วัฒนธรรมชาวพุทธ มารยาท การดูแลสุขภาพ พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วัฒนธรรมชาวพุทธการบำบัดรักษาเบื้องต้น

การบำบัดรักษาเบื้องต้น 

 

คุณลักษณะของคนไข้ที่หมอต้องการ  
 
         ในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ใน ปฐมอุปัฏฐากสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
 
 
สรุปความได้ว่า ภิกษุไข้ที่เป็นผู้พยาบาลยาก มีลักษณะ ๕ ประการ ดังนี้
 
๑. ไม่ทำความสบายแก่ตนเอง
 
๒. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งสบาย
 
๓. ไม่ฉันยา
 
๔. ไม่บอกอาการเจ็บป่วยให้หมอทราบตามความเป็นจริง
 
๕. ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น
 
 
ภิกษุไข้ที่เป็นผู้พยาบาลง่าย มีลักษณะ ๕ ประการ ดังนี้
 
๑. ย่อมทำความสบายแก่ตนเอง
 
๒. รู้จักประมาณในสิ่งสบาย
 
๓. ฉันยาตามหมอสั่ง
 
๔. บอกอาการเจ็บป่วยให้หมอทราบตามความเป็นจริง
 
๕. เป็นผู้อดทนต่อทุกขเวทนาที่รุนแรงได้
 
 
ศาสตราจารย์นายแพทย์เสนอ  อินทรสุขศรี ให้ความเห็นว่าผมอยากจะให้คนไข้ของผมมีคุณลักษณะ ดังนี้
 
๑. ทำตัวเป็นกันเอง  เสมือนเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่มีความศรัทธาต่อกัน ให้ความเคารพนับถือกันเสมือนเป็นเพื่อนหรือญาติสนิท และมีความเข้าใจกัน และกันดี
 
๒. ปฏิบัติตามที่แพทย์สั่ง และแนะน โดยเห็นความสำคัญในการสั่งและ แนะนำว่าเพื่อความสุขและเพื่อพ้นจากทุกข์ทรมานของตัวเองโดยตรง
 
๓. เห็นความสำคัญของตน และรักตัว โดยเมื่อยามป่วยไข้แล้วรีบให้ แพทย์ตรวจรักษาเสีย ผมไม่อยากได้ยินคนไข้ที่มาหาแล้วพูดว่าจะมาหานานแล้วแต่ไม่ว่าง เห็นว่าเป็นนิดหน่อย ไม่อยากรบกวนหมอ”เพราะ...ถ้าไม่ว่างให้แก่ตัว ไม่ให้เวลาแก่ตัวแล้วจะว่างให้ใครได้ และถ้าโรคเป็นมานานแล้วจึงมาหาหมอกลายเป็นรบกวนหมอไป
 
๔. เห็นหมอเป็นคนธรรมดาสามัญที่ให้การรักษาคนธรรมดา ๆ ได้ ผมไม่อยากเห็นคนไข้ที่คิดว่าเมื่อมาหาหมอแล้วหมอจะรักษาให้หายโดยเร็ว และหายได้อย่างทันที เพราะการรักษาโรคนั้นย่อมมีระยะเวลาไม่ใช่หายได้ทันทีหรือทันใจ
 
๕. รู้เวลาที่หมอปฏิบัติงาน ผมไม่อยากให้คนไข้มาหาหมอเมื่อหมอเลิกปฏิบัติงานแล้วโดยเฉพาะเวลาค่ำคืนซึ่งก่อให้เกิดความลำบาก และมีปัญหาหลายประการ นอกจากเจ็บป่วยกระทันหันเท่านั้น
 
๖. บอกผลการรักษาให้ทราบ แม้แต่ในรายที่ส่งตัวไปรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอื่นก็อยากทราบผลการรักษาว่าเป็นอย่างไร
 
๗. มาพบแพทย์ตามเวลาที่กำหนดผมคิดว่านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
 
 
ผลการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัย       ๓ อย่างคือ
 
๑.  แพทย์ดี
 
๒. ยา และวิธีการรักษาดี
 
๓. คนไข้ (และญาติคนไข้) ดี ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว การรักษาจะไม่ได้ผลสมบูรณ์เลย 
 
 
 
โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ    
 
 
อาการเป็นไข้ (ตัวร้อน)
 
วิธีการรักษาเบื้องต้น
 
๑. นอนพัก เช็ดตัว ดื่มน้ำมาก ๆ ห้ามอาบน้ำเย็น
 
๒. ถ้าเบื่ออาหาร ให้กินน้ำหวาน ข้าวต้ม
 
๓. กินยาลดไข้ (พาราเซตามอล)
 
๔. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน ๔ วัน ให้ไปพบแพทย์
 
 
อาการไข้หวัด       
 
วิธีรักษาเบื้องต้น
 
๑. นอนพัก เช็ดตัว ดื่มน้ำมาก ๆ ห้ามอาบน้ำเย็น
 
๒. ถ้าเบื่ออาหาร ให้กินน้ำหวาน ข้าวต้ม
 
๓. กินยาแก้ปวดลดไข้ พาราเซตามอล
 
๔. ถ้ามีน้ำมูกเล็กน้อย ให้คอยเช็ดออก ไม่ต้องกินยาลดน้ำมูก
 
๕. ถ้าน้ำมูกมากให้กินยาเม็ดคลอเฟนิรามีนครั้งละ ๑ เม็ด วันละ ๓ ครั้ง เพียง ๒-๓ วัน เมื่อน้ำมูกแห้ง ควรหยุดกิน
 
๖. ถ้าน้ำมูกหรือเสมหะมีสีเหลืองเขียวอยู่ตลอดวัน ให้กินยาปฏิชีวนะ (อะม็อกซีลลิน) ๓ วัน ถ้าดีขึ้น กินต่ออีก ๕-๗ วัน (คนที่มีประวัติแพ้ยาควรไปพบแพทย์)
 
๗. ถ้าไอเพียงเล็กน้อย จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ
 
๘. ถ้าไอให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ และจิบน้ำผึ้งผสมมะนาว (มะนาว ๑ ส่วนต่อน้ำผึ้ง ๔ ส่วน) 
 
 
ควรไปพบแพทย์เมื่อ 
 
๑. มีอาการกินไม่ได้
 
๒. มีอาการแทรกซ้อน เช่น ปวดหัว หูอื้อ หายใจหอบ หรือในรายที่เป็นไข้หวัดใหญ่อาการไม่ทุเลาใน ๔ วัน
 
 
การป้องกัน (การติดเชื้อ)
 
๑. ควรอยู่ห่างจากผู้อื่น เวลาไอหรือจาม ควรปิดปาก
 
๒. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการแพร่เชื้อทางมือที่อาจไปแปดเปื้อนสิ่งของเครื่องใช้หรือมือผู้อื่น
 
 
หวัดภูมิแพ้
 
วิธีการรักษาเบื้องต้น 
 
-หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ เช่น ฝุ่นละออง ขนสัตว์ ความเย็น
 
-หมั่นออกกำลังกาย
 
-ถ้าอาการไม่มากหรือเป็นชั่วคราว ไม่ต้องกินยา
 
-ถ้ามีอาการมาก กินยาแก้แพ้ (คลอร์เฟนิรามีน) เป็นครั้งคราว
 
-ควรไปพบแพทย์ ถ้าอาการไม่ทุเลา
 
 
เมื่อเกิดบาดแผล 
 
บาดแผล คือ การชอบช้ำฉีกขาดของผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อของร่างกาย
 
 
จุดมุ่งหมายของการทำแผล
 
๑. เพื่อห้ามเลือด
 
๒. เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
 
๓. ไม่ให้แผลลุกลาม
 
วิธีการทำแผล
 
       ๓.๑   ล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่ หรือน้ำเกลือ
 
       ๓.๒  ถ้าเลือดหยุดแล้ว ปิดแผลด้วยผ้าสะอาดให้ลดความเจ็บปวด และบวม
 
๔. ถ้าเลือดออก ห้ามเลือดโดย
 
         ๔.๑  ถ้าเป็นไปได้ ให้ยกส่วนที่เลือดออกให้สูง
 
         ๔.๒  กดหรือบีบบนตำแหน่งที่เลือดออก
 
๕. นำส่งแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หนอง บาดทะยัก 
 
 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

วัฒนธรรมชาวพุทธทั้งหมด

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล