณยายอาจารย์ฯ ได้มอบดวงแก้วไว้เป็นบริกรรมนิมิต โตเท่ากับแก้วตา ท่านให้เป็นปริศนาธรรมว่าท่านรักพวกเราประดุจแก้วตาของท่าน ให้เราน้อมเอาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เปลี่ยนมาเป็นดวงธรรมภายใน ให้เข้าถึงรัตนภายใน ซึ่งเป็นอริยทรัพย์ติดตัวเราไปเป็นบุญข้ามภพข้ามชาติ จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม
...อ่านต่อ
ธรรมกายนี่แหละคือยอดปรารถนาของมนุษย์ทั้งหลาย ทำใจหยุด ทำใจนิ่ง ให้ปราศจากความทะยานอยากในตัณหา คือ เหตุให้เกิดทุกข์ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
...อ่านต่อ
บารมีของพวกเรา อย่างช้าไม่เกิน ๗ วัน เมื่อปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จริงจัง จะต้องเข้าถึงธรรมกาย
...อ่านต่อ
เมื่อจิตใจของเราสะอาดบริสุทธิ์ เข้าไปถึง ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ มีความรู้ตัว ที่ดีกว่าปกติ เราเรียกมหาสติ และก็มีความรอบรู้ว่า เราควรจะวางใจยังไง สิ่งอะไรควรยึด สิ่งอะไรควรปล่อย เรียกว่าปัญญา สติกับปัญญาก็จะเกิดขึ้น เราหย่อนใจของเราเข้าสู่ภายในตามลำดับ จนกระทั่งเข้าไปเห็นกายในกาย ละเอียดอ่อน ลุ่มลึกประเสริฐกว่าชีวิตภายนอก เรายิ่งมีสุขมากขึ้นสติก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นมหาสติ ปัญญาก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นมหาปัญญา
...อ่านต่อ
เมื่อโลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำบังคับใจให้สูญเสียความเป็นอิสรภาพ ในการเสวยความสุข หรือนึกคิดที่เป็นกุศลความดีได้ไม่เต็มที่   การเข้าถึงธรรมกาย จะทำให้ใจนั้นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จากกิเลสอาสวะที่ครอบงำอยู่ พระธรรมกายนี่แหละเป็นสรณะ สถิตอยู่ตรงฐานที่ ๗
...อ่านต่อ
กายธรรม กายที่ ๙ กายธรรมโคตรภู เป็นพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นแก้ว บริสุทธิ์ผุดผ่อง ลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน ๓๒ ประการ เป็นหลักของทางพระพุทธศาสนา เข้าถึงกายธรรมนี้ได้ชื่อว่าบวชข้างใน เข้าถึงไตรสรณคมน์ มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย 
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล