วัฒนธรรมการใช้ปัจจัย ๔ ในชีวิตประจำวัน
การใช้อาคารสถานที่
การใช้ห้องปฏิบัติธรรม
มีระเบียบวิธีการใช้อย่างเหมะสม ดังนี้
๑. จัดเตรียมอาสนะและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ของพระอาจารย์ให้เรียบร้อย
๒. ทำภาระกิจส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้อง
๓. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม เช่น สมุดจดธรรมะ ยาประจำตัว เป็นต้น
๔. ไม่ควรเดินลากเท้าหรือพูดคุยเสียงดัง ขณะเดินมาสู่ห้องปฎิบัติธรรม
๕. วางรองเท้าที่ชั้นวางหรือในที่ที่จัดไว้ให้เรียบร้อย (จับวางด้วยมือ ชิดในก่อน)
๖. เปิดและปิดประตูเบาๆ ควรระวังอย่าให้มีเสียงดังขณะเดินในห้อง และไม่เหยียบอาสนะที่ปูไว้แล้ว
๗. นั่งในที่ของตน วางสิ่งของที่นำมาให้ตรงกันอย่างเป็นระเบียบ
๘. การาบพระรัตนตรัยพร้อมๆกัน หรือรอกราบพร้อมกับพระอาจารย์ เมื่อพระอาจารย์เข้ามาในห้อง
กราบพระอาจารย์พร้อมเพรียงกันตามคำบอกของพิธีกร
๙. ไม่ควรลุกเข้าออกบ่อยๆ (โดยเฉพาะในช่วงสวดมนต์หรือขณะพระอาจารย์เทศน์สอน) เพื่อแสดงถึงความเคารพในธรรม
๑๐. เมื่อเปลี่ยนท่านั่ง ควรกลับเท้าทางด้านหลัง ระวังอย่าให้ส่งเสียงดัง ไม่ควรนั่งเหยียดเท้าไปทางสิ่งสักการะบูชา เช่น พระพุทธรูปแหรือพระอาจารย์
๑๑. หลังเลิกจากการปฎิบัติธรรมทุกครั้ง เก็บอาสนะให้เป็นระเบียบในที่ที่จัดไว้
๑๒. เมื่อจะออกจากห้อง ควรเก็บอุปกรณ์ส่วนตัวออกไปด้วย ไม่ควรทิ้งไว้ในห้องปฎิบัติธรรม
๑๓. เปิด-ปิดประตูเบาๆ เมื่ออกจากห้อง
๑๔. หยิบรองเท้าจากชั้นมาใส่เท้าด้วยมือ ไม่ใช้เท้าคีบออกจากชั้นวาง
น่าเสียดายถ้าไม่รู้
-เข้าห้องให้ตรงเวลา จะลดการรบกวนกันและกัน อันเกิดจากเสียงพูดคุย และเสียงเดิน
- หากไม่สบาย เช่น ไอหรือจาม ควรเตรียมผ้าขนหนูไว้ปิดปาก
-ไม่ควรนำสิ่งของที่มีเสียงดังเข้ามาในห้อง เช่น ถุงหิ้ว (พลาสติกที่มีเสียงดัง, ปิดอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด)
- ปล่อยวางภารกิจที่กังวลออกจากใจ ทำอารมณ์ให้สบาย เบิกบาน แจ่มใส
-หมั่นปัดกวาดเช็ดถูห้องปฏิบัติธรรมให้สะอาดอยู่เสมอ